อันโตญีน ดโวชาก

(เปลี่ยนทางจาก แอนโทนิน ดโวชาค)

อันโตญีน ดโวชาก (เช็ก: ) เป็นคีตกวีชาวเช็ก เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) ที่เมืองมุลโฮเซน (ในภาษาเช็กคือเมืองเนลาโฮเซเวส) ห่างจากกรุงปรากออกไปทางตอนเหนือราว 20 กิโลเมตร ในแคว้นโบฮีเมีย (สาธารณรัฐเช็ก) และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ที่กรุงปราก

อันโตญีน ดโวชาก

ชีวประวัติและผลงาน

บิดาของดโวชากเป็นเจ้าของโรงเตี๊ยมและโรงฆ่าสัตว์ของหมู่บ้าน ดโวชากต้องออกจากโรงเรียนเมื่ออายุ 11 ปี เพื่อฝึกหัดอาชีพของบิดา แต่บิดาก็รู้ถึงความสามารถทางดนตรีที่โดดเด่นของบุตรชายอย่างรวดเร็ว และในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) ได้ส่งเขาให้ไปอยู่กับลุงที่เมืองซโลนิซ ที่ซึ่งดโวชากได้เรียนภาษาเยอรมัน อันเป็นภาษาภาคบังคับของทางการออสเตรีย และได้พัฒนาความรู้ทางวัฒนธรรมดนตรี และได้เข้าร่วมวงดนตรีของหมู่บ้านเขาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนในเมืองคาเมนิซ ในปี พ.ศ. 2400 (ค.ศ. 1857) เขาได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนออร์แกนแห่งกรุงปราก ที่ซึ่งเขาพำนักอยู่ถึงปี พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) จากนั้น ดโวชากก็ได้เข้าร่วมวงดุริยางค์ของโรงละครแห่งชาติที่กรุงปรากและเริ่มประพันธ์เพลง เขาประสบผลสำเร็จครั้งแรกจากการประพันธ์เพลงศาสนา ชื่อ ฮิมนุส ในปี พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1872) และได้รับตำแหน่งผู้จัดการแสดงดนตรีของโบสต์นักบุญอัลดาเบิร์ต

ผลงานชิ้นสำคัญ

ซิมโฟนี

เชมเบอร์มิวสิก

  • ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล หมายเลข 1 ในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 21 B51
  • ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล หมายเลข 2 ในบันไดเสียง จีไมเนอร์ โอปุส 26 B56
  • ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล ในบันไดเสียง เอฟไมเนอร์ โอปุส 65 B130
  • ทริโอสำหรับเปียโน ไวโอลิน และเชลโล Dumky โอปุส 90 B166
  • ควอร์เต็ตสำหรับเปียโน
  • ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย ประกอบไปด้วย
    • ควอร์เต็ตในบันไดเสียง ซีเมเจอร์ โอปุส 61 B121
    • ควอร์เต็ต "อเมริกัน" ในบันไดเสียง เอฟเมเจอร์ โอปุส 96 B179
    • ควอร์เต็ตในบันไดเสียง จีเมเจอร์ โอปุส 106 B192
    • ควอร์เต็ตในบันไดเสียง บีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 105 B193
  • ควินเต็ตสำหรับเปียโน ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุส 81 B155
  • ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย ในบันไดเสียง อีแฟลตเมเจอร์ โอปุส 97 B180
  • เซ็กซ์เต็ต ในบันไดเสียง เอเมเจอร์ โอปุส 48

บทเพลงขับร้อง

  • สตาบัต มาแตร์ โอปุสที่ 58 B71
  • รูซัลก้า โอปุสที่ 114 B203

อ้างอิง

  • New Grove Dictionary of Music and Musicians: Dvořák, Antonín
  • Beckerman ed.: Dvořák and his World (Princeton, NJ, 1993)
  • Beckerman, Michael. New worlds of Dvořák : searching in America for the composer's inner life (2003) New York : Norton, c2003.
  • Beveridge, ed.: Rethinking Dvořák: Views from Five Countries (Oxford, 1996)
  • Burghauser: ‘Concerning one of the Myths about Dvořák: Dvořák and the Apprentice Butcher’, Czech Music, xviii/1 (1993–4), 17–24
  • Burghauser, Jarmil “Antonín Dvořák” (1976) Praha : Státní Hudební Vydavatelství
  • Černušák, Gracián (ed.); Štědroň, Bohumír; Nováček, Zdenko (ed.) (1963).
  • Československý hudební slovník I. A-L. Prague: Státní hudební vydavatelství. (in Czech)
  • Clapham, John (1966), Dvořák, Musician and Craftsman, London: Faber and Faber Ltd./New York: St. Martin's Press
  • Clapham, John (1979), Dvořák, WW Norton & Co Inc. New York/London.
  • Dvořák, Otakar. “Antonín Dvořák, My Father” (English Translation) (1993)
  • Honolka, Kurt; Wyburd, Anne (transl.) (2004). Dvořák. London: Haus Publications. ISBN 1-904341-52-7.
  • Hughes, Gervase (1967), Dvořák, His Life & Music, Casell, London
  • Hurwitz, David. “Dvořák: Romantic Music’s Most Versatile Genius.” (2005) New Jersey, US
  • Loven: Dvořák in Spillville: 100 days, 100 years ago 1893–1993 (Spillville, IA, 1993)
  • Melville-Mason: ‘Sir Thomas Beecham and Antonín Dvořák’, Czech Music, xvii/2 (1991–2), 44–8
  • Melville-Mason: ‘Dvořák and Elgar’, Czech Music, xvii/1 (1991–2), 30–38
  • Peress, Maurice. “Dvorák to Duke Ellington: A conductor explores America's music and its African American roots” (2004) New York, United States
  • Pospíšil and M. Ottlová, eds.: Antonín Dvořák 1841–1991 (Prague, 1994)
  • Škvorecký, Josef. Dvořák in love : A Light-Hearted Dream” translated from the Czech by Paul Wilson. New York : Knopf : Distributed by Random House, 1987, c1986.
  • Smaczny, Jan. Dvořák: Cello Concerto. Cambridge Music Handbooks. Cambridge University Press, Cambridge, 1999.
  • Tibbetts, ed.: Dvořák in America 1892–1895 (Portland, OR, 1993)
  • Vaan Straaten, Jan. Slavonic Rhapsody: The Life of Antonín Dvořák. New York : Allen, Towene & Heath Inc, 1948
  • Wollenberg: ‘Celebrating Dvořák: Affinities between Schubert and Dvořák’, MT, cxxxii (1991), 434–7

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง