ต้มยำ

ต้มยำ เป็นแกงไทยที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ต้มยำเป็นอาหารที่รู้จัก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คำว่า "ต้มยำ" มาจากคำภาษาไทย 2 คำ คือ "ต้ม" และ "ยำ" คำว่า "ต้ม" หมายถึง กิริยาเอาของเหลวใส่ภาชนะแล้วทำให้ร้อนให้เดือดหรือสุก ขณะที่ "ยำ" หมายถึงอาหารไทยประเภทที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ดังนั้น "ต้มยำ" คือแกงไทยที่มีความเผ็ดร้อนและเปรี้ยว อันที่จริงคุณลักษณะของต้มยำมาจากความแตกต่างระหว่างความเผ็ดร้อนและความเปรี้ยวและกลิ่นหอมของสมุนไพรในน้ำแกง ที่สำคัญน้ำแกงนั้นประกอบด้วย น้ำต้มกระดูกและเครื่องปรุงส่วนผสมสดได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า น้ำมะนาว น้ำปลา และพริก

ต้มยำ
มื้ออาหารหลัก
แหล่งกำเนิดประเทศไทย
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว น้ำปลา เนื้อสัตว์

ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและสิงคโปร์ชื่อต้มยำ ถูกใช้เรียกน้ำแกงประเภทต่าง ๆ ที่เผ็ดร้อน ซึ่งแตกต่างจากน้ำแกงต้มยำของไทยดั้งเดิม ทำให้ผู้คนสับสนจากความแตกต่างนี้

ประเภท

ต้มยำกุ้งแม่น้ำ

ต้มยำเป็นอาหารพื้นเมืองที่คนไทยคุ้นเคยดี เพราะมีให้รับประทานทุกภาคและเป็นที่นิยมสำหรับชาวต่างชาติด้วยหนึ่งในเมนูต้มยำที่มีชื่อเสียงระดับโลก คือ ต้มยำกุ้ง ต้มยำเป็นอาหารที่ครบรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวานเล็กน้อย

เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูป ทำจากการบดส่วนประกอบของสมุนไพรเครื่องต้มยำ นำไปผัดในน้ำมันเติมด้วยเครื่องปรุงรสและอื่นที่ช่วยถนอมอาหาร เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูปจะบรรจุขวดหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งขายทั่วโลก เครื่องพริกแกงต้มยำสำเร็จรูปจะมีรสชาติต่างจากการปรุงด้วยเครื่องปรุงสมุนไพรสด ทั้งนี้มักจะเติมเนื้อสด เช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมูและกุ้ง เป็นต้น

  • ต้มยำน้ำใส เป็นต้มยำชนิดหนึ่งน้ำแกงมีความใส[1]
  • ต้มยำน้ำข้น เป็นต้มยำชนิดหนึ่ง พึ่งเป็นที่นิยมในทศวรรษที่ 1980[2] มักใช้กุ้ง นมข้นและครีมเทียมเป็นส่วนผสมหลัก[2]
  • ต้มยำกะทิ ต้มยำที่ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบหลัก มีลักษณะคล้ายต้มข่าไก่
  • ต้มยำกุ้ง เป็นชนิดของต้มยำที่เป็นที่นิยมมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ใช้กุ้งเป็นส่วนประกอบหลัก[3] คาดกันว่าถือกำเนิดในสมัยรัตนโกสินทร์[4]
  • ต้มยำปลา เป็นต้มยำน้ำใสที่ใส่เนื้อปลาเข้าไป มักกินพร้อมข้าว เคยเป็นชนิดของต้มยำที่แพร่หลายที่สุด ก่อนที่จะมีการท่องเที่ยวแบบมวลชนในประเทศไทย เคยเป็นที่แพร่หลายเนื่องจากปลาเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายตามแม่น้ำ ลำคลองภายในประเทศ ปกติแล้วจะใช้เนื้อปลาที่ต้มแล้วเนื้อไม่ร่วนมาทำ[5]
  • ต้มยำไก่ เป็นต้มยำชนิดหนึ่ง ใช้ไก่เป็นส่วนผสมหลัก[6]
  • ต้มยำโป๊ะแตก หรือ ต้มยำทะเล เป็นต้มยำชนิดหนึ่งที่ใช้สัตว์ทะเลมาเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น กุ้ง หอย หมึก[7]
  • ต้มยำมะพร้าวอ่อนน้ำข้น เป็นต้มยำชนิดหนึ่งที่ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อน
  • ต้มยำขาหมู ใช้ขาหมูเป็นส่วนประกอบ ใช้เวลาในการทำนาน เนื่องจากใช้ไฟต่ำในการต้ม[8]

ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์หรือผัก-สมุนไพรใดก็ได้

  • การใส่นม หรือกะทิลงไปนั้น บางทีก็นิยมใส่เพื่อให้รสชาติกลมกล่อมขึ้น มักจะเรียกว่า ต้มยำน้ำข้น
  • ต้มยำกุ้ง นั้น นิยมใส่มันกุ้งลงไปเพื่อเพิ่มกลิ่นกุ้ง
  • ต้มยำหัวปลา มักจะไม่นิยมใส่นม
  • ถ้าเป็นต้มโคล้งจะใส่น้ำมะขามเปียกแทนน้ำมะนาว และจะใส่หอมแดงสดลงไปด้วย

ส่วนประกอบ

ผัก

ต้มยำประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด ได้แก่ ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว หรือ บางเมนู อาจจะมีใบกะเพรา ผักชีฝรั่งและโหระพาร่วมด้วยนอกจากนี้ยังมี เห็ด ต่าง ๆ รวมทั้ง มะเขือเทศ ผักชี

เนื้อสัตว์

ต้มยำปรุงจากเนื้อสัตว์ ต่าง ๆ ได้มากมาย ทั้ง หมู ไก่ ปลา กุ้ง หรือเนื้อวัว ฯลฯ

เครื่องปรุงรส

มะนาว น้ำปลา น้ำตาล น้ำพริกเผา

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง