ชุดตัวอักษรยาวี

ชุดตัวอักษรยาวี (อักษรยาวี: جاوي; มลายูปัตตานี: ยาวี; อาเจะฮ์: Jawoë; เสียงอ่านภาษามลายู: [d͡ʒä.wi]) เป็นชุดของอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ อักษรยาวีมีฐานจากอักษรอาหรับ โดยแบ่งเป็นอักษรอาหรับดั้งเดิม 31 ตัว และอักษรเพิ่มเติมที่ปรับให้ตรงกับหน่วยเสียงภาษามลายู แต่ไม่พบในภาษาอาหรับคลาสสิก ได้แก่ (چ /t͡ʃ/, ڠ /ŋ/, ڤ /p/, ݢ /g/, ۏ /v/ และ ڽ /ɲ/)

อักษรยาวี
ชนิดอักษรไร้สระ
ภาษาพูด
ช่วงยุคประมาณ ค.ศ. 1300 จนถึงปัจจุบัน
ระบบแม่
ไซนายดั้งเดิม
ระบบพี่น้องอักษรเปโกน
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด
ตัวอย่างอักษรยาวี

อักษรยาวีถูกพัฒนาตอนที่อิสลามเริ่มเข้ามาในโลกมลายู โดยแทนที่ตระกูลอักษรพราหมีที่ใช้ในสมัยฮินดู-พุทธ หลักฐานอักษรยาวีที่เก่าแก่ที่สุดพบในศิลาจารึกตรังกานูในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ซึ่งบันทึกในภาษามลายูคลาสสิกที่มีการผสมระหว่างภาษามลายู, สันสกฤต และอาหรับ มีทฤษฎีต้นกำเนดอักษรยาวีสองแบบ โดยทฤษฎียอดนิยมกล่าวแนะว่าระบบนี้ถูกพัฒนาและสืบทอดโดยตรงจากอักษรอาหรับ ในขณะที่นักวิชาการอย่าง R.O Windstedt กล่าวแนะว่ามันพัฒนาผ่านอิทธิพลของอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ[1]

ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันในสังคมมลายูในอินโดนีเซียและไทย[2]

คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน

เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู

ศัพทมูลวิทยา

รายงานจากกามุซเดวัน "ยาวี" (Jawi, جاوي) เป็นคำพ้องกันกับคำว่า 'มลายู'[3] ทำให้คำนี้ใช้แทน 'มลายู' ได้ในบางคำ เช่น บาฮาซาจาวี (Bahasa Jawi) หรือ บาฮาซายาวี (Bahasa Yawi; ภาษามลายูปัตตานี สำเนียงมลายูในภาคใต้ของประเทศไทย), มาซุกยาวี (Masuk Jawi[4]; แปลว่า "เพื่อกลายเป็นมลายู" สื่อถึงการขริบหนังหุ้มปลายช่วงการก้าวผ่านวัย) และ ยาวีเปอกัน (Jawi pekan) หรือ ยาวีเปอรานากัน (Jawi Peranakan; แปลว่า 'เมืองมลายู' หรือ 'เกิดเป็นมลายู' สื่อถึงมุสลิมที่พูดภาษามลายู มีต้นกำเนิดผสมระหว่างมลายูกับอินเดีย)[5] คำว่า ตูลีซันยาวี (Tulisan Jawi) มีความหมายว่า "อักษรยาวี" เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความหมาย 'อักษรมลายู'[3]

ตัวอักษร

อักษรยาวี[6]
ตัวอักษรชื่อท้ายกลางต้นเดี่ยวเสียงเทียบอักษรรูมียูนิโคด
اalifـاا/a/ หรือ /ə/a, e- (ĕ)U+0627
بbaـبـبـبـب/b/bU+0628
تtaـتـتـتـت/t/tU+062A
ةta marbutahـةة/t/ หรือ /h/-t, -hU+0629
ثsa (tha)ـثـثـثـث/s/ หรือ /θ/sU+062B
جjimـجـجـجـج/d͡ʒ/jU+062C
چcaـچـچـچـچ/t͡ʃ/cU+0686
حhaـحـحـحـح/h/ หรือ /ħ/hU+062D
خkha (khO)ـخـخـخـخ/x/khU+062E
دdalـدد/d/dU+062F
ذzalـذذ/z/ หรือ /ð/zU+0630
رra (rO)ـرر/r/rU+0631
زzaiـزز/z/zU+0632
سsinـسـسـسـس/s/sU+0633
شsyinـشـشـشـش/ʃ/sy, shU+0634
صsad (sOd)ـصـصـصـص/s/sU+0635
ضdad (dOd)ـضـضـضـض/d/dU+0636
طta (tO)ـطـطـطـط/t/tU+0637
ظza (zO)ـظـظـظـظ/z/zU+0638
عainـعـعـعـع/ʔ/a, i, u, -kU+0639
غghainـغـغـغـغ/ɣ/ghU+063A
ڠngaـڠـڠـڠـڠ/ŋ/ngU+06A0
فfaـفـفـفـف/f/fU+0641
ڤpaـڤـڤـڤـڤ/p/pU+06A4
قqafـقـقـقـق/q/ หรือ /k/q, kU+0642
کkafـکـکـکـک/k/kU+06A9
ݢgaـݢـݢـݢـݢ/ɡ/gU+0762
لlamـلـلـلـل/l/lU+0644
مmimـمـمـمـم/m/mU+0645
نnunـنـنـنـن/n/nU+0646
وwauـوو/w/ และ /u, o, ɔ/w, u, oU+0648
ۏvaـۏۏ/v/vU+06CF
هhaـهـهـهـه/h/hU+0647
ءhamzahءء/ʔ/ไม่มีU+0621
يyaـيـيـيـي/j/ และ /i, e, ɛ/y, i, e (é)U+064A
ىyeـىى/ə, a/-e (ĕ), aU+0649
ڽnyaـڽـڽـڽـڽ/ɲ/nyU+06BD
  • อักษรที่ไม่มีรูปต้นและรูปกลางจะใช้รูปเดี่ยว เพราะเชื่อมกับอักษรอื่นไม่ได้ (ا‎, د‎, ذ‎, ر‎, ز‎, و‎, ۏ‎)
  • อักษร hamzah แสดงเฉพาะรูปเดี่ยวในภาษามลายู
  • "nya"เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทยภาคกลางและภาคใต้ พบเฉพาะในภาษาไทยสำเนียงภาคเหนือกับภาคอีสานเท่านั้น

ตัวอย่าง

อักษรยาวีเขียนจากทางขวาไปซ้ายเหมือนอักษรอาหรับ ข้างล่างนี้คือตัวอย่างอักษรยาวีจากบทแรกและบทที่สองของ ฆอซัลอุนตุกราบีอะฮ์ (Ghazal untuk Rabiah, غزال اونتوق ربيعة; แปลว่า เฆาะซัลแก่เราะบีอะฮ์)[7]

อักษรยาวีอักษรูมีแปลไทย

کيلاون اينتن برکليڤ-کليڤ دلاڠيت تيڠݢي⹁
دان چهاي مناري-ناري دلاڠيت بيرو⹁
تيدقله داڤت مننڠکن ڤراساءنکو⹁
يڠ ريندوکن کحاضيرن کاسيه.

ݢمرسيق ايراما مردو بولوه ڤريندو⹁
دان ڽاڽين ڤاري٢ دري کايڠن⹁
تيدقله داڤت تنترمکن سانوباري⹁
يڠ مندمباکن کڤستين کاسيهمو.

Kilauan intan berkelip-kelip di langit tinggi,
Dan cahaya menari-nari di langit biru,
Tidaklah dapat menenangkan perasaanku,
Yang rindukan kehadiran kasih.

Gemersik irama merdu buluh perindu,
Dan nyanyian pari-pari dari kayangan,
Tidaklah dapat tenteramkan sanubari,
Yang mendambakan kepastian kasihmu.

เพชรพลอยระยิบระยับบนท้องฟ้าอันสูงส่ง,
และแสงระยิบระยับบนท้องฟ้าสีคราม,
นั่นไม่สามารถปลอบประโลมใจข้า,
ที่สนใจเพื่ออยู่กับผู้เป็นที่รัก.

ท่วงทำนองอันไพเราะของขลุ่ยกก,
และเสียงร้องของนางไม้จากสวรรค์,
ไม่สามารถทำให้จิตใจสงบ,
ซึ่งโหยหาความแน่นอนในความรักของเจ้า.

อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

  • Hudson, Herbert Henry The Malay orthography (1892) Singapore, Kelly & Walsh.
  • H.S. Paterson (& C.O. Blagden), 'An early Malay Inscription from 14th-century Terengganu', Journ. Mal. Br.R.A.S., II, 1924, pp. 258–263.
  • R.O. Winstedt, A History of Malaya, revised ed. 1962, p. 40.
  • J.G. de Casparis, Indonesian Paleography, 1975, p. 70–71.

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง