การปฏิวัติอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน (หรือเรียก การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติ ค.ศ. 1979; เปอร์เซีย: انقلاب اسلامی, Enghelābe Eslāmi หรือ انقلاب بیست و دو بهمن) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการโค่นราชวงศ์ปาห์ลาวีภายใต้พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา[4] และการแทนที่ด้วยสาธารณรัฐอิสลามภายใต้รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำการปฏิวัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การฝ่ายซ้ายและอิสลามหลายแห่ง[5] และขบวนการนักศึกษาอิหร่าน

การปฏิวัติอิหร่าน
ส่วนหนึ่งของ ความพยายามตามรัฐธรรมนูญในอิหร่านและสงครามเย็น
รูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับมาจากประเทศฝรั่งเศสในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
วันที่7 มกราคม ค.ศ. 1978 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
เป้าหมายโค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวี
วิธีการ
ผล
คู่ขัดแย้ง

อิหร่าน รัฐจักรวรรดิแห่งอิหร่าน

  • สภาผู้แทนราษฎร[a]
  • Resurgence Party
  • ทหารของจักรพรรดิอิหร่าน[b]
  • ผู้ปกป้องจักรพรรดิ
  • SAVAK
  • Shahrbani
  • Gendarmerie

กลุ่มตรงข้าม:
  • Confederation of Iranian Students
  • Association of Students
  • Combatant Clergy Association
  • Islamic Coalition Societies
  • Fedayeen of Islam
  • Mojahedin
  • Movement of Militant Muslims
  • JAMA
  • National Front
  • Freedom Movement
  • พรรคชาติอิหร่าน
  • Tudeh Party
  • People's Mujahedin
  • Union of Communist Militants
  • Peykar
  • People's Fedai Guerrillas
ผู้นำ

อิหร่าน พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

นายกรัฐมนตรี:
  • อิหร่าน Jamshid Amouzegar
  • อิหร่าน Jafar Sharif-Emami
  • อิหร่าน Gholam Reza Azhari
  • อิหร่าน Shapour Bakhtiar
ผู้นำของกลุ่ม SAVAK:
  • อิหร่าน Nematollah Nassiri โทษประหารชีวิต
  • อิหร่าน Nasser Moghadam โทษประหารชีวิต
ผู้บัญชาการกองทัพ:
  • อิหร่าน Gholam Reza Azhari
  • อิหร่าน Abbas Gharabaghi
  • อิหร่าน Gholam Ali Oveissi

รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อื่นๆ:
  • Morteza Motahhari
  • Mehdi Bazargan
  • Mahmoud Taleghani
  • Akbar Hashemi Rafsanjani
  • Hussein-Ali Montazeri
  • Mohammad Beheshti
  • Mostafa Khomeini
  • Sadegh Khalkhali
  • Abolhassan Banisadr
  • Karim Sanjabi
  • Yadollah Sahabi
  • Mohammad Kazem Shariatmadari
  • Ebrahim Yazdi
  • Sadegh Ghotbzadeh
  • Ali Shariati
  • Noureddin Kianouri
ความสูญเสีย
532 คน[1]
2,000–3,000 คนถูกฆ่าในระหว่างการเดินขบวนในปีค.ศ.1978–79 (ข้อมูลจากFMV)[2][3]

ชนวนเหตุ

เริ่มการเดินขบวนต่อต้านชาห์ในเดือนตุลาคม 2520 พัฒนาเป็นการรณรงค์การดื้อแพ่งซึ่งมีทั้งภาคฆราวาสและศาสนา[6][7][8] ซึ่งบานปลายในเดือนมกราคม 2521[9] ระหว่างเดือนสิงหาคมและธันวาคม 2521 การนัดหยุดงานและการเดินขบวนทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ชาห์เสด็จออกนอกประเทศอิหร่านเพื่อลี้ภัยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522 เป็นพระมหากษัตริย์เปอร์เซียพระองค์สุดท้าย ปล่อยภาระหน้าที่ให้สภาผู้สำเร็จราชการและนายกรัฐมนตรีที่อิงฝ่ายค้าน รัฐบาลเชิญรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีกลับประเทศอิหร่าน[10][11] และกลับสู่กรุงเตหะรานซึ่งมีชาวอิหร่านหลายล้านคนรอต้อนรับ[12] การทรงราชย์สิ้นสุดหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ เมื่อกองโจรและทหารกบฏชนะกำลังซึ่งภักดีต่อชาห์ในการสู้รบด้วยอาวุธตามถนน นำให้โคมัยนีเถลิงอำนาจอย่างเป็นทางการ[13][14] อิหร่านออกเสียงลงคะแนนการลงประชามติทั่วประเทศให้เป็นสาธารณรัฐอิสลามเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522[15] และรับรองรัฐธรรมนูญเทวาธิปไตย-สาธารณรัฐนิยมฉบับใหม่[6][7][16][17] ซึ่งโคมัยนีกลายเป็นผู้นำสูงสุดของประเทศ ในเดือนธันวาคม 2522

หลังจากสิ้นสุด

การปฏิวัตินี้แปลกสำหรับความประหลาดใจที่สร้างไปทั่วโลก[18] เพราะขาดสาเหตุการปฏิวัติดังที่เคยมีมา (เช่น แพ้สงคราม วิกฤตการณ์การเงิน กบฏชาวนาหรือกองทัพไม่พอใจ)[19] เกิดในชาติที่มีความมั่งคั่งทางวัตถุและเจริญรุ่งเรืองค่อนข้างดี[10][17] มีความเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งด้วยความเร็ว[20] เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทำให้มีการลี้ภัยของชาวอิหร่านจำนวนมาก[21] และแทนกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชนิยมตะวันตก[10]ด้วยเทวาธิปไตยอำนาจนิยมต่อต้านตะวันตก[10][16][17][22][23]โดยยึดมโนทัศน์ความอนุบาลของนักนิติศาสตร์อิสลาม (Guardianship of the Islamic Jurists หรือ velayat-e faqih) เป็นการปฏิวัติที่ค่อนข้างไม่รุนแรง และช่วยนิยามความหมายและการปฏิบัติของการปฏิวัติสมัยใหม่ใหม่ (แม้มีความรุนแรงให้หลังการปฏิวัติ)[24]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง