เอสบีเอส

โฆษกแห่งชาติเกาหลีใต้

เอสบีเอส หรือ ระบบแพร่สัญญาณโซล (อังกฤษ: Seoul Broadcasting System, SBS; เกาหลี에스비에스; อาร์อาร์e-seu-bi-e-seu) เป็นเครือข่ายสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ใน ประเทศเกาหลีใต้ เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมปี 2000 เป็นหนึ่งในผู้นำสถานีโทรทัศน์ระบบภาคพื้น ออกอากาศในช่องที่ 6 ทั้งระบบทีวีดิจิทัล และระบบเคเบิลทีวี

สถานีโทรทัศน์ระบบแพร่สัญญาณโซล (เอสบีเอส)
ชื่อท้องถิ่น
ฮันกึล
อาร์อาร์Jushikhoesa Eseubieseu
แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์Chusikhoesa Esŭbiesŭ
ชื่อเดิม
ฮันกึล
อาร์อาร์Seoul Bangsong Jusikhoesa
แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์Sŏul Pangsong Chushikhoesa
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
KRX: 034120
อุตสาหกรรม
ก่อตั้ง14 พฤศจิกายน 1990; 33 ปีก่อน (1990-11-14)
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการ
ประเทศเกาหลีใต้
บุคลากรหลัก
  • ยุน เซ-ย็อง (ผู้ก่อตั่ง)
  • พัก จ็อง-ฮุน (ประธาน)
รายได้792,884 ล้านวอน (2015)
รายได้จากการดำเนินงาน
42,152, ล้านวอน (2015)
รายได้สุทธิ
34,884 ล้านวอน (2015)
สินทรัพย์934,369 ล้านวอน (2015)
ส่วนของผู้ถือหุ้น91,262 ล้านวอน (ธันวาคม ค.ศ. 2015)
เจ้าของ
  • เอสบีเอส มีเดีย โฮลดิ้งส์: 30.31%
  • สำนักงานเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลี : 6.98%
  • Kiturami Boiler: 6.30%
  • Mirae Asset Financial Group: 6.02%
พนักงาน
1,141 (ธันวาคม ค.ศ. 2015)
บริษัทแม่เอสบีเอส มีเดีย โฮลดิ้งส์
บริษัทในเครือ
  • เอสบีเอส เอแอนด์ที
  • เอสบีเอส มีเดีย ครีเอท
เว็บไซต์www.sbs.co.kr
เอสบีเอส มีเดีย โฮลดิ้งส์
ชื่อท้องถิ่น
ฮันกึล(주)에스비에스미디어홀딩스
อาร์อาร์Jusikhoesa Eseubieseu Midieoholdingseu
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
KRX: 101060 (2008.3.24)
อุตสาหกรรม
ก่อตั้งโซล, เกาหลีใต้ (4 มีนาคม ค.ศ. 2008 (2008-03-04))
สำนักงานใหญ่,
เกาหลีใต้
บริการบริษัทถือผู้ถือสิทธิ์กิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
รายได้473,523 ล้านวอน (2015)
รายได้จากการดำเนินงาน
23,260 ล้านวอน (2015)
รายได้สุทธิ
25,227 ล้านวอน (2015)
สินทรัพย์881,606 ล้านวอน (ธันวาคม ค.ศ. 2015)
ส่วนของผู้ถือหุ้น69,948 ล้านวอน (ธันวาคม ค.ศ. 2015)
เจ้าของแทยง เอ็นจิเนียริง แอนด์ คอนสตรัคชั่น: 61.42%
Kiturami Boiler Co., Ltd: 8.78%
สำนักงานเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลี: 6.98%
บริษัทแม่Taeyoung E&C (KRX: 009410)
บริษัทในเครือเอสบีเอส
เอสบีเอส คอนเทนต์ส ฮับ
เอสบีเอส มีเดียเน็ต
เว็บไซต์www.sbsmedia.co.kr

เอสบีเอส ก่อตั้งเมื่อ 14 พฤศจิกายน 1990 ถือเป็นบริษัทกระจายเสียงของเอกชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ บริหารงานโดย แท-ยง คอนสตรัคชั่น โดยมีสถานีโทรทัศน์ระดับภูมิภาคทั้งหมด 10 ช่อง และสถานีวิทยุทั้งหมด 3 ช่อง เผยแพร่สัญญาณออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในรูปแบบ ATSC ตั้งแต่ปี 2001 และ T-DMB ตั้งแต่ปี 2005

ประวัติ

หลังจากเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตย ในปี 1987 รัฐบาลมีแนวคิดที่จะจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ขึ้น ในที่สุดสถานีโทรทัศน์เอ็มบีซี ก็ถูกเลือกจากสถานีโทรทัศน์เคบีเอสให้เป็นผู้รับสิทธิ์ในการออกอากาศการแข่งขันฟุตบอลโลก 1986 อย่างไรก็ดี จุดประสงค์หลักในการจักตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งใหม่นี้ ก็เพื่อที่จะเป็นทางเลือกให้กับผู้รับชมที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วก่อนปี 1990 ที่ช่องเอ็มบีซีเชี่ยวชาญ จากการแยกกิจการของเอ็มบีซี ออกจาก เคบีเอส ที่รัฐบาลประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาในการเปิดสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์แห่งใหม่ของเกาหลีใต้ ในชื่อเอสบีเอส

ตามที่สำนักงานเงินบำนาญแห่งชาติเกาหลีรายงาน เอสบีเอส ถือเป็นสถานีโทรทัศน์รายที่สอง ต่อจากเอ็มบีซี ก่อตั้งเมื่อ 14 พฤศจิกายน 1990 ภายหลังจากที่รัฐบาลอนุญาตให้สร้างและดำเนินการสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์แห่งที่สองในกรุงโซล ขณะเดียวกันนั้นก็ได้เริ่มทดลองการออกอากาศ และทดสอบการแพร่สัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 1990 จนถึง 20 มีนาคม 1991 จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ โดยเปิดตัวการแพร่สัญญาณวิทยุอย่างเป็นทางการครั้งแรกในชื่อ เอสบีเอส เรดิโอ ผ่านคลื่น A.M. 792kHz[1]

9 เดือนต่อมา ในวันที่ 1 ธันวาคม 1991 หลังจากที่เอ็มบีซี ฉลองครบรอบ 30 ปีของสถานี เอสบีเอสจึงได้เริ่มออกอากาศในระบบโทรทัศน์อย่างเป็นทางการ ด้วยการเปิดตัวชื่อ เอสบีเอสทีวี เวลา 10.00 น. ในกรุงโซล และถูกกำหนดให้เป็นวันก่อตั้งสถานีอีกด้วย[2] โดยออกอากศผ่านรายการ เอ็มบีซี นิวส์เด็สก์ (MBC Newsdesk) ของสถานีโทรทัศน์เอ็มบีซี[3]

ในช่วงเริ่มต้น เอสบีเอส ออกอากาศเฉพาะในเขตกรุงโซลและบริเวณโดยรอบเท่านั้น จนถึงวันที่ 9 ตุลาคม 1992 รัฐบาลก็ได้เริ่มเปิดรับสมัครเอกชนสำหรับการให้บริการสถานีโทรทัศน์ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ เอสบีเอสก็ได้วางแผนสำหรับเครือข่ายการกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อออกอากาศรายการของสถานีในภูมิภาคอื่น ๆ ก่อนครบรอบ 5 ปี

ปี 1994 สถานีเคเอ็นเอ็น (KNN) ในปูซาน, สถานีทีเจบี (TJB) ในแดจ็อน, สถานีทีบีซี (TBC) ในแดกู และสถานีเคบีซี (KBC) ในกวังจู ถูกจัดตั้งภายหลังที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล[4] โดยเอสบีเอสได้เปิดตัวสถานีดังกล่าวทั้งหมดเป็นสถานีเครือข่าย ในวันที่ 14 พฤษภาคม 1995 โดยเอสบีเอสจะเป็นผู้จัดการ การออกอากาศรายการของสถานีให้กับสถานีเครือข่ายตามภูมิภาค ในขณะเดียวกัน สถานีในเครือเองก็สามารถผลิตรายการสำหรับภูมิภาคของตนเองได้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับชมในภูมิภาคของตนเช่นกัน[5]

ปี 1996 ได้มีการวางแผนสำหรับสถานีวิทยุเอฟเอ็มขึ้น เพื่อช่วยเติมเต็มความหนาแน่นของสถานีระบบเอเอ็ม โดยในวันที่ 14 พฤศจิกายน 1996 สถานีวิทยุเอสบีเอส พาวเวอร์เอฟเอ็ม ได้เริ่มออกอากาศผ่านคลื่นความถี่ 107.7 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยเน้นการออกอากาศเกี่ยวกับเพลงและดนตรีเป็นหลัก และวันที่ 4 มกราคม 1999 สถานีวิทยุเดิมของช่อง เอเอ็ม 792 กิโลเฮิรตส์ (kHz) ก็ได้เริ่มออกอากาศทาง ระบบเอฟเอ็ม เช่นกัน โดยเปลี่ยนชื่อเป็น เอสบีเอส เลิฟเอฟเอ็ม ที่คลื่นความถี่ 103.5 เมกะเฮิรตส์ โดยออกอากาศคู่ขนานทั้ง 2 ระบบความถี่[6]

เอสบีเอส เริ่มออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลความคมชัดสูง ในระบบ ATSC ปี 2001 และ DMB ในปี 2005

เอสบีเอส เปิดตัวโลโก้ปัจจุบันในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2000 หลังจากฉลองครบรอบ 10 ปีผ่านรายการพิเศษชื่อ SBS 10th Aniversary Special : Thank You, Viewers ตราประจำสถานีถูกนำไปใช้ในหลายวัตถุประสงค์หลายภาคส่วนเช่น รถยนต์, ไมโครโฟน, ซองจดหมาย, นามบัตร, ของที่ระลึก, เฮลิคอปเตอร์, ป้ายประกาศต่าง ๆ, เครื่องแบบพนักงาน ตลอดจนชื่อขึ้นต้นของรายการ[7]

วันที่ 29 ตุลาคม 2012 เอสบีเอสถือเป็นสถานีโทรทัศน์ในประเทศเกาหลีใต้รายที่ 2 ที่ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ก่อนจะยกเลิกในปี 2017 โดยมีกำหนดการเปิดและปิดสถานีในช่วงข้ามคืน (เช่นเดียวกับสถานีเอ็มบีซี)

สโลแกนการประชาสัมพันธ์สถานีปัจจุบันคือ ร่วมกันสร้างความสุขด้วยกัน (함께 만드는 기쁨) โดยใช้ในสื่อประชาสัมพันธ์ของสถานีซึ่งใช้เพลง We Can Be Anything ของศิลปิน apl.de.ap เป็นเพลงประกอบ[8][9]

สถานี

1 สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (เอสบีเอส ช่องหมายเลข 6)

3 สถานีวิทยุกระจายเสียง

ชื่อสถานีคลื่นความถี่กำลังส่งสัญญาณ (kW)จุดส่งสัญญาณวิทยุ
เอสบีเอส เลิฟ เอ็ฟเอ็มAM : 792 kHz
FM : 103.5 MHz
FM : 98.3 MHz
50 kW (AM)
10 kW (FM)
เขตนึงกก, เมืองโกยาง, จังหวัดคย็องกี (AM)
เขากวันอัก, กรุงโซล (FM)
เมืองอีช็อน, จังหวัดคย็องกี (FM)
เอสบีเอส พาวเวอร์ เอ็ฟเอ็มFM : 107.7 MHz
FM : 100.3 MHz
10 kW
100 W
เขากวันอัก, กรุงโซล
เขตแซ็งย็อน, เมืองทงดูช็อน, จังหวัดคย็องกี
เอสบีเอส วี-เรดิโอช่อง 12C

ในระบบ DMB

2 kWเขากวันอัก, กรุงโซล

7 สถานีโทรทัศน์บนระบบเคเบิลทีวี (เอสบีเอสพลัส, เอสบีเอสกอล์ฟ, เอสบีเอสฟันอี, เอสบีเอสสปอร์ตส์, เอสบีเอสเอ็ม, เอสบีเอสบิส, คิสมัม)

การลงทุนและบริษัทในเครือ

บริษัทในกลุ่ม

ชื่อบริษัทหมายเหตุ
เอสบีเอส มีเดีย โฮลดิ้งส์
(SBS Media Holdings)
เก็บถาวร 2015-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[10]
บริษัทแม่ของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์เอสบีเอส
เอสบีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล
(SBS International, Inc.)
กำกับดูแลเอสบีเอส อเมริกา ตั้งอยู่นครลอสแอนเจลิส
เอสบีเอส อคาเดมี
(SBS Academy)
ฝึกอบรมและบริหารจัดการพนักงานของสถานี
เอสบีเอส อาร์เทค
(SBS Artech)
ให้บริการการด้านการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
เอสบีเอส นิวส์เทค
(SBS Newstech)
ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
เอสบีเอส คอนเทนต์ส ฮับ
(SBS Contents Hub)
ผู้ให้บริการเผยแพร่สื่อออนไลน์
มูลนิธิวัฒนธรรมเอสบีเอส
(SBS Culture Foundation)
เก็บถาวร 2021-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ให้บริการเกี่ยวกับการออกอากาศและนวัตกรรมทางวัฒนธรรม
มูลนิธิซอ-อัม
(Seoam Foundation)
เก็บถาวร 2020-12-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
มอบทุนการศึกษาแก่บุคคลที่สมควรได้รับ
เอสบีเอส มีเดียเน็ต
(SBS Medianet)
กำกับดูแลสถานีโทรทัศน์บนระบบเคเบิลทีวี ได้แก่สถานีเอสบีเอสฟิล (SBS F!L), เอสบีเอสกอล์ฟ, เอสบีเอสสปอร์ตส์, เอสบีเอสเอ็ม, เอสบีเอสบิส และ คิสมัม
มีเดียเน็ตพลัส
(Medianet Plus)
กำกับดูแลสถานีโทรทัศน์บนระบบเคเบิลทีวี ได้แก่สถานี เอสบีเอสพลัส และ เอสบีเอสฟันอี
สตูดิโอ เอส
(Studio S)
กำกับดูแลการผลิตละครภายในสถานี
Binge Works[11]บริษัทผลิตสื่อ
Vlending Co., Ltd.
(เอสบีเอส และ เอ็มบีซี)
กำกับดูแลการจัดจำหน่ายเพลง

สถานีระดับภูมิภาค

ชื่อสถานีชื่อหน่วยงานภูมิภาคที่ออกอากาศวันที่เริ่มออกอากาศ
เอสบีเอส (SBS)ระบบแพร่สัญญาณโซลกรุงโซล14 พฤศจิกายน 1990
เคเอ็นเอ็น (KNN)Korea New Networkปูซาน และ คย็องซังใต้เมษายน 1994
ทีเจบี (TJB)TaeJon Broadcastingแทจ็อน, เซจง และ ชุงช็องใต้9 เมษายน 1994
เจไอบีเอส (JIBS)Jeju International Broadcasting Systemเกาะเชจู10 เมษายน 1994
ทีบีซี (TBC)Taegu Broadcasting Corporationแทกู และ คย็องซังเหนือ10 สิงหาคม 1994
เคบีซี (kbc)Kwangju Broadcasting Corporationควังจู และ ช็อลลาใต้10 สิงหาคม 1994
ซีเจบี (CJB)Cheongju Broadcastingชุงช็องเหนือ5 กรกฎาคม 1996[12]
ยูบีซี (ubc)Ulsan Broadcasting Corporationอุลซัน4 กันยายน 1996
เจทีวี (JTV)Jeonju Televisionช็อลลาเหนือ25 มกราคม 1997
จีวัน (G1)Gangwon No.1 Broadcastingคังว็อน16 พฤศจิกายน 1999

รายการออกอากาศ

ละครของสถานีโทรทัศน์เอสบีเอส เป็นส่วนหนึ่งของ กระแสเกาหลี ที่ส่งออกไปยังหลายประเทศทั่วโลก ไฟรักแผ่นดินเดือด (Sandglass) เป็นหนึ่งในละครที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้ชมในเกาหลีใต้ [13] และยังมีละครเรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอาทิฝันรัก...ปารีส (Lovers in Paris), มรดกรัก ฉบับพันล้านวอน, พิษรักแรงแค้น (Temptation of Wife), วุ่นรักทายาทพันล้าน และ ยัยตัวร้ายกับนายต่างดาว[14] อีกทั้งยังผลิตรายการความบันเทิงประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่รายการให้ข้อมูล, รายการตลก, รายการดนตรี, รายการประเภทเรียลลิตี้, รายการทอล์คโชว์ และรายการประเภทการแข่งขัน ซึ่งก็มีหลายรายการที่เป็นที่นิยมทั่วทั้งเอเชีย อาทิ X-Man ปริศนาเขาคือใคร, Family Outing ครอบครัวตัวเก่ง, รันนิงแมน, อินกีกาโย และอื่น ๆ อีกมากมาย[15][16]รวมถึงรายการประเภทสารคดี ที่ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ อย่างรายการ Unanswered Questions (그것이 알고싶다) ออกอากาศครั้งแรกในปี 1992 ตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับเสียงตอบรับต่างๆหลายรูปแบบ จากการสืบสวนจากมุมมองของนักข่าว อีกทั้งยังมีรายการ เอสบีเอส 8 นิวส์ ออกอากาศเวลา 20.00 น. ซึ่งทำลายประเพณีของวงการข่าวที่สถานีโทรทัศน์อื่นมักออกอากาศเวลา 21.00 น. โดยมีสโลแกนว่า "ข่าวหนึ่งชั่วโมงก่อนหน้านี้"[17] นอกจากนี้ยังผลิตรายการวิเคราะห์ข่าวต่าง ๆ เช่น รายการ Morning Wide, Nightline, SBS Current Affairs Debate, Curious Stories Y, and In Depth 21 ซึ่งครอบคลุมทั้งประเด็นการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรมในขณะนั้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

37°31′44″N 126°52′26″E / 37.52884°N 126.873881°E / 37.52884; 126.873881

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง