โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

โรคอัมพาตฉับพลัน, โรคลมปัจจุบัน, โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง, หรือโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (อังกฤษ: stroke, cerebrovascular accident) เป็นโรคหลอดเลือดสมองประเภทหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติโดยเฉียบพลันจนทำให้เซลล์ตาย[5] มีอยู่สองประเภทหลัก ได้แก่ ชนิดขาดเลือด และชนิดเลือดออก[5] ซึ่งมีผลให้สมองบางส่วนทำงานตามปกติต่อไปไม่ได้[5] อาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น อัมพาตครึ่งซีก ภาวะเสียการสื่อความเหตุศูนย์รับความรู้สึกหรือภาวะเสียการสื่อความชนิดแสดงออก เวียนศีรษะหรือตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา[2][3] อาการและอาการแสดงมักปรากฏขึ้นไม่นานหลังเริ่มเกิดโรค[3] ถ้าอาการนั้นคงอยู่ไม่ถึงหนึ่งถึงสองชั่วโมง โรคหลอดเลือดสมองนั้นเรียก ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)[3] โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกยังอาจสัมพันธ์กับอาการปวดศีรษะรุนแรง[3] อาการอาจคงอยู่ได้ถาวร[5] ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวอาจรวมถึงปอดบวมและการกลั้นปัสสาวะไม่ได้[3]

โรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน
ชื่ออื่นโรคลมปัจจุบัน, โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง
ภาพซีทีสแกนของสมองแสดงโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดในซีกขวาซึ่งเกิดจากการอุดกั้นของหลอดเลือดแดง (ศรชี้บริเวณที่สีทึบกว่าปกติ) การเปลี่ยนแปลงในซีทีอาจมองไม่เห็นในช่วงแรก[1]
สาขาวิชาประสาทวิทยา
อาการอัมพาตครึ่งซีก, ภาวะเสียการสื่อความเหตุศูนย์รับความรู้สึกหรือภาวะเสียการสื่อความชนิดแสดงออก, เวียนศีรษะ, ตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา[2][3]
ภาวะแทรกซ้อนสภาพผักเรื้อรัง[4]
สาเหตุการขาดเลือดเฉพาะที่ (อุดกั้น) และเลือดออก[5]
ปัจจัยเสี่ยงความดันเลือดสูง, การสูบบุหรี่, โรคอ้วน, คอเลสเตอรอลสูงในเลือด, โรคเบาหวาน, TIA ครั้งก่อน ๆ, หัวใจห้องบนเต้นแผ่วระรัว[2][6]
วิธีวินิจฉัยอาศัยอาการ และตรงแบบการถ่ายภาพทางการแพทย์ใช้เพื่อแยกสาเหตุเลือดออก[7][8]
โรคอื่นที่คล้ายกันน้ำตาลต่ำในเลือด[7]
การรักษาขึ้นกับชนิด[2]
พยากรณ์โรคการคาดหมายคงชีพเฉลี่ย 1 ปี[2]
ความชุก42.4 ล้านคน (2015)[9]
การเสียชีวิต6.3 ล้านคน (2015)[10]

ปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับโรคหลอดเลือดสมองคือความดันเลือดสูง[6] ปัจจัยเสี่ยงอื่นเช่น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคเบาหวาน TIA ครั้งก่อน ๆ โรคไตวายระยะสุดท้าย และหัวใจห้องบนเต้นระรัว[2][6][11] โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉพาะที่ตรงแบบเกิดจากการอุดกั้นของหลอดเลือด แม้จะมีสาเหตุอื่นที่พบน้อยกว่าด้วย[12][13][14] สำหรับโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกเกิดจากเลือดออกเข้าสู่สมองโดยตรง หรือเลือดออกในช่องระหว่างเยื่อหุ้มสมอง[12][15] สาเหตุของเลือดออกอาจเนื่องจากหลอดเลือดโป่งพองในสมองที่แตก[12] การวินิจฉัยตรงแบบอาศัยการตรวจร่างกาย โดยสนับสนุนจากการถ่ายภาพทางการแพทย์ เช่น ซีทีสแกนหรือเอ็มอาร์ไอ[7] ซีทีสแกนสามารถแยกเลือดออกได้ แต่อาจไม่แยกการขาดเลือดเฉพาะที่ ซึ่งในระยะแรกตามแบบจะไม่ปรากฏในซีทีสแกน[8] การตรวจอื่น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และการตรวจเลือดเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงและแยกสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้[7] ทั้งนี้ น้ำตาลต่ำในเลือดก็อาจก่อให้เกิดอาการคล้ายกันได้[7]

การป้องกันประกอบด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง การผ่าตัดเพื่อเปิดหลอดเลือดแดงสู่สมองในผู้ที่มีหลอดเลือดคะโรติดตีบ และยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยหัวใจห้องบนเต้นระรัว แพทย์อาจแนะนำยาแอสไพรินหรือสแตตินเพื่อป้องกัน โรคหลอดเลือดสมองมักต้องอาศัยการบริบาลฉุกเฉิน สำหรับโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉพาะที่ ถ้าตรวจพบได้ทันภายในสามถึงสี่ชั่วโมงครึ่ง อาจรักษาได้ด้วยยาที่สามารถสลายลิ่มเลือดอุดตัน ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกบางรายอาจได้รับประโยชน์จากการผ่าตัด การรักษาเพื่อพยายามกู้คืนหน้าที่ของสมองที่เสียไป เรียก การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกยังเข้าไม่ถึง[2]

ใน ค.ศ. 2013 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉพาะที่ประมาณ 6.9 ล้านคน และโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออก 3.4 ล้านคน[16] ใน ค.ศ. 2015 มีผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 42.4 ล้านคนที่ยังมีชีวิตอยู่[9] ระหว่าง ค.ศ. 1990 ถึง 2010 มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองลดลงประมาณร้อยละ 10 ในประเทศพัฒนาแล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในประเทศกำลังพัฒนา ใน ค.ศ. 2015 โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบมากที่สุดอันดับสองรองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 6.3 ล้านคน (ร้อยละ 11)[10] มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลอดสมองชนิดขาดเลือดเฉพาะที่ 3.0 ล้านคน และโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออก 3.3 ล้านคน ผู้ป่วยประมาณกึ่งหนึ่งมีชีวิตต่อไปอีกไม่ถึงหนึ่งปี โดยรวมแล้ว ผู้ป่วยสองในสามเป็นบุคคลอายุเกิน 65 ปี[17]

อาการแสดง

ในสหรัฐอเมริกา มีสัญญาณบอกโรคที่สำคัญอยู่ 5 อย่าง คือ

  • การชาและอ่อนแรงตามใบหน้า แขน-ขา อย่างฉับพลัน
  • สับสนหรือมีปัญหาในการพูดหรือเข้าใจภาษาอย่างฉับพลัน
  • สายตามีปัญหาอย่างฉับพลัน
  • การทรงตัว การเดินมีปัญหา หรือรู้สึกมึนงงอย่างฉับพลัน
  • ปวดหัวอย่างรุนแรงและฉับพลัน

ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการดังกล่าว มิควรมองข้ามอาการเหล่านี้ โดเมื่อมีอาการรุนแรงหรือมีอาการหลายๆอย่างประกอบกันในคราวเดียว ทั้งเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงด้วยแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์หรือให้ผู้ที่ใกล้ชิดพาส่งโรงพยาบาลทันที เพราะหากปล่อยไว้นานเท่าไร โอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วย พิการและตาย ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น[18]

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันประกอบด้วยการเก็บข้อมูลหลายส่วน ทั้งจากการตรวจร่างกายทางระบบประสาท (เช่นการตรวจด้วย NIHSS) การตรวจด้วยซีทีสแกน หรือเอ็มอาร์ไอ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Mohr JP, Choi D, Grotta J, Wolf P (2004). Stroke: Pathophysiology, Diagnosis, and Management. New York: Churchill Livingstone. ISBN 978-0-443-06600-9. OCLC 50477349.
  • Warlow CP, van Gijn J, Dennis MS, Wardlaw JM, Bamford JM, Hankey GJ, Sandercock PA, Rinkel G, Langhorne P, Sudlow C, Rothwell P (2008). Stroke: Practical Management (3rd ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-2766-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง