โฮโม

โฮโม เป็นสกุล ซึ่งนับรวมเอามนุษย์สมัยใหม่ทางกายวิภาคและสปีชีส์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด สกุลนี้ประเมินว่ามีอายุระหว่าง 2.3 ถึง 2.4 ล้านปี[1][2] วิวัฒนามาจากบรรพบุรุษออสตราโลพิเธคัสโดยมีลักษณะภายนอกของ Homo habilis ลักษณะเฉพาะของชนิด H. habilis สันนิษฐานว่าจะเป็นผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของ Australopithecus garhi ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อราว 2.5 ล้านปีก่อน พัฒนาการทางสรีรวิทยาที่สำคัญที่สุดระหว่างสองสปีชีส์นี้คือการเพิ่มขึ้นของความจุกะโหลก จาก 450 ซีซีใน A. garhi เป็น 600 ซีซีใน H. habilis ในสกุล โฮโม ความจุกะโหลกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจาก H. habilis เป็น H. heidelbergensis เมื่อ 0.6 ล้านปีก่อน ความจุกะโหลกของ H. heidelbergensis คาบเกี่ยวกันกับพิสัยความจุกะโหลกที่พบในมนุษย์สมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553 H. gautengensis ถูกค้นพบ ซึ่งเป็นสปีชีส์ที่เชื่อกันว่าเก่าแก่กว่า H. habilis เสียอีก[3]

โฮโม
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงอายุเพียเชนเซียน–ปัจจุบัน, 2.8–0Ma
Homo habilis
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน:ยูแคริโอตา
อาณาจักร:สัตว์
ไฟลัม:สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น:สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ:อันดับวานร
อันดับย่อย:ฉบับร่าง:Haplorhini
อันดับฐาน:Simiiformes
วงศ์:ลิงใหญ่
เผ่า:โฮมินินิ
สกุล:โฮโม
Linnaeus, 1758
ชนิดต้นแบบ
Homo sapiens
Linnaeus, 1758
สปีชีส์
ชื่อพ้อง
ชื่อพ้อง
  • Africanthropus Dreyer, 1935
  • Atlanthropus Arambourg, 1954
  • Cyphanthropus Pycraft, 1928
  • Palaeanthropus Bonarelli, 1909
  • Palaeoanthropus Freudenberg, 1927
  • Pithecanthropus Dubois, 1894
  • Protanthropus Haeckel, 1895
  • Sinanthropus Black, 1927
  • Tchadanthropus Coppens, 1965
  • Telanthropus Broom & Anderson 1949

การปรากฏขึ้นของสกุล โฮโม คาดกันว่าน่าจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับหลักฐานเครื่องมือหินชิ้นแรก ซึ่งตามนิยามในทางประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเริ่มต้นของยุคหินเก่า อย่างไรก็ตาม หลักฐานล่าสุดจากเอธิโอเปียชี้ว่าหลักฐานการใช้อุปกรณ์หินที่เก่าแก่ที่สุดมีตั้งแต่ก่อน 3.39 ล้านปีมาแล้ว[4] การถือกำเนิดขึ้นของ โฮโม คาดว่าอยู่ในช่วงเดียวกันกับการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงโดยธารน้ำแข็งยุคควอเทอร์นารี อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งปัจจุบัน

ทุกสปีชีส์ในสกุลยกเว้น Homo sapiens (มนุษย์สมัยใหม่) ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว Homo neanderthalensis ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นสปีชีส์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์สมัยใหม่มากที่สุด สูญพันธุ์ไปเมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว ขณะที่การค้นพบล่าสุดแนะว่าอีกสปีชีส์หนึ่ง Homo floresiensis อาจมีชีวิตอยู่จนถึง 12,000 ปีก่อน

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง