ข้ามไปเนื้อหา

สกุลชิมแปนซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Panina)
สกุลชิมแปนซี
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 4 ล้านปีก่อน-ปัจจุบัน
ชิมแปนซี (Pan troglodytes)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Mammalia
อันดับ:Primates
วงศ์ใหญ่:Hominoidea
วงศ์:Hominidae
วงศ์ย่อย:Homininae
เผ่า:Hominini
เผ่าย่อย:Panina
สกุล:Pan
ชนิดต้นแบบ
Pan troglodytes
Blumenbach, 1775
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของสกุลชิมแปนซี (สีแดง คือที่อยู่ของโบโนโบ)
ชื่อพ้อง[1]
  • Anthropithecus Lesson, 1840
  • Anthropopithecus de Blainville, 1838
  • Bonobo Tratz and Heck, 1954
  • Chimpansee Voigt, 1831
  • Engeco Haeckel, 1866
  • Fsihego de Pauw, 1905
  • Hylanthropus Gloger, 1841
  • Mimetes Anon, 1820
  • Pongo Haeckel, 1866
  • Pseudanthropos Reichenbach, 1860
  • Satyrus Mayer, 1856
  • Theranthropus Brookes, 1828
  • Troglodytes É. Geoffroy, 1812

สกุลชิมแปนซี (อังกฤษ: Chimpanzee, Bonobo, Chimp) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการสูง ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด ในอันดับวานร เป็นลิงไม่มีหาง ใช้ชื่อสกุลว่า Pan

มีถิ่นที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกากลางระดับเส้นศูนย์สูตร ตัวผู้จะหนักราว 110 ปอนด์ มีส่วนสูงเฉลี่ย 5 ฟุต ส่วนตัวเมียหนักราว 88 ปอนด์และสูงเฉลี่ย 4 ฟุต สามารถปีนป่ายต้นไม้ได้เป็นอย่างดี แต่ชอบที่จะหากินและอาศัยอยู่บนพื้นดินมากกว่า ขนตามลำตัวสั้นสีน้ำตาลดำหรือเทาเข้ม แต่ที่มือและเท้าไม่มีขน รวมทั้งบริเวณใบหน้าและใบหู [2]

มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีดั้งจมูก ขากรรไกรค่อนข้างยื่นออกมา มีฟันกรามที่พัฒนาใช้การได้ดี มีปริมาตรสมองราว 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีโครโมโซมจำนวน 24 คู่[3] และมีดีเอ็นเอร่วมกับมนุษย์ถึงร้อยละ 99.4 เนื่องจากมีบรรพบุรุษร่วมกันมา แต่ได้แยกวิวัฒนาการออกจากกันเมื่อราว 5-6 ล้านปีก่อน[4]

มีพฤติกรรมกินพืชเป็นอาหารหลัก[5] โดยปกติเป็นสัตว์ที่รักสงบ แต่ก็มีบางครั้งที่ตัวผู้จะมีพฤติกรรมดุร้าย มักยกพวกเข้าโจมตีกัน และยังมีพฤติกรรมล่าลิงชนิดอื่น ได้แก่ ลิงโลกเก่ากินเป็นอาหารอีกด้วย[6] เป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัว มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ออกลูกครั้งละเพียง 1 ตัว อายุขัยโดยเฉลี่ย 40 ปี[7] เป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาด มีการแสดงออกทางอารมณ์คล้ายคลึงและใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด รวมทั้งกล้ามเนื้อและสรีระ ทั้งนี้เพราะระบบกล้ามเนื้อของมนุษย์และชิมแปนซีนั้นคล้ายกันมาก แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อเปรียบเทียบกันต่อหน่วยน้ำหนักแล้ว ชิมแปนซีมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงกว่ามนุษย์ 2-3 เท่า[8] โดยมีการศึกษาพบว่า ชิมแปนซีมีความทรงจำดีเสียยิ่งกว่ามนุษย์ที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก และจดจำคำศัพท์ของมนุษย์ได้ถึง 125 คำ[8] [9]

แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาด้านชิมแปนซี ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุด คือ เจน กูดดอลล์ นักวานรวิทยาหญิงชาวอเมริกัน ที่เริ่มศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เริ่มต้นที่ประเทศอูกันดา [5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pan ที่วิกิสปีชีส์

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร