รัฐซาราวัก

ซาราวัก[19] หรือ ซาราวะก์[19] (มลายู: Sarawak, อักษรยาวี: سراواك) เป็นรัฐของประเทศมาเลเซีย ถือเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีพื้นที่เกือบเท่ากับมาเลเซียตะวันตก รัฐซาราวักตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว และมีชายแดนติดกับรัฐซาบะฮ์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย กาลีมันตัน (บอร์เนียวส่วนของอินโดนีเซีย) ทางใต้ และประเทศบรูไนทางเหนือ มีเมืองกูจิงเป็นเมืองหลักและเมืองใหญ่สุดของรัฐ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของรัฐและเป็นที่ตั้งของรัฐบาลประจำรัฐซาราวัก นครและเมืองอื่น ๆ ในรัฐนี้ ได้แก่ มีรี, ซีบู และบินตูลู ปีค.ศ. 2021 มีประชากรในรัฐซาราวักประมาณ 2.45 ล้านคน[8] รัฐซาราวักเป็นรัฐเดียวในประเทศมาเลเซียที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์[20]

รัฐซาราวัก
Flag of Sarawak
ธง
ตราราชการของรัฐซาราวัก
ตราอาร์ม
สมญา: 
บูมีเกอญาลัง[1]
ดินแดนแห่งนกเงือก
คำขวัญ: 
เบอร์ซาตู, เบอรูซาฮา, เบอร์บักตี
สามัคคี มุ่งมั่น รับใช้
เพลง: อีบูเปอร์ตีวีกู
มาตุภุมิของข้า[2]
   รัฐซาราวักใน    ประเทศมาเลเซีย
   รัฐซาราวักใน    ประเทศมาเลเซีย
OpenStreetMap
แผนที่
พิกัด: 2°48′N 113°53′E / 2.800°N 113.883°E / 2.800; 113.883
ประเทศ มาเลเซีย
รัฐสุลต่านซาราวักค.ศ. 1599
ราจแห่งซาราวัก24 กันยายน ค.ศ. 1841
ญี่ปุ่นครอบครอง16 กันยายน ค.ศ. 1941
คราวน์โคโลนี1 กรกฎาคม ค.ศ. 1946
ได้สิทธิปกครองตนเอง22 กรกฎาคม ค.ศ. 1963[3][4]
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย[5]16 กันยายน ค.ศ. 1963[6]
เมืองหลัก
(และเมืองใหญ่สุด)
กูจิง
เขต
รายการ
  • เบอตง
  • บินตูลู
  • กาปิต
  • กูจิง
  • ลิมบัง
  • มีรี
  • มูกะฮ์
  • ซามาราฮัน
  • ซารีเกอี
  • เซอเรียน
  • ซีบู
  • ซรีอามัน
การปกครอง
 • ประเภทประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนในระบบรัฐสภาแบบพรรคเด่น
 • ยังดีเปอร์ตูวาเนอเกอรีอับดุล ตาอิบ มะฮ์มุด
 • มุขมนตรีอาบัง โจฮารี โอเปิง (GPS-PBB)
 • ผู้นำฝ่ายค้านWong Soon Koh (PSB)
นิติบัญญัติสภานิติบัญญัติ (82 ที่นั่ง)
ตัวแทนของรัฐบาลกลางรัฐสภามาเลเซีย
 • ที่นั่งในเดวันรักยัต31 จาก 222 (14.0%)
 • ที่ตั้งในเดวันเนอการา2 จาก 70 (2.9%)
พื้นที่[7]
 • รวม124,450 ตร.กม. (48,050 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด (เขามูรุด)2,424 เมตร (7,953 ฟุต)
ประชากร
 (2021)[8]
 • รวมเพิ่มขึ้น 2,453,000 (3rd) คน
 • ความหนาแน่น22 คน/ตร.กม. (60 คน/ตร.ไมล์)
ภาษา
 • ทางการ
 • ภาษาอื่น ๆ
ประชากร
 • กลุ่มชาติพันธุ์ (2022)[9]
 • ศาสนา (2022)[10]
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย[11])
รหัสไปรษณีย์93xxx[12] ถึง 98xxx[13]
รหัสพื้นที่082 ถึง 086[14]
รหัส ISO 3166K (MY-13, 50–53)[15][16]
ทะเบียนพาหนะQA ถึง QT[17]
จีดีพี (2021)เพิ่มขึ้น 131.2 พันล้านริงกิต (30.176 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[8] (ที่ 3)
จีดีพีต่อหัว (2021)เพิ่มขึ้น 65,971 ริงกิต (15,173 ดอลลาร์สหรัฐ)[8] (ที่ 3)
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.745 (สูง) (ที่ 14)[18]
ข้บด้านซ้ายมือ
แรงดันไฟฟ้า230 V, 50 Hz
สกุลเงินริงกิต (RM/MYR)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ Edit this at Wikidata

ศัพทมูลวิทยา

นกเงือกหัวแรดเป็นนกประจำรัฐของรัฐซาราวัก

คำอธิบายที่ยอมรับโดยทั่วไปเกี่ยวกับชื่อของรัฐคือ ชื่อรัฐมีที่มาจากศัพท์ภาษามลายูซาราวักว่า Serawak หรือจากนักทำแผนที่ชาวโปรตุเกสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ว่า Cerava ซึ่งหมายถึงพลวง[21] คำอธิบายยอดนิยมอีกรูปแบบหนึ่งคือ มันเป็นการย่อศัพท์ภาษามลายูสี่คำที่ตรัสโดยปะแงรัน มูดา ฮาชิม (พระปิตุลาของสุลต่านแห่งบรูไน) ว่า "Saya serah pada awak" (ข้ายอมยกมันแก่เจ้า) เมื่อพระองค์ยกซาราวักให้เจมส์ บรูก นักสำรวจชาวอังกฤษใน ค.ศ. 1841[21] อย่างไรก็ตาม คำอธิบายแบบหลังนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากดินแดนนี้ถูกตั้งชื่อเป็นซาราวักก่อนการมาของเจมส์ บรูก และคำว่า awak ไม่ปรากฏในพจนานุกรมภาษามลายูซาราวักก่อนการก่อตั้งประเทศมาเลเซีย[22]

รัฐซาราวักมีชื่อเล่นว่า "ดินแดนแห่งนกเงือก" (Bumi Kenyalang) นกเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญสำหรับชาวดายัก โดยถือเป็นตัวแทนของวิญญาณเทพเจ้า พวกเขาเชื่อว่าหากพบเห็นนกเงือกบินเหนือบ้านเรือนก็จะนำความโชคดีมาสู่ชุมชน รัฐซาราวักมีนกเงือกถึง 8 ชนิด จากทั้งหมด 54 ชนิดบนโลก และนกเงือกหัวแรดเป็นสัตว์ประจำรัญซาราวัก[23]

การเมือง

เขตการปกครอง

รัฐซาราวักแบ่งพื้นที่ออกเป็น 12 เขต แต่ละพื้นที่นำโดยผู้อยู่อาศัยที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งต่างจากรัฐในมาเลเซียตะวันตก[24][25][26]

เขตการปกครองของรัฐซาราวัก
รหัส UPI[27]เขตประชากร
(สำมะโน ค.ศ. 2020)
พื้นที่
(ตร.กม.)
เมืองหลักอำเภอ (ตำบล)รัฐบาลท้องถิ่น
1301กูจิง812,9001,794.18กูจิง3 (5)5
1302ซรีอามัน111,5005,466.25ซีมังกัง2 (5)2
1303ซีบู350,7008,278.3ซีบู33
1304มีรี433,80026,777มีรี5 (11)3
1305ลิมบัง103,1007,790ฃิมบัง2 (5)2
1306ซารีเกอี139,5004,332.4ซารีเกอี42
1307กาปิต155,90038,934กาปิต4 (6)3
1308ซามาราฮัน187,5002,927.5โกตาซามาราฮัน3 (5)2
1309บินตูลู266,30012,166.2บินตูลู31
1310เบอตง129,0004,180.8เบอตง4 (9)2
1311มูกะฮ์134,9006,997.61มูกะฮ์5 (8)2
1312เซอเรียน105,8002,039.9เซอเรียน2 (3)1
หมายเหตุ: ข้อมูลประชากรในเขตเซอเรียนไม่รวมประชากรในตำบลซีบูรันที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเขตกูจิง

ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 มีการประกาศว่าอำเภอเซอเรียนในเขตกูจิงจะกลายเป็นเขตที่ 12 ของรัฐ โดยอาเดอนัน ซาเต็มจัดตั้งเขตนี้อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2015[28]

ประชากร

กลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐซาราวัก (2020)[9][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
กลุ่มชาติพันธุ์ร้อยละ
ดายัก
  
61.2%
มลายู
  
18.1%
จีน
  
17.2%
เมอลาเนา
  
3.0%
อินเดีย
  
0.3%
อื่น ๆ
  
0.2%

กลุ่มชาติพันธุ์ย่อยดายักในรัฐซาราวัก (2021)[9]

  อีบัน (70.5%)
  บีดายุฮ์ (19.2%)
  โอรังอูลู (10.3%)

สำมะโนมาเลเซีย ค.ศ. 2021 รายงานประชากรในรัฐซาราวักที่ 2,453,000 คน ทำให้เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ[29] อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มนี้กระจายเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้รัฐซาราวักมีความหนาแน่นของประชากรต่ำที่สุด โดยมีประชากรแค่ 20 คนต่อตารางกิโลเมตร อัตราการเติบโตของประชากรโดยเฉลี่ยใน ค.ศ. 2000 ถึง 2010 อยู่ที่ 1.8% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราของประเทศที่ 2.0%[30] ใน ค.ศ. 2014 ประชากร 58% อาศัยอยู่ในเมือง ส่วนที่เหลืออยู่ในชนบท แต่ใน 10 ปีข้างหน้ามีการทำนายว่าประชากรในเมืองจะเพิ่มขึ้นไปถึง 65%[31] ข้อมูลเมื่อ 2011 อัตราการเกิดคร่าว ๆ ในรัฐซาราวักอยู่ที่ 16.3 คนต่อ 1000 คน อัตราการตายคร่าว ๆ อยู่ที่ 4.3 คนต่อ 1000 คน และอัตราการตายของทารกอยู่ที่ 6.5 คนต่อลูกที่เกิด 1000 คน[32]

ประชากรในเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู, เมอลาเนา, จีน และประชากรจำนวนน้อยที่เป็นชาวอีบันและบีดายุฮ์ ซึ่งอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ[33] โดยประชากรสองกลุ่มหลังมีกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยมากกว่า 40 กลุ่มในรัฐซาราวัก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมักเรียกเป็นโอรังอาซัล[34] โอรังอาซัล และชาวมลายูทั้งในมาเลเซียตะวันตก รัฐซาราวัก และรัฐซาบะฮ์อยู่ในกลุ่มภูมิบุตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสิทธิพิเศษในการศึกษา การงาน การเงิน และตำแหน่งทางการเมือง[35]

รัฐซาราวักมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก โดยมีแรงงานด้าวที่ลงทะเบียนมากถึง 150,000 คนมาทำงานทั้งในบ้านหรือในไร่นา การผลิต การก่อสร้าง บริการ และเกษตรกรรม[36] อย่างไรก็ตาม จำนวนแรงงานที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายถูกบดบังด้วยแรงงานผิดกฎหมายระหว่าง 320,000 ถึง 350,000 คน[37]

กลุ่มชาติพันธ์

กลุ่มชาติพันธุ์หลักในรัฐซาราวัก ตามเข็มนาฬิกาจากบนขวา: หญิงชาวเมอลาเนาในชุดบาจูกูรุง, หญิงเชื้อสายจีนในชุดกี่เพ้า, หญิงชาวบีดายุฮ์ และนักรบชาวอีบันในชุดพื้นเมือง

รัฐซาราวักมีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ อีบัน, จีน, มลายู, บีดายุฮ์, เมอลาเนา และโอรังอูลู[33] เช่นเดียวกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีขนาดเล็กแต่ยังคงมีจำนวนมาก เช่น เกอดายัน, ชวา, บูกิซ, มูรุต และอินเดีย[38] ใน ค.ศ. 2015 รัฐบาลมาเลเซียยอมรับชนบีดายุฮ์กับอีบันเป็นส่วนหนึ่งของชาวดายัก[39] มีชนเผ่าที่ยังคงอยู่หรืออาจสูญหายแล้วในรัฐซาราวักมากกว่า 50 เผ่า แต่มีเพียงเฉพาะกลุ่มใหญ่เท่านั้นที่ได้รับการบรรจุลงในรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย[40]

ภาษา

การกระจายของตระกูลภาษาในรัฐซาราวัก แบ่งตามสี:
  บอร์เนียวเหนือและเมอลาเนากาจัง
  Land Dayak
  พื้นที่ที่มีหลายภาษา

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักใน ค.ศ. 1963 ถึง 1974 เนื่องจากการคัดค้านในการใช้ภาษามาเลเซียในรัฐซาราวักของสตีเฟน กาลง นิงกัน หัวหน้ารัฐมนตรีคนแรกของรัฐซาราวัก[41] จากนั้นใน ค.ศ. 1974 อับดุล ระฮ์มัน ยะอ์กุบ หัวหน้ารัฐมนตรีคนใหม่ ยอมรับภาษามลายูเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักร่วมกับภาษาอังกฤษ[42][note 1] สถานะใหม่ที่ให้แก่ภาษานี้ได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากมาตรฐานการศึกษาใหม่ที่เปลี่ยนหลักสูตรเป็นภาษามลายู[43] ใน ค.ศ. 1985 ภาษาอังกฤษสูญเสียสถานะภาษาราชการ ทำให้เหลือเพียงภาษามลายูเพียงภาษาเดียว[41][note 2] แม้จะมีนโยบายอย่างเป็นทางการ สมาชิกฝ่ายค้านของรัฐซาราวักโต้แย้งว่าภาษาอังกฤษยังคงเป็นภาษาราชการของรัฐซาราวักโดยพฤตินัย[44] โดยยังมีการใช้ภาษาอังกฤษในศาลยุติธรรมและสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ[45][46] ต่อมาใน ค.ศ. 2015 อาเดอนัน ซาเต็ม หัวหน้ารัฐมนตรี จัดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการอีกครั้ง[47][48][49]

ศาสนา

ศาสนาในรัฐซาราวัก (2020)[50]
ศาสนาร้อยละ
คริสต์
  
50.1%
อิสลาม
  
34.2%
พุทธ
  
12.8%
อื่น ๆ
  
2.9%

ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในรัฐซาราวัก โดยมีผู้นับถือตามสำมะโน ค.ศ. 2021 ที่ 50.1% ของประชากรทั้งหมด[51] นั่นทำให้รัฐซาราวักเป็นรัฐมาเลเซียรัฐเดียวที่มีชาวคริสต์เป้นประชากรส่วนใหญ่ มิชชันนารีกลุ่มแรกที่เข้ามายังรัฐซาราวักคือคริสตจักรแห่งอังกฤษ (แองกลิคัน) ใน ค.ศ. 1848 ตามมาด้วยโรมันคาทอลิกในไม่กี่ปีต่อมา และMethodistsใน ค.ศ. 1903 โดยมีการประกาศข่าวดีครั้งแรกในหมู่ผู้อพยพชาวจีนก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังชนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาผี[52] ส่วนศาสนาคริสต์นิกายอื่น ๆ ในรัฐซาราวัก ได้แก่ Borneo Evangelical Mission (ซีดังอินจิลบอร์เนียว)[53] และแบปทิสต์[54] ชนพื้นเมืองอย่างอีบัน บีดายุฮ์ และโอรังอูลูหันมานับถือศาสนาคริสต์ แม้ว่าบางส่วนยังคงพิธีทางศาสนาแบบดั้งเดิมอยู่ มุสลิมหลายคนมาจากชาวมลายูและเมอลาเนา ส่วนชาวมาเลเซียเชื้อสายจีนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ, ลัทธิเต๋า และศาสนาพื้นเมืองจีน[55] ศาสนาที่มีผู้นับถือน้อยในรัฐซาราวัก ได้แก่ ศาสนาบาไฮ,[56] ฮินดู,[57] ซิกข์,[58] และศาสนาผี[59]

ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศมาเลเซีย รัฐซาราวักกลับไม่มีศาสนาประจำรัฐ[60]

ความสัมพันธ์นานาชาติ

รัฐซาราวักมีความสัมพันธ์ระดับรัฐกับมณฑลฝูเจี้ยนของปรเทศจีน[61]

หมายเหตุ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง