คาร์ล ลันท์ชไตเนอร์

คาร์ล ลันท์ชไตเนอร์ (เยอรมัน: Karl Landsteiner; 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 – 26 มิถุนายน ค.ศ. 1943) เป็นแพทย์ชาวออสเตรีย/อเมริกัน เกิดที่เมืองบาเดินไบวีน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ใกล้กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน) เป็นบุตรของเลโอพ็อลท์และฟันนี (นามสกุลเดิม เฮ็ส) ลันท์ชไตเนอร์[2] เรียนจบด้านการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวียนนา ระหว่างปี ค.ศ. 1891–1893 ลันท์ชไตเนอร์เรียนวิชาเคมีที่เมืองเวือทซ์บวร์ค, มิวนิก และซือริช เมื่อกลับมาที่เวียนนา ลันท์ชไตเนอร์ทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิทยาแบคทีเรีย อันโทน ไวค์เซิลเบาม์ ที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ในปี ค.ศ. 1901 ลันท์ชไตเนอร์ประสบความสำเร็จในการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O และพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย จากการค้นพบดังกล่าวทำให้ในปี ค.ศ. 1907 รูเบน ออตเตนเบิร์ก นายแพทย์ชาวอเมริกันประสบความสำเร็จในการถ่ายเลือดเป็นครั้งแรก[3]

คาร์ล ลันท์ชไตเนอร์
เกิด14 มิถุนายน ค.ศ. 1868(1868-06-14)
บาเดินไบวีน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต26 มิถุนายน ค.ศ. 1943(1943-06-26) (75 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
สัญชาติออสเตรีย/อเมริกัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเวียนนา
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาการแพทย์, วิทยาไวรัส
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเวียนนา
สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์

ต่อมาลันท์ชไตเนอร์ทำงานที่โรงพยาบาลวิลเฮ็ลมีเนินชปีทาล (Wilhelminenspital) ในปี ค.ศ. 1909 ลันท์ชไตเนอร์และเพื่อนร่วมงาน แอร์วีน พ็อพเพอร์ ค้นพบโปลิโอไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคโปลิโอ[4] หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลันท์ชไตเนอร์พบว่างานในออสเตรียหายากขึ้น จึงย้ายไปที่ประเทศเนเธอร์แลนด์[5] ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 ลันท์ชไตเนอร์ได้รับเชิญให้มาทำงานที่สถาบันร็อกเกอะเฟลเลอร์เพื่อการวิจัยทางการแพทย์ในสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1930 ลันท์ชไตเนอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์จากการบุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับหมู่โลหิต[6] ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 ลันท์ชไตเนอร์และเพื่อนร่วมงาน อเล็กซานเดอร์ เอส. ไวเนอร์ และฟิลิป เลวีน ค้นพบอาร์เอชแฟกเตอร์

ด้านชีวิตส่วนตัว ลันท์ชไตเนอร์แต่งงานกับเลโอพ็อลดีเนอ เฮเลเนอ วลัสโทในปี ค.ศ. 1916 มีบุตรด้วยกัน 1 คน[7] ลันท์ชไตเนอร์เสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดในปี ค.ศ. 1943[8] ในปี ค.ศ. 2016 กูเกิล ดูเดิลฉลองวันเกิดครบรอบ 148 ปีให้แก่เขา[9]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง