อมรโกศ

อมรโกศ (สันสกฤต: अमरकोश, ไอเอเอสที: Amarakośa) เป็นพจนานุกรมรวมศัพท์คำพ้องความหมายภาษาสันสกฤต เขียนโดยอมร หรืออมรสิงห์ นักวิชาการภาษาสันสกฤตผู้นับถือศาสนาเชนหรือพุทธศาสนา ผู้เป็นหนึ่งในนวรัตน์ประดับพระราชบัลลังก์พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 แห่งราชวงศ์คุปตะ ซึ่งครองราชย์ในราว ค.ศ. 400 บ้างก็ว่าอยู่ในรัชสมัยพระเจ้าวิกรมาทิตย์ เมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 7

ชื่อของงานชิ้นนี้ มาจากศัพท์ อมร หมายถึง ไม่ตาย, หรือเทวดา หรือหมายถึงชื่อกวีผู้ประพันธ์ และ โกศ หมายถึง ทรัพย์, ตะกร้า, ถัง, พจนานุกรม หรือผลงานที่รวมเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังเรียกชื่อหนึ่งว่า นามลิงฺคานุศาสนมฺ (नामलिङ्गानुशासनम्, Nāmaliṅgānuśāsanam) จากศัพท์ นาม, ลิงค, อนุ, ศาสน (คำสอนเกี่ยวกับนามและเพศ)

เนื้อหา

อมรโกศประกอบด้วยบทร้อยกรองที่แต่งขึ้นเพื่อให้จำได้ง่าย แบ่งเป็น 3 กัณฑ์

  • กัณฑ์แรกเรียกว่า "สวรรคาทิ" (ศัพท์ "สวรรค์" และอื่น ๆ)
  • กัณฑ์ที่สองคือ "ภูวรรคาทิ" (ศัพท์ "โลก" และอื่น ๆ)
  • และกัณฑ์ที่สาม ชื่อ "สามานยาทิ" (ศัพท์ทั่วไป)

ใน "สวรรคาทิ" แบ่งเป็น 10 วรรค ได้แก่ สฺวรฺควรฺค (สวรรค์), วฺโยมวรฺค (ท้องฟ้า), ทิควรฺค, กาลวรฺค, ธีวรฺค, ศัพทาทิวรฺค, ปาตาลโภคิวรฺค, (บาดาล) นรกวรฺค (นรก), วาริวรฺค (แม่น้ำ) โดยเริ่มด้วยร้อยกรอง

"स्वरव्ययं स्वर्गनाकत्रिदिवत्रिदशालयाः" (สฺวรวฺยยํ สฺวรฺคนากตฺริทิวตฺริทศาลยาห์)
"अमरा निर्जरा देवास्त्रिदशा विबुघाः सुराः" (อมรา นิรฺชรา เทวาสฺตฺริทศา วิพุฆาห์ สุราห์)

บรรยายถึง สวรรค์ ในวรรคแรก ได้แก่ สฺว, อวฺย, สฺวรฺค, นาก, ตริทิว, ตริทศาลยะ ในวรรคที่สอง มีศัพท์เกี่ยวกับทวยเทพทั้งหลาย ในบทที่ต่อ ๆ ยังมีศัพท์หมายถึงพระพุทธเจ้าหลายคำ และนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น่าเชื่อว่าผู้แต่งเป็นชาวพุทธ ดังเช่น

सर्वज्ञः सुगतः बुद्धो धर्मराजस्तथागतः (สรฺวชฺญห์ สุคตห์ พุทฺโธ ธรฺมราชสฺตถาคตห์)
समन्तभद्रो भगवान्मारजिल्लोकजिज्जिनः (สมนฺตภทฺโร ภควานฺมารชิลฺโลกชิชฺชินห์)
षडभिज्ञो दशबलो 'द्वयवादी विनायकः (ษฑภิชฺโญ ทศพโล 'ทฺวยวาที วินายกห์)
मुनीन्द्रः श्रीघनः शास्ता मुनिः शाक्यमुनिस्तु यः (มุนีนฺทฺรห์ ศฺรีฆนห์ ศาสฺตา มุนิห์ ศากฺยมุนิสฺตุ ยห์)

กัณฑ์ที่สองคือ "ภูวรรคาทิ" (ศัพท์ "โลก" และอื่น ๆ) แบ่งเป็น 10 วรรค ได้แก่ ภูววรฺค (โลก), ปุรวรฺค (เมือง), ไศลวรฺค (ภูเขา), วิโนศทิวรฺค (ป่าและการแพทย์), สิงฺหทิวรฺค (สิงโตและสัตว์อื่น ๆ), มนุษยวรฺค (มนุษย์), พรหมวรฺค (พราหมณ์), กฺษตฺริยวรฺค (กษัตริย์), ไวศยวรฺค (พ่อค้า), และ ศูทฺรวรฺค (ศูทร)

สำหรับกัณฑ์ที่สาม ชื่อ "สามานยาทิ" (ศัพท์ทั่วไป) เป็นศัพท์เกี่ยวกับไวยากรณ์ ได้แก่ คุณศัพท์, กริยา คำเกี่ยวกับบทสวด ธุรกิจ และศัพท์เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เริ่มด้วย क्षेमंकरो 'रिष्टतातिश्शिवतातिश्शिवंकरः (กฺเษมํกโร 'ริษฺฏตาติศฺศิวตาติศฺศิวํกรห์) อันได้แก่ศัพท์ กฺเษมํกร, อริษฺฎตาติ ศิวตาติ และศิวํกร เป็นต้น

อรรถกถา

มีอรรถกถาแก้คัมภีร์อมรโกศ เพื่ออธิบายให้เข้าใจความหมายที่ชัดเจน เช่น อมรโกโศทฆาตน ของ กษีรัสวามิน, ตีกาสรวัสมัน ของ วันธยฆตีย สรวานันท, รามาสรมี (วยาขยาสุธ) ของ ภานุชิ ทีกษิต, และปทจันทริกา ของ รายมุกุฏ เป็นต้น

บรรณานุกรม

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง