โซเฟีย

โซเฟีย (/ˈsfiə, ˈsɒf-, sˈfə/ SOH-fee-ə-,_-SOF;[12][13] บัลแกเรีย: София, อักษรโรมัน: Sofiya,[14][15]) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศบัลแกเรีย นครตั้งอยู่บริเวณตีนภูเขาวีตอชาทางภาคตะวันตกของประเทศ และตั้งอยู่บริเวณศูนย์กลางของคาบสมุทรบอลข่าน จึงถือเป็นนครทางผ่านที่สำคัญบนเส้นทางระหว่างทะเลดำกับทะเลเอเดรียติก นอกจากนี้ นครยังตั้งอยู่ใกล้กับทะเลอีเจียน[16][17]

โซเฟีย

София
เมืองหลวง
ธงของโซเฟีย
ธง
ตราราชการของโซเฟีย
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
Ever growing, never aging[1]
(Расте, но не старее)
โซเฟียตั้งอยู่ในบัลแกเรีย
โซเฟีย
โซเฟีย
ที่ตั้งของโซเฟีย
โซเฟียตั้งอยู่ในยุโรป
โซเฟีย
โซเฟีย
โซเฟีย (ยุโรป)
พิกัด: 42°42′N 23°20′E / 42.70°N 23.33°E / 42.70; 23.33
ประเทศ บัลแกเรีย
จังหวัดนครหลวงโซเฟีย
ตั้งถิ่นฐานในยุคโบราณ7,000 ปีก่อนคริสตกาล[3]
นีโอลิทิกเข้ามาตั้งถิ่นฐาน5,500–6,000 ปีก่อนคริสตกาล[4]
เทรเชียนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน1400 ปีก่อนคริสตกาล[5][6]
ภายใต้การปกครองของโรมันค.ศ. 46 (เซอร์ดิกา)[7]
ภายใต้การครอบครองของกรุมค.ศ. 809 (เซรเดตส์)[7]
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรียอร์ดันกา ฟันดาคอวา (GERB)
พื้นที่
 • เมืองหลวง492 ตร.กม. (190 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[10]5,723 ตร.กม. (2,210 ตร.ไมล์)
ความสูง[11]500–699 เมตร (1,640–2,293 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2019)
 • เมืองหลวงเพิ่มขึ้น 1,242,568[2] คน
 • ความหนาแน่น2,526 คน/ตร.กม. (6,540 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมืองลดลง 1,549,090[9] คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง271 คน/ตร.กม. (700 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑลลดลง 1,678,041[8] คน
เดมะนิมโซฟีอัน (อังกฤษ)
Софиянец/โซฟียาเน็ตส์ (บัลแกเรีย)
เขตเวลาUTC+02:00 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+03:00 (EEST)
รหัสพื้นที่(+359) 02
ทะเบียนรถC, CA, CB
เว็บไซต์www.sofia.bg

โซเฟียเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 13 ของสหภาพยุโรป สภาพภูมิประเทศล้อมรอบด้วยภูเขาวีตอชาทางทิศใต้ ภูเขาลิวลินทางทิศตะวันตก และเทือกเขาบอลข่านทางทิศเหนือ ทำให้โซเฟียเป็นเมืองหลวงที่มีระดับความสูงมากเป็นอันดับที่สองของทวีปรองจากมาดริด ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิสการ์และมีแหล่งน้ำแร่หลายแห่ง รวมถึงโรงอาบน้ำแร่กลางโซเฟีย นครมีสภาพภูมิอากาศชื้นภาคพื้นทวีป โซเฟียเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย สถาบันทางวัฒนธรรม และบริษัทพาณิชย์ที่สำคัญของประเทศ[18] นครได้รับสมญาว่าเป็น "สามเหลี่ยมแห่งขันติทางศาสนา"[19] ทั้งนี้เป็นเพราะนครมีศาสนสถานที่สำคัญของทั้งสามศาสนา ได้แก่ โบสถ์นักบุญเนเดลยา (คริสต์), มัสยิดบันยา บาชิ (อิสลาม) และธรรมศาลาโซเฟีย (ยูดาห์)

โซเฟียติด 1 ใน 10 สถานที่ที่เหมาะแก่การเริ่มต้นธุรกิจที่ดีที่สุดในโลก โดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[20] นอกจากนี้ ยังเป็นเมืองหลวงซึ่งมีค่าใช้จ่ายจับต้องได้ที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดใน ค.ศ. 2013[21] ใน ค.ศ. 1979 โบสถ์บอยานาในโซเฟียได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งมรดกโลก โบสถ์นี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของนิกายออร์โธด็อกซ์ในบัลแกเรีย มันเคยถูกทำลายในช่วงจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 โซเฟียเป็นที่ตั้งของโรงละครโอเปราและบัลเลต์แห่งชาติ, วังวัฒนธรรมแห่งชาติ, สนามกีฬาแห่งชาติวาซิล เลฟสกี, โรงละครแห่งชาติอิวัน วาซอฟ, พิพิธภัณฑสถานโบราณคดีแห่งชาติ และอัฒจันทร์เซอร์ดิกา จึงทำให้นครเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของยุโรปตะวันตก หอศิลป์สังคมนิยมในโซเฟียแสดงประติมากรรมและจิตรกรรมซึ่งทำให้ผู้เข้าชมได้เข้าใจถึงชีวิตในยุคสังคมนิยมบัลแกเรีย[22]

ประชากรในโซเฟียลดลงจาก 70,000 คนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ต่อมาลดลงสู่ 19,000 คนใน ค.ศ. 1870 และลดลงสู่ 11,649 คนใน ค.ศ. 1878 แต่หลังจากนั้น ประชากรก็กลับมาเพิ่มขึ้น[23] จนในปัจจุบัน โซเฟียมีประชากร 1.24 ล้านคน[2] ในพื้นที่ 492 ตารางกิโลเมตร[24] หากนับพื้นที่เขตเมืองที่ล้อมรอบ (จังหวัดนครหลวงโซเฟียและบางส่วนของจังหวัดโซเฟียกับจังหวัดเปอร์นิก) เข้าไปด้วยแล้ว จะมีประชากร 1.54 ล้านคน[9] ในพื้นที่ 5,723 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5.16 ของพื้นที่ทั้งประเทศ[10] พื้นที่ปริมณฑลของโซเฟียใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงในการเดินทางผ่าน โดยมีถนนสายหนึ่งเชื่อมต่อกับเมืองดีมีตรอฟกราดในประเทศเซอร์เบีย[25] ปริมณฑลแห่งนี้ไม่เหมือนกับแห่งอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เพราะมันไม่ถูกจัดว่าเป็นปริมณฑลทางการ แต่เป็นเพียงปริมณฑล "เชิงจำกัด" เท่านั้น[26] ภูมิภาคปริมณฑลของโซเฟียมีประชากร 1.67 ล้านคน[8]

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • "Sofia in Figures" (PDF) (ภาษาบัลแกเรีย และ อังกฤษ). National Statistical Institute of Bulgaria. 2016. สืบค้นเมื่อ 26 October 2018.

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง