ธงชาติมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซีย หรือ จาลูร์เกอมีลัง (มลายู: Jalur Gemilang มีความหมายว่า ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "บินตังเปอร์เซกูตัน" ("Bintang Persekutuan") หรือ "ดาราสหพันธ์"[1]


ธงชาติมาเลเซีย
ชื่ออื่นจาลูร์เกอมีลัง
ธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์
การใช้ธงชาติ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side Design has no element that can be rotated
สัดส่วนธง1:2
ประกาศใช้19 พฤษภาคม ค.ศ. 1950
ลักษณะธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นริ้วแดงสลับขาวรวม 14 ริ้ว ที่มุมบนด้านคันธงมีดาว 14 แฉกและจันทร์เสี้ยวสีเหลือง ในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน
ออกแบบโดยโมฮัมเม็ด ฮัมซาห์

ความหมาย

แบบสัดส่วนของธงชาติมาเลเซีย

แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 ริ้วซึ่งมีความกว้างเท่ากัน หมายถึงสถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กัวลาลัมเปอร์ ดาว 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด[2] พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย[3]

ประวัติ

ธงชาติมาลายา ค.ศ. 1950 - 1963 สัดส่วนธง 1:2

ธงชาติมาเลเซียแบบแรกสุดคือธงชาติสหพันธรัฐมาลายา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สีขนาดเท่ากันเรียงจากบนลงล่าง คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และดำ ตรงกลางผืนธงมีตราเสือเผ่นบนพื้นวงกลมสีขาว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2439 โดยธงนี้จะต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการเปลี่ยนธงชาติสหพันธรัฐมาเลเซียมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบ ประกอบด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์ 11 แฉกในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน เพื่อแทนรัฐทั้ง 11 รัฐ คือ ปะลิส ไทรบุรี เปรัก กลันตัน ตรังกานู ปะหัง เนอเกอรีเซิมบีลัน เซอลาโงร์ ปีนัง ยะโฮร์ และมะละกา ธงนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่หน้าพระราชวังเซอลาโงร์ (Istana Selangor) และได้ชักขึ้นเป็นธงรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้าจัตุรัสเอกราช (Merdeka Square) ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500

ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการปรับแก้แบบธงชาติให้เป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มแถบแดงสลับขาวเป็น 14 แถบ และรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เป็น 14 แฉกเพื่อแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐ เนื่องจากมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวัก และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ด้วย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ. 2508 ก็ตาม แต่ริ้วธงและรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ยังคงมีจำนวนอยู่เท่าเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนความหมายของรัฐสุดท้ายจากรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กัวลาลัมเปอร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ

ธงสำคัญอื่น ๆ

โดยทั่วไปแล้วเรือของรัฐบาลมาเลเซียจะใช้ธงชาติเป็นสัญลักษณ์ประจำเรือ (state ensign) นอกจากนี้ยังมีการใช้ธงอื่นดังปรากฏในตารางเบื้องล่าง

ภาพธงประเภทการใช้คำอธิบายสัดส่วน กว้าง:ยาว
ธงแสดงสัญชาติสีแดงใช้สำหรับเรือพลเรือนในบังคับของมาเลเซีย พื้นธงสีแดง มีรูปธงชาติมาเลเซียล้อมขอบสีน้ำเงินที่มุมธงบนด้านคันธง1:2
ธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงินใช้สำหรับเรือราชการ และ เรือพลเรือนควบคุมโดยเจ้าหน้าที่กำลังสำรองของกองทัพเรือ พื้นธงสีน้ำเงิน มีรูปธงชาติมาเลเซียล้อมขอบสีน้ำเงินที่มุมธงบนด้านคันธง1:2
ธงกองทัพบกธงของกองทัพบกมาเลเซีย พื้นธงสีแดง มีรูปธงชาติอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง พื้นธงสีแดงตอนปลายนั้นมีเครื่องหมายประจำกองทัพ1:2
ธงกองทัพอากาศธงของกองทัพอากาศมาเลเซีย พื้นสีฟ้า ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปธงชาติ ตอนล่างด้านชายธงมีรูปดาราสหพันธ์1:2
ธงแสดงสัญชาติสีขาวธงอันเป็นเครื่องหมายของราชนาวีมาเลเซีย พื้นธงสีขาว มีรูปธงชาติมาเลเซียขอบสีแดงที่มุมธงบนด้านคันธง ตอนล่างด้านปลายธงมีตราของราชนาวีเป็นรูปสมอและกริชคู่ไขว้ ธงนี้ใช้ชักในเรือและสถานที่ของราชนาวี1:2
ธงเรือตำรวจน้ำธงของสำนักงานควบคุมการใช้กฎหมายทางน้ำของมาเลเซีย (Malaysian Maritime Enforcement Agency) หรือหน่วยตำรวจน้ำ พื้นธงใช้สีน้ำเงิน มีรูปธงชาติที่มุมธงบนด้านคันธง มีภาพตราประจำหน่วยงานที่ตอนปลายธง1:2

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง