ชีอะฮ์

นิกายในศาสนาอิสลาม

ชีอะฮ์ (อาหรับ: شِيعَة ชีอะฮ์ จาก ชีอะตุอะลี شِيعَة عَلِيّ "สาวกของอะลี"; شِيعِيّ ชีอีย์ เป็นเอกพจน์ شِيَاع ชิยาอ์ เป็นพหุพจน์,[1]) เป็นหนึ่งในสองแขนงของศาสนาอิสลาม โดยถือว่าศาสดามุฮัมมัดแต่งตั้งอะลีเป็นผู้สืบทอดและอิหม่ามหลังจากท่าน[2] สิ่งที่อะลีไม่เหมือนกับสามเคาะลีฟะฮ์คือ เขามาจากบนูฮาชิม ตระกูลเดียวกันกับมุฮัมมัด เป็นลูกพี่ลูกน้อง และเป็นชายคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม[3]

ชีอะฮ์เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองของศาสนาอิสลาม โดยในช่วงปลายทศวรรษ 2000 มีประชากรชีอะฮ์อยู่ร้อยละ 10–15% ของมุสลิมทั้งหมด[4] และสำนักชีอะฮ์สิบสองอิมามเป็นสำนักชีอะฮ์ที่นับถือมากที่สุด[5] โดยในปี ค.ศ. 2012 คาดการว่ามีอยู่ร้อยละ 85%[6]

คำศัพท์

คำว่า ชีอะฮ์ (อาหรับ: شيعة) ตามอักษรหมายถึง "ผู้ติดตาม"[7] และเป็นประโยคสั้นของคำว่า ชีอะตุอะลี (شيعة علي /ˈʃiːʕatu ˈʕaliː/) ซึ่งหมายถึง "ผู้ติดตามของอะลี"[8]

ประวัติ

การสืบทอดของอะลี

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์

การแต่งตั้งอะลีที่ฆอดิรคุมม์ (MS Arab 161, fol. 162r, AD 1309/8 Ilkhanid manuscript illustration)

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์ เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 632 ในขณะกลับจากการทำฮัจญ์ ศาสดามุฮัมมัดได้เรียกชาวมุสลิมที่อยู่รอบ ๆ มารวมตัวกันแล้วให้โอวาส ในตอนนั้น มุฮัมมัดชูแขนอะลีแล้วกล่าวว่า "ใครสำคัญไปกว่าตนเอง?" ชาวมุสลิมกล่าวว่า "อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์"[9]

เหตุการณ์นี้ได้ถูกบันทึกทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนนี[10][11][12][13]

รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอะลี

อัรบะอีนในกัรบะลา

เมื่อมุฮัมมัดเสียชีวิตในปีค.ศ. 632 และญาติของมุฮัมมัดกำลังจัดงานศพ ในขณะที่เตรียมร่างกายนั้น อะบูบักร์, อุมัร และอบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรเราะฮ์พบกับผู้นำแห่งมะดีนะฮ์และเลือกอบูบักร์เป็นเคาะลีฟะฮ์ อะลีปฏิเสธความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอะบูบักร์และไม่ให้สัตยาบันแก่เขา รายงานนี้มีทั้งสายซุนนีและชีอะฮ์

อะลีไม่ได้เป็นเคาะลีฟะฮ์ จนกระทั่งอุสมาน เคาะลีฟะฮ์คนที่สามถูกลอบสังหารในปีค.ศ. 657 และอะลีก็กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สี่[14] แล้วย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ในอิรัก[8]

ในช่วงที่อะลีปกครอง สังคมมุสลิมมักจะมีโต้แย้ง และมีสงครามเกือบบ่อย ซึ่งมีผลทำให้เกิดฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองใหญ่ครั้งแรกในรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลาม[14] อะลีปกครองตั้งแต่ปีค.ศ. 656 ถึงค.ศ. 661[14] สิ้นสุดโดยการถูกลอบสังหาร[15] ในตอนที่กำลังละหมาด (สุญูด) และมุอาวิยะฮ์ ศัตรูหลักของอะลี ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์[16]

ฮะซัน อิบน์ อะลี

หลังอะลีเสียชีวิต ฮะซัน อิบน์ อะลี ลูกชายคนโตกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งกูฟะฮ์ และหลังจากต่อสู้ระหว่างกูฟะฮ์กับทหารของมุอาวิยะฮ์ ฮะซํนยอมโอนอำนาจให้มุอาวิยะฮ์และทำสนธิสัญญาสันติภาพภาพใต้ข้อเงื่อนไข:[17][18]

  1. บังคับยกเลิกการกล่าวสาปแช่งอะลีในที่สาธารณะ เช่น ในเวลาละหมาด เเละเวลาคุตบะห์
  2. มุอาวิยะฮ์ไม่ควรใช้เงินภาษีกับความจำเป็นส่วนตัว
  3. ควรสงบศึก และผู้ติดตามฮะซํนจะได้รับสิทธิและความปลอดภัย
  4. มุอาวิยะฮ์จะไม่แต่งตั้งตนเองเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน
  5. มุอาวิยะฮ์จะไม่ให้มีใครเป็นผู้สืบทอด

ฮะซันเกษียณในมะดีนะฮ์ และในปีค.ศ. 670 เขาถูกฆ่าด้วยยาพิษโดยญะดา บิยต์ อัลอัชอัษ อิบน์ ก็อยส์ ภรรยาของท่าน โดยมุอาวิยะฮ์แอบติดต่อเธอให้ฆ่าฮะซัน เพื่อให้มุอาวิยะฮ์ยกตำแหน่งให้กับยะซีด ลูกชายของตนเอง

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

เทวสถานอิหม่ามฮุซัยน์ที่กัรบะลาอ์

ฮุซัยน์ น้องชายของฮะซัน และลูกคนเล็กของอะลี ได้เรียกร้องให้รวมอำนาจเคาะลีฟะฮ์ ในปีค.ศ. 680 มุอาวิยะฮ์เสียชีวิตแล้วยกตำแหน่งให้ยะซีด และทำลายสนธิสัญญาของฮะซัน อิบน์ อะลี ดังนั้น ฮุซัยน์ได้รวบรวมครอบครัวกับผู้ติดตามในมะดีนะฮ์ เดินทางไปที่กูฟะฮ์ แต่ถูกขวางโดยทหารของยะซีด ที่ใกล้กัรบะลา (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และฮุซัยน์กับครอบครัวและผู้ติดตามอีกประมาณ 72 คนถูกฆ่าในยุทธการที่กัรบะลาอ์

ชีอะฮ์ยกย่องฮุซัยน์เป็นผู้พลีชีพ (ชะฮีด) และนับท่านเป็นอิหม่ามจากอะฮ์ลุลบัยต์[19] ยุทธการที่กัรบะลามักถูกกล่าวเป็นจุกแยกระหว่างซุนนีกับชีอะฮ์ของอิสลาม และในทุก ๆ ปี มุสลิมชีอะฮ์จะร่วมกันรำลึกในวันอาชูรออ์

สังคม

ประชากร

ศาสนาอิสลามในแต่ละประเทศ     ซุนนี     ชีอะฮ์   อิบาดี
สำนักของซุนนี, ชีอะฮ์, กุรอานนิยม, อิบาดี และNondenominational Muslim

รายงานจากมุสลิมชีอะฮ์ไว้ว่า การทำสำมะโนมักนำโดยนิกายซุนนี ซึ่งอาจจะทำให้ข้อมูลบางส่วนไม่เป็นจริง เช่น ในค.ศ. 1926 ในช่วงที่ราชวงศ์ซะอูดได้แยกชีอะฮ์ออก[20] ชาวชีอะฮ์มีอยู่ร้อยละ 21% ของประชากรมุสลิมในเอเชียใต้ ถึงแม้ว่าข้อจำกัดนี้จะเป็นอุปสรรคก็ตาม[21] จนกระทั่งมีการสรุปว่ามีอยู่แค่ 15%[22][23][24][25]

ประชากรทั่วโลก

ตารางข้างล่างคือรายงานจาก Pew Research Center เรื่อง Mapping the Global Muslim Population ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009[24][25]

ประเทศที่มีมุสลิมชีอะฮ์มากกว่า 100,000 คน[24][25]
ประเทศประชากรชีอะฮ์[24][25]ร้อยละของมุสลิมที่เป็นชีอะฮ์[24][25]ร้อยละของชีอะฮ์ทั่วโลก[24][25]ประมาณต่ำสุดประมาณสูงสุด
อิหร่าน&000000000006600000000074,000,000–78,000,000&000000000000009000000090–95&000000000000003700000037–4078,661,551[26][27]
ปากีสถาน&000000000001700000000017,000,000–26,000,000&000000000000001100000010–15&000000000000001100000010–1543,250,000[28]–57,666,666[29][30]
อินเดีย&000000000001600000000017,000,000–26,000,000&000000000000001100000010–15&00000000000000090000009–1440,000,000[31]–50,000,000.[32]
อิรัก&000000000001900000000019,000,000–22,000,000&000000000000006500000065–70&000000000000001100000011–12
เยเมน&00000000000080000000008,000,000–10,000,000&000000000000003500000035–40&0000000000000005000000~5
ตุรกี&00000000000070000000007,000,000–11,000,000&000000000000001100000010–15&00000000000000040000004–622 ล้าน[26]
อาเซอร์ไบจาน&00000000000050000000005,000,000–7,000,000&000000000000006500000065–75&00000000000000030000003–48.16 ล้าน[26] ประชากร 85% ของประเทศ[33]
อัฟกานิสถาน&00000000000030000000003,000,000–4,000,000&000000000000001100000010–15&0000000000000001000000~26.1 ล้าน[26] ประชากร 15–19% ของประเทศ[34]
ซีเรีย&00000000000030000000003,000,000–4,000,000&000000000000001200000015–20&0000000000000001000000~2
ซาอุดีอาระเบีย&00000000000020000000002,000,000–4,000,000&000000000000001500000010–15&00000000000000010000001–2
ไนจีเรีย&0000000000003999000000<4,000,000&0000000000000004000000<5&0000000000000001000000<222–25 ล้าน[35][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
บังกลาเทศ40,000–50,000&0000000000000000000000<1&0000000000000000000000<110,840,000[36]
เลบานอน&00000000000010000000001,000,000–2,000,000&0000000000000050000000 45–55&0000000000000000000000<1โดยประมาณ, ไม่มีสำมะโนทางการ[37] 50–55%[38][39][40]
แทนซาเนีย&0000000000001999000000<2,000,000&0000000000000009000000<10&0000000000000000000000<1
คูเวต&0000000000000500000000500,000–700,000&000000000000003000000020–25&0000000000000000000000<130–35% ต่อมุสลิม 1.2 ล้านคน (ประชากรในประเทศเท่านั้น)[41][42]
เยอรมัน&0000000000000400000000400,000–600,000&000000000000001100000010–15&0000000000000000000000<1
บาห์เรน&0000000000000400000000400,000–500,000&000000000000006600000065–70&0000000000000000000000<1100,000 (66%[43] ของประชากร)200,000 (70%[44] ของประชากร)
ทาจิกิสถาน&0000000000000400000000~400,000&0000000000000007000000~7&0000000000000000000000~1
สหรัฐอาหรับเอมิเรต&0000000000000300000000300,000–400,000&000000000000001000000010&0000000000000000000000<1
สหรัฐ&0000000000000200000000200,000–400,000&000000000000001100000010–15&0000000000000000000000<1
โอมาน&0000000000000100000000100,000–300,000&00000000000000050000005–10&0000000000000000000000<1948,750[45]
สหราชอาณาจักร&0000000000000100000000100,000–300,000&000000000000001100000010–15&0000000000000000000000<1
กาตาร์&0000000000000100000000~100,000&0000000000000010000000~10&0000000000000000000000<1

การข่มเหง

มีหลายช่วงที่กลุ่มชีอะฮ์ถูกประหาร[46][47][48][49][50][51]

ในปีค.ศ. 1514 สุลต่านเซลิมที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้สังหารชาวชีอะฮ์อนาโตเลีย 40,000 คน[52] รายงานจาก Jalal Al-e-Ahmad "สุลต่านเซลิมที่ 1 ทรงดำเนินไปไกลมาก จนมีการประกาศว่าการฆ่าชีอะฮ์หนึ่งคนมีค่าเท่ากับการฆ่าชาวคริสต์ถึง 70 คน"[53]

ภายใต้การปกครองของซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรัก มุสลิมชีอะฮ์ส่วนใหญ่มักถูกจำคุก, ทรมาน และถูกฆ่า[54] และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 ทางรัฐบาลมาเลเซียประกาศให้ชีอะฮ์เป็นสังกัดที่ "แปลกแยก" และถูกห้ามไม่ให้เผยแผ่หลักศรัทธาของพวกเขา แต่ยังคงดำเนินตามศาสนพิธีได้ตามที่ส่วนตัว[55][56]

วันหยุด

วันทั่วไปที่ฉลองทั้งซุนนีและชีอะฮ์คือ:

  • อีดิลฟิตรี จัดหลังจากสิ้นสุดเดือนเราะมะฎอน
  • อีดิลอัฏฮา จัดขึ้นหลังจากสิ้นสุดพิธีฮัจญ์

วันด้านล่างนี้ เป็นวันสำคัญของชีอะฮ์:

  • อีด อัล-เฆาะดีร เป็นวันครบรอบของเหตุการณ์ ณ ฆอดิรคุม[57] จัดในวันที่ 18 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์
  • การร่ำไห้แห่งมุฮัรรอม และวันอาชูรออ์สำหรับชีอะฮ์คือวันพลีชีพของฮุเซน จัดขึ้นในวันที่ 10 มุฮัรรอม
  • อัรบะอีน วันที่ผู้หญิงและลูก ๆ ของฮุซัยน์ เดินทางจากกัรบะลา (อิรักตอนกลาง) ถึงชาม (ดามัสกัส, ซีเรีย) จัดขึ้นในวันที่ 20 เดือนเศาะฟัร 40 วันหลังจากวันวันอาชูรออ์
  • เมาลิด วันเกิดของมุฮัมมัด สิ่งที่ไม่เหมือนกับชาวซุนนีที่ฉลองในวันที่ 12 รอบีอุลเอาวัล เป็นทั้งวันเกิดและวันเสียชีวิตของมุฮัมมัด ชีอะฮ์จะฉลองในวันที่ 17 ของเดือนเดียวกัน ซึ่งเป็นวันเกิดของญะอ์ฟัร อัศศอดิก อิหม่ามคนที่หกของชีอะฮ์[58] ส่วนวะฮาบีย์จะไม่ฉลอง เพราะเชื่อว่ามันเป็นบิดอะฮ์ (อุตริกรรม)[59]
  • วันเกิดฟาฏิมะฮ์ จัดในวันที่ 20 เดือนญุมาดัษษานียะฮฺ วันนั้นก็ถือเป็น "'วันสตรีและวันแม่" ด้วย[60]
  • วันเกิดอะลี จัดในวันที่ 13 เดือนเราะญับ
  • กลางชะอ์บาน เป็นวันเกิดของมุฮัมมัด อัลมะฮ์ดี อิหม่ามคนที่ 12 และเป็นอิหม่ามคนสุดท้ายของสิบสองอิหม่าม ชาวชีอะฮ์จะฉลองในวันที่ 15 เดือนชะอ์บาน
  • ลัยละตุลก็อดร์ คืนที่ประทานอัลกุรอาน
  • อีด อัลมุบาฮิละฮ์ การฉลองวันพบปะระหว่างอะฮ์ลุลบัยต์ และชาวคริสต์แห่งนัจญ์รอน จัดขึ้นในวันที่ 24 เดือนซุลฮิจญะฮ์

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ชีอะฮ์มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สี่แห่ง คือมักกะฮ์ (มัสยิด อัลฮะรอม), มะดีนะฮ์ (มัสยิด อันนะบะวี), เยรูซาเลม (มัสยิด อัลอักซอ) และกูฟะฮ์ (มัสยิดกูฟะฮ์) สำหรับชีอะฮ์แล้ว มัสยิดอิหม่ามฮุซัยน์, มัสยิดอัล อับบาสที่กัรบะลาอ์ และมัสยิดอิหม่ามอะลีที่นาจาฟก็สำคัญเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชีอะฮ์ส่วนใหญ่ในประเทศซาอุดีอาระเบียถูกทำลายโดยอัลอิควาน[61]

สาขา

สิบสองอิหม่าม

ชื่อของอิหม่ามทั้ง 12 เขียนในรูปภาษาอาหรับของคำว่า على อะลี

ชีอะฮ์สิบสองอิมาม หรือ อิษนาอะชารียะฮ์ เป็นสาขาของชีอะฮ์ที่ใหญ่ที่สุด ชื่อของสาขานี้มาจากกลุ่มของสิบสองอิหม่าม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่ประเทศอิหร่าน (90%),[62] อาเซอร์ไบจาน (85%),[8][63] บาห์เรน (70%), อิรัก (65%), เลบานอน (65% ของมุสลิม)[64][65][66]

หลักศรัทธา

ชีอะฮ์สิบสองอิมามมีหลักศรัทธาห้าประการ[67] ซึ่งมีชื่อว่า อุศูลุดดีน โดยเรียงได้ดังนี้:[68][69]

  1. เอกเทวนิยม, พระเจ้ามีองค์เดียวและไม่เหมือนใคร.
  2. ความยุติธรรม, ความถูกต้องที่ยึดถือตามจริยธรรม, ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกัน
  3. ศาสนทูต, บทบัญญัติที่พระเจ้าส่งมาให้ทูต หรือศาสดาชี้นำทางมนุษย์
  4. ผู้นำ สำนักที่สืบทอดจากสำนักของศาสดา
  5. วันสุดท้าย วันชำระบัญชีของพระเจ้า

อิสมาอิลี

อิสมาอิลีมีชื่อมาจากอิสมาอิล อิบน์ ญะฟัรตามลำดับผู้สืบทอด (อิหม่าม) ของญะอ์ฟัร อัศศอดิก โดยพวกเขาเชื่อว่า มูซา อัล-คอดิม เป็นอิหม่ามคนต่อไป

ปัจจุบัน อิสมาอิลีส่วนใหญ่มักพบอยู่ในสังคมอินโด-อิหร่าน[70] แต่ก็พบในอินเดีย, ปากีสถาน, ซีเรีย, ปาเลสไตน์, ซาอุดีอาระเบีย,[71] เยเมน, จีน,[72] จอร์แดน, อุซเบกิสถาน, ทาจิกิสถาน, อัฟกานิสถาน, แอฟริกาตะวันออก และแอฟริกาใต้ และมีบางส่วนย้ายถิ่นฐานไปที่ยุโรป, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอเมริกาเหนือ[73]

เสาหลัก

อิสมาอิลีมี เสาหลัก 7 ประการ:

  • วะละยะฮ์ (การปกครอง)
  • ตะฮะเราะฮ์ (ความบริสุทธิ์)
  • เศาะลาต (การละหมาด)
  • ซะกาต (การบริจาค)
  • เศาม์ (การถือศีลอด)
  • ฮัจญ์ (การแสวงบุญ)

ดูเพิ่ม

  • อภิธานศัพท์อิสลาม
  • รายชื่อมุสลิมชีอะฮ์
  • รายชื่อราชวงศ์ชีอะฮ์
  • ชะฮาดะฮ์
  • วูดุอ์
  • อะลีในมุมมองของชีอะฮ์
  • มัซฮับ
  • การประหัตประหารของมุสลิม

อ้างอิง

สารานุกรม

  • Cornell, Vincent J. (2007). Voices of Islam. Westport, Conn.: Praeger Publishers. ISBN 978-0-275-98732-9.
  • Encyclopædia Iranica Online. Columbia University Center for Iranian Studies. สืบค้นเมื่อ 2019-09-11.
  • Martin, Richard C. (2004). Encyclopaedia of Islam and the Muslim World. Vol. 1: Encyclopedia of Islam and the Muslim World: A–L. MacMillan. ISBN 978-0-02-865604-5.
  • Corbin, Henry (1993) [1964]. History of Islamic Philosophy. แปลโดย Liadain Sherrard and Philip Sherrard. London; Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 978-0-7103-0416-2.
  • Dakake, Maria Massi (2008). The Charismatic Community: Shiʻite Identity in Early Islam. Suny Press. ISBN 978-0-7914-7033-6.
  • Holt, P. M.; Lewis, Bernard (1977a). Cambridge History of Islam, Vol. 1. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-29136-1.
  • Lapidus, Ira (2002). A History of Islamic Societies (2nd ed.). Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-77933-3.
  • Sachedina, Abdulaziz Abdulhussein (1988). The Just Ruler (al-sultān Al-ʻādil) in Shīʻite Islam: The Comprehensive Authority of the Jurist in Imamite Jurisprudence. Oxford University Press US. ISBN 978-0-19-511915-2.
  • Sobhani, Ja'afar; Shah-Kazemi, Reza (2001). Doctrines of Shiʻi Islam: A Compendium of Imami Beliefs and Practices ([Online-Ausg.] ed.). London: I. B. Tauris [u.a.] ISBN 978-1-86064-780-2.
  • Tabatabaei, Sayyid Mohammad Hosayn (1979). Shiʻite Islam. แปลโดย Seyyed Hossein Nasr. State University of New York Press. ISBN 978-0-87395-272-9.
  • Ṭabataba'i, Allamah Sayyid Muḥammad Husayn (1977). Shiʻite Islam. Albany: State University of New York Press. ISBN 978-0-87395-390-0.
  • Vaezi, Ahmad (2004). Shia political thought. London: Islamic Centre of England. ISBN 978-1-904934-01-1. OCLC 59136662.

อ่านเพิ่ม

  • Chelkowski, Peter J. (2010). Eternal Performance: Taziyah and Other Shiite Rituals. University of Chicago Press. ISBN 978-1-906497-51-4.
  • Corbin, Henry (1993). History of Islamic Philosophy, translated by Liadain Sherrard and Philip Sherrard. Kegan Paul International in association with Islamic Publications for The Institute of Ismaili Studies. ISBN 978-0-7103-0416-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง