ตัวเลขเขมร

(เปลี่ยนทางจาก เลขเขมร)

ตัวเลขเขมรเป็นตัวเลขที่ใช้ในภาษาเขมร ปรากฏหลักฐานการใช้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดพบในจารึกอายุราว ค.ศ. 604 ในปราสาทบายัง ใกล้กับอังกอร์บอเรย์ ในประเทศกัมพูชา[1][2] นอกจากนี้ในจารึกซัมบอร์ (Sambor) อายุราว ค.ศ. 683 ยังเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏใช้เลขศูนย์ในฐานะทศนิยม[3]

เลขเขมรสี่รูปแบบทางไทโปกราฟิก เปรียบเทียบตัวเลขอาหรับ (สีฟ้า)

ตัวเลข

ตัวเลขเขมรสมัยใหม่มาจากตัวเลขฮินดู-อาหรับ และมีระบบทศนิยม กับ การระบุตำแหน่ง ตัวเลขเขมรมีใช้เลขศูนย์ในฐานะตัวเลขเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 7 ราวสองร้อยปีก่อนปรากฏหลักฐานในลักษณะเดียวกันที่อินเดีย[1][4] ในขณะที่ตัวเลขของเขมรเก่าหรือเขมรยุคอังกอร์ มีสัญลักษณ์เฉพาะสำหรับตัวเลข 10, 20 และ 100[5]

เนื่องจากทั้งอักษรไทยและอักษรลาวล้วนพัฒนามาจากอักษรเขมรเก่า[6] ตารางด้านล่างนี้แสดงความคล้ายคลึงในตัวเลขของทั้งสามระบบ:

ค่าอักษรเขมรอักษรไทยอักษรลาว
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9

ตัวเลขเขมรสมัยใหม่

ชื่อตัวเลขเขมรสมัยใหม่ใช้ทั้งเลขฐานห้าและเลขฐานสิบ เช่น เลข 6 (ប្រាំមួយ) มาจาก 5 (ប្រាំ) บวก 1 (មួយ)

ตัวเลข 0 ถึง 5

ศัพทมูลวิทยาของตัวเลขเขมรตั้งแต่ 1 ถึง 5 มีที่มาจากภาษามอญ–เขมรดั้งเดิม ยกเว้นเลข 0 ที่มาจากสันสกฤต

ค่าเขมรรูปเขียนสัทอักษรสากลUNGEGNGDALA-LCหมายเหตุ
0សូន្យ[soːn]sonysounysūnyaจากสันสกฤต ศูนฺย
1មួយ[muəj]muŏymuoymuayaในภาษาพูด ถ้าอยู่หน้าลักษณนาม คำว่า [muəj] จะถูกลดเสียงเป็น [mə][7]
2ពីរ[piː], [pɨl]pirpirbīra
3បី[ɓəj]bĕibei
4បួន[ɓuən]buŏnbuonpuana
5ប្រាំ[pram]prămpramprāṃ
  • ผู้เขียนบางคนจัดให้ [ɓiː] เป็นรูปสะกดของสอง และ [bəj] หรือ [bei] สำหรับรูปสะกดของสาม
  • ในประเทศไทย เลขสามถือเป็นเลขนำโชค[8] แต่ในประเทศกัมพูชา การถ่ายรูปกับคนสามคนถือเป็นโชคร้าย เพราะเชื่อว่าคนที่อยู่ตรงกลางจะเสียชีวิตก่อนคนข้าง ๆ[9][10]

ตัวเลข 6 ถึง 20

ตัวเลข 6 ถึง 9 สามารถสร้างด้วยการใช้เลขฐาน 5 (ប្រាំ) ไปบวกกับตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 4 นั่นทำให้เลข 7 มีที่มาจาก 5 บวก 2 ที่มากไปกว่านั้น ตัวเลขเขมรยังใช้เลขฐานสิบ ซึ่งทำให้เลข 14 มีที่มาจาก 10 บวก 4 แทนที่จะเป็น 2 คูณ 5 บวก 4 และ 16 มีที่มาจาก 10+5+1

ในภาษาพูด ตัวเลขจากสิบเอ็ดถึงสิบเก้าสามารถสร้างได้ด้วยการใช้คำว่า ដណ្ដប់ [dɔnɗɑp] หน้าตัวเขจากหนึ่งถึงเก้า ทำให้เลข 15 สามารถเขียนได้เป็น ប្រាំដណ្ដប់ [pram dɔnɗɑp] แทนที่จะเขียนแบบมาตรฐานเป็น ដប់ប្រាំ [ɗɑp pram][11]

ค่าเขมรรูปเขียนสัทอักษรสากลUNGEGNGDALA-LCหมายเหตุ
6ប្រាំមួយ[prammuəj]prămmuŏyprammuoyprâṃmuaya
7ប្រាំពីរ[prampiː], [prampɨl]prămpirprampirprâṃbīra
8ប្រាំបី[pramɓəj]prămbĕiprambeiprâṃpī
9ប្រាំបួន[pramɓuən]prămbuŏnprambuonprâṃpuana
10១០ដប់[ɗɑp]dábdabṭápจีนเก่า *di̯əp[12]
11១១ដប់មួយ[ɗɑpmuəj]dábmuŏydabmuoyṭápmuayaមួយដណ្ដប់ [muəj dɔnɗɑp] ในภาษาพูด
20២០ម្ភៃ[mpʰej], [məpʰɨj], [mpʰɨj]mpheympheymbhaiรูปย่อของ [muəj] + [pʰej] (เช่น หนึ่ง + ยี่สิบ)

ตัวเลข 30 ถึง 90

ค่าเขมรรูปเขียนสัทอักษรสากลUNGEGNGDALA-LCหมายเหตุ
30៣០សាមសិប[saːm.səp]samsĕbsamsebsāmsipaจากไทย สามสิบ
40៤០សែសិប[sae.səp]sêsĕbsaesebsaesipaจากไทย สี่สิบ
50៥០ហាសិប[haːsəp]hasĕbhasebhāsipaจากไทย ห้าสิบ
60៦០ហុកសិប[hok.səp]hŏksĕbhoksebhukasipaจากไทย หกสิบ
70៧០ចិតសិប[cət.səp]chĕtsĕbchetsebcitasipaจากไทย เจ็ดสิบ
80៨០ប៉ែតសិប[paet.səp]pêtsĕbpaetsebp″aitasipaจากไทย แปดสิบ
90៩០កៅសិប[kaw.səp]kausĕbkausebkausipaจากไทย เก้าสิบ
  • ในภาษาพูดหรือไม่เป็นทางการ สามารถละคำว่า សិប [səp] ที่ปรากฏในตัวเลขเหล่านี้ได้ เช่น เลข 81 สามารถพูดเป็น ប៉ែតមួយ [paet.muəj] แทนรูปเต็มเป็น ប៉ែតសិបមួយ [paet.səp.muəj]

ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ชาวเขมรยืมตัวเลข 30 ถึง 90 จากภาษาจีนสมัยกลางตอนใต้ผ่านภาษาไท ซึ่งภาษาไทยมีความเป็นไปได้มากที่สุด[5] ตารางข้างล่างแสดงคำในภาษาเขมรเมื่อเทียบกับกลุ่มภาษาไทและจีน

ตารางเทียบภาษา
ค่าเขมรไทตะวันตกเฉียงใต้ไทตอนเหนือจีน
ไทยไทยในอดีตลาวจ้วง[13]Nanning[14]กวางตุ้งแต้จิ๋วฮกเกี้ยนจีนมาตรฐาน
3 ‒*saːmsamsǎamsãamɬaːm1ɬam41saam11sa1 (sam1)sān
4 ‒*sɐesisàisiiɬi5ɬi55sei3si3si3 (su3)
5 ‒*haːhangùahàaha3ŋ̩13ng5ŋou6go2 (ngo2)
6 ‒*hokhoklòkhókhuk7løk24luk6lak8lak2 (liok8)liù
7 ‒*cətchetjèdjéttɕit7tsʰɐt33cat1tsʰik4chit2
8 ‒*pɐətpaetpàedpàetpet7pat33baat3poiʔ4pueh4 (pat4)
9 ‒*kawkaojaokâokau3kou33gau2kao2kau4 (kiu2)jiǔ
10 ‒*səpsipjǒngsípɬip7ɕɐp22sap6tsap8tzhap2 (sip8)shí
  • คำในวงเล็บเป็นรูปออกเสียงโดยตรง ส่วนคำที่มีดอกจันเป็นคำที่สร้างขึ้นใหม่เฉพาะ และไม่ใช้เป็นเลขพื้นฐานจาก 3 ถึง 10

ก่อนที่จะใช้ระบบฐานสิบกับคำเหล่านี้ ตัวเลขเขมรเคยใช้ระบบเลขฐานยี่สิบ

ตัวเลข 100 ถึง 10,000,000

ค่าเขมรรูปเขียนสัทอักษรสากลUNGEGNGDALA-LCหมายเหตุ[15]
100១០០មួយរយ[muəj.rɔːj] ([rɔːj], [mə.rɔːj])muŏy rôymuoy roymuay rayaจากไทย ร้อย
1,000១,០០០មួយពាន់[muəj.pŏən]muŏy poănmuoy poanmuaya bânจากไทย พัน
10,000១០,០០០មួយម៉ឺន[muəj.məɨn]muŏy mœnmuoy mueunmuaya mȳnaจากไทย หมื่น
100,000១០០,០០០មួយសែន[muəj.saen]muŏy sênmuoy saenmuaya saenaจากไทย แสน
1,000,000១,០០០,០០០មួយលាន[muəj.lien]muŏy léanmuoy leanmuaya lânaจากไทย ล้าน
10,000,000១០,០០០,០០០មួយកោដិ[muəj.kaot]muŏy kaôdĕmuoy kaotmuaya koṭiจากบาลีและสันสกฤต koṭi

ถึงแม้ว่าโดยทั่วไป មួយកោដិ [muəj kaot] มีความหมายว่าสิบล้าน ในภาษาพูดบางพื้นที่สามารถสื่อถึงหนึ่งพันล้าน (ซึ่งเขียนเป็น មួយរយកោដិ [muəj rɔj kaot]) เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน ทำให้บางครั้งคำว่า ដប់លាន [ɗɑp.liən] ใช้เรียกสิบล้าน ร่วมกับ មួយរយលាន [muəj.rɔj.liən] สำหรับหนึ่งร้อยล้าน และ មួយពាន់លាន [muəj.pŏən.liən] สำหรับหนึ่งพันล้าน[16]

สำเนียงที่ต่างกันอาจก่อให้เกิดตัวเลขฐานที่มีค่ามากกว่าหนึ่งพันต่างกัน ดังตัวอย่างบางส่วนตามตารางข้างล่างนี้:

ค่าเขมรรูปเขียน[16][17]สัทอักษรสากลUNGEGNGDALA-LCหมายเหตุ
10,000១០,០០០ដប់ពាន់[ɗɑp pŏən]dáb poăndab poanṭáp bânแปลว่า "หนึ่งหมื่น"
100,000១០០,០០០ដប់ម៉ឺន[ɗɑp məɨn]dáb mœŭndab mueunṭáp mȳnaแปลว่า "สิบหมื่น"
100,000១០០,០០០មួយរយពាន់[muəj rɔj pŏən]muŏy rôy poănmuoy roy poanmuaya raya bânแปลว่า "หนึ่งแสน"
1,000,000១,០០០,០០០មួយរយម៉ឺន[muəj rɔj məɨn]muŏy rôy mœnmuoy roy mueunmuaya raya mȳnaแปลว่า "หนึ่งร้อยหมื่น"
10,000,000១០,០០០,០០០ដប់លាន[ɗɑp liən]dáb léandab leanṭáp lānaแปลว่า "สิบล้าน"
100,000,000១០០,០០០,០០០មួយរយលាន[muəj rɔj liən]muŏy rôy léanmuoy roy leanmuaya raya lānaแปลว่า "หนึ่งร้อยล้าน"
1,000,000,000១,០០០,០០០,០០០មួយពាន់លាន[muəj pŏən liən]muŏy poăn léanmuoy poan leanmuaya bân lānaแปลว่า "หนึ่งพันล้าน"

อ้างอิง

ทั่วไป
  1. David Smyth (1995). Colloquial Cambodian: A Complete Language Course. Routledge (UK). ISBN 0-415-10006-2.
  2. Huffman, Franklin E.; Charan Promchan; Chhom-Rak Thong Lambert (2008). "Huffman, Modern Spoken Cambodian". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25.
  3. Unknown (2005). Khmer Phrase Book: Everyday Phrases Mini-Dictionary.
  4. Smyth, David; Tran Kien (1998). Practical Cambodian Dictionary (2 ed.). Tuttle Language Library/Charles E. Tuttle Company. ISBN 0-8048-1954-8.
  5. Southeast Asia. Lonely Planet. 2006. ISBN 1-74104-632-7.
  6. preahvihear (2008). "The original names for the Khmer tens: 30–90". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
  7. "SEAlang Library Khmer Lexicography". สืบค้นเมื่อ 2008-12-07.
  8. "Veda:Sanskrit Numbers". สืบค้นเมื่อ 2008-12-10.
เฉพาะ
🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร