ที. เอส. เอเลียต

ทอมัส สเตินส์ เอเลียต (อังกฤษ: Thomas Stearns Eliot; 26 กันยายน ค.ศ. 1888 – 4 มกราคม ค.ศ. 1965) เป็นกวี นักเขียนเรียงความ ผู้จัดพิมพ์ นักเขียนบทละคร นักวิจารณ์และบรรณาธิการ เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในกวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 และเป็นบุคคลสำคัญในบทกวีสมัยใหม่ในภาษาอังกฤษ การทดลองด้านภาษา รูปแบบการเขียน และโครงสร้างบทกลอนของเขาทำให้กวีนิพนธ์ภาษาอังกฤษฟื้นพลังขึ้นมาอีกครั้ง เขายังมีชื่อเสียงจากบทความเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งมักจะตีความใหม่ในเรื่องความเชื่อทางวัฒนธรรมที่มีมายาวนาน[1]

ที. เอส. เอเลียต

OM
เอเลียตในปี 1934 ภาพถ่ายโดย เลดี ออตโตไลน์ มอร์เรลล์
เอเลียตในปี 1934 ภาพถ่ายโดย เลดี ออตโตไลน์ มอร์เรลล์
เกิดทอมัส สเตินส์ เอเลียต
26 กันยายน ค.ศ. 1888(1888-09-26)
เซนต์ลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐ
เสียชีวิต4 มกราคม ค.ศ. 1965(1965-01-04) (76 ปี)
ลอนดอน อังกฤษ
อาชีพ
  • กวี
  • นักเขียนเรียงความ
  • นักเขียนบทละคร
  • ผู้จัดพิมพ์
  • นักวิจารณ์
พลเมืองอเมริกัน (1888–1927)
อังกฤษ (1927–1965)
การศึกษามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (AB, AM)
วิทยาลัยเมอร์ตัน ออกซ์ฟอร์ด
ช่วงเวลา1905–1965
แนวร่วมในทางวรรณคดีนวยุคนิยม
ผลงานที่สำคัญ"The Love Song of J. Alfred Prufrock" (1915)
The Waste Land (1922)
The Hollow Men (1925)
Murder in the Cathedral (1935)
Four Quartets (1943)
รางวัลสำคัญ
คู่สมรส
  • วิเวียน ไฮ-วูด
    (สมรส 1915; แยก 1932)
  • เอสเม วาลารี เฟลตเชอร์
    (สมรส 1957)
ญาติตระกูลเอเลียต

ลายมือชื่อ

เอเลียตเกิดในเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี เขาย้ายไปอังกฤษเมื่อปี 1914 ขณะอายุ 25 ปี และตั้งถิ่นฐาน ทำงาน และแต่งงานที่นั่น[2] เขาเข้ารับราชการตามกฎหมายอังกฤษเมื่อ 1927 ขณะอายุ 39 ปี และได้สละสัญชาติอเมริกัน[3]

ผลงานของเอเลียตที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางเป็นเรื่องแรกคือบทกวีเรื่อง "The Love Song of J. Alfred Prufrock" เผยแพร่ระหว่างปี 1914 ถึง 1915 ซึ่งเมื่อแรกที่เผยแพร่ถือว่าแปลกประหลาด[4] ตามมาด้วยเรื่อง The Waste Land (1922), "The Hollow Men" (1925), "Ash Wednesday" (1930) และ Four Quartets (1943)[5] เขายังเป็นที่รู้จักจากบทละครจำนวนเจ็ดเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง Murder in the Cathedral (1935) และ The Cocktail Party (1949) เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1948 "สำหรับผลงานที่โดดเด่นและเป็นผู้บุกเบิกในกวีนิพนธ์ในปัจจุบัน"[6][7]

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง