เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส

เฟอร์ดินานด์ เอ็มมานูเอล เอดราลิน มาร์กอส ซีเนียร์ (ตากาล็อก: Ferdinand Emmanuel Edralin Marcos Sr.; 11 กันยายน พ.ศ. 2460 - 28 กันยายน พ.ศ. 2532) เป็นอดีตประธานาธิบดีคนที่ 10 ของฟิลิปปินส์ เคยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ถึง พ.ศ. 2529 เป็นเวลาเกือบ 21 ปี และพ้นจากตำแหน่งโดยการหลบหนีออกนอกประเทศ หลังการลุกฮือของประชาชน ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งนำโดยนางคอราซอน อากีโน ภริยาหม้ายของนายเบนิโญ อากีโน อดีตนักการเมืองฝ่ายค้าน โดยมีสาเหตุหลักมาจาก การปกครองแบบเผด็จการ รวมถึงการทุจริตคอรัปชั่นซึ่งเป็นเงินราว ๆ 5-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่โกงมากที่สุดรองจาก ซูฮาร์โต[1]

เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส
Ferdinand Marcos
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529
นายกรัฐมนตรีตัวเขาเอง (2521 - 2524) ซีซาร์ วีราตา (2524-2529)
รองประธานาธิบดีเฟอร์นันโด โลเปซ (2508-2516)
อาร์ตูโร โตเรนติโน (2529)
ก่อนหน้าดิออสดาโด มากาปากัล
ถัดไปคอราซอน อากีโน
นายกรัฐมนตรีฟิลิปปินส์
ดำรงตำแหน่ง
12 มิถุนายน พ.ศ. 2521 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2524
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 กันยายน พ.ศ. 2460
 ฟิลิปปินส์
เสียชีวิต28 กันยายน พ.ศ. 2532 (72 ปี)
 สหรัฐ โฮโนลูลู ฮาวาย
ศาสนาโรมันคาทอลิก
คู่สมรสอิเมลดา โรมวลเดซ
ลายมือชื่อ
เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส กับนายจอร์จ ชูลต์ซ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา

เขาประสบความสำเร็จในด้านการเมืองอย่างมากในฐานะ "วีรบุรุษสงครามที่ทรงเกียรติที่สุดของฟิลิปปินส์"[2] แต่ฐานะดังกล่าวถูกมองว่าเกินจริงเป็นอย่างมาก[3][4][5] โดยมีเอกสารลับของกองทัพสหรัฐ ระบุว่าเกียรติและการยกย่องเหล่านี้เป็นเรื่องหลอกลวงและไร้สาระ[6] หลังสงครามโลกครั้งที่สองเขาเริ่มทำงานเป็นทนายความและดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ถึง พ.ศ. 2502 และเป็นสมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2508 เขาชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ใน พ.ศ. 2508 ซึ่งเขาสามารถทำให้ประเทศฟิลิปปินส์เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในช่วงที่เขาเริ่มดำรงตำแหน่งในสมัยแรก[7][8][9] เขาดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงรุกซึ่งเขาได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ทำให้เขาได้รับความนิยมและความศรัทธาจากประชาชนเป็นอย่างมาก[10][11] แต่เมื่อเขาดำรงตำแหน่งในสมัยที่สองเขากลับวางตัวเป็นเผด็จการ[12][13] เกิดความวุ่นวายทางการเมืองอันเนื่องมาจากการประกาศกฎอัยการศึกโดยตัวเขาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2515 ก่อนที่เขาจะหมดวาระในสมัยที่สอง[14][15] เขาให้รัฐสภาแก้กฎหมายใหม่ให้ตรงกับความต้องการของเขา ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้โดยไม่มีกำหนด นอกจากนี้ เขายังจำกัดเสรีภาพของสื่อสารมวลชน[12][13] ใช้ความรุนแรงกับฝ่ายตรงข้าม[16] กำจัดฝ่ายค้านทางการเมือง[17][18] มุสลิม[19] ผู้ที่มีพฤติการณ์เป็นคอมมิวนิสต์[20] รวมถึงประชาชนในประเทศ

เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ถึงแก่อสัญกรรมที่โฮโนลูลู ฮาวาย ขณะลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก่อนถึงแก่อสัญกรรมกำลังถูกทางการฟิลิปปินส์ ยื่นเรื่องขออายัดทรัพย์สิน และดำเนินคดีในข้อหาใช้อิทธิพลคอรัปชั่น ในระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ประวัติ

ได้รับเลือกตั้งผ่านระบบประชาธิปไตยตั้งแต่ปี 1966 ถึง 1981

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องอิสริยาภรณ์ในประเทศ

  • เหรียญกล้าหาญแห่งกองทัพฟิลิปปินส์
  • ลีเจียนออฟออเนอร์ ชั้นปุนอง โกมันดัน
  • เครื่องอิสริยาภรณ์อัศวินแห่งริซัล ชั้นที่ 1

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง