จิมมี เวลส์

ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย (เกิด ค.ศ. 1966)
(เปลี่ยนทางจาก จิมโบ เวลส์)

จิมมี ดอนอล เวลส์ (อังกฤษ: Jimmy Donal Wales; เกิดวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966) รู้จักในนามแฝง จิมโบ (Jimbo) เป็นเว็บมาสเตอร์ ผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ต และอดีตนักธุรกิจการเงิน[3][4]ชาวอเมริกันเชื้อสายอังกฤษ[5] เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดีย สารานุกรมไม่แสวงหาผลกำไรออนไลน์[6] และวิเกีย ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นแฟนดอม เว็บโฮสติงแสวงหากำไร[7]

จิมมี เวลส์
เวลส์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019
เกิดจิมมี ดอนอล เวลส์
(1966-08-07) 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966 (57 ปี)
ฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา สหรัฐ
ชื่ออื่นจิมโบ (ชื่อบนเวที)[1]
การศึกษา
อาชีพผู้ประกอบการด้านอินเทอร์เน็ต, เว็บมาสเตอร์, นักธุรกิจการเงิน (อดีต)
ตำแหน่ง
ผู้สืบตำแหน่งFlorence Devouard (ในฐานะประธานมูลนิธิวิกิมีเดีย)
กรรมการใน
คู่สมรสPamela Green (สมรส 1986; หย่า 1993)
Christine Rohan (สมรส 1997; หย่า 2011)
Kate Garvey (สมรส 2012)
บุตรลูกสาว 3 คน
รางวัลดูข้างล่าง
เว็บไซต์jimmywales.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ลายมือชื่อ

เวลส์เกิดที่ฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา โดยเริ่มศึกษาที่โรงเรียนรูด็อล์ฟ โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัย[8][9][10] เขาจบปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาการเงินจากมหาวิทยาลัยออเบิร์นและมหาวิทยาลัยแอละแบมาตามลำดับ[9]

ใน ค.ศ. 1996 เวลส์กับพันธมิตรสองคนก่อตั้งเซิร์ชพอร์ทัลชื่อโบมิส ซึ่งโดยหลักเป็นที่รู้จักจากการแสดงเนื้อหาผู้ใหญ่ โบมิสได้ลงทุนให้กับนูพีเดีย (2000–2003) สารานุกรมพิชญพิจารณ์เสรี ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2001 เขาร่วมกับแลร์รี แซงเงอร์กับคนอื่น ๆ ก่อตั้งวิกิพีเดีย สารานุกรมเนื้อหาเสรีที่ได้เติบโตและเป็นที่นิยมอย่างมาก ถึงแม้ว่าเคยมีการระบุเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เขาโต้แย้งสิ่งนี้และประกาศตนเองเป็นผู้ก่อตั้งคนเดียว[11][12]

เวลส์ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการจัดการมูลนิธิวิกิมีเดีย มูลนิธิที่เขาช่วยก่อตั้งเพื่อบริหารวิกิพีเดีย เนื่องจากบทบาทในการก่อตั้งวิกิพีเดียของเขา สารานุกรมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไทม์ จัดให้เขาเป็นหนึ่งใน "100 ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก" ใน ค.ศ. 2006[13]

ชึวิตช่วงต้น

เวลส์เกิดที่ฮันต์สวิลล์ รัฐแอละแบมา ในเวลาก่อนเที่ยงคืนวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1966 อย่างไรก็ตาม สูติบัตรของเขาระบุวันเกิดเป็น 8 สิงหาคม[14][15] จิมมี ซีเนียร์ พ่อของเขา[16] ทำงานเป็นผู้จัดการร้านขายของชำ ส่วน ดอริส แอนน์ (สกุลเดิม ดัดลีย์) แม่ของเขา และเออร์มา ย่า/ยายของเขา ดำเนินกิจการ House of Learning[17][9]

ผลงาน

การพัฒนาวิกิพีเดีย

ในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2001 เวลส์และแซงเงอร์ได้ตั้งวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นเว็บไซต์วิกิในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนูพีเดียขึ้น โดยตั้งใจว่าจะใช้วิกิพีเดียเป็นพื้นที่ระดมความคิดสำหรับเขียนเนื้อหาสารานุกรมในขั้นต้น ก่อนที่จะส่งไปที่นูพีเดียเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง การเติบโตอย่างรวดเร็วของวิกิพีเดียในเวลาต่อมาทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นโครงการหลักและโครงการนูพีเดียต้องระงับไป ในระยะแรกของการพัฒนาวิกิพีเดียนั้น แซงเงอร์เป็นผู้ดำเนินการเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เวลส์เป็นผู้ออกเงินทุน เวลส์ถือว่าตนเองเป็นผู้ก่อตั้งวิกิพีเดียแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ว่าแซงเงอร์จะยังคงเรียกตนเองว่าเป็น "ผู้ร่วมก่อตั้ง" วิกิพีเดียก็ตาม แซงเงอร์ได้ยุติการทำงานในโครงการวิกิพีเดียในเวลาต่อมา โดยประกาศการลาออกไว้ที่หน้าผู้ใช้วิกิพีเดียของเขาเอง หลังจากลาออก แซงเงอร์ได้วิพากษ์วีธีที่เวลส์ดำเนินโครงการ [18] โดยวิจารณ์ว่าเวลส์เป็นบุคคลจำพวก "ต่อต้านพวกหัวกะทิอย่างสิ้นเชิง" ("decidedly anti-elitist") ซึ่งเวลส์ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้ของแซงเงอร์ และกล่าวว่าตนไม่ได้ต่อต้านพวกหัวกะทิ แต่ "น่าจะเป็นจำพวกต่อต้านพวกถือใบประกาศฯ (anti-credentialist) มากกว่า สำหรับผม สิ่งสำคัญคือทำให้ถูกต้อง และถ้ามีใครก็ตามที่เป็นคนฉลาดและทำงานได้น่าอัศจรรย์แล้วล่ะก็ ผมไม่สนหรอกว่าเขาจะเป็นนักเรียนมัธยมปลายหรือศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด งานที่เขาทำต่างหากที่สำคัญ ... คุณหวังพึ่งใบประกาศฯ ของคุณในวิกิพีเดียไม่ได้หรอก ... คุณต้องเดินเข้าตลาดความคิดและสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ"

ในกลาง ค.ศ. 2003 เวลส์ได้ก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดียขึ้น โดยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนวิกิพีเดียและโครงการพี่น้องอื่น ๆ นับแต่นั้น บทบาทของเวลส์จะเพิ่มขึ้นจากเดิมในด้านการส่งเสริมและการพูดในที่ต่าง ๆ ถึงโครงการของมูลนิธิ นับถึง ค.ศ. 2005 เวลส์ยังคงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิและประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอยู่

ใน ค.ศ. 2004 มีการอ้างคำพูดของเวลส์ว่าเขาใช้เงินส่วนตัวประมาณ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในการก่อตั้งและดำเนินงานโครงการวิกิต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อสิ้นสุดการระดมทุนของมูลนิธิวิกิมีเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 มูลนิธิได้รับการสนับสนุนที่จำเป็นทั้งหมดจากสิ่งของและเงินบริจาค

เวลส์ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "จอมเผด็จการผู้เมตตา (benevolent dictator)" ของวิกิพีเดียด้วย ถึงแม้เวลส์จะไม่สนับสนุนการใช้คำนี้ก็ตาม เวลส์ยังคงมีอำนาจการควบคุมสูงสุดในมูลนิธิวิกิมีเดีย โดยนอกจากตัวเขาเองจะเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิแล้ว เขายังเสนอชื่อหุ้นส่วนทางธุรกิจของเขาจำนวนสองคน ซึ่งมิได้เป็นผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ให้ร่วมเป็นกรรมการด้วย ซึ่งเนื่องจากคณะกรรมการบริหารมูลนิธิมีอยู่ด้วยกันห้าคน โดยพฤตินัยแล้วจึงถือว่าเวลส์ครองเสียงข้างมาก (สามเสียง) ในคณะกรรมการ อย่างไรก็ตาม เวลส์กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากกรรมการในฟากผู้แก้ไขวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอทั้งสองคนเห็นพ้องกันในญัตติใดญัตติหนึ่งแล้ว ตนจะออกเสียงสนับสนุนด้วย ซึ่งมีผลทำให้กรรมการฟากผู้แก้ไขได้รับเสียงข้างมาก เวลส์ยังกล่าวด้วยว่าคำว่า "จอมเผด็จการผู้เมตตา" ใช้กันมากโดยสื่อมวลชน แต่ชุมชนวิกิพีเดียไม่ยอมรับคำนี้[ต้องการอ้างอิง]

โครงการอื่น ๆ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เวลส์ได้ก่อตั้งบริษัทวิเกีย ซึ่งเป็นบริษัทแสวงหาผลกำไร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเว็บโฮสต์ให้โครงการวิกิต่าง ๆ และดูแลโครงการวิกิซิตีส์ซึ่งมีลักษณะเดียวกับวิกิพีเดีย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะอิทธิพลจากความสำเร็จของวิกิพีเดีย

ชีวิตส่วนตัว

เวลส์กับภรรยาคนที่สอง Christine Rohan

จิมมี เวลส์แต่งงานสามครั้ง ตอนอายุ 20 ปี เขาแต่งงานกับ Pamela Green[3] เพื่อนร่วมงานในร้านขายของชำที่รัฐแอละแบมา[19] ทั้งคู่หย่ากันใน ค.ศ. 1993[9] ต่อมาได้พบกับ Christine Rohan ภรรยาคนที่สองผ่านเพื่อนในชิคาโก โดยเธอทำงานเป็นแม่ค้าเหล็กของมิตซูบิชิ[20][21] ทั้งคู่แต่งงานกันที่เทศมณฑลมอนโร รัฐฟลอริดาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1997[22] และมีลูกสาวคนเดียวก่อนที่จะแยกกันใน ค.ศ. 2008[3][20][19]

เวลส์แต่งงานกับ Kate Garvey ที่Wesley's Chapelในลอนดอนเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 2012[23] เธอเป็นอดีตเลขาธิการจดบันทึกของโทนี แบลร์ ซึ่งเวลส์พบเธอที่ดาโวส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[24][25] เวลส์มีลูกสาวสามคน: กับ Rohan หนึ่งคน และกับ Garvey สองคน[1][26]

เวลส์อาศัยอยู่ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษมาตั้งแต่ ค.ศ. 2012[27] เขาได้รับสิทธิพลเมืองอังกฤษใน ค.ศ. 2019[5] และระบุตนเองว่าเป็นเชฟที่หลงใหล[28]

สิ่งตีพิมพ์

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Poe, Marshall (September 2006). "The Hive". The Atlantic Monthly. 298 (2): 86–94. สืบค้นเมื่อ February 29, 2008.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร