จักรวรรดิข่านอิล

จักรวรรดิข่านอิล (อังกฤษ: Ilkhanate, Il-khanate; เปอร์เซีย: ایل خانان, อักษรโรมัน: Īlkhānān) ชาวมองโกลรู้จักกันในชื่อ ฮือเลกืออูลุส (มองโกเลีย: Hülegü Ulus; แปลว่า ดินแดนของฮูเลกู)[9] เป็นรัฐข่านทางตะวันตกเฉียงใต้ที่แตกมาจากจักรวรรดิมองโกล ดินแดนอิลข่านมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ดินแดนอิหร่าน หรือสั้น ๆ ว่า อิหร่าน[10][11] ดินแดนนี้ได้รับการสถาปนาหลังฮูลากู ข่าน พระราชโอรสในโทโลย ข่าน และพระราชนัดดาในเจงกีส ข่าน ได้รับดินแดนจักรวรรดิมองโกลส่วนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้หลังมงค์ ข่านสวรรคตใน ค.ศ. 1259

จักรวรรดิข่านอิล

ایل خانان
1256–1335[1]
ธงชาติข่านอิล
ธงในแผนที่ของ Angelino Dulcert ใน ค.ศ. 1339 และใน อัตลัสกาตาลา ใน ค.ศ. 1375.[2]
จักรวรรดิข่านอิลในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด
จักรวรรดิข่านอิลในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด
สถานะรัฐข่าน
เมืองหลวง
  • แมรอเฆ (1256–1265)
  • แทบรีซ (1265–1306)
  • โซลทอนีเย (1306–1335)
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
ข่าน 
• 1256–1265
ฮูลากู ข่าน
• 1316–1335
แอบู แซอีด
พื้นที่
ประมาณ ค.ศ. 1310[7][8]3,750,000 ตารางกิโลเมตร (1,450,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิมองโกล
รัฐสุลต่านแจลอยีรียอน

ดินแดนส่วนกลางของอิลข่านอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของประเทศอิหร่าน อาเซอร์ไบจาน และตุรกี โดยในช่วงสูงสุดมีขนาดกว้างถึงประเทศอิรัก ซีเรีย อาร์มีเนีย จอร์เจีย อัฟกานิสถาน เติร์กเมนิสถาน ปากีสถาน ดาเกสถานบางส่วน และทาจิกิสถานบางส่วน ผู้นำข่านอิลยุคหลังหันมาเข้ารีตเป็นอิสลามนับตั้งแต่ฆอซอนใน ค.ศ. 1295 ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1330 จักรวรรดิข่านอิลเผชิญกับกาฬมรณะ แอบู แซอีด แบฮอดูร์ ข่าน อิลข่านองค์สุดท้าย สวรรคตใน ค.ศ. 1335 หลังจากนั้นจักรวรรดิข่านอิลจึงยุบสลาย

แม้ว่าผู้นำข่านอิลไม่ได้มีต้นตอจากชาวอิหร่าน แต่ก็พยายามประกาศอำนาจของตนด้วยการผูกมัดตนเองกับอดีตของอิหร่าน และคัดเลือกนักประวัติศาสตร์เพื่อเสนอให้ชาวมองโกลเป็นทายาทของจักรวรรดิซาเซเนียน (ค.ศ. 224–651) แห่งอิหร่านยุคก่อนอิสลาม[12]

คำนิยาม

เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี นักประวัติศาสตร์ รายงานว่า กุบไลข่านประทานตำแหน่งอิลข่านแก่ฮูลากู (ฮือเลกือ) หลังฮูลากูพ่ายแพ้ต่ออาริก เบอเก คำว่าอิลข่านหมายถึง "ข่านแห่งชนเผ่า, ข่านแห่งอูลุส" และตำแหน่งข่านที่ต่ำกว่าหมายถึงความเคารพเบื้องต้นต่อมงค์ ข่าน และผู้สืบทอดของพระองค์ในฐานะข่านใหญ่แห่งจักรวรรดิมองโกล ส่วนตำแหน่ง "อิลข่าน" ที่ลูกหลานฮูลากูและภายหลังเหล่าเจ้าชายบอร์จิกินในเปอร์เซียใช้นั้น ยังไม่ปรากฏในข้อมูลจนกระทั่งหลัง ค.ศ. 1260[13]

ประวัติ

ต้นกำเนิด

พันธมิตรฝรั่งเศส-มองโกล

ราชสำนักยุโรปตะวันตกหลายแห่งพยายามสร้างพันธมิตรกับมองโกลหลายครั้ง โดยเป้าหมายหลักคือจักรวรรดิข่านอิลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 14 เริ่มตั้งแต่ประมาณช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 7 (มุสลิมและชาวเอเชียในช่วงครูเรียกชาวยุโรปตะวันตกเป็นชาวแฟรงก์) แม่ว่าจะมีศัตรูมุสลิมเกียวกัน (โดยหลักคือมัมลูก) แต่ก็ไม่มีการลงมติความเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ[14]

อ้างอิง

ข้อมูล

  • Allsen, Thomas (1994). "The rise of the Mongolian empire and Mongolian rule in north China". ใน Denis C. Twitchett; Herbert Franke; John King Fairbank (บ.ก.). The Cambridge History of China: Volume 6, Alien Regimes and Border States, 710–1368. Cambridge University Press. pp. 321–413. ISBN 978-0-521-24331-5.
  • Arjomand, Saïd Amir Arjomand (2022). Revolutions of the End of Time: Apocalypse, Revolution and Reaction in the Persianate World. Brill. ISBN 978-90-04-51715-8.
  • Ashraf, Ahmad (2006). "Iranian identity iii. Medieval Islamic period". Encyclopaedia Iranica, Vol. XIII, Fasc. 5. pp. 507–522.
  • Atwood, Christopher Pratt (2004). Encyclopedia of Mongolia and the Mongol empire. New York, NY: Facts On File. ISBN 0-8160-4671-9.
  • Babaie, Sussan (2019). Iran After the Mongols. Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-78831-528-9.
  • Badiee, Julie (1984). "The Sarre Qazwīnī: An Early Aq Qoyunlu Manuscript?". Ars Orientalis. University of Michigan. 14.
  • C.E. Bosworth, The New Islamic Dynasties, New York, 1996.
  • Jackson, Peter (2017). The Mongols and the Islamic World: From Conquest to Conversion. Yale University Press. pp. 1–448. ISBN 9780300227284. JSTOR 10.3366/j.ctt1n2tvq0. แม่แบบ:Registration required
  • Lane, George E. (2012). "The Mongols in Iran". ใน Daryaee, Touraj (บ.ก.). The Oxford Handbook of Iranian History. Oxford University Press. pp. 1–432. ISBN 978-0-19-987575-7.
  • Limbert, John (2004). Shiraz in the Age of Hafez. University of Washington Press. pp. 1–182. ISBN 9780295802886.
  • Kadoi, Yuka. (2009) Islamic Chinoiserie: The Art of Mongol Iran, Edinburgh Studies in Islamic Art, Edinburgh. ISBN 9780748635825.
  • Fragner, Bert G. (2006). "Ilkhanid Rule and Its Contributions to Iranian Political Culture". ใน Komaroff, Linda (บ.ก.). Beyond the Legacy of Genghis Khan. Brill. pp. 68–82. ISBN 9789004243408.
  • May, Timothy (2018), The Mongol Empire
  • Melville, Charles (2012). Persian Historiography: A History of Persian Literature. Bloomsbury Publishing. pp. 1–784. ISBN 9780857723598.
  • R. Amitai-Preiss: Mongols and Mamluks: The Mamluk-Ilkhanid War 1260–1281. Cambridge, 1995.
  • Vernadsky, George (1953), The Mongols and Russia, Yale University Press
  • Vásáry, István (2016). "The Role and Function of Mongolian and Turkic in Ilkhanid Iran". ใน Csató, Éva Á.; Johanson, Lars; Róna-Tas, Andrá; Utas, Bo (บ.ก.). Turks and Iranians. Interactions in Language and History: The Gunnar Jarring Memorial Program at the Swedish Collegium for Advanced Study (1 ed.). Harrassowitz Verlag. pp. 141–152. ISBN 978-3-447-10537-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง