ประเทศไทยกับสหประชาชาติ

ประวัติศาสตร์การมีส่วนร่วมของไทยในสหประชาชาติ

ประเทศไทยกับสหประชาชาติ ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 55 ของสหประชาชาติ[1]

ราชอาณาจักรไทย
รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
สมาชิกรัฐสมาชิก
ตั้งแต่16 ธันวาคม พ.ศ. 2489; 77 ปีก่อน (2489-12-16)
อดีตชื่อสยาม (2000–2482)
ที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงสมาชิกไม่ถาวร
ผู้แทนถาวรไทยสุริยา จินดาวงษ์

ประวัติ

ปัญหากรณีพิพาทอินโดจีน

แต่เดิมประเทศไทยได้มีส่วนในประชาคมโลกตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เป็นสมาชิกแรกเริ่มผู้ร่วมก่อตั้งสันนิบาตชาติ ตามสนธิสัญญาสันติภาพ ต่อมาหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยไม่ได้ร่วมเป็นหนึ่งในรัฐผู้ร่วมก่อตั้งด้วยเนื่องจากเหตุผลและความจำเป็นต่าง ๆ ทั้งที่เป็นผู้ร่วมผลักดันมาตั้งแต่แรก จึงต้องสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่หลักจากก่อตั้งแล้ว[2]

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ประเทศไทยได้ยื่นใบสมัครเข้าร่วมต่อคณะมนตรีความมั่นคงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งในเวลานั้นมีประเทศยื่นคำขอเข้าร่วมพร้อมกันอีก 8 ประเทศคือ อัลเบเนีย มองโกเลีย อัฟฆานิสถาน ทรานสจอร์แดน ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ไอซแลนด์ และสวีเดน ซึ่งตามกฎบัตรสหประชาชาติระบุว่า จะต้องได้รับเสียงคะแนนจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติอย่างน้อยจาก 2 ประเทศ จาก 11 ประเทศ ตามข้อ 4 วรรค 2 จึงจำเป็นต้องใช้เสียงสนับสนุนจากมหาอำนาจ 5 ชาติ ได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร สหภาพสาธารณรัฐโซเวียต จีนและฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นไทยมีข้อพิพาทจากการได้ดินแดนคืนจากอินโดจีนตามอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489[2]

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พูดคุยกับทหารที่กำลังจะเข้าสู่การรบในกรณีพิพาทอินโดจีนเมื่อปี พ.ศ. 2484

ในการประชุมพิจารณาของคณะกรรมาธิการได้ประชุมกันมากถึง 14 ครั้ง ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ซึ่งไม่มีประเทศใดขัดข้อง เว้นแต่ฝรั่งเศสที่ได้แถลงในการประชุมคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ว่าฝรั่งเศสยังถือว่าฝรั่งเศสยังอยู่ในสถานะสงครามกับไทยอยู่ จนกว่าไทยจะคืนดินแดนตามอนุสัญญาสันติภาพกรุงโตเกียวให้กับอินโดจีนจึงไม่สนับสนุนไทย ส่วนผู้แทนสหภาพโซเวียตกล่าวว่าประเทศไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับโซเวียตรัสเซีย จึงยังไม่สามารถสนับสนุนได้[2]

ฝ่ายไทยได้ชี้แจงต่อสหภาพโซเวียตว่า ไทยและโซเวียตได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมานานแล้ว แต่การส่งทูตไปประจำถูกระงับเนื่องจากเหตุการณ์สงครามในยุโรป แต่ฝ่ายโซเวียตก็ยังติดใจในประเด็นที่รัฐบาลก่อน ๆ เคยเป็นปฏิบักษ์ต่อโซเวียตรัสเซีย ส่วนของฝรั่งเศส ไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เคยมีสถานะสงครามกับฝรั่งเศส เนื่องจากยังไม่เคยประกาศสงครามต่อกัน รวมถึงไทยก็ได้ช่วยเหลือฝรั่งเศสมาตลอดระยะเวลาสงครามโลกและหลังจากนั้น ส่วนปัญหาดินแดนกับอินโดจีน ได้มีการหาทางยุติอย่างสันติวิธี ดั่งที่ไทยได้ส่งคณะผู้แทนนำโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร เพื่อไปเจรจากับฝรั่งเศสที่กรุงวอชิงตัน และตอบรับข้อเสนอในการส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาของฝรั่งเศส และเหตุการณ์ความไม่สงบในอินโดจีนฝ่ายไทยก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกิดจากความไม่สงบภายในเอง พร้อมทั้งกวดขันให้เจ้าหน้าที่ชายแดนระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับฝ่ายฝรั่งเศส[2]

จากนั้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสได้ถอนข้อเสนอที่จะส่งเรื่องไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เนื่องจากอ้างว่าประเทศไทยมีส่วนในเหตุการณ์ความไม่สงบในเสียมราฐพร้อมระบุว่ามีหลักฐาน และให้ไทยมาตกลงเรื่องดินแดนกับฝรั่งเศสก่อน มิฉะนั้นจะคัดค้านการเข้าเป็นสมาชิกกับสหประชาชาติของไทย[2]

การลงนามในอนุสัญญาสันติภาพโตเกียว ที่ทำให้ไทยได้ดินแดนคืนและฝรั่งเศสไม่พอใจ

ด้วยเหตุนี้เองประเทศไทยจึงขอเลื่อนการพิจารณาออกไป จากรอบการพิจารณาคำขอการเข้าเป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับอีก 8 ประเทศที่เหลือที่ยื่นสมัครในรอบเดียวกัน โดยคณะมนตรีความมั่นคงใช้เวลาพิจารณา 2 วัน ปรากฎว่า พิจารณารับ อัฟกานิสถาน ไอซ์แลนด์ และสวีเดน ด้วยคะแนนเสียง 10 จาก 11 คะแนน ไอร์แลนด์ ได้คะแนนเสียง 9 คะแนน ค้านโดยสหภาพโซเวียต ทรานสจอร์แดนกับ​โปรตุเกส ได้คะแนนเสียง 8 คะแนน โปแลนด์และโซเวียตรุสเซียคัดค้าน อัลเบเนียและมองโกเลียได้คะแนนเสียงสนับสนุน 5 คะแนน และ 6 คะแนนตามลำดับ[2]

จนกระทั่งวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 การเจรจาระหว่างไทยและฝรั่งเศสประสบผลสำเร็จ โดยผู้แทนทั้งสองประเทศได้ลงนามในความตกลงระงับในกรณีอินโดจีน ฝรั่งเศสจึงเปลี่ยนจากท่าทีขัดขวางเป็นสนับสนุนไทยในการเข้าเป็นสมาชิกในสหประชาชาติ จึงเหลือแค่เพียงท่าทีของสหภาพโซเวียต ประเทศไทยจึงได้ยื่นขอให้คณะมนตรีความมั่นคงได้พิจารณาคำขอเข้าร่วมของไทยใหม่เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 และไทยได้มอบหมายให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้เสด็จไปยังนิวยอร์กเพื่อพูดคุยกับสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยเจรจาพูดคุยหลายวันจนกระทั่งฝ่ายสหภาพโซเวียตยอมถอนข้อขัดข้องในคณะมนตรีความมั่นคง และได้มีการประกาศรับรองประเทศไทยในฐานะของสมาชิกในสหประชาชาติในวันสุดท้ายของสมัยประชุม คือวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการลงนาม เนื่องจาก ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้นเดินทางไปลงนามที่สหรัฐไม่ทันเนื่องจากผลการรับรองออกมากระชั้นชิดมาก[2]

เข้าร่วมสหประชาชาติ

สมัยประชุมในปี พ.ศ. 2501 ผู้แทนถาวรของไทยนั่งอยู่ในแถวสุดท้ายติดกับผู้แทนของสวีเดน

ในที่สุด ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 55[1] ซึ่งก่อตั้งหลังการก่อตั้งสหประชาชาติได้เพียง 1 ปี โดย ดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในเวลานั้น ได้ให้เห็นผลในการเข้าร่วมของประเทศไทยไว้[3] ดังนี้

  1. เพื่อความมั่นคงของไทย เนื่องจากสหประชาชาติเป็นองค์การที่มีกำลังมากที่สุดที่สามารถธำรงสันติภาพและความมั่นคง และให้ความยุติธรรมกับประเทศเล็ก ๆ อย่างประเทศไทย
  2. เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่า ประเทศไทยเป็นชาติเก่าแก่ชาติหนึ่ง เนื่องจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การโลกเป็นการยืนยันและรับรองฐานะของไทยอีกครั้งหนึ่ง
  3. ประเทศไทยคาดหวังความช่วยเหลือจากสหประชาชาติในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
  4. เพื่อแสดงให้โลกได้เห็นว่า ไทยประสงค์ที่จะร่วมมือในการสร้างสันติภาพและความมั่งคงของโลกอย่างจริงจัง

ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับยูเนสโก เป็นสมาชิกลำดับที่ 48[4]

ประเทศไทยมีส่วนร่วมในภารกิจต่าง ๆ ของสหประชาชาติอย่างต่อเนื่องนับตังแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งในด้านของสันติภาพและการพัฒนาในด้านของสิทธิมนุษยชน[1] ปัจจุบันประเทศไทยทำงานร่วมกันกับสหประชาชาติผ่านคณะทำงานของสหประชาชาติที่เรียกว่า ทีมงานสหประชาชาติประจำประเทศ (UN Country Team) ซึ่งสำหรับประเทศไทยจะอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนกับสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework: UNPAF) ซึ่งยึดตามระดับรายได้ของประเทศที่ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และไทยมีกรอบความร่วมมือลักษณะนี้กับสหประชาชาติมาแล้วทั้งสิ้น 3 ฉบับ[1]

หน่วยงานสหประชาชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย

อาคารที่ทำการสหประชาชาติประจำประเทศไทย ถนนราชดำเนินนอก

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับสมญาว่า เจนีวาแห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศขนาดกลางที่มีความเป็นกลางในภูมิภาคเอเชีย จึงมีองค์การต่าง ๆ ของสหประชาชาติรวมไปถึงทบวงชำนัญพิเศษและองค์การระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ของสหประชาชาติเข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ จึงทำให้สะดวกในการประสานงานและจัดการประชุมขององค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงประเทศไทยมีการผลักดันกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองและเอกสิทธิ์ให้กับองค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่และเข้ามาร่วมประชุมในประเทศไทยอีกด้วย[1]

องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารที่ทำการของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในห้าคณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ อยู่ในบริเวณถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5] และมีหน่วยงานระดับภูมิภาคอื่น ๆ ตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ประกอบไปด้วย

อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก

สัทพจน์หน่วยงานระดับที่ตั้งสำนักงาน
UNองค์การสหประชาชาติสำนักงานประจำประเทศไทยอาคารสหประชาชาติ ชั้น 12
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5]
ESCAPคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิกสำนักงานใหญ่อาคารสหประชาชาติ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ILOองค์การแรงงานระหว่างประเทศสำนักงานประจำอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก[6]อาคารสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[5][7]
OHCHRสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาคารสหประชาชาติ ชั้น 6
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[8]
UNEPโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอาคารสหประชาชาติ ชั้น 2 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[9]
UN HABITATโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำประเทศไทย[10]อาคารสหประชาชาติ ชั้น 5 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[10]
UN WOMENองค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[11]อาคารสหประชาชาติ ชั้น 14
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[11]
UNAIDSโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอาคารสหประชาชาติ ชั้น 9 บล็อก เอ
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[12]
UNDPโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานศูนย์กลางภูมิภาคกรุงเทพฯ[13]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[14]
  • อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 3[13] ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  • อาคารสหประชาชาติ ชั้น 12[14] ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
UNFPAกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[15]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[16]
อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 4
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[15][16]
UNHCRสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำประเทศไทย[17] รับผิดชอบกัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม[18]
  • อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3 ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[11]
  • สำนักงานภาคสนามแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน[19]
  • สำนักงานภาคสนามแม่สอด จังหวัดตาก[19]
UNDRRสำนักงานว่าด้วยกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[20]อาคารสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ชั้น 7
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[21]
UNODCสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[22]อาคารสหประชาชาติ ชั้น 3
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[22]
UNVโครงการอาสาสมัครของสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[23]อาคารบริการสหประชาชาติ ชั้น 1
ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[23]

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

สำนักงานของหน่วยงานในสังกัดของสหประชาชาติในพื้นที่อื่นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบไปด้วย

สัทพจน์หน่วยงานระดับที่ตั้งสำนักงาน
FAOองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเลขที่ 39 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย[5]
IOMองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[24]อาคารรัจนาการ ชั้น 18 เลขที่ 3 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพมหานคร[5][24]
ITCองค์การศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศผู้แทนประจำประเทศไทย[25]เลขที่ 54-56 ถนนมงบริยองต์ 1202 เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์[5][a]
ITUสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[26]สำนักงาน กสทช. ภาค 1 เลขที่ 111 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
UNESCOยูเนสโก
  • สำนักงานเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[27]
  • สำนักงานผู้แทนกลุ่มประเทศไทย เมียนมา ลาว สิงคโปร์ กัมพูชา และเวียดนาม[27]
อาคาร 100 ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
เลขที่ 920 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร[5]
UNICEFกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก[28]เลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร[5]
UNIDOองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติสำนักงานภาคสนามประจำประเทศไทย ดูแลครอบคลุมประเทศอิหร่าน กัมพูชา ลาว เมียนมา มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน และเวียดนาม[29]อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 5
เลขที่ 57 ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำภู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
UNOPSสำนักงานบริการโครงการแห่งสหประชาชาติ
  • สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชีย[30]
  • สำนักงานประจำประเทศไทย[31]
WHOองค์การอนามัยโลกสำนักงานประจำประเทศไทยเลขที่ 88/20 สำนักงานปลัดกระทรวงฯ
อาคาร 3 ชั้น 4 กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ นนทบุรี
หมายเหตุ

กิจกรรม

กองบัญชาการสหประชาชาติ

ทหารไทยเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี

ประเทศไทยได้เข้าร่วมการรบในสงครามเกาหลีในนามของกองบัญชาการสหประชาชาติในช่วงปี พ.ศ. 2493–2496 ตามคำเชิญของสหประชาชาติ ในช่วงของนายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม โดยส่งกำลังรบทั้งจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ซึ่งการสนับสนุนการรบของไทยเป็นตัวแปรสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผลของหลายสมรภูมิ เช่น เนินพอร์กช็อป[32] และถอนกำลังผลัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ตามความเห็นของสภากลาโหมไทย และทางการสหรัฐไม่ขัดข้อง โดยมีการจัดพิธีอำลาในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ สนามไนท์ (Knight Field) ในกรุงโซล โดยมีโดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองบัญชาการสหประชาชาติ และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้เป็นประธาน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน เช่น นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ผู้แทนประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ผู้แทนชาติพันธมิตรต่าง ๆ พร้อมกับมีการสวนสนาม การยิงสลุต และในวันเดินทางกลับได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้ ผู้แทนรัฐบาลเกาหลีใต้ ผู้แทนกองบัญชาการสหประชาชาติ พร้อมกับประชาชนชาวเกาหลีใต้ร่วมเดินทางมาส่งที่สนามบินคิมโป[33]

ประเทศไทยได้ปฏิบัติการในเกาหลีใต้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 จนถึง 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ระยะเวลารวม 16 ปี 7 เดือน 15 วัน[33] ซึ่งไทยส่งกำลังพลเข้าร่วมจำนวน 23 ผลัด จำนวน 11,776[34] - 11,786[35] นาย มีผู้เสียชีวิต 125 นาย บาดเจ็บ 318 นาย ป่วย 503 นาย และสูญหาย 5 นาย[34]

สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ

ทหารไทยประจำกองร้อยทหารเกียรติยศ (เครื่องแบบสีแดง) กองบัญชาการสหประชาชาติ

หลังจากการพักรบของสงครามเกาหลีในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ประเทศไทยได้จัดตั้ง สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ[36] ขึ้นมา โดยครั้งแรกตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว (หน.นตต.บก.สหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว) เป็นผู้บังคับบัญชา

จากนั้นในปี พ.ศ. 2500 กองบัญชาการสหประชาชาติได้ย้ายไปตั้ง ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ และได้ให้ไทยส่งทหารมาปฏิบัติงานในตำแหน่งนายทหารติดต่อที่กรุงโซลอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2504 จากนั้นในปี พ.ศ. 2507 กระทรวงกลาโหมได้มีการปรับอัตราและจัดตั้งตำแหน่งใหม่ โดยให้ผู้ช่วยทูตทหารฝ่ายกองทัพบก ทำหน้าที่เป็นหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล (หน.นตต.บก.สหประชาชาติ ณ กรุงโซล) และให้นายทหารติดต่อสื่อสารอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาอยู่ภายใต้บังคับบัญชา และได้ยุบตำแหน่งหัวหน้านายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียวเมื่อปี พ.ศ. 2514 คงเหลือเพียงตำแหน่งที่กรุงโซล พร้อมทั้งมอบหมายให้ผู้ช่วยทูตทหารไทยประจำโตเกียวทำหน้าที่นายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติ (ส่วนหลัง) และแก้ไขอัตราอีกครั้งในปี พ.ศ. 2551 โดยให้ผู้ช่วยทูตทหารฝ่ายกองทัพอากาศทำหน้าที่เป็นนายทหารติดต่อกองบัญชาการสหประชาชาติอีกตำแหน่งหนึ่ง

กองร้อยทหารเกียรติยศ

ทหารไทยในการรักษาสันติภาพที่ติมอร์-เลสเต

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมู่เกียรติยศสบทบ กองรร้อยทหารเกียรติยศ ประจำกองบัญชาการสหประชาชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 จนถึงปัจจุบัน โดยสมาชิกในกองร้อยทหารเกียรติยศเดิมประกอบด้วยกำลังจากทั้ง 16 ชาติที่เข้าร่วมรบสงครามเกาหลี ต่อมาเมื่อมีการถอนกำลังออกไปในปี พ.ศ. 2503 จึงเหลือกำลังอยู่เพียง 5 ชาติ คือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ไทย และตุรกี โดยตรุกีได้ถอนกำลังออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2513 และประเทศฟิลิปปินส์ได้จัดกำลังเข้ามาแทนที่ และสหราชอาณาจักรได้ถอนกำลังออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อไปประจำการในฮ่องกง กองพลทหารราบที่ 2 ของสหรัฐจึงจัดกำลังเข้าทดแทน[33]

ปัจจุบันกองร้อยทหารเกียรติยศ กองบัญชาการสหประชาชาติประกอบไปด้วยกำลังพลจาก สหรัฐ เกาหลีใต้ ไทย และฟิลิปปินส์[37] โดยประเทศไทยจัดทหาร 1 หมู่เกียรติยศ จำนวน 6 นาย ประจำการอยู่ที่สำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ[38]

การรักษาสันติภาพ

กองร้อยหทารช่างไทยในซูดานใต้ (UNMISS)

ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมกับสหประชาชาติในส่วนของการรักษาสันติภาพมาโดยตลอดทั้งในภูมิภาคและต่างภูมิภาค โดยได้มีการจัดตั้ง กองปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2543 มีหน้าที่หลักในการจัดส่งกำลังพลเข้าร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพและปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมภายนอกประเทศ และทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการส่วนหลังสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยที่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในต่างประเทศ จากนั้นด้วยสถานการณ์โลกที่มีความขัดแย้งเกิดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความต้องการกองกำลังรักษาสันติภาพมีเพิ่มมากขึ้น จึงมีการปรับโครงสร้างหน่วยงาน ยกขึ้นเป็น ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 อยู่ภายใต้สังกัดกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย[39]

สำหรับปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติที่ประเทศไทยเข้าร่วม มีทั้งการส่งเจ้าหน้าที่พลเรือน เจ้าหน้าที่หทารและตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติการ ประกอบไปด้วย

ปี (คณะผู้แทน)ประเทศความขัดแย้ง/กิจกรรมคณะผู้แทนบุคลากรที่เข้าร่วมหมายเหตุ
2501  เลบานอนวิกฤตเลบานอน พ.ศ. 2501คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติในเลบานอน (UNOGIL)นายทหารมิถุนายน - ธันวาคม 2501[40]
2532–2533  นามิเบียสงครามประกาศอิสรภาพนามิเบียคณะช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติ (UNTAG)เจ้าหน้าที่ตำรวจสังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2533[40]
2534–2546  อิรักสงครามอ่าวคณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติประจำชายแดนอิรัก–คูเวต (UNIKOM)นายทหาร 91 นายนายทหาร ปีละ 7 นาย[40]
 คูเวต
2534–2546  อิรักสงครามอ่าวกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งสหประชาชาติในอิรัก (UNGCI)นายทหาร 100 นายนายทหาร 2 ผลัด ผลัดละ 50 นาย[40] คุ้มกัน จนท. ในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตามมติ  สหประชาชาติ ที่ 706/1991 และ 712/1991
2534–2535  กัมพูชาความขัดแย้งในกัมพูชาคณะผู้แทนล่วงหน้าของสหประชาชาติในกัมพูชา (UNAMIC)กองพันทหารช่างเฉพาะกิจ 705 นาย[40]
2535–2536  กัมพูชาความขัดแย้งในกัมพูชาองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาชาติในกัมพูชา (UNTAC)เจ้าหน้าที่พลเรือนสังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2533[40]
2535–2537  แอฟริกาใต้การเลือกตั้งในแอฟริกาใต้ พ.ศ. 2537คณะผู้แทนสังเกตการณ์ของสหประชาชาติในแอฟริกาใต้ (UNOMSA)เจ้าหน้าที่ตำรวจสังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2537[40]
2538–2545  บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาสงครามบอสเนียคณะผู้แทนสหประชาชาติในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (UNMIBH)เจ้าหน้าที่ตำรวจ 30 นายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปีละ 5 นาย[40]
2542–2548  เซียร์ราลีโอนสงครามกลางเมืองเซียร์ราลีโอนคณะผู้แทนสหประชาชาติในเซียร์ราลีโอน (UNAMSIL)นายทหาร ประมาณ 30 นายนายทหาร 6 ผลัด ผลัดละ 3-5 นาย[40]
2544  ฟีจีการเลือกตั้งในฟีจี พ.ศ. 2554คณะผู้แทนสังเกตการณ์เลือกตั้งในฟีจี (UNFEOM)เจ้าหน้าที่พลเรือนสังเกตการณ์เลือกตั้งในปี 2544[40]
2542  ติมอร์-เลสเตการรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซียคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET)เจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 นาย นายทหารสื่อสาร 2 นาย[40]
 อินโดนีเซีย
2542−2543  ติมอร์-เลสเตการรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซียกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (INTERFET)นายทหาร 1,581 นาย[40]ไม่ใช่ของสหประชาชาติ จัดตั้งและนำโดย  ออสเตรเลียตามมติของ  สหประชาชาติ
2542−2545  ติมอร์-เลสเตการรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซียองค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNTAET)นายทหาร 925 นายช่วงปี 2543-2545[40]
 อินโดนีเซีย
2545–2548  ติมอร์-เลสเตการรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซียคณะผู้แทนสนับสนุนติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติ (UNMISET)นายทหาร 9 ผลัด ช่วงปี 2545-2547[40]
2549–2012  ติมอร์-เลสเตวิกฤตติมอร์ตะวันออก พ.ศ. 2549คณะผู้แทนบูรณาการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNMIT)เจ้าหน้าที่ตำรวจ 40 นาย[40]
2547–2549  บุรุนดีสงครามกลางเมืองบุรุนดีปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB)นายทหาร 9 นาย กองร้อยทหารช่างรวม 525 นาย[41]นายตำรวจ ปีละ 3 นาย กองร้อยทหารช่างผลัดละ 177 นาย[40]
2550–2553  เนปาลคณะผู้แทนสหประชาชาติในเนปาล (UNMIN)นายทหาร 7 นาย[40]คณะผู้แทนพิเศษทางการเมือง ช่วงปี 2550-2551
2548–2554  ซูดานสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สองคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS)นายทหารนายทหารสังเกตการณ์ ผลัดละ 10-15 นาย[40]
2546–2561  ไลบีเรียสงครามกลางเมืองไลบีเรียครั้งที่สองคณะผู้แทนสหประชาชาติในไลบีเรีย (UNMIL)
2547–2560  เฮติรัฐประหารในประเทศเฮติ พ.ศ. 2547คณะผู้แทนสร้างเสถียรภาพของสหประชาชาติในเฮติ (MINUSTAH)เจ้าหน้าที่ตำรวจ 19 นาย[40]
2550–2563  ดาร์ฟูร์สงครามดาร์ฟูร์ปฏิบัติการผสมระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (UNAMID)นายทหาร และทหารราบ 1 กองพัน (812 นาย)นายทหาร ผลัดละ 15 นาย[40] และกองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟู
2492–ปัจจุบัน  อินเดียกรณีพิพาทกัศมีร์คณะผู้แทนสังเกตการณ์ทางทหารของสหประชาชาติในอินเดียและปากีสถาน (UNMOGIP)นายทหารมีการส่งกำลังพลสลับเปลี่ยนกันไปประจำการทุกปี ผลัดละประมาณ 5 นาย
 ปากีสถาน
2554–ปัจจุบัน  ซูดานใต้สงครามกลางเมืองซูดานใต้คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS)ทหารช่าง 1,092 นายกองร้อยทหารช่าง ผลัดละ 273 นาย[42][43] ปัจจุบันคือผลัดที่ 4[44]

บทบาทของคนไทยในสหประชาชาติ

บทบาทของคนไทยที่ได้เข้าร่วมในตำแหน่งต่าง ๆ ที่สำคัญของสหประชาชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบไปด้วย[1]

ชื่อ-สกุลปี (พ.ศ.)บทบาท
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์2499ประธานสมัชชาสหประชาชาติ สมัยประชุมที่ 11
2501ประธานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (UNCLOS) ครั้งที่ 1
ถนัด คอมันตร์2500ประธานคณะกรรมการภาวะทรัสตีแห่งสหประชาชาติ
สิทธิ เศวตศิลา2528ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ร่วมกันระหว่างสิทธิ เศวตศิลากับหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
2529ประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ วาระเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2529
อานันท์ ปันยารชุน2546ประธานคณะผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงด้านภัยคุกคาม ความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง (High Level Panel on Threats, Challenges and Change) วาระปี พ.ศ. 2546
ศุภชัย พานิชภักดิ์2548–2552เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) วาระปี พ.ศ. 2548–2552
2553–2557เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) วาระปี พ.ศ. 2553–2557
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา2554–2555ประธานคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 21 (CCPCJ)  ธันวาคม พ.ศ. 2554 - ธันวาคม พ.ศ. 2555
สรรพสิทธิ์ คุ้มประพันธ์2552–2555สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (CRC) วาระปี พ.ศ. 2552–2555
สำลี เปลี่ยนบางช้าง2547–2552ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO/SEARO) วาระปี พ.ศ. 2547–2552
2552–2557ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO/SEARO) วาระปี พ.ศ. 2552–2557
วิทิต มันตาภรณ์2547–2553ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in the Democratic People's Republic of Korea) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2547–2553
2548–2550ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านกระบวนการพิเศษแห่งสหประชาชาติ (Chairperson of the Coordinating Committee of the United Nations Special Procedures) ของสหประชาชาติ ปี พ.ศ. 2548–2550
2554ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Chair of the International Commission of Inquiry on the Ivory Coast) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2554
2554–2558กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์ (Member of the Advisory Board on Human Security) ของกองทุนเพื่อความมั่นคงแห่งมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (United Nations Trust Fund for Human Security) พ.ศ. 2554–2558
2555–2559กรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเทศซีเรีย (Commissioner on the Independent International Commission of Inquiry on Syria) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2555–2559
2564ผู้เสนอรายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศกัมพูชา (United Nations Special Rapporteur on the Situation of Human Rights in Cambodia) เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564
สีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว2554–2555ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council - HRC) วาระปี พ.ศ. 2554–2555
โสมสุดา ลียะวนิช2552–2556สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก (WHC) วาระปี พ.ศ. 2552–2556
วิโรจน์ สุ่มใหญ่2553–2558สมาชิกคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) วาระปี พ.ศ. 2553–2558
2558–2563ประธานและสมาชิกคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (INCB) วาระปี พ.ศ. 2558–2563
เกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี2556–2559สมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ILC) วาระปี พ.ศ. 2556–2559
2560–2568ผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (ITLOS) วาระปี พ.ศ. 2560–2568
วิลาวรรณ มังคละธนะกุล2566–2570สมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ (ILC) วาระปี พ.ศ. 2566–2570
มณเฑียร บุญตัน2556–2559สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2556–2559
2560–2563สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2560–2563
เสาวลักษณ์ ทองก๊วย2564–2567สมาชิกคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิคนพิการ (CRPD) วาระปี พ.ศ. 2564–2567

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง