เมทิลีนบลู

เมทิลีนบลู (อังกฤษ: methylene blue) หรือชื่อระหว่างประเทศที่ไม่มีเจ้าของเรียก เมทิลไทโอนิเนียมคลอไรด์ (methylthioninium chloride) เป็นสีย้อมในกลุ่มไทอะซีน อนุพันธ์ฟีโนไทอะซีน มีสูตรเคมีคือ C16H18ClN3S ลักษณะเป็นผงสีเขียวเข้ม ไม่มีกลิ่น มีค่า pH 6 ในน้ำที่อุณหภูมิ 25 °C มีจุดเดือดที่ 100 °C จุดหลอมเหลวที่ 190 °C เมทิลีนบลูละลายในน้ำ เอทานอล และคลอโรฟอร์ม แต่ไม่ละลายในเอทิลอีเทอร์ ไซลีน และกรดโอเลอิก[5] เมื่อละลายในน้ำและเอทานอลจะได้สารละลายสีน้ำเงิน[6] เมทิลีนบลูถูกค้นพบครั้งแรกโดยไฮน์ริช คาโร นักเคมีชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1876[7]

เมทิลีนบลู
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าUrelene blue, Provayblue, Proveblue, others[2][3]
ชื่ออื่นCI 52015, basic blue 9[4]
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: X (มีอันตราย) [1]
ช่องทางการรับยาทางปาก, การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (IV)
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • US: Medication Rx-only[1]
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ5–24 ชั่วโมง[1]
ตัวบ่งชี้
  • 3,7-bis(Dimethylamino)-phenothiazin-5-ium chloride
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.469
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC16H18ClN3S
มวลต่อโมล319.85 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
SMILES
  • CN(C)c1ccc2c(c1)sc-3cc(=[N+](C)C)ccc3n2.[Cl-]
InChI
  • InChI=1S/C16H18N3S.ClH/c1-18(2)11-5-7-13-15(9-11)20-16-10-12(19(3)4)6-8-14(16)17-13;/h5-10H,1-4H3;1H/q+1;/p-1 checkY
  • Key:CXKWCBBOMKCUKX-UHFFFAOYSA-M checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

เมทิลีนบลูเตรียมได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชันของไดเมทิล-4-ฟีนิลลีนไดเอมีนกับโซเดียมไทโอซัลเฟต[8] ใช้เป็นสีย้อมในการผ่าตัดติ่งเนื้อเมือกแบบส่องกล้องร่วมกับน้ำเกลือและเอพิเนฟรีน โดยฉีดที่ชั้นใต้เยื่อเมือกรอบ ๆ ติ่งเนื้อเมือก[9] และใช้ในการส่องกล้องร่วมกับการใช้สี (chromoendoscopy) โดยพ่นไปบนเยื่อเมือกเพื่อตรวจหาการเจริญผิดปกติหรือรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง[10][11]

ทางการแพทย์

ในปี ค.ศ. 1933 มาทิลดา บรูกส์ นักชีววิทยาชาวอเมริกันค้นพบว่าเมทิลีนบลูใช้เป็นยาต้านภาวะเป็นพิษคาร์บอนมอนอกไซด์และการเป็นพิษจากไซยาไนด์[12] ถึงแม้จะไม่แนะนำให้ใช้เมทิลีนบลูในการรักษาภาวะเหล่านี้แล้ว[1] แต่เมทิลีนบลูยังปรากฏเป็นยาต้านพิษในยาหลักขององค์การอนามัยโลก[13] ปัจจุบันเมทิลีนบลูใช้เป็นยารักษาภาวะเมทฮีโมโกลบินในเลือด[3] โดยเฉพาะในรายที่มีระดับเมทฮีโมโกลบินมากกว่า 30% หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยออกซิเจน[3] โดยให้ทางหลอดเลือดดำ[1]

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเมทิลีนบลู ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน สับสน หายใจลำบาก ความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมถึงการสลายของเม็ดเลือดแดงและภูมิแพ้[1] การใช้เมทิลีนบลูมักทำให้เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระมีสีน้ำเงินถึงเขียว[3] เมทิลีนบลูมีคุณสมบัติยับยั้งมอนอเอมีนออกซิเดส เอนไซม์ที่สลายสารสื่อประสาทเซโรโทนิน[14] มีรายงานว่าผู้ป่วยที่ใช้เมทิลีนบลูร่วมกับยา Selective serotonin re-uptake inhibitors ประสบกับกลุ่มอาการเซโรโทนิน[15] ไม่ควรใช้เมทิลีนบลูในการรักษาโรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงสลาย[16]

ประโยชน์อื่น ๆ

เมทิลีนบลูใช้เป็นตัวบ่งชี้ปฏิกิริยารีดอกซ์ โดยเมทิลีนบลูเป็นส่วนประกอบหนึ่งในสารละลายในการทดลองขวดสีน้ำเงินร่วมกับกลูโคสและโซดาไฟ ซึ่งเมื่อเขย่าสารละลายจะเป็นสีน้ำเงินเกิดจากแก๊สออกซิเจนออกซิไดซ์เมทิลีนบลู แต่หากตั้งทิ้งไว้สักครู่ สารละลายจะเป็นสีใสเกิดจากกลูโคสรีดิวซ์เมทิลีนบลู[17] นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในปลาเลี้ยง โดยเฉพาะโรคจุดขาวที่เกิดจากโปรโตซัวชนิด Ichthyophthirius multifiliis[18]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง