ชาวสิงหล

ชาวสิงหล (สิงหล: සිංහල ජාතිය) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันบนเกาะลังกาของประเทศศรีลังกา[15] มีประชากร 16.2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 75 จากประชากรทั้งหมดในศรีลังกา[2] ชาวสิงหลมีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ประวัติศาสตร์ และศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[16] มีจำนวนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเข้ารีตในยุคอาณานิคม ชาวสิงหลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดกลางเหนือ, จังหวัดกลาง, จังหวัดใต้ และจังหวัดตะวันตก

สิงหล
සිංහල ජාතිය
หญิงสิงหลสวมชุดส่าหรีพื้นเมือง
ประชากรทั้งหมด
17 ล้านคน [1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ศรีลังกา       15,173,820 (74.88%)
(2012)[2]
 สหราชอาณาจักร~100,000 (2010)[3]
 ออสเตรเลีย85,000 (2016)[4]
 อิตาลี~56,000 (2016)[5]
 แคนาดา19,830 (2006)[6]
 สหรัฐ41,000 (2016)[7]
 สิงคโปร์25,000 (2016)[8]
 มาเลเซีย10,000 (2009)[9]
 นิวซีแลนด์7,257 (2006)[10]
 อินเดีย4,100[11][12]
ภาษา
สิงหล · อังกฤษ
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือเถรวาท
ส่วนน้อยนับถือโรมันคาทอลิก
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชนกลุ่มน้อยในเอเชียใต้[13]
ชาวทมิฬ (โดยเฉพาะชาวทมิฬศรีลังกา)[13]
ชนชาติออสโตรเอเชียติก[14]

ใน มหาวงศ์ และ ทีปวงศ์ ซึ่งเป็นมหากาพย์ช่วงศตวรรษที่ 3-5 ซึ่งบันทึกโดยพระสงฆ์แห่งอนุราธปุรมหาวิหารยะ (Anuradhapura Maha Viharaya) ในศรีลังกา ระบุว่าเจ้าชายวิชยะ (Vijaya) พร้อมบรรพบุรุษของชาวสิงหลอพยพจากเมืองสิงหปุระ (Sinhapura) ซึ่งตั้งอยู่ในอนุทวีป ไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะลังกาเมื่อ 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช[17]

นิรุกติศาสตร์

สิงหลเป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือสีหละ ส่วนคำในภาษาสิงหลจริง ๆ คือ เฮลา ความหมายของคำนี้คือสิงโต[18]

ศาสนา

ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกาเป็นแบบเถรวาทเช่นเดียวกับไทย ในเอกสารภาษาบาลี (เช่นมหาวงศ์) อ้างว่าชาวสิงหลคือชาติพันธุ์ที่ถูกกำหนดให้พิทักษ์พุทธศาสน์ ใน ค.ศ. 1988 ประชาชนที่ใช้ภาษาสิงหลร้อยละ 93 ระบุตัวตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน[19] อย่างไรก็ตามชาวสิงหลพุทธมีมุมมองและการปฏิบัติศาสนกิจใกล้เคียงกับฮินดู ทั้งมีคำสอนที่ใกล้เคียงกัน ชาวสิงหลพุทธจึงรับองค์ประกอบทางศาสนาของฮินดูมาปรับใช้ในวัฒนธรรมทางศาสนา โดยนำยึดโยงกับความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมและธรรมเนียมการนับถือผี การบูชาเทพเจ้าหรือปีศาจ[20][21][22]

คณนาถ โอเพเยเสเกเร (Gananath Obeyesekere) นักมานุษยวิทยาชาวศรีลังกา และกิตสิริ มาลัลโคทา (Kitsiri Malalgoda) เรียกศาสนาพุทธของชาวสิงหลว่า "ศาสนาพุทธนิกายโปรเตสแตนต์" ซึ่งเลียนแบบกลยุทธ์ในการเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ในยุคอาณานิคมบริติช โดยมีการจัดระเบียบการปฏิบัติศาสนกิจ การจัดตั้งโรงเรียนพุทธเพื่อให้ความรู้แก่ยุวชนพุทธ รวมทั้งมีการก่อตั้งองค์กรของชาวพุทธ เช่น ยุวพุทธสมาคม (Young Men's Buddhist Association) และมีการพิมพ์แผ่นพับเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกป้องพระพุทธศาสนาทั้งในการโต้วาทีหรือในความขัดแย้งทางศาสนา[23]

มีคริสต์ศาสนิกชนเชื้อสายสิงหลจำนวนมากในกลุ่มจังหวัดชายทะเลของศรีลังกาอย่างมีนัยสำคัญ[20] มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์สู่ชาวสิงหลตั้งแต่ยุคที่เกาะลังกาตกเป็นอาณานิคมโปรตุเกส ดัตช์ และสหราชอาณาจักร ตามช่วงระยะเวลาปกครอง[24] โดยมากคริสต์ศาสนิกชนชาวสิงหลนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนน้อยเป็นโปรเตสแตนต์[19] มีศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่เมืองนิกอมโบ (Negombo)

จากการสำรวจของแกลลัพโพล (Gallup poll) พบว่าชาวศรีลังการ้อยละ 99 ระบุว่าศาสนามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน[25]

พันธุกรรม

ระยะห่างทางพันธุกรรมของชาวสิงหลกับชนกลุ่มอื่นในดินแดนอนุทวีป ตามการวิเคราะห์ Alu Polymorphism

การศึกษาในยุคใหม่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นที่มีร่วมกับชาวเบงกอลและชาวโอดิชา และมีอิทธิพลจากชาวทมิฬเล็กน้อย การศึกษาแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์กับประชากรชาวคุชราตและชาวปัญจาบซึ่งยังสามารถสังเกตได้[13][26] การศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอดีต ยังแสดงให้เห็นว่าชาวสิงหลมีการผสมผสานทางพันธุกรรมจากประชากรในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มที่ใช้ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก[27][28] โดยเฉพาะ Y-DNA, mtDNA haplogroups และเครื่องหมายทางพันธุกรรมของอิมมูโนโกลบูลินในหมู่ชาวสิงหล เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงอิทธิพลทางพันธุกรรมของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบในหลายกลุ่มประชากรของอินเดียในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือที่ชาวสิงหลมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม[29][30][31]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง