ชุดตัวอักษรทาจิก

ภาษาทาจิกได้มีการเขียนสามแบบในประวัติศาสตร์ของภาษานี้ได้แก่ การเขียนด้วยอักษรอาหรับ (โดยเฉพาะอักษรเปอร์เซีย) การเขียนด้วยอักษรละติน และการเขียนด้วยอักษรซีริลลิก อักษรอะไรก็ได้ที่ใช้สำหรับเขียนภาษาทาจิกจะถูกเรียกว่า ชุดตัวอักษรทาจิก ซึ่งเขียนว่า алифбои тоҷикӣ ในอักษรซีริลลิก الفبای تاجیکی‎ ในอักษรอาหรับ และ alifboji toçikī ในอักษรละติน

ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐสังคมนิยมปกครองตนเองโซเวียตทาจิก ประมาณ ค.ศ. 1929 เขียนในอักษรละติน อาหรับ และซีริลลิก (จากบนลงล่าง)

การใช้อักษรที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับประวัติศาสตร์ทาจิกิสถาน โดยอักษรอาหรับได้ถูกใช้เป็นครั้งแรก และใช้อักษรละตินในเวลาถัดมา และใช้อักษรซีริลลิกหลังจากอักษรละตินท่ถูกใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งอักษรซีริลลิกนี้ก็ยังคงเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในทาจิกสถาน ซึ่งภาษาถิ่นบูโครีซึ่งพูดโดยชาวยิวบูโครีซึ่งดั้งเดิมใช้อักษรฮีบรู แต่ในปัจจุบันมักจะเขียนโดยใช้อักษรซีริลลิก

การเมือง

เช่นเดียวกันกับรัฐหลังสหภาพโซเวียตหลายประเทศ การเปลี่ยนระบบการเขียนและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิ่งนี้มีความเกี่ยวพันกับประเด็นทางการเมืองอย่างใกล้ชิด โดยผู้ที่สนับสนุนอักษรละตินหวังที่จะนำประเทศเข้าใกล้กับอุซเบกิสถาน ซึ่งหันมาใช้ชุดตัวอักษรอุซเบกฐานละติน[1] ผู้ที่เคร่งศาสนา ผู้ที่แนวคิดลัทธิอิสลาม และผู้ที่หวังให้ประเทศเข้าใกล้กับอิหร่าน, อัฟกานิสถาน และมรดกเปอร์เซีย สนับสนุนชุดตัวอักษรเปอร์เซีย และผู้ที่หวังที่จะรักษาสถานะความเป็นกลางและไม่อยากให้ประเทศอยู่ห่างจากรัสเซียมักสนับสนุนอักษรซีริลลิก

ประวัติ

เนื่องด้วยอิทธิพลของศาสนาอิสลาม ทำให้ภาษาทาจิกเขียนด้วยชุดตัวอักษรเปอร์เซียจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1920 ฝ่ายโซเวียตเริ่มย่ออักษรเปอร์เซียใน ค.ศ. 1923 ก่อนเปลี่ยนไปใช้ระบบการเขียนฐานละตินใน ค.ศ. 1927[2] ฝ่ายโซเวียตนำอักษรละตินมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเพิ่มการรู้หนังสือและแยกประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือในขณะนั้นให้ห่างจากเอเชียกลางที่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาในทางปฏิบัติ ตรงที่อักษรเปอร์เซียโดยทั่วไปไม่มีอักษรเพียงพอสำหรับระบบเสียงสระในภาษาทาจิก นอกจากนี้ อักษรไร้สระเรียนรู้ได้ยากกว่า เนื่องจากแต่ละตัวอักษรมีรูปเขียนต่างกันตามตำแหน่งตัวอักษร[3]

ต่อมา มีการผ่าน พระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการถอดเป็นอักษรโรมัน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1928[4] ภาษาทาจิกรูปแบบละตินอิงจากผลงานของนักวิชาการที่พูดภาษาตุรกีที่มุ่งสร้างชุดตัวอักษรเติร์กให้เป็นหนึ่งเดียว[5]

หลังจากนั้น จึงเริ่มมีการใช้อักษรซีริลลิกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เป็นรัสเซียในเอเชียกลาง[6][7][8][9][10] ภาษานี้ยังคงเขียนด้วยอักษรซีริลิลกจนกระทั่งปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังการแยกตัวของสหภาพโซเวียต จากนั้นใน ค.ศ. 1989 ด้วยการเติบโตของชาตินิยมทาจิก ทำให้มีการร่างกฎหมายให้ภาษาทาจิกเป็นภาษาราชการ นอกจากนี้ กฎหมายยังให้ความเท่าเทียมแก่ภาษาเปอร์เซีย โดยเพิ่มคำว่า Farsi (ชื่อภาษาเปอร์เซียในภาษาของตน) ถัดจากทาจิก กฎหมายยังเรียกร้องให้มีการนำชุดตัวอักษรเปอร์เซีย-อาหรับกลับมาใช้ใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไป[11] แต่ใน ค.ศ. 1999 กลับลบคำว่า Farsi ออกจากกฎหมายภาษาแห่งรัฐ[12] ข้อมูลเมื่อ 2004 อักษรซีริลลิกใช้เป็นอักษรมาตรฐานโดยพฤตินัย[13] และข้อมูลเมื่อ 1996 มีประชากรส่วนน้อยมากเท่านั้นที่สามารถอ่านชุดตัวอักษรเปอร์เซียได้[14]

รูปแบบ

อักษรเปอร์เซีย

รูปแบบอักษรเปอร์เซียของทาจิก ซึ่งเป็นอักษรตระกูลเซมิติก เคยใช้เขียนภาษาทาจิกมาก่อน ในรูปแบบของภาษาทาจิกเหมือนกับอักษรอาหรับ ยกเว้น ا‎ (alef) ไม่มีสระเขียนอยู่ ถ้าต้องการแสดงสระให้ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร

รูปแบบอักษรเปอร์เซียของทาจิก
ذدخحچجثتپبا
/z//d//χ//h//tʃ//dʒ//s//t//p//b//ɔː/
غعظطضصشسژزر
/ʁ//ʔ//z//t//z//s//ʃ//s//ʒ//z//ɾ/
یهونملگکفق
/j//h//v//n//m//l//ɡ//k//f//q/

อักษรละติน

หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ Kommunisti Isfara ฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1936

อักษรละตินถูกนำมาใช้หลังจากการปฏิวัติรัสเซียในปี 1917 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเพิ่มความรู้และระยะทางจากอิทธิพลอิสลาม ในรูปแบบแรกของรูปแบบอักษรละตินของทาจิก พบได้แต่อักษรตัวเล็ก ในปี 1926-9 ได้มีการใช้รูปแบบที่แตกต่างกันเล็กน้อยโดยชาวยิวบูโครี ซึ่งเพิ่มสามอักษรที่ไม่มีในภาษาถิ่นอื่น ů, ə̧, และ ḩ[15]

รูปแบบอักษรละตินของทาจิก
A aB ʙC cÇ çD dE eF fG gƢ ƣH hI i
/æ//b//tʃ//dʒ//d//eː//f//ɡ//ʁ//h//i/
Ъ ъJ jK kL lM mN nO oP pQ qR rS s
/ˈi//j//k//l//m//n//ɔː//p//q//ɾ//s/
Ş şT tU uŪ ūV vX xZ zƵ ƶʼ
/ʃ//t//u//ɵː//v//χ//z//ʒ//ʔ/

อักษรแปลก ๆ อย่าง Ƣ เรียกว่า Gha ซึ่งใช้เขียนแทนเสียง /ɣ/ อักษรนี้สามารถเจอได้ในชุดตัวอักษรเตอร์กิกทั่วไปซึ่งพบเจอได้บ่อยในภาษาที่ไม่ใช่ภาษาสลาวิกในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้จนถึงช่วงท้ายของทศวรรษที่ 1930 ปัจจุบันไม่ค่อยมีการใช้งานอักษรละติน แม้ว่าจะมีการนำมาใช้ในบางกลุ่มก็ตาม[16]

อักษรซีริลลิก

รายละเอียดที่ข้างหลังธนบัตร 1 รูเบิล โดยมีการแทนที่รูเบิลนี้ใน ค.ศ. 2000 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มากขึ้น

อักษรซีริลลิกได้เริ่มใช้โดยสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิกในช่วงท้ายของทศวรรษที่ 1930 หลังจาก 1939 เนื้อหาที่ตีพิมพ์ในภาษาเปอร์เซียในตัวอักษรเปอร์เซียถูกห้ามจากประเทศ[17] ตัวอักษรด้านล่างนี้ได้เพิ่มเติมอักษร Щ และ Ы ในปี 1952

รูปแบบอักษรซีริลลิกของทาจิก
А аБ бВ вГ гҒ ғД дЕ еЁ ёЖ жЗ зИ иӢ ӣ
абевегеғедейэйожезеиӣ, и дароз
/æ//b//v//ɡ//ʁ//d//eː//jɔː//ʒ//z//i//ˈi/
Й йК кҚ қЛ лМ мН нО оП пР рС сТ тУ у
йоткеқелеменеопересетеу
/j//k//q//l//m//n//ɔː//p//ɾ//s//t//u/
Ӯ ӯФ фХ хҲ ҳЧ чҶ ҷШ шЪ ъЭ эЮ юЯ я
ӯфехеҳечеҷешесактаэйуйа
/ɵː//f//χ//h//tʃ//dʒ//ʃ//ʔ//eː//ju//jæ/

นอกจากอักษรพวกนี้แล้ว อักษร ц, щ และ ы สามารถพบได้ในคำยืม แม้ว่าจะถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในการปฏิรูปอักษรปี 1988 เช่นเดียวกับอักษร ь พร้อมกับการคัดค้านการใช้ของอักษรเหล่านี้ การปฏิรูปอักษรครั้งนี้ยังเปลี่ยนลำดับของตัวอักษรซึ่งขณะนี้ตัวอักษรที่มีเครื่องหมายกำกับตามอักษรที่ไม่มีเครื่องหมายพวกนี้ เช่น г, ғ และ к, қ ฯลฯ[18] ซึ่งได้เรียงตามรูปแบบปัจจุบันตามนี้ а б в г ғ д е ё ж з и ӣ й к қ л м н о п р с т у ӯ ф х ҳ ч ҷ ш ъ э ю я ในปี 2010 ก็ได้มีการเสนอว่าจะเอา е ё ю я ออกด้วยเช่นกัน[19] อักษร е และ э ทำหน้าที่เหมือนกัน ยกเว้น э จะใช้เริ่มต้นคำเช่น Эрон, "อิหร่าน"

อักษรช้างล่างนี้คืออักษรที่ไม่ปรากกในชุดตัวอักษรรัสเซีย:

รายละเอียดГ กับบาร์И กับmacronК กับdescenderУ กับmacronХ กับdescenderЧ กับdescender
อักษรҒӢҚӮҲҶ
หน่วยเสียง/ʁ//ˈi//q//ɵː//h//dʒ/

ในขณะที่เปลี่ยนเป็นอักษรซีริลลิก Ӷ ӷ ยังปรากฏหลายครั้งในตารางอักษรซีริลลิกของทาจิก[20]

อักษรฮีบรู

โดยหลักมีการใช้ชุดตัวอักษรฮีบรูในภาษาย่อยยิวบูฆอรอที่ซามาร์คันด์กับบูฆอรอ[21][22] นอกจากนี้ นับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1940 เมื่อโรงเรียนยิวในเอเชียกลางปิดตัวลง การใช้งานอักษรฮีบรูจึงลดลงเนื่องจากสิ่งตีพิมพ์ในภาษายิวบูฆอรอหันมาใช้อักษรซีริลลิกแทน

รูปแบบอักษรฮีบรูของทาจิก
גׄג׳גגּבּבאֵיאִיאוּאוֹאָאַ
/dʒ//tʃ//ʁ//ɡ//b//v//e//i//u//ɵ//ɔ//a/
מ םלכּ ךּכ ךיטּטחז׳זוהדּד
/m//l//k//χ//j//t//s//ħ//ʒ//z//v//h//d//z/
תּתשׂשׁרקצ ץפּ ףּפ ףעסנ ן
/t//s//s//ʃ//r//q//ts//p//f//ʔ//s//n/
ตัวอย่างข้อความเทียบกับอักษรซีริลลิก

דר מוקאבילי זולם איתיפאק נמאייד. מראם נאמה פרוגרמי פירקהי יאש בוכארייאן.

Дар муқобили зулм иттифоқ намоед. Муромнома – пруграми фирқаи ёш бухориён.[23]

อ้างอิง

ข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง