การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี

การประท้วงกรณีแมฮ์ซอ แอมีนี (เปอร์เซีย: مهسا امینی) เป็นชุดการประท้วงและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศอิหร่านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 2022 หลังการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี ระหว่างที่เธอถูกตำรวจคุมขัง กล่าวกันว่าเธอถูกสายตรวจศีลธรรมของอิหร่านทุบตีหลังจากถูกกล่าวหาว่าละเมิดรูปแบบการสวมฮิญาบมาตรฐานตามกฎหมายในที่สาธารณะ[5] การประท้วงเริ่มต้นในเมืองใหญ่อย่างแซกเกซ, แซแนนแดจ, ดีวอนแดร์เร, บอเน และบีจอร์ในจังหวัดเคอร์ดิสถาน ต่อมาจึงได้กระจายไปตามเมืองใหญ่อื่น ๆ ในประเทศอิหร่าน รวมถึงในกรุงเตหะราน รวมทั้งมีการชุมนุมชาวอิหร่านในอาศัยในต่างประเทศเช่น ทวีปยุโรป แคนาดา สหรัฐฯ และตุรกี[6][7]

การประท้วงกรณี แมฮ์ซอ แอมีนี
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงในอิหร่าน ปี 2021–2022, ขบวนการประชาธิปไตยอิหร่าน, การประท้วงกฎหมายบังคับสวมฮิญาบในประเทศอิหร่าน และการเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี
วันที่16 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน
สถานที่ประเทศอิหร่าน
สาเหตุ
  • การเสียชีวิตของแมฮ์ซอ แอมีนี
  • กฎหมายบังคับสวมฮิญาบตั้งแต่ปี 1979
  • การสลายการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในอิหร่าน
  • การสลายการชุมนุมต้านกฎหมายบังคับสวมฮิญาบ
  • การละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสตรีและเด็กผู้หญิงโดยสายตรวจคุณธรรมของอิหร่าน
  • ความรุนแรงต่อสตรีในอิหร่าน
  • การเสียชีวิตของผู้ชุมนุมจากสลายการชุมนุม
เป้าหมาย
วิธีการการประท้วง, การเดินขบวน, การจลาจล, การปิดถนน, การตั้งสิ่งกีดขวาง, การนัดหยุดงาน, การนัดหยุดเรียน และการดื้อแพ่งต่อกฎหมายสวมฮิญาบในที่สาธารณะ
สถานะดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง
ผู้ประท้วง

อิหร่าน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

ผู้นำ
ไม่มีศูนย์กลาง
อิหร่าน แอลี ฆอเมเนอี
อิหร่าน เอบรอฮีม แรอีซี
อิหร่าน แอฮ์แมด แวฮีดี
อิหร่าน แอลี แชมฆอนี
โฮเซย์น แอชแทรี
ความเสียหาย
เสียชีวิตมากกว่า 319 คน[2][3][4]
บาดเจ็บ1160 คน [1]

ข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน ค.ศ. 2022 (2022 -09-22) มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 31 รายที่เสียชีวิตจากการปราบปรามผู้ชุมนุม ถือเป็นการประท้วงที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019–2020 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1,500 ราย[2]

นอกจากจะพยายามสลายการชุมนุมแล้ว รัฐบาลอิหร่านยังจำกัดการเข้าถึงแอปพลิเคชันอย่างอินสตาแกรมและวอตแซปส์ ไปจนถึงการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เพื่อให้การจัดการประท้วงเป็นไปอย่างยากลำบาก ถือเป็นการจำกัดอินเทอร์เน็ตครั้งที่หนักที่สุดนับตั้งแต่การประท้วงในปี 2019 ที่ตัดขาดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์[8]การโจมตีผู้ชุมนุมได้นำไปสู่การที่ผู้ชุมนุมบุกทำลายสถานที่ราชการ, ฐานทัพของรัฐบาล, ศูนย์ศาสนา, เผารถตำรวจ ยังมีการฉีกทำลายป้ายโฆษณาชวนเชื่อต่อต้านอเมริกา, โปสเตอร์และรูปปั้นของผู้นำสูงสุด แอลี ฆอเมเนอี และอดีตผู้นำสูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี โดยการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเตหะรานและมีการชุมนุมนักศึกษาในสถานศึกษาทั่วในประเทศเพื่อต้องการความยุติธรรม ต่อมาตำรวจควบุมฝูงชนได้เอาแก๊สน้ำตา รถควบคุมฝูงชน หนังสติ๊กยิง ทำให้กลุ่มผู้ชุนนุมได้รับบาดเจ็บ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง