น้ำหนักลด

ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพ และความฟิตของร่างกาย การลดน้ำหนัก หรือ น้ำหนักลด (อังกฤษ: weight loss) หมายถึงการลดน้ำหนัก/มวลกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียน้ำ ลดไขมัน หรือมวลกายอื่น ๆ เช่น แร่ธาตุในกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออื่น ๆอาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจเพราะทุพโภชนาการ เพราะโรค เพราะพยายามแก้ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนไม่ว่าจะเป็นจริงหรือแค่คิดเอาเองน้ำหนักที่ลดอย่าง "อธิบายไม่ได้" และไม่ได้เกิดจากการลดอาหารหรือเพิ่มออกกำลังกาย อาจเป็นอาการโรคที่ต้องตรวจดู

น้ำหนักลด
ภาพแสดงการลดน้ำหนัก

ตั้งใจลด

การตั้งใจลดน้ำหนักอาจเพื่อปรับปรุงความฟิตร่างกายหรือสุขภาพ หรือเพื่อเปลี่ยนรูปร่างสำหรับผู้ที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักอาจลดความเสี่ยงทางสุขภาพ[1]เพิ่มความฟิตร่างกาย[2]และชะลอการเกิดโรคเบาหวาน[1]สำหรับผู้มีข้อเข่าเสื่อม อาจลดความเจ็บปวดและทำให้คล่องแคล่วขึ้น[2]การลดน้ำหนักอาจลดความดันโลหิตสูง แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าลดอันตรายเหตุความดันสูงหรือไม่[1][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]

Weight loss is achieved by adopting a lifestyle in which fewer calories are consumed than are expended.น้ำหนักสามารถลดเมื่อมีพฤติกรรม/วิถีชีวิตที่บริโภคพลังงานน้อยกว่าที่ใช้แต่ละน[3]คือ น้ำหนักจะลดก็ต่อเมื่อใช้พลังงานเพื่อทำงานหรือเพื่อเมแทบอลิซึมยิ่งกว่าที่ได้จากอาหารและสารอาหารอื่น ๆซึ่งทำให้เผาพลังงานที่เก็บสำรองไว้ไม่ว่าจะจากไขมันหรือกล้ามเนื้อ แล้วทำให้น้ำหนักค่อย ๆ ลด

สำหรับนักกีฬาที่ต้องการเล่นกีฬาให้ดีขึ้น หรือต้องผ่านพิกัดน้ำหนักในกีฬา การลดน้ำหนักอีกไม่แปลกแม้จะหนักในระดับดีสุดแล้วส่วนบุคคลอื่น ๆ อาจมีแรงจูงใจเพื่อลดน้ำหนักให้ได้รูปร่างที่ตนคิดว่าดูดีกว่าอย่างไรก็ดี การมีน้ำหนักน้อยเกินสัมพันธ์กับความเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น อ่อนแอต่อการติดเชื้อ ภาวะกระดูกพรุน กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ร่างกายมีปัญหาควบคุมอุณหภูมิ และแม้แต่เสี่ยงตายสูงขึ้น[4]

อาหารมีแคลอรีต่ำ (low-calorie diet) เป็นรูปแบบอาหารที่มีสารอาหารจำเป็นอย่างสมดุลเพราะมีผลเสียน้อยมาก นักโภชนาการจึงมักแนะนำอาหารพวกนี้นอกจากจะจำกัดแคลอรีที่บริโภค ก็ยังควบคุมการบริโภคสารอาหารหลัก ๆ (macronutrient) อีกด้วยในบรรดาแคลอรีที่ควรบริโภคต่อวัน 55% ควรมาจากคาร์โบไฮเดรต, 15% จากโปรตีน และ 30% จากไขมันโดยไม่ควรมีไขมันอิ่มตัวเกิน 10% ของไขมันทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง]ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบริโภคอาหารมีพลังงาน 1,200 แคลอรีต่อวัน ควรจะได้ 660 แคลอรีจากคาร์โบไฮเดรต 180 แคลอรีจากโปรตีน และ 360 แคลอรีจากไขมันแต่ก็มีงานศึกษาบางงานที่แสดงว่า การเพิ่มบริโภคโปรตีนสามารถช่วยระงับความหิวที่มักเกิดเพราะลดแคลอรีในอาหารเพราะเพิ่มความรู้สึกอิ่ม[5]

การจำกัดแคลอรีเช่นนี้มีประโยชน์ระยะยาวหลายอย่างเมื่อทำพร้อมกับออกกำลังกายเพิ่มขึ้น อาหารมีแคลอรีต่ำเชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่สุดในระยะยาว ไม่เหมือนกับไดเอ็ตทำ ๆ หยุด ๆ ซึ่งอย่างดีก็ได้ผลระยะสั้น ๆ เท่านั้นการออกกำลังกายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของรูปแบบการทานอาหารดังนั้น วิธีการลดน้ำหนักซึ่งถูกสุขภาพที่สุดก็คือ การทานอาหารอย่างสมดุลประกอบกับการออกกำลังกายปานกลาง[ต้องการอ้างอิง]การเพิ่มน้ำหนักสัมพันธ์กับการทานไขมันมากเกิน เพิ่มทานน้ำตาล ทานคาร์โบไฮเดรตขัดสี/แปรรูปโดยทั่วไป และการดื่มแอลกอฮอล์[ต้องการอ้างอิง]

ความซึมเศร้า ความเครียด และความเบื่ออาจมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่ม[6]ในกรณีเหล่านี้ บุคคลอาจควรปรึกษาแพทย์งานศึกษาปี 2010 พบว่า ผู้ไดเอ็ตที่หลับเต็มอิ่มช่วงกลางคืน ลดน้ำหนักได้เป็นสองเท่าของผู้ไดเอ็ตที่นอนไม่พอ[7][8]

แม้จะมีสมมติฐานว่า อาหารเสริมเป็นวิตามินดีอาจช่วยลดน้ำหนัก แต่ผลงานศึกษาก็ไม่สนับสนุนสมมติฐานนี้[9]คนไดเอ็ตโดยมากจะได้น้ำหนักคืนในระยะยาว[10]

ตามแนวทางแนะนำอาหารของคนอเมริกัน (Dietary Guidelines for Americans) คนที่ได้น้ำหนักถูกสุขภาพและรักษาไว้ได้ จะต้องระมัดระวังบริโภคแคลอรีตามที่ร่างกายจำเป็นเท่านั้น และเป็นคนไม่อยู่นิ่ง ๆ (physically active)[11]ตามองค์การบริการสุขภาพแห่งชาติแห่งสหราชอาณาจักร (NHS) บุคคลสามารถลดน้ำหนักได้ดีที่สุดโดยตรวจตราแคลอรีที่บริโภคแต่ละวันประกอบกับการออกกำลังกาย[3]

เทคนิค

วิธีการลดน้ำหนักที่ก้าวก่ายน้อยที่สุด และจึงแนะนำบ่อยที่สุด ก็คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารและเพิ่มออกกำลัง ปกติโดยการออกกำลังกายองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลดทานอาหารแปรรูปที่มีไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือสูง[12]ลดแคลอรีที่ได้จากอาหาร และเพิ่มออกกำลัง[13]

ยังแนะนำให้ทานใยอาหารเพิ่มขึ้นด้วยเพื่อให้ถ่ายได้ดีวิธีลดน้ำหนักอื่น ๆ รวมทั้งการใช้ยาหรืออาหารเสริมที่ลดความอยากอาหาร ระงับการดูดซึมอาหาร หรือลดปริมาตรกระเพาะอาหารการผ่าตัดลดความอ้วน (Bariatric surgery) อาจเป็นทางเลือกสำหรับโรคอ้วนรุนแรงการผ่าตัดที่สามัญก็คือ gastric bypass (การผ่าเลี่ยงกระเพาะอาหารเป็นบางส่วน) และ gastric banding (การผูกกระเพาะอาหาร)[14]ทั้งสองอาจมีประสิทธิผลลดการนำพลังงานเข้าร่างกายเพราะลดขนาดกระเพาะ แต่ก็มีความเสี่ยงอย่างจำเพาะ ๆ เหมือนกับกาผ่าตัดอื่น ๆ[15]ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน

อาหารเสริมถึงแม้จะใช้อย่างกว้างขวาง แต่ก็พิจารณาว่าไม่ถูกสุขภาพเมื่อลดน้ำหนัก[16]มีวางตลาดหลายอย่าง แต่น้อยอย่างมากมีประสิทธิผลระยะยาว[17]

มีวิธีการสะกดจิต (virtual gastric band) ที่ทำให้รู้สึกเหมือนว่า กระเพาะอาหารเล็กกว่าเป็นจริงและดังนั้น จึงช่วยลดปริมาณการทานอาหารแล้วให้ลดน้ำหนักได้วิธีนี้อาจเสริมด้วยการรักษาความวิตกกังวลทางจิตวิทยาและด้วยการให้ฟังบันทึกเสียงเมื่อนอนหลับ (hypnopedia)มีงานวิจัยที่ตรวจสอบการสะกดจิตเพื่อแก้ปัญหาน้ำหนักเกินเป็นการรักษาทางเลือก[18][19][20][21]งานศึกษาปี 1996 พบว่า การลดน้ำหนักด้วยการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) จะมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นถ้าเสริมด้วยการสะกดจิต[19]การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ซึ่งใช้สติเพื่อลดน้ำหนักก็พบในปี 2010 ว่ามีประโยชน์ด้วย[22]

การลดน้ำหนักอย่างถาวร

เพื่อให้น้ำหนักลดอย่างถาวร การเปลี่ยนอาหารและพฤติกรรมก็ต้องถาวรด้วยการไดเอ็ตในระยะสั้น ๆ ไม่ปรากฏว่า ลดน้ำหนักได้หรือทำให้สุขภาพดีขึ้นในระยะยาว และอาจมีโทษด้วย[23]

อุตสาหกรรมการลดน้ำหนักในประเทศตะวันตก

ในสหรัฐ มีผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดเป็นจำนวนมากซึ่งอ้างว่าช่วยให้ลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น มีค่าใช้จ่ายน้อย ไว้วางใจได้ และเป็นทุกข์น้อยกว่ารวมทั้งหนังสือ ดีวีดี ซีดี ครีม น้ำมัน ยา แหวน ตุ้มหู เครื่องพันกาย เข็มขัด วัสดุอื่น ๆ ศูนย์ฟิตเหนส คลินิก โค้ชส่วนตัว กลุ่มสนับสนุนลดน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารเสริม[24]ในปี 2008 มีการใช้จ่าย 33,000-55,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 1.1-1.8 ล้านล้านบาท) สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการลดน้ำหนักโดยรวมวิธีการทางแพทย์และยาด้วย ศูนย์ลดน้ำหนักได้ส่วนแบ่งระหว่าง 6-12%ผู้บริโภคซื้ออาหารเสริมเพื่อช่วยลดน้ำหนักเกินกว่า 1,600 ล้านเหรียญต่อปี (ประมาณ 52,789 ล้านบาท)ความพยายามเพื่อไดเอ็ตของคนอเมริกัน 70% จะทำเอง[25][26]

ในยุโรปตะวันตก การขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักโดยไม่รวมยาที่แพทย์ต้องออกใบสั่ง เกินกว่า 1,250 ล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 59,767 ล้านบาท) ในปี 2009[26]

ไม่ได้ตั้งใจ

ลักษณะ

การลดน้ำหนักอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดจากการเสียไขมัน เสียน้ำ เสียกล้ามเนื้อในร่างกาย หรือเสียสิ่งเหล่านี้รวม ๆ กัน[27][28]ปกติจะพิจารณาว่าเป็นปัญหาทางการแพทย์ต่อเมื่อบุคคลเสียน้ำหนักอย่างน้อย 10% ภายใน 6 เดือน[27][29]หรือ 5% ภายในเดือนที่ผ่านมา[30]เกณฑ์วิธีอีกอย่างที่ใช้ประเมินน้ำหนักน้อยเกินก็คือ ดัชนีมวลกาย (BMI)[31]อย่างไรก็ดี แม้น้ำหนักลดที่น้อยกว่านี้ก็อาจเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงสำหรับคนชราที่อ่อนแอ[32]

น้ำหนักลดแบบไม่ได้ตั้งใจอาจเกิดเพราะได้พลังงานจากอาหารไม่พอเทียบกับความต้องการของร่างกาย (ปกติเรียกว่า ทุพโภชนาการ)แต่วิถีดำเนินของโรค การเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึม ทางฮอร์โมน การใช้ยา การรักษาโรคอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงอาหารเนื่องจากโรคหรือการรักษา หรือความอยากอาหารน้อยดังที่สัมพันธ์กับโรคหรือการรักษาก็อาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจได้เช่นกัน[27][28][29][33][34][35]ปัญหาทางฮอร์โมนเช่น ไทรอยด์ถูกกระตุ้นมากเกินไป (hyperthyroidism) อาจทำให้น้ำหนักลดเช่นกัน[36]การนำสารอาหารไปใช้ไม่ได้ดีอาจทำให้น้ำหนักลด ซึ่งอาจมีเหตุจากทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) ท้องร่วง ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร การหมดเอนไซม์ และกล้ามเนื้อลีบ[29]

น้ำหนักที่ลดลงเรื่อย ๆ อาจแย่ลงจนกลายเป็นภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia)[32]ซึ่งต่างกับความอดอยากโดยส่วนหนึ่งก็คือเพราะมีปฏิกิริยาเป็นการอักเสบทั้งร่างกาย (systemic inflammatory response)[32]และมีผลที่แย่กว่า[27][32][33]

ในโรคที่ลุกลามระยะหลัง ๆ เมแทบอลิซึมของคนไข้อาจเปลี่ยนไป จึงทำให้น้ำหนักลดได้แม้จะได้อาหารพอโดยที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ซึ่งอาจก่อภาวะ anorexia cachexia syndrome (ACS) ที่การได้อาหารหรืออาหารเสริมไม่น่าจะช่วย[29]อาการเนื่องกับ ACS รวมทั้งการเสียน้ำหนักอย่างรุนแรงจากกล้ามเนื้อ ไม่ใช่จากไขมันร่างกาย ไม่อยากอาหาร อิ่มแม้หลังจากทานอาหารเพียงเล็กน้อย คลื่นไส้ กะปลกกะเปลี้ย ล้า[29]การลดน้ำหนักมากอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ขัดขวางการรักษาหรือการหายจากโรค ทำให้โรคแย่ลง และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้มีอัตราการตายสูง[27][32]

ทุพโภชนาการอาจมีผลต่อการทำงานของร่างกายทุก ๆ ส่วน เริ่มตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงกระบวนการทำงานที่ซับซ้อนที่สุดรวมทั้ง[31]

อนึ่ง ทุพโภชนาการอาจทำให้ขาดวิตามินหรือสารอาหารอื่น ๆ แล้วทำให้ไม่ค่อยขยับตัว ซึ่งก็อาจก่อปัญหาอื่น ๆ เช่น แผลกดทับ (pressure sore)[31]น้ำหนักลดอย่างไม่ได้ตั้งใจอาจเป็นอาการที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง[27]และโรคเบาหวานประเภทที่หนึ่ง[37]

ในสหราชอาณาจักร ประชากรทั่วไป 5% จะมีน้ำหนักน้อยเกิน แต่ผู้ที่มีโรคปอด โรคทางเดินอาหาร หรือเพิ่งรับการผ่าตัดจะเป็นถึง 10%[31]ตามข้อมูลจาก Malnutrition Universal Screening Tool ('MUST') ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเรื่องการเสียน้ำหนักโดยไม่ได้ตั้งใจ 10% ของประชากรอายุมากกว่า 65 ปีเสี่ยงต่อทุพโภชนาการ[31]คนไข้ในโรงพยาบาลถึง 10-60% ก็เสี่ยงด้วย คนไข้ในสถาบันดูแลผู้ป่วยระยะยาวก็เช่นกัน[31]

เหตุ

เนื่องกับโรค

ทุพโภชนาการเนื่องกับโรคอาจจัดรวมในหมวด 4 หมวด[31]

ปัญหาเหตุ
ทานอาหารได้ไม่เต็มที่ความไม่อยากอาหารอาจเป็นอาการโดยตรงของโรค หรือโรคอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อรับประทานอาหารหรือทำให้คลื่นไส้ อาจทำให้รู้สึกกลัวการกิน อาจเกิดจากความรู้สึกตัวที่แย่ลงหรือสับสน ปัญหาที่มือและแขน ปัญหาการกลืนและการเคี้ยว แพทย์อาจจำกัดอาหารเพื่อรักษาหรือเพื่อตรวจสอบโรค การขาดอาหารอาจเกิดจากความยากจน ปัญหาการไปซื้อของหรือทำอาหาร และอาหารคุณภาพไม่ดี
การย่อยหรือการดูดซึมอาหารที่ไม่ดีอาจเกิดจากปัญหาของระบบย่อยอาหาร
ร่างกายมีความต้องการเปลี่ยนไปการเปลี่ยนแปลงทางเมแทบอลิซึมอาจเกิดจากโรค การผ่าตัด หรือปัญหาที่อวัยวะต่าง ๆ
การเสียสารอาหารเกินการเสียสารอาหารจากทางเดินอาหารอาจเกิดจากอาการต่าง ๆ เช่นอาเจียน ท้องร่วง ทางเดินอาหารทะลุ (fistulae) และ stoma อาจเสียสารอาหารเพราะวิธีการระบายต่าง ๆ รวมทั้งสายระบายที่แพทย์สอดจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (nasogastric tube) หรือเพราะกระบวนการอื่น ๆ เช่น ผิวหนังไหม้ที่มีน้ำเยิ้มออกจากผิว (skin exudate)

ปัญหาการเสียน้ำหนักเพราะโรคโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง

  • เมื่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) แย่ลง คนไข้ประมาณ 35% จะน้ำหนักลดอย่างรุนแรงโดยเรียกว่า pulmonary cachexia (ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกเหตุปอด) รวมทั้งการเสียกล้ามเนื้อ[33] คนไข้ 25% จะน้ำหนักลดในระดับปานกลางจนถึงรุนแรง และที่เหลือโดยมากจะน้ำหนักลดบ้าง[33] การเสียน้ำหนักมากกว่าจะทำให้พยากรณ์โรคแย่กว่า[33] ปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางทฤษฎีรวมทั้งการลดความอยากอาหารเพราะขยับตัวน้อยลง การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อหายใจ และปัญหาการรับประทานเพราะหายใจลำบาก (dyspnea, labored breathing)[33]
  • สำหรับน้ำหนักลดที่อธิบายไม่ได้ มะเร็งเป็นเหตุที่สามัญและบ่อยครั้งทำให้เสียชีวิต คนไข้ที่น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจประมาณ 1/3 มีเหตุจากเนื้อร้าย รวมทั้งมะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเซลล์ตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งรังไข่ มะเร็งเลือด และมะเร็งปอด
  • คนไข้เอชไอวีบ่อยครั้งน้ำหนักจะลด และสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่แย่กว่า[38] อาการผอมแห้งเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของโรคเอดส์[38]
  • โรคทางเดินอาหาร (gastrointestinal disease) เป็นเหตุสามัญอีกอย่างหนึ่งเมื่อน้ำหนักลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ และจริง ๆ ก็เป็นเหตุสามัญที่สุดนอกเหนือจากมะเร็ง[ต้องการอ้างอิง] โรคที่อาจเป็นเหตุรวมทั้ง coeliac disease, แผลเปื่อยเพปติก (peptic ulcer disease), inflammatory bowel disease (รวมทั้ง crohn's disease และ ulcerative colitis), ตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis), กระเพาะอักเสบ (gastritis), ท้องร่วง และโรคทางเดินอาหารอื่น ๆ อีกหลายอย่าง
  • การติดเชื้อบางอย่างอาจทำให้น้ำหนักลด โรคเกี่ยวกับเชื้อรา, เยื่อบุหัวใจอักเสบ (endocarditis), โรคปรสิตหลายอย่าง, เอดส์ และการติดเชื้อแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute) และแบบซ่อนเร้น (occult) บางอย่างก็อาจทำให้น้ำหนักลดได้เช่นกัน
  • คนไข้โรคไตและภาวะยูเรียเกินในปัสสาสวะ (uremia) บ่อยครั้งจะไม่ค่อยหรือไม่อยากอาหาร อาเจียน และคลื่นไส้ ซึ่งอาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคระบบหัวใจหลอดเลือดโดยเฉพาะแบบอุดตัน (congestive) อาจทำให้น้ำหนักลด
  • โรคเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
  • โรคทางระบบประสาทรวมทั้งภาวะสมองเสื่อม[39]
  • ปัญหาทางปาก การรับรู้รสชาติ ฟัน (รวมทั้งการติดเชื้อ) อาจทำให้ทานอาหารน้อยลงแล้วน้ำหนักลด[29]

เบาหวานประเภทที่ 1

เบาหวานประเภท 1 หรือที่รู้จักกันว่า เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน (insulin dependent diabetes mellitus - IDDM) นำไปสู่ปริมาณกลูโคสส่วนเกินและปริมาณอินซูลินในกระแสเลือดไม่เพียงพอ ภาวะนี้นำไปสู่การหลั่งไตรกลีเซอไรด์จากกล้ามเนื้อไขมันและแคแทบอลิซึมของกรดอะมิโนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งนำไปสู่ทั้งการสูญเสียทั้งมวลไขมันและมวลเนื้อ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างสำคัญ โรคเบาหวานประเภท 1 ที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้น้ำหนักลดได้

เนื่องกับการรักษา

การรักษาทางการแพทย์อาจเป็นเหตุโดยตรงหรือโดยอ้อมให้น้ำหนักลด ซึ่งขัดประสิทธิผลการรักษาและการฟื้นสภาพ แล้วทำให้น้ำหนักลดลงอีก วนเป็นวัฏจักรที่ไม่ดี[27]หลังจากการผ่าตัด คนไข้อาจเจ็บแล้วไม่อยากอาหาร[27]ร่างกายจะตอบสนองโดยส่วนหนึ่งต่อการผ่าตัดโดยทุ่มแรงไปเพื่อรักษาแผล ซึ่งเพิ่มความต้องการพลังงาน[27]แม้จะเปลี่ยนความต้องการสารอาหารโดยอ้อมโดยเฉพาะในช่วงฟื้นตัว แต่ความเปลี่ยนแปลงก็อาจกวนการฟื้นสภาพของแผลและของร่างกาย[27][31]

การผ่าตัดสามารถมีผลต่อความต้องการอาหารโดยตรงถ้าหัตถการเปลี่ยนระบบย่อยอาหารอย่างถาวร[27]การให้อาหารผ่านสายยางอาจจำเป็น[27]แต่การไม่ให้อาหารทางปากเลยสำหรับการผ่าตัดทางเดินอาหารทุกอย่างไม่ปรากฏว่ามีประโยชน์ โดยนักวิชาการบางพวกเสนอว่ามันทำให้หายช้าลง[40][ต้องการการอัปเดต]

การให้อาหารหลังการผ่าตัดทางเดินอาหารตั้งแต่ระยะต้น ๆ เป็นส่วนของเกณฑ์วิธีที่เรียกว่า Enhanced Recovery After Surgery protocol[41]ซึ่งรวมการให้อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต (carbohydrate loading) ภายใน 24 ชม. ก่อนผ่าตัด แต่การให้อาหารก่อนหน้านั้นดูเหมือนจะไม่มีผลอย่างสำคัญ[41]

ยาบางอย่างอาจเป็นเหตุให้น้ำหนักลด[42]แต่บางอย่างก็ทำให้น้ำหนักเพิ่ม[43][44]

สถานะทางสังคม

สถานะทางสังคม เช่น ความยากจน การแยกอยู่คนเดียว หรือการไม่สามารถได้หรือทำอาหารที่ต้องการอาจทำให้น้ำหนักลดอย่างไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจสามัญเป็นพิเศษในคนชรา[45]อาหารที่ได้อาจได้รับผลจากวัฒนธรรม ครอบครัว และความเชื่อ[29]ฟันปลอมที่ใส่ไม่ดี ปัญหาเกี่ยวกับฟันและปากอื่น ๆ ก็อาจทำให้ได้อาหารไม่พอด้วย[29]ความสิ้นหวัง ปัญหาสถานะทาสังคม การติดต่อกับคนอื่น ๆ ปัญหาทางจิตวิญญาณ และความเหนื่อยล้าอาจทำให้ซึมเศร้า ซึ่งอาจสัมพันธ์กับการได้อาหารน้อยลง[29]

ความเชื่อ

ความเชื่อยอดนิยมเกี่ยวกับการลดน้ำหนักบางอย่างพบว่า มีผลไม่ตรงตามที่เชื่อ หรือแม้แต่ไม่ดีต่อสุขภาพตามนักวิชาการของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด แนวคิดว่าเมแทบอลิซึมเป็นหัวใจของการลด/เพิ่มน้ำหนักเป็นจริงแค่บางส่วน เพราะแม้เมแทบอลิซึมจะมีผลต่อน้ำหนักก็จริง แต่ปัจจัยภายนอกเช่นอาหารและการออกกำลังกายก็มีผลเท่า ๆ กัน[46]นักวิชาการยังชี้แจงว่า การเปลี่ยนอัตราเมแทบอลิซึมของตนเองได้ยังเป็นเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติอีกด้วย[46]แผนไดเอ็ตในนิตยสารฟิตเหนสบ่อยครั้งเชื่อว่ามีประสิทธิผล แต่จริง ๆ อาจมีโทษเพราะจำกัดการบริโภคสารอาหารที่สำคัญโดยขึ้นอยู่กับบุคคล และอาจทำให้เข็ดไม่พยายามลดน้ำหนักอีก[47]

ผลต่อสุขภาพ

โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรค รวมทั้งเบาหวาน มะเร็ง โรคระบบหัวใจหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และโรคตับที่ไม่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ดังนั้น การแก้ปัญหาสภาวะโรคอ้วนก็จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นเช่น การลดน้ำหนัก 1 กก. พบว่าสัมพันธ์กับการลดความดันโลหิตประมาณ 1 มิลลิเมตรปรอท[48]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง