บางกอกแอร์เวย์ส

สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (อังกฤษ: Bangkok Airways) เป็นสายการบินเชิงพาณิชย์ ดำเนินงานโดย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเริ่มดำเนินงานกิจการด้านการบินเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในแผนกการบินสหกลแอร์ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งในระยะแรกได้ดำเนินกิจการทำการบินบริการให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล (รบ.) รัฐวิสาหกิจ (รสก.) และธุรกิจเอกชนต่าง ๆ ทั่วไป

บางกอกแอร์เวย์ส
IATAICAOรหัสเรียก
PGBKPBANGKOK AIR
ก่อตั้งพ.ศ. 2511 (56 ปี) (ใช้ชื่อว่าสหกลแอร์)
ท่าหลักท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
เมืองสำคัญท่าอากาศยานสุโขทัย
ท่าอากาศยานตราด
ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
ท่าอากาศยานลำปาง
ท่าอากาศยานนานาชาติเวลานา มัลดีฟส์
ท่าอากาศยานนานาชาติหลวงพระบาง สปป.ลาว
สะสมไมล์ฟลายเออร์โบนัส
ขนาดฝูงบิน35
จุดหมาย30
สำนักงานใหญ่99 หมู่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักนายแพทย์ ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (ประธานกรรมการ)
กัปตัน พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ (CEO)
เว็บไซต์www.bangkokair.com

ในปี พ.ศ. 2527 ได้แยกตัวออกมาจัดตั้งเป็น บริษัท สหกลแอร์ จำกัด และได้รับอนุญาตประกอบกิจการการเดินอากาศแบบประจำภายในประเทศ เมื่อ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2529 ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนด ต่อมา 5 เมษายน พ.ศ. 2532 บริษัท สหกลแอร์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด

ปัจจุบัน

ในปัจจุบัน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีเครื่องบินเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 10 ลำ เครื่องบินแอร์บัส เอ 320-200 จำนวน 3 ลำ และ แอร์บัส 319 จำนวน 11 ลำ รวมทั้งสิ้น 24 ลำ ให้บริการแก่ผู้โดยสาร

ในอนาคตทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้วางแผนที่จะเช่าซื้อแอร์บัส เอ 350-900XWB ขนาด 270 ที่นั่ง มาเข้าประจำการจำนวน 6 ลำอีกด้วย เพื่อจะขยายเส้นทางให้สามารถบินไปยังทวีปยุโรปได้ อีกทั้งทาง บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หวังจะร่วมมือกับแอร์บัสไประยะยาวเพราะเครื่องบินแอร์บัส นักบินเรียนรู้เพียงเครื่องเดียวก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องรุ่นอื่น ๆ ส่วนเอทีอาร์ 72-600 จะยังประจำการต่อไปเพราะเป็นเครื่องบินที่ใช้งานได้ดีในระยะทางใกล้ ๆ และเป็นเครื่องบินใบพัดที่มีความปลอดภัยและประหยัดเมื่อเทียบกับเครื่อง Turboprop รุ่นอื่น ๆ

จุดหมายปลายทาง

จุดหมายปลายทางในประเทศ

ให้บริการจากท่าอากาศยานหมายเหตุ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฐานการบินหลักเชียงใหม่ภายในประเทศ
แม่ฮ่องสอน ผ่าน ลำปางภายในประเทศ
ลำปางภายในประเทศ
สุโขทัยภายในประเทศ
ตราดภายในประเทศ
สมุยภายในประเทศ
ภูเก็ตภายในประเทศ
กระบี่ภายในประเทศ
หาดใหญ่ (จะกลับมาในอนาคต)ภายในประเทศ
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย ฐานการบินรองเชียงใหม่ภายในประเทศ
อู่ตะเภาภายในประเทศ
ภูเก็ตภายในประเทศ
กระบี่ภายในประเทศ
ท่าอากาศยานดอนเมืองภายในประเทศ [[1]]
หาดใหญ่ (จะกลับมาในอนาคต)ภายในประเทศ
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ภูเก็ตภายในประเทศ
สมุยภายในประเทศ
กระบี่ภายในประเทศ
ท่าอากาศยานภูเก็ตอู่ตะเภาภายในประเทศ
หาดใหญ่ภายในประเทศ
ท่าอากาศยานหาดใหญ่เบตง อนาคตภายในประเทศ

จุดหมายปลายทางระหว่างประเทศ

ให้บริการจากท่าอากาศยานหมายเหตุ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลานาระหว่างประเทศ
หลวงพระ​บางระหว่างประเทศ
ย่างกุ้งระหว่างประเทศ
ดานัง (ยกเลิกไปก่อน กลับมาในอนาคต)ระหว่างประเทศ
เนปยีดอระหว่างประเทศ
มัณฑะเลย์ระหว่างประเทศ
พนมเปญระหว่างประเทศ
เสียมราฐระหว่างประเทศ
ท่าอากาศยานนานาชาติสมุยฮ่องกงระหว่างประเทศ
สิงคโปร์ระหว่างประเทศ
กัวลาลัมเปอร์ (จะกลับมาในอนาคต)​ระหว่างประเทศ
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ย่างกุ้งระหว่างประเทศ
มัณฑะเลย์ระหว่างประเทศ
ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่สิงคโปร์ (อนาคต)ระหว่างประเทศ
กัวลาลัมเปอร์ (อนาคต)​ระหว่างประเทศ

ข้อตกลงทำการบินร่วม

ฝูงบิน

ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ฝูงบินของบางกอกแอร์เวย์ส ประกอบไปด้วยเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 35 ลำ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

ฝูงบินของบางกอกแอร์เวย์ส
เครื่องบินประจำการสั่งซื้อความจุผู้โดยสาร
(บลูริบบ้อนส์/ชั้นประหยัด)
หมายเหตุ
แอร์บัส เอ319-10014144 (0/144)
138 (0/138)
120 (12/108)

132 (12/120)

แอร์บัส เอ320-2007162 (0/162)
เอทีอาร์ 72-6001370 (0/70)
ทั้งหมด34
ฝูงบินปัจจุบันของสายการบินบางกอกแอร์เวย์

ฝูงบินในอดีต ได้แก่

Boeing 717-200 ,Fokker F100 ,ATR42-300 , ATR72-200 ,Embraer EMB 110,De havilland DHC-8-100 ,De havilland DHC-8-300

อุบัติเหตุ

  • วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 125 เดินทางจากกรุงเทพ ไปยังเกาะสมุย ตกเนื่องจากนักบินหลงทิศทาง ผู้โดยสารและลูกเรือ 38 คน เสียชีวิต[4]
  • วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 266 เดินทางจากกระบี่ ไปยังเกาะสมุย มีผู้โดยสาร 68 คน นักบิน 2 คน และลูกเรือ 2 คน เกิดอุบัติเหตุลื่นไหลออกนอกรันเวย์ จนพุ่งชนกับอาคารหอบังคับการบินหลังเก่าของสนามบิน กัปตันเสียชีวิตเนื่องจากติดอยู่ในห้องบังคับการบิน นอกนั้นรอดชีวิตทั้งหมด รายงานในเบื้องต้นระบุว่าสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย หลังการพุ่งเข้าชนแล้วไม่มีการลุกไหม้ของเครื่องบิน[5]
  • วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บางกอกแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ 178 รุ่นเอทีอาร์ 72 เดินทางจากเกาะสมุย ไปยังสุวรรณภูมิ มีผู้โดยสาร 38 คน นักบิน 2 คน และลูกเรือ 2 คน เกิดอุบัติเหตุลื่นไถลจากจุดจอดเครื่อง พุ่งไปด้านหน้าชนกำแพงรั้วของท่าอากาศยานนานาชาติเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนที่ล้อคู่หน้าจะตกลงไปในร่องระบายน้ำ ทำให้ส่วนหัวของเครื่องบินทิ่มต่ำลงกว่าส่วนหาง สร้างความแตกตื่นตกใจให้กับผู้โดยสารทั้งลำ แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยสายการบินได้จัดเครื่องบินลำใหม่ขนถ่ายผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางเมื่อเวลา 19.50 น. วันเดียวกัน ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบและกู้เครื่องบินต่อไป[6]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง