ฮิเดกิ ชิรากาวะ

นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น

ฮิเดกิ ชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白川 英樹โรมาจิShirakawa Hideki; เกิดวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2479) เป็นนักเคมีและวิศวกรชาวญี่ปุ่น และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เกียรติคุณประจำมหาวิทยาลัยสึกูบะและมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง เป็นที่รู้จักจากการค้นพบพอลิเมอร์ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับอลัน แมกเดอร์มิดและอลัน ฮีเกอร์

ฮิเดกิ ชิรากาวะ
เกิด (1936-08-20) สิงหาคม 20, 1936 (87 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว
มีชื่อเสียงจากพอลิเมอร์นำไฟฟ้า
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาเคมี (พ.ศ. 2543)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม (พ.ศ. 2543)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
มหาวิทยาลัยสึกูบะ
มีอิทธิพลต่ออลัน แมกเดอร์มิด

ประวัติ

ฮิเดกิ ชิรากาวะเกิดที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นในครอบครัวของแพทย์ทหาร และได้ย้ายติดตามครอบครัวของบิดาไปอยู่ที่แมนจูกัวและไต้หวันในวัยเด็ก ต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ได้ย้ายกลับมาที่ประเทศญี่ปุ่นไปอยู่บ้านเกิดของมารดาที่เมืองทากายามะ จังหวัดกิฟุ

ชิรากาวะจบการศึกษาและได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิศวกรรมเคมีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวในปี พ.ศ. 2504 หลังจากนั้นได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากสถาบันเดียวกันในปี พ.ศ. 2509 หลังจากนั้นได้เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่ห้องปฏิบัติการทรัพยากรเคมีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว[1]

งานวิจัย

ขณะที่ทำงานเป็นผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวนั้น ชิรากาวะได้ค้นพบพอลิอะเซทิลีนซึ่งมีลักษณะปรากฏคล้ายกับโลหะ เมื่ออลัน แมกเดอร์มิดมาเยี่ยมสถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียวในปี พ.ศ. 2518 แมกเดอร์มิดสนใจผลการค้นพบนี้ของชิรากาวะมาก และได้ชักชวนให้ชิรากาวะมาเป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ห้องปฏิบัติการของเขาที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียในปีถัดมา ทั้งสองร่วมกับนักฟิสิกส์อีกหนึ่งคนคืออลัน ฮีเกอร์ได้ร่วมกันพัฒนาคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของพอลิอะเซทิลีน ซึ่งในปี พ.ศ. 2520 พวกเขาพบว่าเมื่อนำพอลิเมอร์ไปทำปฏิกิริยา (โดป) ด้วยไอของไอโอดีนจะได้พอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าดีขึ้น[2][3] ซึ่งนำไปสู่รางวัลโนเบลสาขาเคมีที่ได้รับร่วมกันในปี พ.ศ. 2543

ในปี พ.ศ. 2522 ชิรากาวะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยสึกูบะ ก่อนจะเลื่อนชั้นขึ้นเป็นศาสตราจารย์ในอีกสามปีถัดมา

รางวัลโนเบล

ชิรากาวะได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี พ.ศ. 2543 ร่วมกับอลัน ฮีเกอร์และอลัน แมกเดอร์มิดจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจากการค้นพบและพัฒนาพอลิเมอร์นำไฟฟ้า (conductive polymer)[3] โดยเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ไม่ได้จบจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติทั้งเจ็ดที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นชาวญี่ปุ่นคนที่สองที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี และในปีเดียวกันชิรากาวะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์วัฒนธรรมด้วย[4]

มุมมองส่วนตัว

ชิรากาวะได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะเจแปนไทมส์ว่าเขาไม่ต้องการให้รางวัลโนเบลได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากเกินไป และหวังว่างานวิจัยด้านอื่นนอกเหนือจากสาขาของรางวัลโนเบลจะได้รับความสนใจเช่นนั้นบ้าง เขามองว่าสังคมที่งานวิจัยหลากหลายแขนงได้รับการยอมรับจะสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่า[5]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง