กริช

กริช[n 1] เป็นมีดสั้นแบบหนึ่ง ใบมีดคดแบบลูกคลื่น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในหมู่ผู้คนในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กริชนั้นเป็นทั้งอาวุธและวัตถุมงคล บ่งบอกถึงเหตุดีร้ายในชีวิตได้ ปัจจุบันยังนิยมสะสมเป็นของเก่าที่มีคุณค่าสูง

กริช
ꦏꦼꦫꦶꦱ꧀/ꦮꦁꦏꦶꦔꦤ꧀
กริชแบ่งออกเป็นสามส่วน; ใบมีด (วีละฮ์), ด้ามมีด (ฮูลู) และฝัก (วารังกา)
ชนิดมีดสั้นสองคม
แหล่งกำเนิดเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย[1][2][3]
บทบาท
ประจำการคาบสมุทรมลายู กลุ่มเกาะอินโดนีเซียในปัจจุบัน[4]
ผู้ใช้งานชวา (โดยหลักและดั้งเดิม)
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบชาวชวา
แบบอื่นกาลิซ, Balasiong, ปูญัล (กูนง), จุนดริก[5]
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทใบมีดดาบเหล็กหรือเหล็กกล้าผสมนิกเกิลสองคม
ชนิดด้ามจับงาช้าง, กระดูก, เขาสัตว์, ไม้หรือเหล็ก บางครั้งเคลือบด้วยทองหรือเงิน และตกแต่งด้วยอัญมณี
ฝักดาบ/ปลอกฝักไม้ที่เคลือบและตกแต่งด้วยงาช้างหรือเหล็ก (ทอง, เงิน, ทองแดง, เหล็ก, ทองเหลือง หรือเหล็กกล้า)
กริชอินโดนีเซีย *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
กริชบาหลี
ประเทศ อินโดนีเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม
อ้างอิง00112
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2551 (คณะกรรมการสมัยที่ 3)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

คำว่า กริช ในภาษาไทย น่าจะถอดมาจาก keris ในภาษามลายู ซึ่งหมายถึง "มีดสั้น" คำนี้รับผ่านมาจากภาษาชวาโบราณอีกทอดหนึ่ง คือ งริช หรือ เงอะริช หมายถึง "แทง" ภาษาต่าง ๆ ในยุโรป ใช้ว่า kris ตามมลายู

เชื่อกันว่ากริชนั้นเริ่มมีใช้ในเกาะชวา แล้วแพร่หลายไปทั่วหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ่านไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในมาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ตอนใต้ กัมพูชา ภาคใต้ของไทย สิงคโปร์ และแม้กระทั่งเวียดนาม

ลักษณะ

ตัวกริชหรีอส่วนใบมีดนั้นมักจะเรียวและคด ส่วนโคนกว้าง ความยาวของกริชนั้นแตกต่างกันไปไม่จำกัด ใบมีดก็ตีจากแร่เหล็กต่าง ๆ กัน แต่โดยมากจะมีนิกเกิลผสมอยู่ ช่างทำกริชหรือ เอิมปู จะตีใบมีดเป็นชั้น ๆ ด้วยโลหะต่าง ๆ กัน กริชบางเล่มใช้เวลาสั้น บางเล่มใช้เวลาตีนานเป็นปี ๆ หรือใช้เวลาชั่วชีวิตก็มี กริชที่มีคุณภาพสูง ตัวใบมีดจะพับทบเป็นสิบ ๆ หรือร้อย ๆ ครั้ง โดยมีความแม่นยำสูงมาก ใบมีดนั้นอาจมีรอยประทับของช่างกริช เช่นรอยนิ้วหัวแม่มือ ริมฝีปาก ในระหว่างการตีใบมีดนั้น การใช้โลหะต่างชนิดกันมาตีเป็นมีดใบเดียวทำให้เกิดเป็นลายน้ำที่แตกต่างกัน ซึ่งเรียกว่า ปาโมร์ หรือ ปามีร์ อันเป็นแนวคิดเดียวกับเหล็กกล้าดามัสกัสและญี่ปุ่น มีการใช้กรดกัดตัวใบมีดหลังจากตีแล้ว เพื่อให้เกิดรอยเงาและทึบบนโลหะ สำหรับแหล่งแร่เหล็กนั้นจะเป็นแหล่งแร่ที่หายากแถบมาเลเซียหรืออินโดนีเซีย

ใบกริชนั้นจะคดหรือหยักเป็นลอนคลื่น เรียกว่า ลุก หรือ ลก กริชส่วนใหญ่มีน้อยกว่า 13 หยัก และนับเลขคี่เสมอ

หมายเหตุ

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง