รัฐกลันตัน

(เปลี่ยนทางจาก กลันตัน)

กลันตัน[8] หรือ เกอลันตัน[8] (มลายู: Kelantan, کلنتن; มลายูปัตตานี: كلنتن, กือลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู

รัฐกลันตัน

Negeri Kelantan
เนอเกอรีเกอลันตันดารุลนาอิม
Negeri Kelantan Darul Naim
การถอดเสียงต่าง ๆ
 • มลายูKelantan (รูมี)
کلنتن(ยาวี)
 • มลายูปัตตานีكلنتن(ยาวี),
กือลาแต (ไทย)
ธงของรัฐกลันตัน
ธง
ตราราชการของรัฐกลันตัน
ตราอาร์ม
คำขวัญ: 
เบอร์เซอระฮ์ เกอปาดา ตูฮัน เกราจาอัน เกอลันตัน
("อาณาจักรกลันตันยอมจำนนต่อพระเจ้า")
เพลง: เซอลามัตซุลตัน
   รัฐกลันตัน ใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐกลันตัน ใน    ประเทศมาเลเซีย
พิกัด: 5°15′N 102°0′E / 5.250°N 102.000°E / 5.250; 102.000
เมืองหลวงโกตาบารู
เมืองเจ้าผู้ครองโกตาบารู
การปกครอง
 • ประเภทราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา
 • สุลต่านสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5
 • มุขมนตรีอะฮ์มัด ยักกบ (พรรคอิสลามมาเลเซีย)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด17,100 ตร.กม. (6,600 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2018)[2]
 • ทั้งหมด2,001,000 คน
 • ความหนาแน่น120 คน/ตร.กม. (300 คน/ตร.ไมล์)
ดัชนีรัฐ
 • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2010)0.723 (สูง) (อันดับที่ 13)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
รหัสไปรษณีย์15xxx ถึง 18xxx
รหัสโทรศัพท์09
รหัส ISO 3166MY-03
ทะเบียนพาหนะD
ปาตานีปกครอง[3]ค.ศ. 1603
สยามปกครอง[3]พฤศจิกายน ค.ศ. 1786
รัฐสุลต่านกลันตัน[4]ค.ศ. 1800
สหราชอาณาจักรปกครอง[4]ค.ศ. 1909
ญี่ปุ่นยึดครอง[4]8 ธันวาคม ค.ศ. 1941
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา[5]1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1948
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา[6]31 สิงหาคม ค.ศ. 1957
ก่อตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย[7]16 กันยายน ค.ศ. 1963
เว็บไซต์www.kelantan.gov.my

รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนราธิวาส ประเทศไทย ทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้

จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (Parti Islam Se-Malaysia) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง