พันธมิตรชานม

พันธมิตรชานม (อังกฤษ: Milk Tea Alliance) เป็นขบวนการในโลกออนไลน์เพื่อความเป็นปึกแผ่นทางประชาธิปไตย ประกอบด้วย ชาวเน็ตฮ่องกง ไต้หวัน และไทย เดิมทีเริ่มต้นจากอินเทอร์เน็ตมีมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบโต้เกรียนและผู้ออกความเห็นแนวชาตินิยมชาวจีนที่ออกมาตอบโต้ในกรณีที่ไทยบอกว่าใต้หวันเป็นประเทศซึ่งมีการตอบโต้กันไปมาอย่างดุเดือด[8] และพัฒนาไปสู่ขบวนการประท้วงที่มีพลวัตและมีลักษณะข้ามชาติเพื่อผลักดันประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance)
แผนที่ของ "พันธมิตรชานม" (สีแดงอ่อนแสดงพลเมืองชาวอินเดียที่เข้าร่วมพันธมิตรในบางสถานการณ์)
ชื่อย่อพันธมิตรชานม MTA
ก่อตั้ง10 เมษายน พ.ศ. 2563 (4 ปี)[1]
วัตถุประสงค์
สังกัด
ธง "พันธมิตรชานม" ที่ชาวเน็ตสร้างขึ้น สีของธงที่หันไปทางซ้ายหมายถึงชานมไทยชานมฮ่องกงและชานมไต้หวัน[7]

เบื้องหลัง

ภาพจากแหล่งข้อมูลภายนอก
พันธมิตรชานม Milk Tea Alliance memes published จากเพจเฟซบุ๊ค "奶茶通俗學 Milktealogy"[7]

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ในไต้หวันและฮ่องกงได้เข้าร่วมกับผู้ใช้ชาวไทยและสื่อสารกันในข้อความลักษณะ “ช่วงเวลาแห่งความเป็นปึกแผ่นในระดับภูมิภาคที่หาได้ยาก"[9] Pallabi Munsi เขียนใน OZY สื่อต่างประเทศ อธิบายว่าพันธมิตรชานมได้พูดถึง 50 Cent Party หรือเปรียบเป็นพรรค 50 เซ็นต์ (สกุลเงิน) ที่อ้างว่ามาจากการจ้างจากทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อพยายามบิดเบือนความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประโยชน์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ Little Pink ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มวัยรุ่นจีนที่คลั่งไคล้อินเทอร์เน็ตว่าในฐานะ "กองทัพอาสาสมัครของเอเชียที่ลุกขึ้นต่อสู้กับกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน"[10]

ชื่อ

ชานมได้รับการมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการผนึกกำลังต่อต้านจีน เนื่องจากหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการบริโภคชาร่วมกับนม และชาประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมากในทั้งสามประเทศ ในขณะที่ประเทศจีนไม่นิยมบริโภค[11] ชาไข่มุกไต้หวัน ชานมฮ่องกง และชาไทย ล้วนเป็นชานมท้องถิ่นที่มีความคล้ายคลึงกันอย่างมาก

ลำดับเหตุการณ์

ในเดือนต่อมากลุ่มพันธมิตรชานมได้พัฒนาจากการต่อต้านชาวปักกิ่งเป็น "ขบวนการประท้วงที่ไม่มีผู้นำที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”[12]

  • หลังการเกิดเหตุการณ์การต่อสู้อย่างประปรายจีน–อินเดีย พ.ศ. 2563 อินเดียยังถูกรวมอยู่ในกลุ่มพันธมิตรนี้ โดยมีมสาลาจาย ชาใส่เครื่องเทศที่มีชาและนมเป็นส่วนประกอบ เป็นสัญลักษณ์เข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรชานมที่หลากหลาย[13] [14]
  • หลังจากที่ออสเตรเลียเรียกร้องให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับการจัดการโควิด-19 ที่ไม่เรียบร้อยขององค์การอนามัยโลก จีนขู่คว่ำบาตรผู้บริโภคหากออสเตรเลียไม่ยอมถอยจากข้อเรียกร้องในการไต่สวน จากนั้นชาวอินเทร์เน็ตได้รวมออสเตรเลียเป็นสมาชิกของพันธมิตรชานม แต่ความสัมพันธ์กับชานมนั้นมีความสำคัญเพียงเล็กน้อยกับผลิตภัณฑ์นม Aptamil ที่ยืนอยู่ในชานมที่อยู่ในภาพแห่งความหลายหลาย[15]
  • ในเดือนสิงหาคม 2563 ได้มีการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยอีกครั้งซึ่งเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยได้รับการสนับสนุนและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจากชาวไต้หวันและฮ่องกง เช่น โจชัว หว่อง และมีการใช้แฮชแท็ก #MilkTeaAlliance โดยผู้ประท้วง[16] ด้านชาวไทยโพสต์ข้อความพร้อมติดแฮชแท็ก #MilkTeaAlliance และ #save12hkyouths ในเวลา 16.00 น. เพื่อกดดันรัฐบาลจีนและฮ่องกงปล่อยตัวเยาวชน 12 คนที่จีนจับตัวอยู่ให้กลับฮ่องกงโดยสวัสดิภาพ[17]
  • การประท้วงในประเทศเบลารุส พ.ศ. 2563 เริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมหลังจากฝ่ายค้านและหน่วยตรวจสอบระหว่างประเทศกล่าวว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในประเทศนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งที่ยุติธรรม นักเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ตบางคนจากเอเชียรวม Ryazhenka ซึ่งเป็นเครื่องดื่มนมหมักแบบดั้งเดิมของเบลารุส,รัสเซียและยูเครน เป็นสัญลักษณ์อยู่ในกลุ่มพันธมิตรชานม เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับชาวเบลารุสในการต่อต้านรัฐบาลของประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโค[18] ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสหภาพระหว่างรัสเซียและเบลารุส
  • ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังเกิดรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 ผู้ประท้วงในพม่าและไทยเริ่มรับพันธมิตรชานมมาใช้แสดงออกถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว โดยมีการแชร์ภาพถุงชาตรา "รอยัลเมียนมาที" ไปหลายพันครั้ง[19] ภาพที่ สินา วิทยวิโรจน์ ศิลปินชาวไทย วาดขึ้น ซึ่งแสดงถึงชานมไทย ไต้หวัน ฮ่องกง อินเดีย และพม่า โดยมีพาดหัวว่า "พันธมิตรชานม" นั้น กลายเป็นกระแส[19] และผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารได้ผนวกกำลังกันเป็นขบวนการประท้วงทางออนไลน์อย่างแข็งขัน[20]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง