การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564–2565

การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564–2565 รู้จักกันในประเทศว่า การปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ (พม่า: နွေဦးတော်လှန်ရေး, เสียงอ่านภาษาพม่า: [nwè.ú.tɔ̀.l̥àɰ̃.jé])[11][12] เป็นความพยายามขัดขืนของพลเมืองในประเทศพม่าต่อรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 นำโดย พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564[13] โดยจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีบุคคลอย่างน้อย 452 คนถูกกักขังเนื่องจากรัฐประหาร[14] ผู้ประท้วงใช้วิธีการประท้วงแบบสันติวิธีและปราศจากความรุนแรง[15] ซึ่งได้แก่การดื้อแพ่ง การนัดหยุดงาน การรณรงค์คว่ำบาตรกองทัพ ขบวนการตีหม้อ การรณรงค์ริบบิ้นแดง การประท้วงสาธารณะ และการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง

การประท้วงในประเทศพม่า พ.ศ. 2564–2565
(การปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิพม่า)
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งภายในพม่า
ตามเข็มนาฬิกาจากบน:
  • ผู้ประท้วงพันกว่าคนร่วมเดินขบวนต่อต้านทหารที่ย่างกุ้ง
  • ผู้ประท้วงชูสามนิ้ว
  • ผู้ประท้วงในยานพาหนะชูสโลแกนต่อต้านทหาร
  • กลุ่มผู้ประท้วงสร้างโซ่มนุษย์ในย่าน Kamayut ย่างกุ้ง
  • กลุ่มผู้ประท้วงประณามมินอ่องหล่าย และสะบัดธงพรรค NLD
วันที่2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน
สถานที่ประเทศพม่า
สาเหตุรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564
เป้าหมาย
วิธีการการเดินขบวน, การนัดหยุดงาน, การดื้อแพ่ง, ความเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, ศิลปะการประท้วง
สถานะยังดำเนินอยู่
  • กองกำลังปราบปรามผู้ประท้วง
  • การตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ
  • ขยายสถานการณ์ฉุกเฉินและเลื่อนการจัดการเลือกตั้งใหม่ไปในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566[1]
  • เกิดการก่อความไม่สงบอีกครั้ง
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วง:

  • ขบวนการดื้อแพ่ง
  • นักศึกษา
  • สหภาพแรงงาน

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

  • กองกำลังติดอาวุธประชาชน

สนับสนุนโดย:

ผู้นำ
  • ผู้ประท้วง:
  • ไม่มีผู้นำเป็นศุนย์กลาง
  • NUG:
  • Duwa Lashi La
  • Mahn Win Khaing Than
  • Yee Mon
ความเสียหาย
เสียชีวิตผู้ประท้วง 2,327 คน (จากAAPP)[6]
ตำรวจ 47 นายและทหาร 7 นาย
(จากSAC; ในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2021)[a][9][10]
ถูกจำคุกปัจจุบันถูกคุมคัว 15,691 คน (จากAAPP)[6]

สัญลักษณ์ในการประท้วง ประกอบด้วยสีแดงซึ่งเป็นสีของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD),[16] เพลง "กาบามาเจบู" (ကမ္ဘာမကျေဘူး) ซึ่งได้รับความนิยมครั้งแรกในการก่อการกำเริบ 8888 เป็นเพลงประท้วง[17][18][19] สัญลักษณ์สามนิ้วยังมีการใช้อย่างกว้างขวาง[20] ส่วนชาวเน็ตนิยมประชาธิปไตยบางส่วนเข้าร่วมพันธมิตรชานม ซึ่งเป็นขบวนการความเป็นปึกแผ่นประชาธิปไตยออนไลน์ในทวีปเอเชีย[21]

ฝ่ายรัฐบาลทหารมีมาตรการตอบโต้หลายวิธี รวมทั้งการสั่งปิดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคม การปิดสื่อ การจับกุมและลงโทษอาญาต่อผู้ประท้วง การเผยแพร่สารสนเทศเท็จ การทาบทามทางการเมืองต่อพรรคการเมืองให้เข้าร่วมสภาบริหารแห่งรัฐ (สภาชั่วคราว) การส่งผู้ประท้วงและผู้ปลุกระดมฝั่งนิยมทหาร และการใช้กำลังรุนแรงเพื่อปราบปรามการประท้วง ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้พิพากษา[22]สตรี เด็ก และเยาวชน ที่ต่างถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจจะทวีคูณขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง