อะซีม เปรมจี

อะซีม ฮะชีม เปรมจี[6][7][8][9][10](อักษรโรมัน: Azim Hashim Premji เกิดวันที่ 24 กรกฎาคม 2488)เป็นนักธุรกิจใหญ่ นักลงทุน และนักการกุศล ผู้เป็นประธานบริษัทวิโปรจำกัด (Wipro Limited) ผู้รู้จักกันว่าเป็นเจ้าพ่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศอินเดีย[11][12]เป็นผู้นำบริษัทที่ขยายธุรกิจเป็นเวลาสี่ทศวรรษจนกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลกบริษัทหนึ่งในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์[13][14]ในปี 2553 นิตยสารเอเชียวีกจัดเขาให้เป็นชายที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในโลกในจำนวน 20 คน และนิตยสารไทม์ได้จัดให้เขาเป็นคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในโลกในจำนวน 100 คนในปี 2547 และ 2554[15]เพรมจีเป็นเจ้าของหุ้น 79.45% ของบริษัทวิโปร และเป็นเจ้าของกองทุนรวมตราสารแห่งทุน (private equity fund) คือ PremjiInvest ซึ่งบริหารจัดการทรัพย์สมบัติส่วนตัวมีค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[16]ในปี 2556 เขาได้เซ็นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินส่วนตัวโดยมากกับองค์กรการกุศล แล้วต่อมาจึงบริจาคหุ้นบริษัทมีค่า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับทรัสต์ที่บริหารกองทุนของมูลนิธิอะซีมเพรมจี ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ให้ความสนใจในเรื่องการศึกษา การบริจาคทรัพย์ครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนทรัพย์ที่เขาบริจาคแล้วทั้งหมดเป็น 4,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 131,000 ล้านบาทในปี 2556)[17]

อะซีม เพรมจี
Azim Premji
อะซีม เปรมจี ในปี 2556
เกิดอะซีม ฮะชีม เปรมจี
(1945-07-24) 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 (78 ปี)
มุมไบ, อินเดีย[1]
สัญชาติอินเดีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[2]
อาชีพประธานของบริษัทวิโปร
คู่สมรสยาสมีน
บุตรริเชด, ทารีค[3]
บิดามารดาMohamed Hashem Premji
เว็บไซต์Azim Premji
ลายมือชื่อ

การงานและอาชีพ

ชีวิตส่วนตัว

อะซีมเกิดในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย[1][18]ในครอบครัวมุสลิมชีอะฮ์[4]ที่มีต้นกำเนิดมาจากรัฐคุชราต[19]บิดาของเขาเป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง โดยรู้จักกันว่าเป็น "ราชาข้าวแห่งพม่า"หลังจากที่แบ่งประเทศ ผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถานได้เชิญให้บิดาของเขาไปอยู่ในปากีสถาน แต่เขาปฏิเสธและเลือกที่จะดำรงอยู่ในประเทศอินเดีย[20]เพรมจีได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เขาได้แต่งงานกับยาสมีน และมีลูกด้วยกันสองคนคือ ริเชดและทารีค ริเชดทำงานกับบิดาเป็น Chief Strategy Officer (ประธานฝ่ายกลยุทธ์) และกรรมการบริษัทวิโปร[21]

การยกย่อง

นิตยสาร Business Week ได้ยกย่องเพรมจีว่าเป็นนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง (Greatest Entrepreneur)[22]เพราะสร้างบริษัทวิโปรให้เป็นบริษัทที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกบริษัทหนึ่ง

เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์หลายปริญญาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมทั้ง

เขาได้รับรางวัลทั้งของเอกชนและของรัฐบาลรวมทั้ง

  • ในปี 2548 รัฐบาลอินเดียได้ให้รางวัล Padma Bhushan แก่เพรมจีสำหรับงานที่ยอดเยี่ยมในการค้าและการพาณิชย์[25]
  • ในปี 2549 เขาได้รับรางวัล Lakshya Business Visionary จากสถาบันวิศวกรรมอุตสาหกรรมแห่งชาติ (National Institute of Industrial Engineering)[26]
  • ในปี 2554 เขาได้รับรางวัล Padma Vibhushan ซึ่งเป็นรางวัลพลเรือนอันดับสองจากรัฐบาลอินเดีย[27]
  • ในปี 2556 เขาได้รับรางวัล ET Lifetime Achievement Award

การกุศล

มูลนิธิและมหาวิทยาลัยอะซีมเพรมจี

ในปี 2544 เพรมจีได้จัดตั้งมูลนิธิอะซีมเพรมจีขึ้น[28]โดยเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไร ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาคุณภาพที่เข้าถึงได้ทั่วไปเพื่ออำนวยให้เกิดสังคมที่ยุติธรรม ที่เท่าเทียมกัน ที่ประกอบด้วยมนุษยธรรม และที่ยั่งยืนโดยมีงานที่ทดลองและพัฒนาสร้างแบบอย่างในการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่อาจจะช่วยอำนวยการปรับปรุงโรงเรียนระดับประถมของรัฐ 1.3 ล้านแห่งในประเทศจุดความสนใจโดยเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือในเขตชนบท ซึ่งเป็นที่ที่โรงเรียนส่วนมากอยู่การเลือกที่จะทำการในเรื่องการศึกษาขั้นประถม (ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.2) ในโรงเรียนของรัฐ เพราะอาศัยหลักฐานที่แสดงประสิทธิผลทางการศึกษาของนักเรียนในประเทศอินเดีย

มูลนิธิปัจจุบันปฏิบัติการในรัฐกรณาฏกะ อุตตราขัณฑ์ ราชสถาน ฉัตตีสครห์ อานธรประเทศ พิหาร มัธยประเทศ และเขตปุทุจเจรี โดยร่วมมือกับรัฐบาลของรัฐเหล่านั้นและทำงานโดยมากในเขตชนบท เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพและความเท่าเทียมกันของการศึกษาในโรงเรียน

ในเดือนธันวาคม 2553 เขาสัญญาที่จะบริจาคทรัพย์มีมูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปรับปรุงการศึกษาในโรงเรียนของอินเดียโดยถ่ายโอนหุ้นจำนวน 213 ล้านหุ้นของบริษัทวิโปรที่บริษัทที่เพรมจีเป็นผู้มีอำนาจเป็นเจ้าของ ไปยังทรัสต์อะซีมเพรมจีซึ่งเป็นการบริจาคทรัพย์ที่มากที่สุดในประเทศอินเดีย

ส่วนมหาวิทยาลัยอะซีมเพรมจีได้รับการสถาปนาโดยกฎหมายของรัฐกรณาฏกะในปี 2553 เพื่อดำเนินโปรแกรมพัฒนาการศึกษาและบุคลากร เพื่อหาแบบทางเลือกในการปรับปรุงการศึกษา และเพื่อให้ทุนงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับขยายขอบเขตแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา โดยมูลนิธิเป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในเบื้องต้น และอะซีม เพรมจีทำหน้าที่เป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย

สัญญาว่าจะให้ (The Giving Pledge)

อะซีม เพรมจี เป็นคนอินเดียคนแรกที่เข้าร่วมปฏิญญาสัญญาว่าจะให้ (The Giving Pledge) ซึ่งเป็นการรณรงค์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ และบิล เกตส์ เพื่อโปรโหมตให้คนที่ร่ำรวยที่สุดตกลงใจที่จะให้ทรัพย์สินโดยมากของตนแก่การกุศลเขาเป็นคนที่ไม่ใช่คนอเมริกันคนที่สามต่อจากริชาร์ด แบรนสัน และบารอนเดวิด เซนซ์เบอรี่ ที่เข้าร่วมคลับการกุศลนี้ โดยกล่าวว่า[29]

ผมเชื่อมั่นว่าพวกเราที่ได้สิทธิพิเศษได้ความร่ำรวย ควรจะพยายามช่วยสร้างโลกที่ดีกว่าสำหรับบุคคลเป็นล้าน ๆ ที่มีสิทธิน้อยกว่า

— อะซีม เพรมจี[30]

ในเดือนเมษายน 2556 เขากล่าวว่า เขาได้บริจาคทรัพย์สินส่วนตัวกว่า 25% ต่อการกุศลแล้ว และมีแผนที่จะให้ทรัพย์สินอีก 25% ที่เหลือตามสัญญาภายในอีก 5 ปีต่อมา[31]ในเดือนกรกฎาคม 2558 เขาได้ให้หุ้นอีก 18% ของบริษัทวิโปร เป็นการให้หุ้นบริษัทรวมกันเป็น 39%[32][33]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร