โตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์

โตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์ (ญี่ปุ่น: 東京ヤクルトスワローズ; อังกฤษ: Tokyo Yakult Swallows) เป็นทีมเบสบอลระดับอาชีพในเซ็นทรัลลีกของประเทศญี่ปุ่น

โตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์
ลีกเซ็นทรัลลีก
สถานที่กรุงโตเกียว
สนามเบสบอลเมจิจินจูสเตเดียม
ปีที่ก่อตั้งค.ศ. 1950
ฉายายาคูลท์ (ヤクルト),
สวอลโลวส์ (スワローズ),
สึบะเมะ (燕, หมายถึงนกนางแอ่น)
แชมป์ลีกค.ศ. 1978, 1992, 1993, 1995, 1997, 2001
แชมป์ก่อนเปิดฤดูกาลค.ศ. 1978, 1993, 1995, 1997, 2001
ชื่อในอดีตโคะคุเทะสึสวอลโลวส์ (ค.ศ. 1950–1965),
ซันเคะอิสวอลโลวส์ (ค.ศ. 1965),
ซันเคะอิอะตอมส์ (ค.ศ. 1966–1973),
ยาคูลท์สวอลโลวส์ (ค.ศ. 1974–2005)
สีขาว, แดง และน้ำเงินเข้ม
การออกแบบเครื่องหมาย"โตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์" เขียนในสีแดงและน้ำเงินเข้ม
เครื่องแบบ

Home

เยือน

เมจิจินจูสเตเดียมภายหลังจากการปรับปรุงใหม่ก่อนฤดูกาล 2008
เมื่อใดก็ตามที่ทีมสวอลโลวส์ทำการรันได้ กองเชียร์จะทำการกางร่ม[1]

ทีมสวอลโลวส์ได้รับการตั้งชื่อตามเจ้าขององค์กร ซึ่งก็คือบริษัทยาคูลท์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1950-1965 อดีตเจ้าของทีมคือการรถไฟญี่ปุ่น (หรือรู้จักกันในชื่อโคะคุเทะสึ (国鉄) ในภาษาญี่ปุ่น) และเรียกในชื่อโคะคุเทะสึสวอลโลวส์ หลังจากนั้น ทางบริษัทหนังสือพิมพ์ซันเคะอิชินบุนได้เข้ามาเป็นเจ้าของทีมตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ถึง 1968 และมีชื่อเรียกคือ ซันเคะอิอะตอม ก่อนที่ทางบริษัทยาคูลท์เข้ามาซื้อทีมใน ค.ศ. 1970 และกลับมาเรียกชื่อทีมว่าสวอลโลวส์ดังเดิมใน ค.ศ. 1974 หลังจากนั้น ได้มีการเปลี่ยนชื่อทีมเป็นโตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์ ใน ค.ศ. 2006

ยุคโคะคุเทะสึและซันเคะอิ (ค.ศ. 1950-1968)

ทีมนี้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ. 1950 เมื่อทีมได้รับการก่อตั้งโดยอดีตเจ้าของคือการรถไฟญี่ปุ่น และตัดสินใจที่จะใช้ชื่อทีมคือโคะคุเทะสึสวอลโลวส์ ใน ค.ศ. 1961 ทีมได้รับการลงเอยด้วยการเป็นที่ 3 ในลีกได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของทีม

ยุคยาคูลท์ (ค.ศ. 1974-2005)

ใน ค.ศ. 1990 คะสึยะ โนะมุระ ได้กลายมาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ของสวอลโลวส์ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขีดในทีม แม้ว่าช่วงปีแรกของเขาจะช่วยทีมสวอลโลวส์ได้เพียงอันดับ 5 ในลีก แต่ทีมสวอลโลวส์ก็ได้อันดับ 3 ในปีถัดมาได้เป็นครั้งแรกนับจาก ค.ศ. 1980

ยุคโตเกียวยาคูลท์ (ค.ศ. 2006-ปัจจุบัน)

ใน ค.ศ. 2006 ได้มีการเพิ่มคำว่าโตเกียวเข้าไปในชื่อทีม ส่งผลให้ทีมมีชื่อว่าโตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์ และตราสัญลักษณ์ของกรุงโตเกียวได้เพิ่มลงบนชุดกีฬาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สมัยโคะคุเทะสึ ทีมนี้มีอัตราชนะร้อยละ .500 และจบลงด้วยการได้อันดับ 3 ในลีก

ค.ศ. 2011 จัดเป็นปีที่น่าประทับใจสำหรับทีมสวอลโลวส์ โดยในเดือนเมษายน ทีมสวอลโลวส์ได้ก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของเซ็นทรัลลีกและสามารถครองการเป็นอันดับ 1 ไปจนถึงเดือนกันยายนเมื่อทีมชุนอิจิดรากอนส์ได้ก้าวเข้าสู่การชิงชัยในช่วงท้าย ส่งผลให้ทีมสวอลโลวส์ได้อันดับ 2 ของเซ็นทรัลลีกในท้ายที่สุด

ทีมสวอลโลวส์เข้าแข่งขันไคลแมกซ์ซีรีส์ใน ค.ศ. 2009 และได้พบกับทีมโยะมิอุริไจแอนส์ในสนามแรก โดยเป็นฝ่ายชนะที่ 2-1 เกม ทีมสวอลโลวส์ได้เลื่อนขึ้นสู่สนาม 2 เป็นครั้งแรกและได้ทำการชิงแชมป์เซ็นทรัลลีกกับทีมชุนอิจิดรากอนส์ โดยทีมสวอลโลวส์เป็นฝ่ายแพ้ทีมดรากอนส์ที่ 2-4 เกม และเป็นการจบฤดูกาลหลัง โดยในตอนท้ายของฤดูกาล ฮิโระโทะชิ อิชิอิ ได้อำลาออกจากทีม

ค.ศ. 2012 โนะริชิกะ อะโอะกิ ได้รับการถ่ายไปยังทีมมิลวอกีบริวเวอร์ และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2012 สำนักงานใหญ่ได้ย้ายไปยังคิตะ-อะโอะยะมะ[ต้องการอ้างอิง]ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมจิชินงูสเตเดียมนับจากฮิงะชิ-ชินบะชิ[2]

สมาชิกทีมปัจจุบัน

ผู้จัดการและหัวหน้าผู้ฝึกสอน

  • 80 ชุนจิ โอะงะวะ (小川 淳司)

ผู้ขว้างลูก

  • 11 โยะชิโนะริ ซะโต (佐藤 由規)
  • 12 ทะอิจิ อิชิยะมะ (石山 泰稚)
  • 13 ยูยะ โอตะ (太田 裕哉)
  • 14 มะซะโตะ นะคะซะวะ (中澤 雅人)
  • 15 เคียวเฮ มุระนะกะ (村中 恭兵)
  • 16 เรียวเฮ คิยะ (木谷 良平)
  • 17 คริส เลอรูซ์ (クリス・ラルー)
  • 19 มะซะโนะริ อิชิคะวะ (石川 雅規)
  • 20 เทะสึยะ ยะมะโมะโตะ (山本 哲哉)
  • 21 เคนอิจิ มะสึโอะกะ (松岡 健一)
  • 22 ทะสึโยะชิ มะสุบุชิ (増渕 竜義)
  • 25 โชเฮ ทะเคะยะมะ (館山 昌平)
  • 26 เคนทะโร คิวโกะ (久古 健太郎)
  • 29 ยะสุฮิโระ โอะงะวะ (小川 泰弘)
  • 34 โทนี บาร์เนตต์ (トニー・バーネット)
  • 35 เคนโกะ ทะงะวะ (田川 賢吾)
  • 38 ยูจิ นะกะเนะ (中根 佑二)
  • 40 มะซะโตะ ฟุรุโนะ (古野 正人)
  • 42 ยูกิ ชิจิเจียว (七條 祐樹)
  • 43 มะซะยะ เอะมุระ (江村 将也)
  • 44 โคสุเกะ มะสุอิ (松井 光介)
  • 45 เรียว ฮิดะกะ (日高 亮)
  • 47 คะสึกิ อะคะงะวะ (赤川 克紀)
  • 49 ทะสึยะ โอบะ (大場 達也)
  • 51 ไทโย ฟุจิตะ (藤田 太陽)
  • 58 เคนตะ อะเบะ (阿部 健太)
  • 61 อิสึกิ โชดะ (正田 樹)
  • 62 ทะเคะอะกิ โทะคุยะมะ (徳山 武陽)
  • 63 ฮิโตะชิ ยะมะโมะโตะ (山本 斉)
  • 65 ทะเคะฮิโกะ โอะชิโมะโตะ (押本 健彦)
  • 66 ราฟาเอล เฟอร์นันเดส (ラファエル・フェルナンデス)
  • 67 เรียว ฮิระอิ (平井 諒)
  • 70 เรียวสุเกะ ยะงิ (八木 亮祐)
  • 91 ฮิวโก คะนะบุชิ (金伏 ウーゴ)

ผู้รับลูก

  •  2 เรียวจิ ไอคะวะ (相川 亮二)
  • 28 มะซะฮิโกะ ทะนะกะ (田中 雅彦)
  • 30 อะกิฮิสะ นิชิดะ (西田 明央)
  • 32 เก็นคิ นิตตะ (新田 玄気)
  • 37 ยูได โฮะชิโนะ (星野 雄大)
  • 52 ยูเฮ นะกะมุระ (中村 悠平)
  • 59 ยูกิ มิซุโนะ (水野 祐希)

ผู้เล่นฝ่ายรับเขตใน

  • 00 ไคโซ คะวะชิมะ (川島 慶三)
  •  5 ชินโงะ คะวะบะตะ (川端 慎吾)
  •  6 ชินยะ มิยะโมะโตะ (宮本 慎也)
  •  7 ฮิโระยะสุ ทะนะกะ (田中 浩康)
  •  8 ชินอิจิ ทะเคะอุจิ (武內 晋一)
  • 10 อะสึชิ ฟุจิโมะโตะ (藤本 敦士)
  • 23 เทะสึโตะ ยะมะดะ (山田 哲人)
  • 24 ทะกะฮิโระ อะระกิ (荒木 貴裕)
  • 33 คะซุฮิโระ ฮะตะเคะยะมะ (畠山 和洋)
  • 39 โทะโมะยะ มะตะโนะ (又野 知弥)
  • 46 เรียวตะ ยะชิ (谷内 亮太)
  • 48 อะคิโนะริ อิวะมุระ (岩村 明憲)
  • 54 เคสุเกะ มิซุตะ (水田 圭介)
  • 55 โยะชิยุกิ โนะงุชิ (野口 祥順)
  • 60 มะซะโยะชิ มิวะ (三輪 正義)
  • 68 เรียวสุเกะ โมะริโอะกะ (森岡 良介)

ผู้เล่นฝ่ายรับเขตนอก

  •  0 วะตะรุ ฮิยะเนะ (比屋根 渉)
  •  4 วลาดีเมียร์ บาเลนทิน (ウラディミール・バレンティン)
  •  9 ยะสุชิ อีฮะระ (飯原 誉士)
  • 31 ยูอิจิ มะสึโมะโตะ (松元 ユウイチ)
  • 41 ยูเฮ ทะกะอิ (高井 雄平)
  • 50 สึโยะชิ อุเอะดะ (上田 剛史)
  • 56 ยูสุเกะ คุสุกิ (楠城 祐介)
  • 57 จุน มะสึอิ (松井 淳)
  • 64 นะริอะกิ คะวะซะกิ (川崎 成晃)
  • 85 แลสติง มิลเลดจ์ (ラスティングス・ミレッジ)
  • 111 ทะกะโนะริ ซะโต (佐藤 貴規)

ผู้ฝึกสอน

  • 72 ไดสุเกะ อะระกิ (荒木 大輔) – หัวหน้าและการขว้างลูก
  • 84 โทะโมะฮิโตะ อิโต (伊藤 智仁) – การขว้างลูก
  • 81 ทะกะโอะ อิเสะ (伊勢 孝夫) – การตีลูก
  • 82 ชินอิจิ ซะโต (佐藤 真一) – การตีลูก
  • 87 โนะริยุกิ ชิโระอิชิ (城石 憲之) – การป้องกันและการวิ่งเบส
  • 88 เทะสึยะ อีดะ (飯田 哲也) – การป้องกันและการวิ่งเบส
  • 71 ชิกะชิ นะกะนิชิ (中西 親志) – การทำโจมตี
  • 77 มิสึรุ มะนะกะ (真中 満) – ผู้จัดการทีมชุดเยาวชน
  • 92 อะกิมิสึ อิโต (伊東 昭光) – การขว้างลูกทีมชุดเยาวชน
  • 93 ฮิโระโตะ คะโต (加藤 博人) – การขว้างลูกทีมชุดเยาวชน
  • 79 เคนจิ อะวะงุชิ (淡口 憲司) – การตีลูกทีมชุดเยาวชน
  • 96 ทะกะฮิโระ อิเคะยะมะ (池山 隆寛) – การตีลูกทีมชุดเยาวชน
  • 75 คะสึยุกิ โดะบะชิ (土橋 勝征) – การป้องกันและการวิ่งเบสทีมชุดเยาวชน
  • 83 ฮิโระบุมิ วะตะระอิ (度会 博文) – การป้องกันและการวิ่งเบสทีมชุดเยาวชน
  • 78 เคนจิ ฟุรุคุโบะ (古久保 健二) – การทำโจมตีทีมชุดเยาวชน
  • 89 มะสะโนะริ มะสึอิ (松井 優典) – การพัฒนาทีมชุดเยาวชน
  • 98 ฮิโระโทะชิ อิชิอิ (石井 弘寿) – การพัฒนาทีมชุดเยาวชน

หมายเลขเกียรติยศ

  • 1-สึโทะมุ คะวะมะสึ (若松 勉)
  • 8-โอสุกิ คะสึโอะ (大杉 勝男)
  • 27-อะสึยะ ฟุรุตะ (古田 敦也) – ผู้จัดการนักเบสบอลใน ค.ศ. 2006–2007

อดีตผู้เล่น

  • โจ เพปิโทน (ค.ศ. 1973)
  • ชาร์ลี มานูเอล (ค.ศ. 1976–1978)
  • ฟลอยด์ แบนนิสเตอร์ (ค.ศ. 1990)
  • เร็กซ์ ฮัดเลอร์ (ค.ศ. 1993)
  • เฮนสลีย์ มูเลนส์ (ค.ศ. 1993)
  • โรแบร์โต เพทาจีน (ค.ศ. 1999-2002)
  • แอรอน กาอิล (ค.ศ. 2007-2011)

ผู้เล่นเอ็มแอลบี

  • โจ เพปิโทน (ค.ศ. 1962-1973)
  • มะซะโตะ โยะอิชิ (ค.ศ. 1998–2002)
  • คะซุฮิสะ อิชิอิ (ค.ศ. 2002–2005)
  • ชินโงะ ทะคะสึ (ค.ศ. 2004–2005)
  • อะคิโนะริ อิวะมุระ (ค.ศ. 2007–2010)
  • เรียวตะ อิงะระชิ (ค.ศ. 2010–2012)
  • โนะริชิกะ อะโอะกิ (ค.ศ. 2012–)

ตัวนำโชค

ตัวนำโชคของทีมเป็นนกนางแอ่นสีดำที่มีใบหน้าสีแดงชื่อ สึบะคุโร เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้มีความระหองระแหงกับตัวนำโชคของทีมโอริกซ์บัฟฟาโลส์

หมายเลขที่อยู่บนด้านหลังเสื้อของเขาคือ "8960" ซึ่งขัดแย้งกับ 111/222 ที่ใช้โดยบัฟฟาโลบูล และบัฟฟาโลเบล ผู้เป็นตัวนำโชคของทีมบัฟฟาโลส์

นอกจากนี้ ยังมีตัวนำโชคเพศหญิงชื่อ สึบะมิ เธอสวมกระโปรงและอาจมีการตั้งใจให้เป็นน้องสาวของสึบะคุโร เช่นเดียวกับเบลที่เป็นน้องสาวของบูล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง