พรรคไทยรักไทย

อดีตพรรคการเมืองไทย

พรรคไทยรักไทย (ย่อ: ทรท. อังกฤษ: Thai Rak Thai Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2541 ในช่วงเวลาสั้น ๆ พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปสามครั้ง 8 เดือนหลังการรัฐประหารทำให้ทักษิณต้องลี้ภัย พรรคถูกยุบเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเนื่องจากละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง โดยกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน ถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองเป็นเวลา 5 ปี[12] หลังจากพรรคไทยรักไทยถูกยุบ ทักษิณ ชินวัตร ได้มีบทบาทในการก่อตั้งพรรคพลังประชาชน และต่อมาพรรคพลังประชาชนถูกยุบอีก พรรคเพื่อไทยจึงมีบทบาททางการเมืองแทนพรรคไทยรักไทย

พรรคไทยรักไทย
ผู้ก่อตั้งทักษิณ ชินวัตร
หัวหน้าจาตุรนต์ ฉายแสง
(รักษาการ)
รองหัวหน้า
เลขาธิการวิเชษฐ์ เกษมทองศรี
(รักษาการ)
โฆษกศิธา ทิวารี
นโยบายคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน
(พ.ศ. 2544)
ไทยรักไทย หัวใจคือประชาชน
(พ.ศ. 2548)
ก่อตั้ง14 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
ถูกยุบ30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
(8 ปี 320 วัน)
รวมตัวกับ(หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544)
พรรคความหวังใหม่ (สมาชิกส่วนใหญ่)
พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
พรรคเสรีธรรม (พ.ศ. 2535)
แยกจากพรรคพลังธรรม
ถัดไปพรรคพลังประชาชน (สมาชิกส่วนใหญ่)
พรรคมัชฌิมาธิปไตย (กลุ่มมัชฌิมา)
พรรคเพื่อแผ่นดิน
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
พรรคเพื่อไทย (บ้านเลขที่ 111)
ที่ทำการเลขที่ 1770 (อาคารไอเอฟซีที)
ถนนเพชรบุรี แขวงบางกะปิ
เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
อุดมการณ์ชาตินิยมใหม่[1]
ลัทธิอิงสามัญชน[2][3]
ปฏิรูปนิยม[4][5]
เสรีนิยมใหม่[6][7][8]
จุดยืนขวากลาง[9][10][11]
สี  สีน้ำเงิน
  สีแดง
เพลงบทเพลงแห่งนโยบาย (พ.ศ. 2547)
เว็บไซต์
www.thairakthai.or.th
(ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

รายชื่อนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

พรรคไทยรักไทยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดย ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจโทรคมนาคม พร้อมผู้ร่วมก่อตั้ง

พรรคไทยรักไทยใช้วิธีดึงตัวนักการเมืองหน้าเก่าจากพรรคต่างๆ เข้าร่วม จนทำให้พรรคไทยรักไทยกลายสภาพเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในเวลาเพียงครึ่งปี โดยมี สส. เก่าอยู่แล้วประมาณ 130 คน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มการเมืองได้ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มพลังธรรม – พลังไทย, กลุ่มวังน้ำเย็น, กลุ่มพรรคความหวังใหม่, กลุ่มพรรคชาติพัฒนา, กลุ่มพรรคชาติไทย, กลุ่มพรรคกิจสังคม, และกลุ่มพรรคประชาธิปัตย์ เป็นต้น[13]

พรรคไทยรักไทยมีนโยบายประชานิยม ดึงดูดเกษตรกรที่เป็นหนี้ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยสัญญาว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง พรรคยังเข้าถึงหมู่บ้านในชนบทและธุรกิจที่กำลังดิ้นรน นโยบายของพรรคไทยรักไทย ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ขยายเวลาการพักชำระหนี้สำหรับเกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการประกาศสงครามกับสิ่งชั่วร้าย 3 ประการ ได้แก่ สงครามความยากจน สงครามยาเสพติดและสงครามคอร์รัปชั่น

อย่างไรก็ตาม เขาละเลยพื้นที่ชนบทบางแห่งและจังหวัดทางภาคใต้ เนื่องจากทักษิณระบุว่าเขาไม่มีเหตุผลที่จะต้องทำอะไรให้กับพื้นที่ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้เขา

ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย


บุคลากรในพรรค

หัวหน้าพรรค

ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1 ทักษิณ ชินวัตร
(26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 — ปัจจุบัน)
14 กรกฎาคม พ.ศ. 25412 ตุลาคม พ.ศ. 2549
จาตุรนต์ ฉายแสง
(รักษาการ)
(1 มกราคม พ.ศ. 2499 — ปัจจุบัน)
2 ตุลาคม พ.ศ. 254930 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เลขาธิการพรรค

ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1 ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์14 กรกฎาคม พ.ศ. 254127 มกราคม พ.ศ. 2545
2 สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ27 มกราคม พ.ศ. 25452 ตุลาคม พ.ศ. 2549
วิเชษฐ์ เกษมทองศรี
(รักษาการ)
2 ตุลาคม พ.ศ. 254930 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

กรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ขอจดทะเบียนพรรคการเมือง

อันดับชื่อตำแหน่ง[14]
1ทักษิณ ชินวัตรหัวหน้าพรรค
2คณิต ณ นครรองหัวหน้าพรรค
3ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์เลขาธิการพรรค
4พันธุ์เลิศ ใบหยกรองเลขาธิการพรรค
5สิริกร มณีรินทร์เหรัญญิกพรรค
6กันตธีร์ ศุภมงคลโฆษกพรรค
7สารสิน วีระผลกรรมการบริหารพรรค
8สุวรรณ วลัยเสถียรกรรมการบริหารพรรค
9ปภัสรา ตรังคิณีนาถกรรมการบริหารพรรค


ชุดเดิม 119 คน

ชุดก่อนการยุบพรรค

อันดับชื่อตำแหน่ง
1จาตุรนต์ ฉายแสงรักษาการหัวหน้าพรรค
2คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์รองหัวหน้าพรรค
3ไชยยศ สะสมทรัพย์รองหัวหน้าพรรค
4พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยารองหัวหน้าพรรค
5เนวิน ชิดชอบรองหัวหน้าพรรค
6ประชา มาลีนนท์รองหัวหน้าพรรค
7พงศ์เทพ เทพกาญจนารองหัวหน้าพรรค
8โภคิน พลกุลรองหัวหน้าพรรค
9เยาวภา วงศ์สวัสดิ์รองหัวหน้าพรรค
10วันมูหะมัดนอร์ มะทารองหัวหน้าพรรค
11วิเชษฐ์ เกษมทองศรีรักษาการเลขาธิการพรรค
12นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดชรองเลขาธิการพรรค
13ชานนท์ สุวสินรองเลขาธิการพรรค
14พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลรองเลขาธิการพรรค
15นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารีโฆษกพรรค
16กันตธีร์ ศุภมงคลกรรมการบริหารพรรค
17จำลอง ครุฑขุนทดกรรมการบริหารพรรค
18ประจวบ ไชยสาส์นกรรมการบริหารพรรค
19พวงเพ็ชร ชุนละเอียดกรรมการบริหารพรรค
20ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์กรรมการบริหารพรรค
21วิชิต ปลั่งศรีสกุลกรรมการบริหารพรรค
22สุชัย เจริญรัตนกุลกรรมการบริหารพรรค
23เสริมศักดิ์ พงษ์พานิชกรรมการบริหารพรรค
24อดิศร เพียงเกษกรรมการบริหารพรรค
25อดิศัย โพธารามิกกรรมการบริหารพรรค
26อนุทิน ชาญวีรกูลกรรมการบริหารพรรค
27เอกพร รักความสุขกรรมการบริหารพรรค
28เกรียง กัลป์ตินันท์กรรมการบริหารพรรค
29ประชาธิปไตย คำสิงห์นอกกรรมการบริหารพรรค
30ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวีกรรมการบริหารพรรค
31วิชัย ชัยจิตวณิชกุลกรรมการบริหารพรรค
32ศักดิ์สยาม ชิดชอบกรรมการบริหารพรรค
33อรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค
34ชาญชัย ปทุมารักษ์กรรมการบริหารพรรค
35พงษ์ศักดิ์ วรปัญญากรรมการบริหารพรรค
36พิมพา จันทร์ประสงค์กรรมการบริหารพรรค
37ลิขิต หมู่ดีกรรมการบริหารพรรค
38ว่าที่ร้อยโท นายแพทย์ วัลลภ ยังตรงกรรมการบริหารพรรค
39พรชัย เตชะไพบูลย์กรรมการบริหารพรรค
40อุดม ไกรวัตนุสสรณ์กรรมการบริหารพรรค
41ทศพล สังขทรัพย์กรรมการบริหารพรรค
42ปกรณ์ บูรณุปกรณ์กรรมการบริหารพรรค
43ไพโรจน์ โล่ห์สุนทรกรรมการบริหารพรรค
44มยุรา มนะสิการกรรมการบริหารพรรค
45วิสาร เตชะธีราวัฒน์กรรมการบริหารพรรค
46วีระกร คำประกอบกรรมการบริหารพรรค
47กฤษ ศรีฟ้ากรรมการบริหารพรรค
48วีระ มุสิกพงศ์กรรมการบริหารพรรค
49สุธรรม แสงประทุมกรรมการบริหารพรรค
50สุรเชษฐ์ ดวงสอดศรีกรรมการบริหารพรรค
51หม่อมราชวงศ์ดำรงดิศ ดิศกุลกรรมการบริหารพรรค
52ศันสนีย์ นาคพงศ์กรรมการบริหารพรรค

กลุ่มย่อยในพรรค

บทบาททางการเมือง

พรรคไทยรักไทยมีบทบาททางการเมืองครั้งแรก เริ่มจากการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ 8 ภายหลังที่ วิชาญ มีนชัยนันท์, วิไล สมพันธุ์, และ ณัฏฐพล กรรณสูต ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด (วิรัตน์ มีนชัยนันท์, พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ, และ ศิริพงษ์ ลิมปิชัย)[17]

ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 พรรคไทยรักไทยได้ส่ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[18] โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมทั้งสิ้น 521,184 คะแนน ซึ่งเป็นลำดับที่สอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า (1,016,096 คะแนน)

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พรรคไทยรักไทยชนะเหนือพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำโดยชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นอย่างถล่มทลาย ส.ส.ที่ได้รับการเลือกตั้งทั้งสิ้น 248 คน คิดเป็นร้อยละ 49.6 หลังรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทักษิณประกาศคำมั่นสัญญาไว้ว่า “ผมจะไม่ยอมทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำตามกฎหมายเท่านั้น ผมจะขอเป็นผู้นำที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศไทย เพื่อประเทศไทยที่ดีขึ้น พี่น้องที่เคารพครับ ผมจะขอทำหน้าที่เป็นรัฐบาลที่ไม่รู้จักคำว่าเหน็ดเหนื่อย เป็นรัฐบาลที่จะทุ่มเททำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต”[19]

โดยความสำเร็จของการชนะเลือกตั้งในครั้งนั้น สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ได้อธิบายไว้ว่า เกิดจากมีปัจจัย 3 ประการที่ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ กล่าวคือ[20]

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สร้างระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คนขึ้นมา เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบพรรคเป็นครั้งแรก และยังแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตเดียวเบอร์เดียว เขตที่เล็กลง ทำให้ผู้สมัคร สส. หาเสียงแบบเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึงมากขึ้น ทุกพรรคการเมืองใช้เพียงเบอร์เดียวในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั้งประเทศ ทำให้ง่ายต่อการจดจำของประชาชนผู้มาเลือกตั้ง และการเกิดขึ้นของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้
  2. พรรคไทยรักไทยใช้การบริหารจัดการองค์กรสมัยใหม่ในการวางแผนเลือกตั้ง และส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่อายุ 30-40 ปีเข้ามาทำงานการเมือง โดยมีชื่อเล่นว่า “นกแล” ซึ่งเดินหาเสียงอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
  3. สส.ที่พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งมาจำนวน 248 คน พบว่า เป็น สส.เก่าจาก การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 เพียง 93 คนเท่านั้น ที่เหลืออีก 155 คน บางคนเป็นอดีต สส.ที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในปีนั้น แต่ส่วนใหญ่คือ “นกแล” ที่มีพลังสร้างสรรค์

ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคไทยรักไทยสามารถเจรจารวม พรรคความหวังใหม่ ของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ, ตามด้วย พรรคเสรีธรรม, และ พรรคชาติพัฒนา เข้ากับพรรคไทยรักไทย และเป็นพันธมิตรกับ พรรคชาติไทย[21]

ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2547 พรรคไทยรักไทยได้ส่ง ปวีณา หงสกุล ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทยก็ยังคงครองตำแหน่งพรรคอันดับหนึ่ง และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยที่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ด้วยคะแนนเสียงมากถึง 377 เสียง

การเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงผลการเลือกตั้งสถานภาพพรรคผู้นำเลือกตั้ง
2544
248 / 500
11,634,49549.6% 248 ที่นั่งแกนนำจัดตั้งรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
2548
377 / 500
18,993,07361.17% 122 ที่นั่ง
2549
460 / 500
16,420,75556.45% 83 ที่นั่งการเลือกตั้งเป็นโมฆะ

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งผู้สมัครคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงผลการเลือกตั้ง
2543สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์521,18423.52% พ่ายแพ้
2547ปวีณา หงสกุล619,03925.95% พ่ายแพ้

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

การเลือกตั้งจำนวนที่นั่งคะแนนเสียงทั้งหมดสัดส่วนคะแนนเสียงที่นั่งเปลี่ยนหมายเหตุ
2541[22]
3 / 60
3 ที่นั่งได้ที่นั่งจากการเลือกตั้งซ่อม 3 เขต
2545[23]
23 / 61
20 ที่นั่ง
2549[24]
19 / 57
4 ที่นั่งหลังถูกยุบพรรค ได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยตามลำดับ


ยุบพรรค

ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคไทยรักไทย ได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อถึง 18,993,073 เสียง แต่ถูกกล่าวหาว่าจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงเลือกตั้ง โดยอ้างว่าพรรคต้องการหลีกเลี่ยงกฎร้อยละ 20 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงตั้งอนุกรรมการมาสอบ ซึ่งผลปรากฏว่ามีมูลทำให้พรรคไทยรักไทยอาจถูกยุบพรรคได้ และกำลังอยู่ในระหว่างการส่งศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ไม่นาน ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ตัดสินใจลาออกจากหัวหน้าพรรค โดยส่งจดหมายซึ่งเขียนด้วยลายมือ โดยได้ชี้แจงสาเหตุถึงการลาออก และขอบคุณสมาชิกพรรคและผู้ให้การสนับสนุน[25]

หลังจากที่หัวหน้าพรรคลาออกไม่นาน ความเคลื่อนไหวของสมาชิกพรรค โดยเฉพาะผู้บริหารพรรค ต่างก็ตัดสินใจลาออกจากกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคทันที มีการฟ้องร้องยุบพรรคไทยรักไทย มีการตรวจสอบเรื่องการทุจริต ซึ่งอาจมีผลทำให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย พร้อมเพิกถอนสิทธิการเมืองกรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน เป็นจำนวน 5 ปี เหตุที่เพิกถอนสิทธิเพียง 111 คนใน 119 คน เนื่องจากใน 8 คนที่เหลือมีการลาออกหรือสิ้นสภาพกรรมการฯ ก่อนการกระทำผิด ได้แก่ เปรมศักดิ์ เพียยุระ, นายเสนาะ เทียนทอง, นายฐานิสร์ เทียนทอง, นายลิขิต ธีรเวคิน, นายสฤต สันติเมทนีดล, นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์, นายกร ทัพพะรังสี และนางกอบกุล นพอมรบดี อดีต ส.ส.ราชบุรี ที่ถูกยิงเสียชีวิต[26][27]

ภายหลังการยุบพรรค สมาชิกพรรคที่เหลือรวมตัวกันเป็นกลุ่มไทยรักไทย โดยมีแกนนำอย่าง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี[28] และ ปองพล อดิเรกสาร[29] เป็นต้น

28 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่ประชุมกลุ่มไทยรักไทย มีมติให้สมาชิกย้ายไปสังกัดอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก เนื่องจากเกรงว่ารัฐบาลจะหยิบยก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับกลุ่มไทยรักไทยให้ไม่สามารถส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งได้ จากข้อกำหนดที่ให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรคการเมืองครบ 90 วัน[30]

การแยกไปตั้งพรรค

พรรคไทยรักไทยเคยมีสมาชิกพรรคที่ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หรือย้ายไปเป็นกรรมการบริหารพรรค ทั้งช่วงก่อนการยุบพรรคและหลังการยุบพรรค[31] โดยมีดังนี้

พรรคที่จัดตั้งก่อนการยุบพรรค

พรรคที่จัดตั้งหลังการยุบพรรค

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′51″N 100°34′06″E / 13.747504°N 100.568268°E / 13.747504; 100.568268

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง