ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์

ท่าอากาศยานนานาชาติชางงีสิงคโปร์ (IATA: SINICAO: WSSS) (จีน: 新加坡樟宜机场; พินอิน: Xīnjiāpō Zhāngyí Jīchǎng) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ และเป็นหนึ่งในจุดศูนย์กลางด้านการคมนาคมทางอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์

Lapangan Terbang Changi Singapura

新加坡樟宜机场

சிங்கப்பூர் சாங்கி விமான நிலையம்
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานท่าอากาศยานนานาชาติ/ฐานทัพอากาศ
เจ้าของรัฐบาลสิงคโปร์
ผู้ดำเนินงานบจ.ชางงีแอร์พอร์ตกรุ๊ป
กองทัพอากาศสิงคโปร์
พื้นที่บริการสิงคโปร์
สถานที่ตั้งสิงคโปร์ตะวันออก
ฐานการบิน
เมืองสำคัญ
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล7 เมตร / 22 ฟุต
เว็บไซต์www.changiairport.com
แผนที่
SINตั้งอยู่ในสิงคโปร์
SIN
SIN
ตำแหน่งที่ตั้งของท่าอากาศยาน
ทางวิ่ง
ทิศทางความยาวพื้นผิว
เมตรฟุต
02L/20R14,00013,123คอนกรีต
02C/20C4,00013,123คอนกรีต
02R/20L22,7509,022ยางมะตอย
สถิติ (2023)
ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 58,900,000
การเคลื่อนที่สินค้า (ตัน)ลดลง 1,740,000
การเคลื่อนที่อากาศยานเพิ่มขึ้น 328,000
อ้างอิง: ชางงีแอร์พอร์ตกรุ๊ป[2] ดับเบิลยูเอดี[3]

ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548 พ.ศ. 2552 ท่าอากาศยานชางงีได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อันดับที่สามรองจากท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง[4]

ประวัติ

โบอิง 747-300 ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ที่ท่าอากาศยานชางงีในปี 1985

ท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ที่ Paya Lebar เป็นท่าอากาศยานหลักแห่งที่สามของสิงคโปร์นับจากท่าอากาศยาน Seletar (ท่าอากาศยานหลักในปี 2473 - 2480) และท่าอากาศยาน Kallang (2480 – 2498) เปิดในปี 2498 แต่ด้วยรันเวย์เดียวและอาคารผู้โดยสารขนาดเล็ก การขนส่งสนามบินประสบปัญหาความแออัดไม่สามารถรับมือกับการจราจรที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรุนแรงในช่วงทศวรรษ 1970 (ปี 2513-2522)จำนวนผู้โดยสารต่อปีเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 300,000 คนในปี 2498 เป็น 1.7 ล้านคนในปี 2513 และ 4 ล้านคนในปี 2518

รัฐบาลขณะนั้นมีสองทางเลือก คือ ขยายท่าอากาศยานที่มีอยู่ที่ Paya Lebar หรือสร้างท่าอากาศยานใหม่ที่สถานที่อื่น หลังจากศึกษาอย่างกว้างขวางในปี 2515 รัฐบาลตัดสินใจรักษาสภาพท่าอากาศยานหลักที่ Paya Lebar ตามคำแนะนำจากที่ปรึกษาด้านการบินของอังกฤษ ทำให้เกิดการสร้างรันเวย์ที่สองและการปรับปรุงและขยายอาคารผู้โดยสารในหนึ่งปีต่อมา อย่างไรก็ตามได้มีการทบทวนใหม่อีกครั้งเมื่อมีแรงกดดันที่จะขยายสนามบินเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำมันปี 2516

ด้วยความกังวลว่าท่าอากาศยาน Paya Lebar ที่มีอยู่ในพื้นที่เดิมตั้งมีความเสี่ยงที่ถูกปิดล้อมในทุกด้านจากการเติบโตของเมือง รัฐบาลจึงตัดสินใจในปี 2518 เพื่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ที่ปลายสุดทางทิศตะวันออกของเกาะหลักที่เขตชางงีในพื้นที่ฐานทัพอากาศชางงีที่มีอยู่เดิม ซึ่งท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้จะสามารถขยายได้อย่างง่ายดายด้วยการถมทะเล

อย่างไรก็ตามการจราจรทางการบินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่าอากาศยานจึงต้องเริ่มสร้างและขยายตัวในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้มีการวางแผนให้เครื่องบินต้องบินข้ามทะเลแทนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหามลภาวะทางเสียงหากบินผ่านพื้นที่ที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับที่ท่าอากาศยาน Paya Lebar และช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางอากาศที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นดิน

ซึ่งต่อมาท่าอากาศยาน Paya Lebar ได้ถูกดัดแปลงเพื่อใช้เป็นฐานทัพอากาศ Paya Lebar แทนฐานทัพอากาศชางงีเดิม

รายละเอียดท่าอากาศยาน

แผนผังท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานชางงีให้บริการโดยสายการบินมากกว่า 100 สายสู่จุดหมายปลายทางกว่า 400 แห่งในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยท่าอากาศยานมีการเคลื่อนไหวของเครื่องบินถึง 7,400 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ นับเป็นหนึ่งเที่ยวบินทุกๆ 80 วินาที

ในปี 2019 มีความเคลื่อนไหวของผู้โดยสารมากถึง 68,300,000 คน (เพิ่มขึ้น 4.0% จากปีก่อนหน้า)มากที่สุดในประวัติศาสตร์ 38 ปี ทำให้เป็นท่าอากาศยานที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดอันดับที่เจ็ดของโลกและอันดับที่สามในเอเชีย ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ท่าอากาศยานชางงีมีจำนวนผู้โดยสารกว่า 6.41 ล้านคน เป็นเดือนที่มากที่สุดตั้งแต่เปิดทำการในปี 1981 นอกจากนี้แล้วยังได้ทำลาสถิติจำนวนผู้โดยสารสูงสุดต่อวันในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2019 ด้วยผู้โดยสารกว่า 226,692 คน ท่าอากาศยานชางงีเป็นฐานการบินสำคัญสำหรับสายการบินต่างๆ ทั้งสายการบินโดยสารและสายการบินขนส่งสินค้า โดยในปี 2019 มีอัตราการเคลื่อนที่สินค้ามากถึง 2.01 ล้านตัน การเคลื่อนที่อากาศยานลดลง 1.0% จากปีก่อนหน้าเป็ร 382,000 ลำในปี 2019

อาคารผู้โดยสาร

  • อาคาร 1 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2524)
  • อาคาร 2 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2533)
  • อาคาร 3 (เปิดให้บริการปี พ.ศ. 2551)
  • อาคาร 4 (เปิดให้บริการวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560)
  • อาคาร 5 (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2563)
  • จูเวิลชางงีแอร์พอร์ต (เปิดให้บริการประมาณปี พ.ศ. 2562)

หอควบคุมจราจรทางอากาศ

หอควบคุมจราจรทางอากาศถูกสร้างขึ้นตามแผนพัฒนาท่าอากาศยานชางงีระยะที่หนึ่ง ให้บริการการควบคุมการจราจรทางอากาศ ทั้งการขึ้นบิน ลงจอด และการเคลื่อนที่อากาศยานภายในและภายนอกท่าอากาศยาน[5] โดยตั้งอยู่บริเวณระหว่างสองทางวิ่งเดิม (02L/20R และ 02C/20C ปัจจุบัน) และมีความสูง 81 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

พื้นที่พาณิชยกรรมเชิงประสม

เดอะเรนวอร์เท็กซ์ที่จูเวิลชางงีแอร์พอร์ต

จูเวิลชางงีแอร์พอร์ต ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2019 เป็นอาคารพาณิชย์กรรมเชิงประสมและศูนย์การค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1, 2 และ 3[6] บริเวณที่จอดรถอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เดิม ซึ่งปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นที่จอดรถใต้ดินแล้ว จูเวิลได้ถูกพัฒนาโดยบมจ.จูเวิลชางงีแอร์พอร์ตทรัสที, กิจการร่วมค้าของชางงีแอร์พอร์ตกรุ๊ปและคาปิตาแลนด์ผ่านบริษัทลูกคาปิตาแลนด์มอลล์เอเชีย[7] โดยมีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์[8]

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วงกระจายผู้โดยสารจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 24 ล้านคนต่อปีภายใน ค.ศ. 2018 เนื่องด้วยมีจุดเช็คอินและห้องรับรอง จูเวิลจึงถือเป็นหนึ่งในอาคารผู้โดยสารอย่างไม่เป็นทางการในตัว[9] ภายในมีการติดตั้ง "เดอะเรนวอร์เท็กซ์" น้ำพุวนจากหลังคาซึ่งเป็นน้ำตกในร่มที่สูงที่สุดในโลก

รายชื่อสายการบิน

เส้นทางการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน

ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์มีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางดังนี้:

สายการบินจุดหมายปลายทาง
อาเอโรดิลีดิลี[10]
แอร์เอเชียอีโปะฮ์,[11] โกตากีนาบาลู, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, กูจิง, ลังกาวี, ปีนัง
แอร์กาแล็งนูเมอา[12]
แอร์แคนาดาแวนคูเวอร์ (เริ่มต้น 4 เมษายน ค.ศ.2024)[13]
แอร์ไชนาปักกิ่ง–นานาชาติ, เฉิงตู–เทียนฟู่,[14] ฉงชิ่ง,[15][16] ซ่างไห่–ผู่ตง[17]
แอร์ฟรานซ์ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล
แอร์อินเดียเบลคลูรู,[18] เจนไน, เดลี, มุมไบ
แอร์อินเดียเอกซ์เพรสเจนไน, มตุไร,[19] ติรุจิรัปปัลลิ
แอร์เจแปนโตเกียว–นาริตะ (เริ่มต้น 27 เมษายน ค.ศ.2024)[20]
แอร์มาเก๊ามาเก๊า[21]
แอร์นิวซีแลนด์ออกแลนด์
แอร์นิวกินีพอร์ตมอร์สบี
แอร์ติมอร์เช่าเหมาลำ: ดิลี[22][23]
อาลีปาเลาแอร์ไลน์คอรอร์
ออล นิปปอน แอร์เวย์[24]โตเกียว–ฮาเนดะ, โตเกียว–นาริตะ
เอเชียน่าแอร์ไลน์โซล–อินช็อน
บางกอกแอร์เวย์สเกาะสมุย[25] หาดใหญ่ อนาคต
บาติกแอร์เด็นปาซาร์,[26] จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, เมดัน, มากัซซาร์,[27] ซูราบายา,[28] ยกยาการ์ตา–นานาชาติ[29]
บาติกแอร์ มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ
บังคลาเทศพิมานธากา
บริติชแอร์เวย์ลอนดอน–ฮีทโธรว์, ซิดนีย์
แคมโบเดียแอร์เวย์พนมเปญ, ซานย่า
คาเธ่ย์แปซิฟิคกรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, (ดำเนินการต่อ 31 มีนาคม ค.ศ. 2024), ฮ่องกง
เซบูแปซิฟิคเซบู, คลาร์ก, มะนิลา
ไชนาแอร์ไลน์เกาสฺยง, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ปักกิ่ง–ต้าชิง,[30] ฉางชา,[31] หางโจว,[32] เหอเฝย์, จี่หนาน,[32] คุนหมิง,[33] หนานจิง,[34] ซ่างไห่–ผู่ตง
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ปักกิ่ง–ต้าชิง (เริ่มต้น 7 มีนาคม ค.ศ. 2024),[35] กว่างโจว, เซินเจิ้น[36]
ฉงชิ่งแอร์ไลน์ฉงชิ่ง
ซิตีลิงก์จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา[37]
ดรุกแอร์คุวาหาฏี, พาโร
เอมิเรตส์ดูไบ–นานาชาติ, เมลเบิร์น[38]
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์อาดดิสอาบาบา, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ
สายการบินเอทิฮัดอาบูดาบี
อีวีเอแอร์ไทเป–เถา-ยฺเหวียน
ฟิจิแอร์เวย์นาดี
ฟินน์แอร์เฮลซิงกิ[39]
ไฟเออร์ฟลายปีนัง
การูดาอินโดนีเซียเด็นปาซาร์,[40] จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, ซูราบายา
เกรทเตอร์ เบย์ แอร์ไลน์สฮ่องกง (เริ่มต้น 26 เมษายน ค.ศ. 2024)[41]
กัลฟ์แอร์บาห์เรน, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ
จีเอกซ์แอร์ไลน์หนานหนิง
ไหหนานแอร์ไลน์ไหโข่ว
เหอเป่ยแอร์ไลน์เหอเฝย์
อินดีโกเบลคลูรู, ภุพเนศวร,[42] เจนไน, เดลี,[42] ไฮเดอราบาด,[43] มุมไบ,[44] ติรุจิรัปปัลลิ
อินโดนีเซียแอร์เอเชียเด็นปาซาร์, จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา,[45] ซูราบายา,[46] ยกยาการ์ตา–นานาชาติ[47]
แจแปนแอร์ไลน์โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ
เชจูแอร์ปูซาน
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์เมลเบิร์น,[48] เพิร์ท (เริ่มต้น 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024)[49]
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, เด็นปาซาร์, ไหโข่ว,[50] จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, มะนิลา, นาฮะ,[51] โอะซะกะ–คันไซ,[52] ปีนัง, พนมเปญ, ภูเก็ต, ซูราบายา,[53] อู๋ซี[54]
การบินจี๋เสียงซ่างไห่–ผู่ตง[55]
เคแอลเอ็มอัมสเตอร์ดัม, เด็นปาซาร์
โคเรียนแอร์โซล–อินช็อน
ลุฟต์ฮันซาแฟรงค์เฟิร์ต, มิวนิก
มาเลเซียแอร์ไลน์กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, กูจิง
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชันแนลย่างกุ้ง
เมียนมาร์เนชันแนลแอร์ไลน์ย่างกุ้ง
แปซิฟิกแอร์ไลน์นครโฮจิมินห์[56]
ฟิลิปปินส์แอร์ไลน์มะนิลา
ควอนตัสบริสเบน, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, เมลเบิร์น, เพิร์ท, ซิดนีย์
ควอนตัสลิงก์ดาร์วิน (เริ่มต้น 9 ธันวาคม ค.ศ. 2024)[57]
กาตาร์แอร์เวย์โดฮา
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
เซาเดียญิดดะฮ์[58]
สายการบินสกู๊ตอมฤตสระ, เอเธนส์, บาลิกปาปัน, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, เบอร์ลิน, เซบู, ฉางชา,[59] เจนไน,[60] เชียงใหม่, คลาร์ก, โกยัมปุตตูร, ดาเบา, เด็นปาซาร์, ฝูโจว, กว่างโจว, ไหโข่ว,[61] หางโจว,[62] ฮานอย, หาดใหญ่, นครโฮจิมินห์, ฮ่องกง, อีโปะฮ์, จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, ญิดดะฮ์, เชจู,[63] จี่หนาน,[64] โกตากีนาบาลู, กระบี่, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, กวนตัน,[65] กูจิง, คุนหมิง,[59] ลังกาวี, ลมบก,[66] มาเก๊า, มากัซซาร์,[62] มานาโด, มะนิลา, เมลเบิร์น, มีรี, หนานชาง,[64] หนานจิง, หนานหนิง,[61] หนิงปัว,[61] โอซากะ–คันไซ, เปอกันบารู,[62][65] ปีนัง, เพิร์ท, ภูเก็ต, ชิงเต่า, ซัปโปโระ–ชิโตเซะ, โซล–อินช็อน, เฉิ่นหยาง,[61] ซูราบายา, ซิดนีย์, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, ติรุวนันตปุรัม, เทียนจิน, ติรุจิรัปปัลลิ, โตเกียว–นาริตะ, เวียงจันทน์, วิศาขาปัฏฏนัม, อู่ฮั่น,[62] ซีอาน,[61] ยกยาการ์ตา–นานาชาติ,[66] เจิ้งโจว[62]
เชินเจิ้นแอร์ไลน์เซินเจิ้น
เสฉวนแอร์ไลน์เฉิงตู–เทียนฟู่[67]
สิงคโปร์แอร์ไลน์[68]Adelaide, Amsterdam, เอเธนส์, โอกแลนด์, บาร์เซโลนา, ปักกิ่ง, บริสเบน, Christchurch, โคเปนเฮเกน, แฟรงค์เฟิร์ต, ฟุกุโอะกะ, กว่างโจว, ฮ่องกง, Houston-Intercontinental, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, แมนเชสเตอร์, เมลเบิร์น, มิลาน-มัลเปนซา, มอสโก-โดโมเดโดโว, มิวนิก, นะโงะยะ-เซ็นแทรร์, นิวยอร์ก-จอห์น เอฟ. เคนเนดี, นูอาร์ก, โอะซะกะ-คันไซ, ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล, เพิร์ท, โรม-ฟิอูมิชิโน, São Paulo-Guarulhos [เริ่ม 28 มีนาคม],[69] ซานฟรานซิสโก, โซล-อินชอน, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน, โตเกียว-ฮาเนดะ, โตเกียว-นาริตะ, ซูริค, อาบูดาบี, Ahmedabad, Bandar Seri Begawan, Bangalore, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, ไคโร, เคปทาวน์, เจนไน, Colombo, เดนปาซาร์, เดลี, Dhaka, ดูไบ, ฮานอย, โฮจิมินห์ซิตี, Istanbul-Atatürk, Jakarta-Soekarno-Hatta, Jeddah, โจฮันเนสเบิร์ก, Kolkata, กัวลาลัมเปอร์, คูเวต, Malé, มะนิลา, มุมไบ, Riyadh
สปริงแอร์ไลน์เจียหยาง (เริ่มต้น 31 มีนาคม ค.ศ. 2024),[70] ซ่างไห่–ผู่ตง[71]
ศรีลังกาแอร์ไลน์โคลอมโบ–พัณฑารนายกะ
สตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ไทเป–เถา-ยฺเหวียน[72]
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ซูริค
ไทยแอร์เอเชียกรุงเทพฯ–ดอนเมือง, เชียงใหม่หยุดชั่วคราว,[73] หาดใหญ่,[74] ภูเก็ต
การบินไทยกรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ
ไทยไลอ้อนแอร์กรุงเทพฯ–ดอนเมือง[75]
ไทยเวียดเจ็ทแอร์กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ[76]
ทรานส์นูซาจาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา[77]
ทุยแอร์เวย์[78]เช่าเหมาลำประจำฤดูกาล: เบอร์มิงแฮม, ลอนดอน–แกตวิก, แมนเชสเตอร์
เตอร์กิชแอร์ไลน์อิสตันบูล, เมลเบิร์น (เริ่มต้น 2มีนาคม ค.ศ. 2024)[79]
สายการบินทีเวย์โซล–อินช็อน[80]
ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ซานฟรานซิสโก
ยูเอส-บังกลาแอร์ไลน์ธากา
เวียดเจ็ทแอร์ดานัง,[81] ฮานอย,[82] นครโฮจิมินห์[82]
เวียดนามแอร์ไลน์ฮานอย, นครโฮจิมินห์
วิสตาราเดลี,[83] มุมไบ, ปุเณ[84]
เซี่ยเหมินแอร์ฝูโจว, หางโจว, เซี่ยเหมิน
ซิปแอร์ โตเกียวโตเกียว–นาริตะ[85]

เที่ยวบินขนส่งสินค้า (คาร์โก)

สายการบินจุดหมายปลายทาง
Aerologicบาห์เรน, เดลี, Leipzig
แอร์ฮ่องกงฮ่องกง
เอเชียน่าคาร์โกโซล-อินชอน
Cardig AirBalikpapan, โฮจิมินห์ซิตี, Jakarta-Soekarno-Hatta
CargoluxAmman, Baku, เจนไน, Damascus, กัวลาลัมเปอร์, ลอสแอนเจลิส, Luxembourg
คาเธ่ย์แปซิฟิคคาร์โกฮ่องกง, ปีนัง
ไชนาแอร์ไลน์คาร์โกไทเป-เถาหยวน
ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
อีวีเอแอร์คาร์โกกรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Jakarta-Soekarno-Hatta, ปีนัง, ไทเป-เถาหยวน
FedEx ExpressAnchorage, เซบู, กว่างโจว, Jakarta-Soekarno-Hatta, Memphis, นูอาร์ก, โอะซะกะ-คันไซ, ปีนัง, ซานฟรานซิสโก, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Subic, โตเกียว-นาริตะ
ฮ่องกงแอร์ไลน์ฮ่องกง
Jett8 Airlines Cargoเจนไน, ดูไบ, ฮ่องกง, Luxembourg, แมนเชสเตอร์
โคเรียนแอร์คาร์โกฮานอย, โซล-อินชอน
ลุฟต์ฮันซาคาร์โกบาห์เรน, เดลี, Leipzig/Halle
เคแอลเอ็มคาร์โกอัมสเตอร์ดัม, ดูไบ, ปีนัง
MASKargoกัวลาลัมเปอร์
Martinair Cargoอัมสเตอร์ดัม, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Riyadh, Sharjah
นิปปอนคาร์โกแอร์ไลน์กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, โอะซะกะ-คันไซ, โตเกียว-นาริตะ
Republic Express AirlinesJakarta-Soekarno-Hatta
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์คาร์โกโฮจิมินห์ซิตี, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โกAdelaide, อัมสเตอร์ดัม, Anchorage, แอตแลนตา, โอกแลนด์, Bangalore, กรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, บรัสเซลส์, เจนไน, ชิคาโก-โอแฮร์, โคเปนเฮเกน, ดัสลาส-ฟอร์ตเวิร์ธ, ธากา, ดูไบ, ฮานอย, ฮ่องกง, โจฮันเนสเบิร์ก, ลอนดอน-ฮีทโธรว์, ลอสแอนเจลิส, เมลเบิร์น, มุมไบ, ไนโรบี, หนานจิง, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, Sharjah, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน, โตเกียว-นาริตะ, Xiamen
TNT AirwaysLiège, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง
Transmile Air Services[86]Labuan, กัวลาลัมเปอร์, กูชิง
Tri-MG Intra Asia AirlinesBalikpapan, Jakarta-Soekarno-Hatta, กัวลาลัมเปอร์, พนมเปญ
UPS Airlinesกรุงเทพมหานคร-สุวรรณภูมิ, Clark, โคโลญ, ดูไบ, กว่างโจว, ฮ่องกง, มุมไบ, เซินเจิ้น, ซิดนีย์, ไทเป-เถาหยวน

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

  • 26 มีนาคม พ.ศ. 2534: เครื่องบินแอร์บัส เอ310 ของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 117 ที่ออกจากกัวลาลัมเปอร์ ถูกชายสี่คนจี้ขณะเดินทางไปยังสิงคโปร์ คนร้ายต้องการเติมน้ำมันให้เครื่องบินเพื่อให้บินไปถึงออสเตรเลีย เมื่อเครื่องบินลงจอดที่สิงคโปร์ หน่วยจู่โจมได้บุกเข้าไปในเครื่องบินแล้วสังหารคนร้ายชาวปากีสถานทั้งสี่คน ขณะที่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดไม่ได้รับอันตราย[87]
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550: อุซามะฮ์ ชูบลัก (Osama R.M. Shublaq) ชาวปาเลสไตน์ ได้ลักลอบขึ้นเครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 119 จากกัวลาลัมเปอร์ แล้วตกออกจากโครงส่วนล่างของเครื่องบิน ตำรวจของท่าอากาศยานได้จับกุมและเนรเทศกลับไปมาเลเซียในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา[88]
  • 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553: เครื่องบินแอร์บัส เอ380 ของสายการบินควอนตัส เที่ยวบินที่ 32 ชื่อว่า "Nancy-Bird Walton" ประสบปัญหาเครื่องยนต์ภายในลำตัวเครื่องบินด้านซ้ายขัดข้องอย่างรุนแรง เครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย ผู้โดยสารทั้ง 433 คนและลูกเรือทั้ง 26 คนไม่ได้รับอันตราย ขณะที่ฝาครอบเครื่องยนต์ที่ขัดข้องได้ตกลงไปที่เกาะบาตัม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง