พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี

14h 29m 42.9487s, −62° 40′ 46.141″

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี (อังกฤษ: Proxima Centauri b) หรือเรียก พร็อกซิมา บี (อังกฤษ: Proxima b[7][8]) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบในเขตอาศัยได้ โคจรรอบดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า และถือเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด[9][10] โดยห่างจากโลกราว 4.2 ปีแสง (1.3 พาร์เซก หรือ 40 ล้านล้านกิโลเมตร) ทำให้ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้เป็นดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพต่อการอยู่อาศัยได้ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดเท่าที่รู้จัก

พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี
ดาวเคราะห์นอกระบบรายชื่อ

ภาพพื้นผิวของดาวเคราะห์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ในจินตนาการ ซึ่งอาจสังเกตเห็นระบบดาวคู่อัลฟาคนครึ่งม้าทางขวามือบนของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าด้วย
ดาวฤกษ์แม่
ดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า
กลุ่มดาวคนครึ่งม้า
ไรต์แอสเซนชัน(α)14h 29m 42.94853s
เดคลิเนชัน(δ)−62° 40′ 46.1631″
ความส่องสว่างปรากฏ(mV)11.13
ระยะห่าง4.224 ly
(1.295[1] pc)
ชนิดสเปกตรัมM6Ve[2]
มวล(m)0.123 (± 0.006)[3] M
รัศมี(r)0.141 (± 0.007)[4] R
อุณหภูมิ(T)3042 (± 117)[3] K
ความเป็นโลหะ[Fe/H]0.21[5]
อายุ4.85[5] พันล้านปี
ลักษณะทางกายภาพ
มวลอย่างต่ำ(m sin i)1.27+0.19
−0.17
[1] M
รัศมี(r)≥1.1 (± 0.3)[6] R
ฟลักซ์การแผ่รังสีของดาว(F)0.65[1]
อุณหภูมิ(T)234 K
องค์ประกอบวงโคจร
กึ่งแกนเอก(a)0.0485+0.0041
−0.0051
[1] AU
ความเยื้องศูนย์กลาง(e)<0.35[1]
คาบการโคจร(P)11.186+0.001
−0.002
[1] d
มุมของจุดใกล้ที่สุด(ω)310 (± 50)[1]°
ครึ่งแอมพลิจูด(K)1.38 (± 0.21)[1] m/s
ข้อมูลการค้นพบ
ค้นพบเมื่อ24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ค้นพบโดย
วิธีตรวจจับดอปเพลอร์สเปกโทรสโกปี
สถานที่ที่ค้นพบหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป
สถานะการค้นพบยืนยันการค้นพบ
ชื่ออื่น
Alpha Centauri Cb, Proxima b, GL 551 b, HIP 70890 b
อ้างอิงกับฐานข้อมูลอื่น
สารานุกรม
ดาวเคราะห์นอกระบบ
ข้อมูล
ซิมแบดข้อมูล

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ค้นพบโดยคณะนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป ประกาศการค้นพบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559[1][11][12][9][13] หลังการค้นพบไม่นานนักวิจัยของสถาบันที่วิเคราะห์ศักยภาพในการอยู่อาศัยได้เสนอว่าดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเป็นสถานที่ที่มีสภาพเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ใกล้เรามากที่สุด ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการสำรวจดาวเคราะห์โดยใช้หุ่นยนต์ตามโครงการสตาร์ช็อต (Starshot)[9][10] หรืออย่างน้อยที่สุดภายในศตวรรษหน้า[10]

ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบโดยใช้วิธีวัดความเร็วแนวเล็ง เมื่อพบว่าเกิดการเคลื่อนดอปเพลอร์ของเส้นสเปกตรัมของดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าเป็นช่วง ๆ ทำให้ทราบว่ามีวัตถุอื่นที่กำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงนี้ ความเร็วแนวเล็งที่วัดได้เมื่อเทียบระหว่างดาวฤกษ์ดังกล่าวกับโลกแปรค่าประมาณ 2 เมตรต่อวินาที[1]

การค้นพบดาวเคราะห์

ความเร็วของดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าที่มีทิศเข้าหาและออกจากโลก วัดโดยอุปกรณ์ HARPS ในช่วงสามเดือนแรกของปี พ.ศ. 2559 จุดสีแดงและแท่งความคลาดเคลื่อนสีดำแสดงตำแหน่งข้อมูลที่วัดได้ เส้นโค้งสีน้ำเงินคือความต่อเนื่องที่สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น แอมพลิจูดและคาบของการเคลื่อนที่ถูกใช้ประมาณค่ามวลอย่างต่ำของดาวเคราะห์

ข้อมูลบ่งชี้การมีอยู่ของดาวเคราะห์ถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 โดยนักดาราศาสตร์มิกโก ทัวมิ (Mikko Tuomi) จากมหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดเชอร์ โดยพบจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสำรวจที่ถูกเก็บไว้[14][15] 3 ปีต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 องค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปได้เริ่มโครงการเพลเรดด็อท (Pale Red Dot, จุดแดงอันซีดจาง)[หมายเหตุ 1] โดยใช้อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ตรวจวัดเพื่อยืนยันการค้นพบใหม่ที่อาจเกิดขึ้น[16] ซึ่งต่อมากลุ่มนักดาราศาสตร์ในโครงการได้ออกมาประกาศการค้นพบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ปีเดียวกัน กลุ่มนักดาราศาสตร์นำโดยกีเยม อันกลาดา-เอสกูเด จากมหาวิทยาลัยควีนแมรีแห่งลอนดอน ประกาศการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี[17] โดยบทความถูกตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาเดียวกันแล้วจึงตีพิมพ์ลงในวารสารเนเจอร์[1][18] นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้ตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือสเปกโตรกราฟสองเครื่อง ได้แก่ "อุปกรณ์ค้นหาดาวเคราะห์ด้วยวิธีความเร็วแนวเล็งความแม่นยำสูง" (HARPS) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ ESO 3.6 ม. ณ หอดูดาวลาซียา ประเทศชิลี และ "สเปกโตรกราฟเอเช็ลแสงที่มองเห็นได้และอัลตราไวโอเล็ต" (UVES) ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาก (VLT) ขนาด 8 เมตร ณ ประเทศชิลี[1] การวัดความเร็วแนวเล็งสูงสุดของดาวฤกษ์กับคาบการหมุนของดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ทำให้สามารถคำนวณมวลอย่างต่ำของดาวเคราะห์ได้ นอกจากนี้ โอกาสที่การค้นพบนี้จะเป็นการตรวจจับเชิงบวกเทียม (false positive detection) ยังต่ำกว่า 1 ใน 10 ล้าน[14]

ลักษณะทั่วไป

มวล ขนาด และอุณหภูมิ

ปัจจุบันยังไม่มีการวัดความเอียงปรากฏของวงโคจรของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ทำให้ยังไม่สามารถระบุมวลที่แน่นอนของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ ค่ามวลอย่างต่ำที่คำนวณได้โดยทางอ้อมจากการวัดค่าการเคลื่อนดอปเพลอร์มีค่า 1.27 เท่าของมวลโลก (M) ซึ่งถ้ามองจากโลกเห็นวงโคจรของดาวดวงนี้เป็นระนาบด้านข้างแล้ว ความเคลื่อนดอปเพลอร์จะมีค่าสูงสุด ทำให้มวลอย่างต่ำคือมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์[1] ดังนั้นหากทราบค่าความเอียงของวงโคจรก็จะสามารถคำนวณมวลที่แน่นอนได้ ความเอียงที่มีค่ามากขึ้นจะให้ค่ามวลมากขึ้น จากการคำนวณมีโอกาส 90% ที่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีมวลสูงสุด 3 M (2.3 เท่าของมวลต่ำสุด)[19][หมายเหตุ 2]

หากดาวเคราะห์ดวงนี้มีองค์ประกอบเป็นหินและมีความหนาแน่นเท่ากับของโลก จะได้ค่ารัศมีของดาวอย่างต่ำคือ 1.1 เท่าของรัศมีโลก (R) แต่ถ้าหากดาวเคราะห์มีความหนาแน่นน้อยกว่าโลกหรือมีมวลมากกว่ามวลอย่างต่ำที่วัดได้ครั้งแรกนั้น ขนาดของดาวที่คำนวณได้ก็จะใหญ่ขึ้น[6] ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี มีอุณหภูมิสมดุลดาวเคราะห์ 234 K (−39 °C) [1] ทำให้ทราบว่าดาวเคราะห์ดวงนี้ตั้งอยู่ในเขตอาศัยได้ของดาวฤกษ์แม่

ดาวฤกษ์แม่

ขนาดเชิงมุมของดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าเมื่อมองจากดาวเคราะห์พร็อกซิมา บี เปรียบเทียบกับขนาดดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าบนโลก ถึงแม้ดาวพร็อกซิมาจะเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก แต่ดาวพร็อกซิมา บี ก็โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มาก

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ถูกตั้งชื่อตามดาวฤกษ์แม่พร็อกซิมาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภทดาวแคระแดงชนิดสเปกตรัม M มีมวล 0.12 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ มีรัศมี 0.14 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์[1] อุณหภูมิผิวเท่ากับ 3,042 K[20] และอายุ 4,850 ล้านปี[17] เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิผิว 5,778 K[21] และมีอายุ 4,600 ล้านปี[22] ดาวฤกษ์พร็อกซิมาคนครึ่งม้าหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาราว 83 วัน[14] มีความสว่างเพียง 0.0015 เท่าของความสว่างดวงอาทิตย์[1] ดาวฤกษ์ดวงนี้มีความพิเศษตรงที่อุดมไปด้วยโลหะ ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในกลุ่มดาวฤกษ์มวลน้อย ความเป็นโลหะ ([Fe/H]) ของดาวฤกษ์มีค่า 0.21 สูงกว่าปริมาณที่วัดได้ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ 1.62 เท่า[5][หมายเหตุ 3]

ดาวฤกษ์มีค่าความส่องสว่างปรากฏ 11.13 เป็นความส่องสว่างที่ปรากฏเห็นจากโลกโดยตรง[23] ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด แต่เราก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกเนื่องจากดาวฤกษ์มีความสว่างต่ำ

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าถือเป็นดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ซึ่งบางครั้งความสว่างและการปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงของดาวจะเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงแม่เหล็กของดาว[24] ปรากฏการณ์นี้สามารถสร้างพายุสุริยะขนาดใหญ่และอาจสาดรังสีใส่พื้นผิวของดาวเคราะห์ที่โคจรโดยรอบได้หากดาวเคราะห์ดังกล่าวไม่มีสนามแม่เหล็กที่แรงพอหรือไม่มีชั้นบรรยากาศหนาพอที่จะป้องกัน

วงโคจร

ระบบดาวพร็อกซิมา (ครึ่งขวา) แสดงเขตอาศัยได้ (แถบสีเขียว) และวงโคจรของดาวเคราะห์พร็อกซิมา บี เปรียบเทียบกับระยะห่างของวงโคจรของดาวพุธในระบบสุริยะ (ครึ่งซ้าย)

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ใช้เวลา 11.185 วัน โดยมีระยะห่างจากดาวฤกษ์มากที่สุด (กึ่งแกนเอก) เพียง 0.05 หน่วยดาราศาสตร์ (7 ล้านกิโลเมตร) ซึ่งเป็นระยะเพียง 1 ใน 20 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เทียบกับดาวพุธซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดยังมีระยะกึ่งแกนเอก 0.39 หน่วยดาราศาสตร์ พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ได้รับฟลักซ์รังสีจากดาวฤกษ์แม่ประมาณ 65 % ของฟลักซ์รังสีที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์ แต่เนื่องจากดาวเคราะห์มีวงโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มาก ทำให้ได้รับปริมาณฟลักซ์ของรังสีเอกซ์สูงกว่าที่โลกได้รับถึง 400 เท่า[1]

การอาศัยได้

หัวข้อเรื่องการอาศัยได้บนดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี นั้นยังไม่ได้มีการเสนออย่างเป็นทางการ[25][26][27] อย่างไรก็ตาม เราสามารถอนุมานแบบจำลองภูมิอากาศและพิจารณาเชิงทฤษฎีได้จากข้อมูลการกักเก็บสารระเหยได้บนดาวและรูปแบบการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์[27][28]

ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้โคจรในเขตอาศัยได้ของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า เป็นเขตที่น้ำสามารถดำรงสถานะของเหลวได้บนผิวดาวหากชั้นบรรยากาศและดาวเคราะห์เองมีสภาพที่เหมาะสม ดาวฤกษ์แม่เป็นดาวแคระแดง มีมวล 1 ใน 8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ทำให้ขอบเขตอาศัยได้อยู่ระหว่าง 0.0423–0.0816 หน่วยดาราศาสตร์[1]

ถึงแม้ว่าดาวเคราะห์ดวงนี้จะตั้งอยู่ในเขตอาศัยได้ แต่ยังมีการตั้งคำถามถึงการอยู่อาศัยได้ เนื่องจากยังมีเงื่อนไขทางกายภาพอื่น ๆ ที่มีศักยภาพเสี่ยงอันตราย เช่น ดาวเคราะห์ตั้งอยู่ใกล้ดาวฤกษ์พอที่จะเกิดปรากฏการณ์ไทดัลล็อก[18][29] ซึ่งเกิดขึ้นหากดาวเคราะห์มีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรเป็น 0 ทำให้ด้านหนึ่งของดาวเคราะห์ประจันหันหน้าเข้าดาวฤกษ์และได้รับความร้อนและรังสีอยู่ตลอดเวลา ส่วนอีกด้านตกอยู่ในความมืดและความเย็นตลอดไป[30][31] กรณีดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์ได้คิดว่าหากมีพื้นที่อยู่อาศัยได้บนดาวแล้ว พื้นที่นี้น่าจะตั้งอยู่บริเวณขอบของทั้งสองเขตนี้ นั่นคือพื้นที่ระหว่างกลางวันและกลางคืน โดยอุณหภูมิอาจเหมาะสมทำให้น้ำคงอยู่ในสภาพของเหลวได้หากมีน้ำบนดาวเคราะห์[29]

ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี ยังไม่ทราบแน่ชัด โดยเบื้องต้นทราบว่าต่ำกว่า 0.35[32] ซึ่งมีศักยภาพสูงพอที่จะเกิดการโคจรที่มีอัตราการสั่นพ้องของวงโคจรเป็น 3:2 คล้ายกับการหมุนรอบตัวเองของดาวพุธเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์[33] องค์การหอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรปสันนิษฐานว่าหากดาวเคราะห์ดวงนี้มีน้ำและบรรยากาศแล้ว จะเกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกว่าเมื่อไม่มีน้ำและบรรยากาศอย่างมาก ซึ่งอาจมีอุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงกับโลก[28][32] พื้นที่อาศัยได้อาจเพิ่มขึ้นอีกมากถ้าหากดาวเคราะห์ดวงนี้มีชั้นบรรยากาศหนาพอที่จะสามารถถ่ายเทความร้อนไปยังด้านที่หันหน้าออกจากดาวฤกษ์[29] แบบจำลองให้ผลไว้ว่า หากปัจจุบันดาวเคราะห์ยังมีชั้นบรรยากาศอยู่ ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจเคยสูญเสียปริมาณน้ำไปแล้วราว 1 มหาสมุทรในช่วง 100-200 ล้านปีหลังดาวเคราะห์ก่อกำเนิดเนื่องจากถูกรังสีของดาวฤกษ์กวาดออกไปในช่วงนั้น น้ำในสถานะของเหลวอาจปรากฏเฉพาะในพื้นที่ที่มีแดดแรงที่สุดของซีกดาวที่หันหน้าเข้าดาวฤกษ์ (กรณีไทดัลล็อก) หรือบริเวณเขตร้อนของดาว (กรณีการหมุนแบบสั่นพ้องอัตราส่วน 3:2)[27][28] ทำให้สรุปได้ว่า ความสามารถในการกักเก็บน้ำของดาวเคราะห์เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดต่อสภาพการอาศัยได้ของดาวเคราะห์[34] เราอาจใช้กล้องโทรทรรศน์หรือเครื่องมือสำรวจดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ ซึ่งจะให้ข้อมูลด้านองค์ประกอบและชั้นบรรยากาศของดาวมากขึ้น นำมาวิเคราะห์ได้มากขึ้น[25]

ภาพเคลื่อนไหวด้านล่างคือแบบจำลองเชิงตัวเลขแสดงอุณหภูมิพื้นผิวที่เป็นไปได้บนดาวเคราะห์พร็อกซิมาคนครึ่งม้า บี โดยใช้แบบจำลองภูมิอากาศทั่วดาวเคราะห์ (Planetary Global Climate Model) ของห้องปฏิบัติการอุตุนิยมวิทยาเชิงพลวัต (Laboratoire de Météorologie Dynamique) ในที่นี้กำหนดให้ดาวเคราะห์มีบรรยากาศคล้ายโลกและมีมหาสมุทรปกคลุมดาวทั้งดวง เส้นประที่เห็นคือขอบเขตระหว่างผิวมหาสมุทรน้ำ (เหลว) และน้ำแข็ง และดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ

หากดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองแบบสั่นพ้องอัตราส่วน 3:2 (ความถี่ธรรมชาติรูปแบบหนึ่งของการโคจร) แบบเดียวกับที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์
หากดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองแบบสั่นพ้องอัตราส่วน 3:2 (ความถี่ธรรมชาติรูปแบบหนึ่งของการโคจร) แบบเดียวกับที่ดาวพุธโคจรรอบดวงอาทิตย์ 
หากดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองแบบหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวฤกษ์เสมอ (synchronous) แบบเดียวกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
หากดาวเคราะห์มีการหมุนรอบตัวเองแบบหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวฤกษ์เสมอ (synchronous) แบบเดียวกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก 

เชิงอรรถ

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร