ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 ระหว่างรัฐบาลสาธารณรัฐแอฟริกากลางกับกบฏซึ่งหลายคนเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองสาธารณรัฐแอฟริกากลาง กลุ่มกบฏกล่าวหารัฐบาลประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซว่าไม่สามารถปฏิบัติตามความตกลงสันติภาพที่ลงนามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550

ความขัดแย้งในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2555–ปัจจุบัน)
2012 Battles in the C.A.R. (
วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
(11 ปี 4 เดือน 1 สัปดาห์ 4 วัน)
สถานที่
ผลยังคงมีความรุนแรงระหว่างฝ่ายอยู่
คู่สงคราม

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Séléka

  • CPJP
  • CPSK
  • UFDR
  • FDPC
  • FPR

 สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
 ฝรั่งเศส (2013–16)
 แอฟริกาใต้ (2012–13)

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Anti-balaka

  • MRPRC
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Maj. Gen. Joseph Zindeko[1]
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Michel Djotodia (2013–14)

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Catherine Samba-Panza (2014–16)
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Faustin-Archange Touadéra
ฝรั่งเศส François Hollande
แอฟริกาใต้ Jacob Zuma
EUFOR RCA:
สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส Philippe Pontiès
MICOPAX:
กาบอง Jean-Felix Akaga (until 2013)
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Levy Yakete
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Patrice Edouard Ngaissona
กำลัง
3,000 (Séléka claim)[2]
1,000–2,000 (Other estimates)[3]
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง 3,500[3]
ฝรั่งเศส 2,000[4]
แอฟริกาใต้ 200[5]
ECCAS: 3,500+ peacekeepers[2][4]
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Democratic Republic of the Congo: 1,000
ประเทศจอร์เจีย Georgia: 140[6]
African Union: 6,000[4]
United Nations peacekeeping: 12,000 by Pakistan[7]
50,000[8]-72,000[9]
ความสูญเสีย
500+ rebel casualties (Bangui only, South African claim)สาธารณรัฐแอฟริกากลาง Unknown number killed or captured
1 policeman killed
แอฟริกาใต้ 15 soldiers killed[10]
สาธารณรัฐคองโก 3 soldiers killed
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 2 soldiers killed[11]
ฝรั่งเศส 3 soldiers killed
ปากีสถาน 1 soldier killed
53
พลัดถิ่น 200,000 คน; ลี้ภัย 20,000 คน (1 สิงหาคม 2013)[12]
พลัดถิ่น 700,000 คน; ลี้ภัย +288,000 คน (กุมภาพันธ์ 2014)[13]
รวม: เสียชีวิตหลายพันคน[14] เสียชีวิต +5,186 คน (ถึงกันยายน 2014)[15]

กองกำลังกบฏซึ่งมีชื่อว่า "เซเลกา" (Séléka CPSK-CPJP-UFDR) ยึดเมืองหลักหลายเมืองในภาคกลางและภาคตะวันออกของประเทศ พันธมิตรดังกล่าวประกอบด้วยสองกลุ่มหลัก คือ UFDR และ CPJP ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นเดียวกับ CPSK[16] ซึ่งรู้จักกันน้อยกว่า อีกสองกลุ่มประกาศการสนับสนุนแนวร่วมนี้เช่นเดียวกัน ได้แก่ FDPC[17] และ FPR (ในประเทศชาด)[18] ทั้งสองตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศ ทุกกลุ่มแยกยกเว้น FPR และ CPSK เป็นฝ่ายในสัญญาความตกลงสันติภาพและกระบวนการปลดอาวุธ

ประเทศชาด[19] กาบอง แคเมอรูน[20] แองโกลา[21] แอฟริกาใต้[22] และสาธารณรัฐคองโก[23] ส่งทหารช่วยเหลือรัฐบาลบอซีเซยับยั้งการรุกคืบของฝ่ายกบฏสู่กรุงบังกี เมืองหลวงของประเทศ

วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556 มีการลงนามความตกลงหยุดยิงในกรุงลีเบรอวีล ประเทศกาบอง ฝ่ายกบฏสละข้อเรียกร้องของพวกตนที่จะให้ประธานาธิบดีฟร็องซัว บอซีเซลาออก แต่เขาต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคฝ่ายค้านภายในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556[24] วันที่ 13 มกราคม บอซีเซลงนามกฤษฎีกาซึ่งถอดถอนนายกรัฐมนตรีโฟสแต็ง-อาร์ช็องฌ์ ตัวเดราจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงกับแนวร่วมกบฏ[25] วันที่ 17 มกราคม นีกอลา ตีย็องกาย (Nicolas Tiangaye) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี[26]

วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 การหยุดยิงถูกละเมิด โดยรัฐบาลประณามเซเลกาว่าละเมิดการหยุดยิง[27] และเซเลกาประณามรัฐบาลโดยกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลงแบ่งสรรอำนาจ[28] จนถึงวันที่ 21 มีนาคม กบฏรุกคืบถึงเมืองบูกาซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 300 กิโลเมตร[28] วันที่ 22 มีนาคม การสู้รบมาถึงเมืองดามารา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวง 75 กิโลเมตร[29] กบฏยึดด่านตรวจที่ดามาราและรุกคืบสู่กรุงบังกี แต่ถูกหยุดด้วยการโจมตีทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์จู่โจม[30] อย่างไรก็ดี วันรุ่งขึ้น ฝ่ายกบฏเข้าสู่กรุงบังกี มุ่งหน้าสู่ทำเนียบประธานาธิบดี[31] วันที่ 24 มีนาคม ฟร็องซัว บอซีเซหลบหนีออกนอกประเทศหลังกบฏยึดทำเนียบได้[32] ผู้นำกบฏ มีแชล จอตอดียา ประกาศตนเป็นประธานาธิบดีในวันเดียวกัน[33]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง