การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น

รูปแบบการถ่ายอักษรโรมาจิเป็นอักษรโรมัน

การถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น (ญี่ปุ่น: ヘボン式ローマ字โรมาจิHebon-shiki rōmaji; "อักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น") เป็นระบบการถอดเป็นอักษรโรมันสำหรับภาษาญี่ปุ่น เผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1867 โดยมิชชันนารีชาวอเมริกัน เจมส์ เคอร์ติส เฮปเบิร์น เพื่อเป็นมาตรฐานในพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น–ภาษาอังกฤษ ฉบับแรกของเขา[1] ระบบนี้แตกต่างจากวิธีการถอดเป็นอักษรโรมันอื่น ๆ อย่างชัดเจนที่การใช้อักขรวิธีภาษาอังกฤษในการถอดเสียงตามหลักสัทศาสตร์ เช่น สระ [ɕi] () ถอดเป็น shi และ [tɕa] (ちゃ) ถอดเป็น cha ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการสะกดแบบภาษาอังกฤษของระบบนี้ (เมื่อเปรียบเทียบกับการถอดเป็น si และ tya ในระบบนิฮงชิกิและคุนเรชิกิที่มีความเป็นระบบมากกว่า)[2]

เจมส์ เคอร์ติส เฮปเบิร์น ผู้คิดค้นการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น

ใน ค.ศ. 1886 เฮปเบิร์นตีพิมพ์พจนานุกรมฉบับที่สามของเขา โดยจัดระเบียบแบบทบทวนใหม่ซึ่งเป็นที่รู้จักในทุกวันนี้คือ "เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม" และใน ค.ศ. 1908 เขาตีพิมพ์แบบทบทวนเพิ่มเติมหรือที่รู้จักกันในชื่อ "เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม"[3]

แม้ว่าการถอดเป็นอักษรโรมันแบบคุนเรชิกิจะได้รับการยอมรับโดยรัฐบาลญี่ปุ่น แต่เฮปเบิร์นยังคงเป็นวิธีการถอดเป็นอักษรโรมันของภาษาญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมมากที่สุด มีการเรียนการสอนโดยใช้ระบบเฮปเบิร์นในนักเรียนภาษาต่างชาติ และมีการใช้ระบบนี้ในการถอดชื่อ สถานที่ และข้อมูลอื่น ๆ เป็นอักษรโรมัน อาทิ ตารางการเดินรถไฟและป้ายถนน เนื่องด้วยระบบนี้ใช้อักขรวิธีที่อิงจากอักขรวิธีภาษาอังกฤษแทนการการถอดเสียงอย่างเป็นระบบจากชุดตัวหนังสือพยางค์ภาษาญี่ปุ่น ผู้พูดที่สามารถพูดได้แต่ภาษาอังกฤษหรือกลุ่มภาษาโรมานซ์[โปรดขยายความ] จะพูดได้อย่างถูกต้องกว่าเมื่อต้องออกเสียงคำที่ไม่คุ้นเคยด้วยการถอดเสียงแบบเฮปเบิร์น เมื่อเปรียบเทียบกับระบบอื่น ๆ[4]

แบบ

มีการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์นหลายแบบ โดยสองแบบทั่วไปคือ:

  • เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม (Traditional Hepburn): ตามนิยามในพจนานุกรมของเฮปเบิร์นหลายฉบับ โดยในฉบับที่สาม (ค.ศ. 1886)[5] ระบุว่าการถอดแบบดั้งเดิมเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้[6] (แม้ว่าต้องรับผิดชอบการเปลี่ยนของการใช้คานะ) เฮปเบิร์นแบบดั้งเดิมมีเอกลักษณ์ที่การแทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะ b, m และ p: เช่น Shimbashi สำหรับคำว่า 新橋
  • เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม (Modified Hepburn) หรือ เฮปเบิร์นทบทวนใหม่ (Revised Hepburn): ยกเลิกการแทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าบางพยัญชนะ (Shinbashi สำหรับคำว่า 新橋) การถอดแบบแก้ไขเพิ่มเติมถูกตีพิมพ์ในฉบับที่สาม (ค.ศ. 1954) และฉบับถัดมาของพจนานุกรมภาษาญี่ปุ่น–ภาษาอังกฤษใหม่ของเค็งกีวชะ มักเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้[7] เฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติมเป็นแบบที่เป็นที่นิยมและถูกนำไปใช้มากที่สุด[8]

ในประเทศญี่ปุ่น มีการกำหนดแบบอย่างเป็นทางการบางส่วนเพื่อนำไปใช้ในหลากหลายการใช้งาน:

  • มาตรฐานการรถไฟ (鉄道掲示基準規程, "Railway Standard")[9] เหมือนเฮปเบิร์นแก้ไขเพิ่มเติม แต่การแทนพยางค์ n ยังคงเหมือนแบบดั้งเดิม กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่นและบริษัทให้บริการรถไฟรายใหญ่อื่น ๆ นำไปใช้เป็นชื่อสถานี
  • ป้ายถนนโรมาจิ (เฮปเบิร์น) (道路標識のローマ字, "Road Sign Romaji (Hepburn)") ใช้สำหรับป้ายบนถนน เหมือนเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม แต่ระบุอย่างชัดเจนว่าจะไม่ใช้เครื่องหมายกำกับเสียง (macron)[10]
  • มาตรฐานหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ (外務省旅券規定, "Ministry of Foreign Affairs Passport Standard")[11] แทนพยางค์ n ด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะ b, m และ p สระเสียงยาวจะไม่มีสัญลักษณ์กำกับ เช่น สระเสียงยาว ō จะถอดเป็นอักษรโรมันด้วย oh, oo หรือ ou (Satoh, Satoo หรือ Satou สำหรับคำว่า 佐藤)

แบบพ้นสมัยแล้ว

ลักษณะ

ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น สระผสมที่สร้างเสียงลากยาวมักเขียนแมครอน (◌̄) ประกอบ สระประชิด (adjacent vowel) อื่น ๆ ที่ถูกแยกด้วยขอบเขตหน่วยคำ (morpheme boundary) จะเขียนแยกกัน:

สระที่มีหน่วยคำเดียวกัน
ในเฮปเบิร์นดั้งเดิม[14]ในเฮปเบิร์นแก้ไขเพิ่มเติม[15]
A + Aaa: (ばあ)さんobaasan 'ย่า, ยาย'
(ba + a)
ā: (ばあ)さんobāsan 'ย่า, ยาย'
(ba + a)
I + Iii: (にい) (がた)Niigata
(ni + i)
U + Uū: (すう) (がく)sūgaku 'คณิตศาสตร์'
(su + u)
E + Eee: (ねえ)さんoneesan 'พี่สาว'
(ne + e)
ē: (ねえ)さんonēsan 'พี่สาว'
(ne + e)
O + Oō: (とお) (まわ)tōmawari 'ทางเบี่ยง'
(to + o)
O + Uō: (べん) (きょう)benkyō 'การเรียน'
(kyo + u)
สระที่มีหน่วยคำแยกกัน
ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม[14] และแบบแก้ไขเพิ่มเติม[15]
A + Aaa: (じゃ) (あく)ja + akujaaku 'ชั่วร้าย'
I + Iii: (はい) (いろ)hai + irohaiiro 'สีเทา'
U + Uuu: (みずうみ)mizu + umimizuumi 'ทะเลสาบ'
E + Eee: () (えん)nure + ennureen 'เฉลียงแบบเปิด'
O + Ooo: () (おど)ko + odorikoodori 'การเต้นอย่างมีความสุข'
O + Uou: () (うし)ko + ushikoushi 'ลูกวัว'

สระผสมอื่น ๆ เขียนแยกกันทั้งหมด:

  • E + I: (せい) (ふく)sei + fukuseifuku 'เครื่องแบบ' (แม้ E + I มักออกเสียงเป็น E ยาว)
  • U + I: (かる)karu + ikarui 'เบา'
  • O + I: (おい)oioi 'หลานชาย'

คำยืม

ในคำยืมต่างประเทศ สระเสียงยาวที่ตามด้วย โชองปุ (ー) จะเขียนแมครอนประกอบ:

  • セーラー: se + (ー) + ra + (ー) = sērā '(ชุด)กะลาสี'
  • タクシー: ta + ku + shi + (ー) = takushī 'แท็กซี่'
  • コンクール: ko + n + ku + (ー) + ru = konkūru 'การแข่งขัน'
  • バレーボール: ba + re + (ー) + bo + (ー) + ru = barēbōru 'วอลเลย์บอล'
  • ソール: so + (ー) + ru = sōru 'ฝ่าเท้า'

สระประชิดในคำยืมจะเขียนแยกกัน:

  • バレエ: ba + re + ebaree 'บัลเลต์'
  • ミイラ: mi + i + ramiira 'มัมมี่'
  • ソウル: so + u + rusouru 'วิญญาณ', 'โซล'

คำช่วย

ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิมและแก้ไขเพิ่มเติม:

  • เมื่อ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย จะเขียนเป็น wa

ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม:

  • เมื่อ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย เฮปเบิร์นเคยแนะนำให้ใช้ ye[14] ไม่ใช้การสะกดแบบนี้แล้ว และมักเขียนเป็น e แทน[16]
  • เมื่อ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย เขียนเป็น wo[14]

ในเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม:[15]

  • เมื่อ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย, เขียนเป็น e
  • เมื่อ ทำหน้าที่เป็นคำช่วย, เขียนเป็น o

พยางค์ n

ในเฮปเบิร์นแบบดั้งเดิม::[14]

พยางค์ n () เขียนเป็น n ก่อนหน้าพยัญชนะ แต่เขียนเป็น m ก่อน พยัญชนะเสียงริมฝีปาก: b, m, และ p. บางครั้งเขียนเป็น n- (มียัติภังค์) ก่อนหน้าสระ และ y (เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนระหว่างทั้งสอง เช่น んあ n + a และ na, และ んや n + ya and にゃ nya)
  • 案内(あんない): annai – การนำทาง
  • 群馬(ぐんま): Gummaกุมมะ
  • 簡易(かんい): kan-i – ความเรียบง่าย
  • 信用(しんよう): shin-yō – ความเชื่อใจ

ในเฮปเบิร์นแบบแก้ไขเพิ่มเติม:[15]

ยกเลิกการเขียนด้วย m ก่อนหน้าพยัญชนะเสียงริมฝีปาก และแทนด้วยการเขียนเป็น n และยังเขียน n' (มีอะพอสทรอฟี) ก่อนหน้าสระและ y
  • 案内(あんない): annai – การนำทาง
  • 群馬(ぐんま): Gunma – กุมมะ
  • 簡易(かんい): kan'i – ความเรียบง่าย
  • 信用(しんよう): shin'yō – ความเชื่อใจ

พยัญชนะเสียงยาว

เสียงซ้ำพยัญชนะ (geminate consonant sound) จะซ้ำพยัญชนะตัวข้างหน้าที่ตามด้วยโซกูอง () สำหรับพยัญชนะที่เป็นทวิอักษร (digraph) ในเฮปเบิร์น (sh, ch, ts) จะซ้ำแค่พยัญชนะตัวแรกเท่านั้น ยกเว้น ch จะแทนด้วย tch[14][15]

  • 結果(けっか): kekka – ผลลัพธ์
  • さっさと: sassato – อย่างรวดเร็ว
  • ずっと: zutto – ตลอด
  • 切符(きっぷ): kippu – ตั๋ว
  • 雑誌(ざっし): zasshi – นิตยสาร
  • 一緒(いっしょ): issho – ด้วยกัน
  • こっち: kotchi (ไม่ใช้ kocchi) – ทางนี้
  • 抹茶(まっちゃ): matcha (ไม่ใช่ maccha) – มัตจะ
  • 三つ(みっつ): mittsu – สาม

ตารางการถอดเป็นอักษรโรมัน

โกจูองโยอง
あ ア aい イ iう ウ uえ エ eお オ o
か カ kaき キ kiく ク kuけ ケ keこ コ koきゃ キャ kyaきゅ キュ kyuきょ キョ kyo
さ サ saし シ shiす ス suせ セ seそ ソ soしゃ シャ shaしゅ シュ shuしょ ショ sho
た タ taち チ chiつ ツ tsuて テ teと ト toちゃ チャ chaちゅ チュ chuちょ チョ cho
な ナ naに ニ niぬ ヌ nuね ネ neの ノ noにゃ ニャ nyaにゅ ニュ nyuにょ ニョ nyo
は ハ haひ ヒ hiふ フ fuへ ヘ heほ ホ hoひゃ ヒャ hyaひゅ ヒュ hyuひょ ヒョ hyo
ま マ maみ ミ miむ ム muめ メ meも モ moみゃ ミャ myaみゅ ミュ myuみょ ミョ myo
や ヤ yaゆ ユ yuよ ヨ yo
ら ラ raり リ riる ル ruれ レ reろ ロ roりゃ リャ ryaりゅ リュ ryuりょ リョ ryo
わ ワ waゐ ヰ i †ゑ ヱ e †を ヲ o ‡
ん ン n /n'
が ガ gaぎ ギ giぐ グ guげ ゲ geご ゴ goぎゃ ギャ gyaぎゅ ギュ gyuぎょ ギョ gyo
ざ ザ zaじ ジ jiず ズ zuぜ ゼ zeぞ ゾ zoじゃ ジャ jaじゅ ジュ juじょ ジョ jo
だ ダ daぢ ヂ jiづ ヅ zuで デ deど ド doぢゃ ヂャ jaぢゅ ヂュ juぢょ ヂョ jo
ば バ baび ビ biぶ ブ buべ ベ beぼ ボ boびゃ ビャ byaびゅ ビュ byuびょ ビョ byo
ぱ パ paぴ ピ piぷ プ puぺ ペ peぽ ポ poぴゃ ピャ pyaぴゅ ピュ pyuぴょ ピョ pyo
  • แต่ละช่องประกอบด้วย ฮิรางานะ คาตากานะ และการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น ตามลำดับ
  • † — อักษรสีแดง เป็นตัวอักษรในอดีตและไม่มีการใช้ในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันแล้ว[17][18] ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์นปัจจุบัน ไม่พบหลักเกณฑ์การถอดอย่างชัดเจน[15]
  • ‡ — อักษรสีน้ำเงิน มักไม่พบเห็นในหน้าที่อื่นนอกจากการทำหน้าที่เป็นคำช่วยในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน[19] การถอดเป็นอักษรโรมันเป็นไปตามกฎด้านบน

คาตากานะเสียงควบกล้ำ

การผสมเหล่านี้มักใช้เพื่อแทนเสียงในคำภาษาอื่น

ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีส้ม เป็นทวิอักษรที่มีการใช้โดยทั่วไปในคำยืมหรือสถานที่หรือชื่อต่างประเทศ ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีน้ำเงิน ถูกใช้เพื่อการถอดอักษรของเสียงต่างชาติให้ถูกต้องที่สุด ซึ่งทั้งสองนี้กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีภายใต้คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นผู้เสนอ[20] คาตานากะควบกล้ำที่มีพื้นหลังสีเบจ สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน[21] และ สถาบันมาตรฐานอังกฤษ เป็นผู้เสนอให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้ได้[22] ทวิอักษรที่มีพื้นหลังสีม่วง ปรากฏอยู่ในการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮียวจุน-ชิกิ ค.ศ. 1974 ของเฮปเบิร์น[16]

イィ yiイェ ye
ウァ wa*ウィ wiウゥ wu*ウェ weウォ wo
ウュ wyu
ヴァ vaヴィ vivuヴェ veヴォ vo
ヴャ vyaヴュ vyuヴィェ vyeヴョ vyo
キェ kye
ギェ gye
クァ kwaクィ kwiクェ kweクォ kwo
クヮ kwa
グァ gwaグィ gwiグェ gweグォ gwo
グヮ gwa
シェ she
ジェ je
スィ si
ズィ zi
チェ che
ツァ tsaツィ tsiツェ tseツォ tso
ツュ tsyu
ティ tiトゥ tu
テュ tyu
ディ diドゥ du
デュ dyu
ニェ nye
ヒェ hye
ビェ bye
ピェ pye
ファ faフィ fiフェ feフォ fo
フャ fyaフュ fyuフィェ fyeフョ fyo
ホゥ hu
ミェ mye
リェ rye
ラ゚ laリ゚ liル゚ luレ゚ leロ゚ lo
vavivevo
  • * — การใช้ ทั้งสองกรณีนี้เพื่อแทนเสียง w พบเห็นได้ยากในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบัน เว้นแต่จะเป็นสแลงอินเทอร์เน็ตและใช้เพื่อการถอดเสียงละติน [w] ให้เป็นคาตากานะ เช่น ミネルウァ (Mineruwa "มิเนอร์วา", จากละติน MINERVA [mɪˈnɛrwa]); ウゥルカーヌス (Wurukānusu "วัลแคน", จากละติน VVLCANVS, Vulcānus [lˈkaːnʊs]) เสียงภาษาต่างประเทศจำพวก wa (เช่น watt หรือ white ในภาษาอังกฤษ) มักถอดเสียงเป็น ワ (wa) ขณะที่ เสียงจำพวก wu (เช่น wood หรือ woman ในภาษาอังกฤษ) ถอดเสียงเป็น ウ (u) หรือ ウー (ū)
  • ⁑ — มีรูปฮิรางานะที่พบเห็นได้ยากคือ เขียนเป็น vu ในระบบการถอดเป็นอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น
  • ⁂ — อักษรสีเขียว ไม่มีการใช้หรือใช้น้อยมากในภาษาญี่ปุ่นปัจจุบันแล้ว[17][18]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง