ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก[1](อังกฤษ: Iron-deficiency anemia, iron-deficiency anaemia)เป็นภาวะเลือดจางที่มีเหตุจากการขาดธาตุเหล็กส่วนภาวะเลือดจางก็คือการมีระดับเม็ดเลือดแดงหรือเฮโมโกลบินน้อยกว่าปกติในเลือด[2]ถ้าเป็นอย่างค่อย ๆ เป็น อาการมักจะไม่ชัดเจนรวมทั้งความล้า อ่อนเพลีย หายใจลำบาก หรือไม่ทนออกกำลังกายถ้าเป็นอย่างเร็ว บ่อยครั้งจะมีอาการที่ชัดเจนกว่ารวมทั้งสับสน เซ (syncope) และหิวน้ำเพิ่มต้องเป็นค่อนข้างมากก่อนที่จะดูซีดและอาจมีอาการอื่น ๆ แล้วแต่เหตุ[3][4]

ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก
(Iron-deficiency anemia)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10D50
ICD-9280
DiseasesDB6947
MedlinePlus000584
eMedicinemed/1188
MeSHD018798

ภาวะมีเหตุจากการทานอาหารที่มีเหล็กไม่พอ และ/หรือการดูดซึมเหล็กได้ไม่ดี หรืออาจเกิดจากเลือดออกซึ่งอาจจะอยู่ในลำไส้ ในมดลูก หรือในทางเดินปัสสาวะแต่ภาวะในเด็กประเทศกำลังพัฒนาเกิดจากพยาธิโดยสามัญที่สุด[ต้องการอ้างอิง]เพราะว่า พยาธิทำให้เลือดออกในลำไส้ แม้ว่าเลือดอาจจะตรวจไม่เจอในอุจจาระ แต่ก็มีผลเสียหายต่อเด็กมาก[5]โรคมาลาเรีย พยาธิปากขอ และการขาดวิตามินเอ มีส่วนให้เกิดเลือดจางในช่วงตั้งครรภ์ในประเทศด้อยพัฒนาโดยมาก[6]ส่วนในหญิงอายุเกิน 50 ปี เหตุสามัญที่สุดของภาวะก็คือการมีเลือดออกเรื้อรังในทางเดินอาหารที่ไม่ใช่เกิดจากพยาธิ เช่นจากแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และจากมะเร็งในทางเดินอาหาร

การขาดเหล็กเป็นเหตุเลือดจางประมาณครึ่งหนึ่งในโลก โดยหญิงเป็นมากกว่าชายและมีคนเป็นโรค 1,200 พันล้านคนในปี 2556[7]ในปีเดียวกัน ภาวะทำให้คนเสียชีวิต 183,000 คน โดยลดลงเหลือ 86% จาก 213,000 คนในปี 2533[8]

อาการ

อาการของภาวะก็คือซีด (เพราะมีเฮโมโกลบินที่ส่งออกซิเจนในระดับน้อยกว่าที่ผิวหนังและเยื่อเมือกต่าง ๆ) ความล้า เวียนหัว และความอ่อนเพลียแต่ว่าอาการเหล่านี้ (และที่จะกล่าวต่อไป) ไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องมี (not sensitive คือไม่ไวต่อโรค) หรือว่ามีเฉพาะโรคนี้ (nonspecific คือไม่จำเพาะโรค)ความซีดของเยื่อเมือก (โดยหลักที่เยื่อตา คือตาเหลือง) เป็นตัวบ่งภาวะในเด็กที่ดีที่สุด โดยงานศึกษาขนาดใหญ่พบว่า เป็นอาการที่มีค่า[9]

  • ความไว 28% และความจำเพาะ 87% ในการแยกแยะเด็กที่มีเลือดจาง (hemoglobin (Hb) <11.0 g/dl)
  • ความไว 49% และความจำเพาะ 79% ในการแยกแยะเด็กที่มีเลือดจางรุนแรง (hemoglobin (Hb) <7.0 g/dl)

ดังนั้น อาการนี้จึงเป็นตัวชี้ที่ดีพอสมควรถ้ามี แต่ไม่ได้ช่วยถ้าไม่มี เพราะว่าเด็กประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ที่มีเลือดจางเท่านั้นจะมีอาการนี้ดังนั้น การวินิจฉัยโรคนี้ต้องอาศัยการตรวจเลือดโรคมักจะเกิดอย่างช้า ๆ และจะเกิดการปรับตัว ทำให้ไม่สังเกตเห็นโรคเป็นระยะเวลานาน บางครั้งเป็นปี ๆคือคนไข้บ่อยครั้งปรับตัวให้เข้ากับปัญหาทางสุขภาพที่ภาวะเป็นเหตุในกรณีที่รุนแรง อาจมีอาการหายใจลำบาก (dyspnea)และการอยากทานแปลก ๆ อย่างหมกมุ่น (pica) อาจจะเกิดขึ้นมีการเสนอว่าการอยากทานน้ำแข็ง (pagophagia) อาจเป็นอาการจำเพาะ แต่จริง ๆ ทั้งไม่ไวทั้งไม่จำเพาะ ดังนั้นจึงไม่ช่วยการวินิจฉัยและเมื่อมี มันอาจจะหายหรือไม่หายเมื่อแก้การขาดธาตุเหล็กแล้ว

อาการอย่างอื่น ๆ ของโรครวมทั้ง

  • ความวิตกกังวล บ่อยครั้งมีผลเป็นการย้ำคิดย้ำทำ
  • ความหงุดหงิดหรือความซึม
  • อาการปวดเค้นหัวใจ (Angina)
  • ท้องผูก
  • ง่วงนอนมาก
  • เสียงในหู (tinnitus)
  • แผลในปาก
  • ใจสั่น
  • ผมหลุด
  • เป็นลม หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม
  • อารมณ์ซึมเศร้า
  • หายใจไม่ทัน
  • กล้ามเนื้อกระตุก
  • ผิวซีด
  • รู้สึกซ่า ชา หรือเหมือนไหม้
  • การขาดประจำเดือน
  • พัฒนาการทางสังคมที่ช้า
  • ลิ้นอักเสบ (Glossitis)
  • แผลอักเสบที่มุมปาก (Angular cheilitis)
  • สภาพเล็บรูปช้อน (Koilonychia) หรือเล็บเปราะไม่แข็งแรง
  • ไม่อยากอาหาร
  • อาการคัน (Pruritus)
  • การกลืนลำบาก (Dysphagia) เนื่องจากการเกิดเยื่อที่หลอดอาหาร (esophageal web หรือ Plummer-Vinson syndrome)
  • การนอนไม่หลับ
  • กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)[10]

พัฒนาการของทารก

ภาวะในทารกโดยเฉพาะในพัฒนาการระยะต้น ๆ อาจมีผลเสียหายมากกว่าในผู้ใหญ่ทารกที่ขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงในเบื้องต้นของชีวิตไม่สามารถฟื้นสภาพสู่ภาวะปกติแม้เมื่อให้ธาตุเหล็กแล้วเปรียบเทียบกับระยะพัฒนาการต่อ ๆ มาที่จะสามารถชดเชยได้ภาวะมีผลต่อพัฒนาการทางประสาทโดยลดสมรรถภาพในการเรียนรู้ เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนไหว ลดจำนวนตัวรับโดพามีนและเซโรโทนินอย่างถาวรการขาดธาตุเหล็กในช่วงพัฒนาการสามารถทำให้สร้างปลอกไมอีลินที่ไขสันหลังน้อยลง และยังเปลี่ยนองค์ประกอบของปลอกไมอีลินอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้ว ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กมีผลลบต่อการเจริญเติบโตและการหลั่งฮอร์โมนเติบโต (Growth hormone) ก็สัมพันธ์กับระดับโปรตีน transferrin ในเลือด ซึ่งแสดงนัยว่าระดับ transferrin (และเหล็ก) ในเลือดมีสหสัมพันธ์กับการเติบโตทั้งโดยความสูงและน้ำหนักโรคยังสัมพันธ์กับการอยากอาหารแปลก ๆ อย่างหมกมุ่น (pica) โดยอาจเป็นเหตุ

เหตุ

เมื่อวินิจฉัยว่ามีภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กแล้ว ยังควรตรวจสอบว่ามีเหตุอะไรอีกด้วยเพราะอาจมาจากความต้องการเหล็กมากขึ้น หรือการได้เหล็กน้อยลง[11]และสามารถเกิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่เหตุของอาการเลือดออกเรื้อรังควรจะพิจารณาตามเพศ อายุ และประวัติ เพราะว่าภาวะเลือดจางที่ยังไม่ทราบเหตุสำคัญพอที่จะรีบตรวจสอบเพื่อกันมะเร็งที่อาจเป็นเหตุในทารกและเด็กวัยรุ่น การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอาจทำให้ต้องการเหล็กมากขึ้น มีผลให้ขาดเหล็กโดยไม่ถึงกับเป็นโรคหรือเป็นเพราะการขาดอาหารอย่างผิดปกติ[11]สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ การมีประจำเดือนที่หนักหรือนานสามารถเป็นเหตุเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กอย่างเบา ๆ

พยาธิ

เหตุการขาดธาตุเหล็กที่สามัญที่สุดในโลกก็คือการมีพยาธิ เช่น พยาธิตัวแบน พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม[ต้องการอ้างอิง]องค์การอนามัยโลกประเมินว่า "คนประมาณ 2,000 ล้านคนทั่วโลกติดพยาธิจากพื้น"[12]ซึ่งสามารถเป็นเหตุการอักเสบและการเสียเลือดเรื่อย ๆ

การเสียเลือด

เซลล์เม็ดเลือดแดงมีธาตุเหล็ก และดังนั้น การเสียเลือดจึงทำให้เสียเหล็กด้วยมีเหตุสามัญหลายอย่างในการเสียเลือด หญิงที่มีประจำเดือนหนัก (menorrhagia) เสี่ยงต่อเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก เพราะว่ามีความเสี่ยงสูงในการเสียเลือดมากกว่าที่จะได้ชดเชยจากอาหารส่วนการเสียเลือดอย่างน้อย ๆ แต่เรื้อรังภายในร่างกาย เช่น จากแผลกระเพาะอาหาร การมีเส้นเลือดวิรูปในท้อง (angiodysplasia) การมีติ่งเนื้อเมือกในลำไส้ใหญ่ หรือมีมะเร็งในทางเดินอาหาร สามารถเป็นเหตุเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กทั้งนั้นเลือดออกในทางเดินอาหารอาจเกิดจากการใช้ยาบางกลุ่มเป็นประจำด้วย เช่น ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs เช่น แอสไพริน) ยากันเลือดเป็นลิ่ม เช่น clopidogrel และวาร์ฟาริน แม้ว่าอาจจะเป็นยาจำเป็นสำหรับคนไข้บางคน โดยเฉพาะที่มีภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis)

อาหาร

ร่างกายปกติจะได้ธาตุเหล็กที่จำเป็นจากอาหารแต่ถ้าทานเหล็กน้อยเกินไป หรือว่าดูดซึมเหล็กได้ไม่ดี (เช่นเหล็กแบบที่ไม่อยู่ในรูปแบบ heme) ก็จะสามารถขาดธาตุเหล็กในช่วงระยะเวลาหนึ่งตัวอย่างอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็กคือเนื้อ ไข่ ผักใบเขียว และอาหารเสริมเหล็กเพื่อการเติบโตและพัฒนาการที่สมควร ทารกและเด็กจะต้องได้เหล็กจากอาหาร[13]

การทานนมวัวมากสัมพันธ์กับความเสี่ยงโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กที่เพิ่มขึ้น[14]ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นรวมทั้งการทานเนื้อน้อยและการทานอาหารเสริมเหล็กน้อย[14]

การดูดซึมเหล็ก

เหล็กจากอาหารจะดูดซึมเข้าเลือดผ่านลำไส้เล็ก โดยเฉพาะส่วนต้นและที่ติดกับส่วนปลายโรคลำไส้หลายชนิดสามารถลดสมรรถภาพการดูดซึมธาตุเหล็กซึ่งเกิดจากกลไกต่าง ๆ กันในกรณีที่มีการลดบริเวณผิวของลำไส้ เช่น ใน celiac disease, inflammatory bowel disease, หรือการผ่าตัดลำไส้ แม้ว่าร่างกายจะสามารถดูดซึมเหล็ก แต่ก็มีเนื้อที่ไม่พอ[ต้องการอ้างอิง]ถ้ากระเพาะอาหารผลิตกรดไฮโดรคลอริกไม่พอ ภาวะกรดเกลือน้อย/ภาวะไร้กรดเกลืออาจเกิดขึ้น (บ่อยครั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pylori อย่างเรื้อรัง หรือการใช้ยายับยั้งการหลั่งกรดเป็นระยะยาว)เกลือเหล็ก (Ferrous salt, Ferric iron salt) จะตกตะกอนจากเหล็กในลำไส้ซึ่งดูดซึมได้ไม่ดีในกรณีที่เกิดการอักเสบทั้งระบบ (systemic inflammation) เนื้อเยื่อบุผิว (enterocyte) ของลำไส้เล็กจะสามารถดูดซึมเหล็กได้ แต่ว่าเพราะมีระดับโปรตีน ferroportin แบบ basolateral ต่ำซึ่งอำนวยการส่งเหล็กต่อไปในเลือด เหล็กก็จะติดอยู่ที่ enterocyte และจะเสียไปเมื่อเนื้อเยื่อบุผิวลอกหลุดไป ดังนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะของโรค อาจจะมีกลไกอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่ทำให้ดูดซึมเหล็กได้ไม่ดี[ต้องการอ้างอิง]

การตั้งครรภ์

ถ้าไม่เสริมธาตุเหล็ก ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กมักจะเกิดในหญิงมีครรภ์ เพราะว่าเหล็กที่สะสมต้องใช้เพื่อเลือดที่เพิ่มขึ้น เป็นแหล่งเฮโมโกลบินของทารกที่กำลังเจริญเติบโตขึ้น และยังใช้เพื่อสร้างรกอีกด้วย[13]เหตุอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการสลายของเม็ดเลือดแดงในเส้นเลือด (intravascular hemolysis) และภาวะปัสสาวะมีฮีโมโกลบิน (hemoglobinuria)

กลไก

ภาวะโลหิตจางเป็นผลของการขาดธาตุเหล็กจำนวนสำคัญถ้าร่างกายมีเหล็กเพียงพอ ที่เหลือก็จะเก็บไว้ในเซลล์ทั้งหมด แต่โดยมากในไขกระดูก ตับ และม้ามโดยเก็บในรูปแบบ ferritin complexes และเป็นส่วนของระบบเมแทบอลิซึมของเหล็กทั้งในมนุษย์และในสัตว์ferritin complexes ในมนุษย์มีเหล็ก 4,500 อะตอมโดยอยู่ในรูปแบบหน่วยย่อยโปรตีน (protein subunit) 2 แบบ 24 หน่วย[15]

ฟิล์มเลือดของบุคคลที่มีภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก ขยาย 40 เท่า

การวินิจฉัย

ประวัติ

ภาวะโลหิตจางสามารถวินิจฉัยจากเพียงอาการ แต่ว่าถ้าเป็นแบบเบา ๆ อาจจะไม่สามารถวินิจฉัยจากอาการที่ไม่เฉพาะต่อโรคภาวะโลหิตจางเหตุขาดเหล็กจะวินิจฉัยได้โดยประวัติที่สมควร (เช่น โลหิตจางในหญิงที่กำลังมีประจำเดือน หรือนักกีฬาวิ่งทางไกล) การมีเลือดในอุจจาระ (ที่มองไม่เห็น) และบ่อยครั้งโดยประวัติอื่น ๆ[16]ยกตัวอย่างเช่น โรค celiac disease สามารถเป็นเหตุให้ดูดซึมเหล็กได้ไม่ดีประวัติเดินทางไปยังเขตที่มีพยาธิปากขอและพยาธิแส้ม้า อาจชี้ให้ตรวจอุจจาระเพื่อดูพยาธิหรือไข่พยาธิ[ต้องการอ้างอิง]

การเปลี่ยนแปลงเมื่อมีเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงตัวแปร
ferritin, เฮโมโกลบิน, MCV
TIBC, transferrin, RDW

การตรวจเลือด

ภาวะโลหิตจางสามารถพบในการตรวจเลือดทั่วไป ซึ่งมักจะรวมการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) ซึ่งทำโดยเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเป็นชุดตัวเลขการมีค่าเฮโมโกลบิน (Hb) ต่ำ โดยนิยามเป็นตัววินิจฉัยภาวะโลหิตจาง แต่การมีค่าฮีมาโทคริต (Ht หรือ HCT) ต่ำ ก็เป็นลักษณะอีกอย่างด้วยแต่ยังอาจต้องตรวจสอบต่อไปเพื่อเช็คเหตุการมีเลือดจางถ้าภาวะมีเหตุจากการขาดธาตุเหล็ก ค่าผิดปกติที่จะพบใน CBC ในขณะที่ระดับสะสมเหล็กค่อย ๆ หมดลง จะเป็นค่า ความกว้างของการกระจายขนาดเม็ดเลือดแดง (RDW) ที่สูง ซึ่งเแสดงขนาดเม็ดเลือดแดงที่ต่าง ๆ กันเพิ่มขึ้นถ้าเป็นการเสียเหล็กไปอย่างช้า ๆ ค่า RDW ที่เพิ่มขึ้นจะปรากฏก่อนภาวะโลหิตจางเสียอีกค่าปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ที่ต่ำบ่อยครั้งปรากฏต่อมาเมื่อระดับเหล็กลดลงเรื่อย ๆซึ่งแสดงขนาดเม็ดเลือดแดงที่เล็กผิดปกติเป็นจำนวนมากค่า MCV ต่ำ, ค่าปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) หรือค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCHC) ต่ำ, และลักษณะของเม็ดเลือดแดงในฟิล์มเลือด จะจำกัดปัญหาเป็นภาวะโลหิตจางแบบเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytic anemia)

ค่าเหล่านี้กำหนดและคำนวณโดยเครื่องมือแล็บที่ทันสมัยเม็ดเลือดของคนที่ขาดธาตุเหล็กจะมีสีจาง (hypochromic) เล็ก (microcytic) และอาจมีรูปร่างหลายแบบ (poikilocytosis) มีขนาดหลายหลาก (anisocytosis)ถ้าภาวะเลือดจางเริ่มรุนแรงขึ้น ฟิล์มเลือดอาจจะแสดงเม็ดเลือดรูปดินสอมีสีจาง และบางครั้งเม็ดเลือดที่เห็นนิวเคลียส[17]สิ่งสามัญอีกอย่างก็คือ ระดับเกล็ดเลือดจะสูงกว่าปกติเล็กน้อย คือมีภาวะเกล็ดเลือดมากแบบเบา ๆซึ่งสันนิษฐานว่ามีเหตุจากระดับฮอร์โมน erythropoietin ที่สูงขึ้นในร่างกาย เพื่อกระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงโดยเป็นผลของเลือดจาง แต่ก็กระตุ้นการทำงานของ thrombopoietin receptor ของเซลล์ที่ผลิตเกล็ดเลือดอีกด้วยแต่ว่า กระบวนการนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแต่การมีเกล็ดเลือดสูงเกินนิดหน่อยไม่มีอันตราย และเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งถ้าเหตุของภาวะเลือดจางยังไม่ชัดเจน[ต้องการอ้างอิง]

ระดับการสะสมเหล็กที่ต่ำในร่างกายสามารถเช็คโดยการตรวจเลือดและจะพบระดับ ferritin ต่ำ, ระดับเหล็กต่ำ, ระดับ transferrin สูง, และระดับ total iron binding capacity สูงระดับ ferritin เป็นการตรวจที่ไวต่อภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมากที่สุดแต่ว่า ระดับ ferritin ในเลือดก็ยังสามารถสูงขึ้นเนื่องจากการอักเสบเรื้อรังและดังนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นการเช็คสถานะเหล็กที่เชื่อถือได้เสมอไปถ้าอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่ามีความหมายถ้าต่ำกว่าปกติ คืออาจเป็นโรค แต่ไม่ค่อยมีความหมายถ้าปกติ คือไม่ได้ยืนยันว่าไม่เป็นโรค)ระดับเหล็กในเลือด (ที่ไม่ใช่ส่วนของเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง) อาจวัดได้โดยตรงในเลือด แต่ระดับจะเพิ่มขึ้นทันทีที่ทานเหล็กเสริม (และคนวัดต้องหยุดทานเหล็กเสริมเป็นเวลา 24 ชม.) และระดับเหล็กในเลือดก็ไม่ไวต่อภาวะเท่ากับการเช็คค่าเหล็กในเลือดทั้งหมด ซึ่งรวมค่า total iron binding capacity (TIBC) เข้าไปด้วย

อัตราของระดับเหล็กในเลือดต่อ TIBC ซึ่งเรียกว่า iron saturation index หรือ transferrin saturation index เป็นการตรวจที่จำเพาะที่สุดเมื่อไม่ขาดธาตุเหล็ก ถ้าต่ำพอคือ ระดับ iron saturation (หรือ transferrin saturation) < 5% หมายถึงการขาดเหล็กแทบเต็มร้อย แต่ระดับ 5% - 10% แสดงเพียงแค่ว่าอาจขาดเหล็กแต่ไม่ชัดเจนแต่ว่าการมี iron saturation >= 12% (โดยไม่ได้ตรวจอย่างอื่น) บอกว่ามีโอกาสน้อยที่จะมีภาวะนี้ระดับปกติของหญิง (>12%) จะต่ำกว่าชาย (>15%) แต่นี้เพียงแค่ชี้ว่าหญิงมีระดับเหล็กน้อยกว่าชายในกลุ่มประชากร "ปกติ"[ต้องการอ้างอิง]

แต่ภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็ก และทาลัสซีเมียน้อย (thalassemia minor) มีผลแล็บหลายอย่างเหมือนกันและสำคัญมากที่จะไม่รักษาคนที่เป็นทาลัสซีเมียด้วยการเสริมธาตุเหล็ก เพราะว่า นี่อาจทำให้เกิดการสะสมเหล็กในอวัยวะต่าง ๆ (hemochromatosis) โดยเฉพาะที่ตับการตรวจ hemoglobin electrophoresis ให้หลักฐานที่สำคัญในการแยกแยะภาวะทั้งสองนี้ รวมกับการตรวจเหล็ก[ต้องการอ้างอิง]

การตรวจคัดกรอง

ยังไม่ชัดเจนว่าการตรวจคัดกรองหญิงมีครรภ์ว่าขาดเหล็กหรือไม่ สามารถปรับปรุงผลที่ได้ในประเทศกำลังพัฒนา[18]

มาตรฐานทอง

โดยทั่วไปแล้ว การวินิจฉัยที่ชัดเจนที่สุดจะต้องแสดงว่าร่างกายไม่มีเหล็กสะสมโดยการตรวจไขกระดูก (bone marrow aspiration) โดยเติมสีใส่ไขกระดูกเพื่อหาเหล็ก[19][20]เนื่องจากนี่เป็นวิธีการที่เจ็บ ในขณะที่การทดลองรักษาด้วยเหล็กไม่แพงและไม่เจ็บ หมอจึงมักรักษาคนไข้ตามประวัติรักษาและระดับ ferritin โดยไม่ต้องตรวจไขกระดูกนอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาปี 2552[21]ยังตั้งข้อสงสัยถึงคุณค่าของการตรวจไขกระดูกหลังจากมีการฉีดเหล็กให้

การรักษา

ภาวะโลหิตจางบางอย่างสามารถรักษาหายได้ แต่บางชนิดอาจจะเป็นตลอดชีวิตถ้าเหตุคือการขาดเหล็กทางอาหาร การทานอาหารที่สมบูรณ์ด้วยเหล็ก เช่น ถั่ว ผักใบเขียว หรือเนื้อแดง (เนื้อที่มีสีแดงเมื่อดิบรวมทั้งเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ยกเว้นบางส่วนของไก่และเนื้อปลา) หรือการทานเหล็กเสริม ปกติจะแก้ปัญหาโลหิตจางนอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถให้เหล็กผ่านเส้นเลือด หรือผ่านการถ่ายเลือดปริมาณเหล็กที่ทานและที่ดูดซึมเข้าเลือดจริง ๆ (bioavailability) อาจต่างกันมากปัญหาการดูดซึมเหล็กจะเพิ่มมากขึ้นถ้าทานเหล็กพร้อมกับนม ชา กาแฟ หรือสิ่งอื่น ๆวิธีบางอย่างที่สามารถช่วยบรรเทาปัญหานี้รวมทั้ง[22][23]

วิตามินซี
  • การเสริมวิตามินซีจะช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ดีขึ้นไม่ว่าจะมีสารที่อาจเป็นตัวขัดขวางอื่น ๆ หรือไม่ แต่วิตามินซีเสื่อมไวต่อความร้อนและความชื้น ดังนั้น การเสริมวิตามินซีจึงมักจำกัดทำในอาหารแห้งที่ผนึกใส่ห่อ แต่บุคคลสามารถทานวิตามินซีบวกกับเหล็กเพื่อได้ประโยชน์เช่นเดียวกัน
  • เทคนิคการห่อหุ้มเหล็กในระดับไมโครเมตร (Microencapsulation) ด้วยเลซิทินสามารถช่วยยึดและป้องกันเหล็กจากฤทธิ์ของสารที่เป็นตัวขัดขวางอื่น ๆ
  • ใช้เหล็กในรูปแบบ iron amino acid chelate เช่น NaFeEDTA ซึ่งช่วยยึดและป้องกันเหล็กเช่นเดียวกัน งานศึกษาทางโลหิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิลีแสดงว่า ferrous bis-glycine chelate สามารถทำงานร่วมกับวิตามินซีที่ช่วยให้ดูดซึมเหล็กได้ยิ่งดีขึ้น
  • การแยกทานเหล็กและตัวขัดขวางการดูดซึมเป็นระยะ 2-3 ชม.
  • ทาน "นม" อย่างอื่นเช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมอัลมอนด์ หรือนมแพะแทนนมวัว
  • การทานอาหารที่ปราศจากโปรตีนกลูเตนสามารถแก้ปัญหาในบุคคลที่มีโรค celiac disease
  • เหล็กแบบ heme ที่พบในผลิตภัณฑ์สัตว์ เช่น เนื้อ ปลา และไก่ ดูดซึมได้ง่ายกว่าเหล็กที่ไม่ใช่ heme ซึ่งอยู่ในพืชและเหล็กเสริม

การเปรียบเทียบความพร้อมดูดซึมได้ (bioavailability) ของเหล็กในแบบต่าง ๆ จำต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดเพราะปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือระดับเหล็กที่บุคคลมีอยู่แล้วดังนั้น การศึกษาความพร้อมดูดซึมได้แบบทั่วไปจะไม่สอดส่องในเรื่องนี้ และดังนั้น ข้ออ้างที่เกินเลยของบริษัทอาหารเสริมที่ใช้หลักฐานเช่นนี้ไม่ควรจะสนใจยังมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อยู่เพื่อกำหนดวิธีที่ดีที่สุดที่มีราคาถูกที่สุด

ถ้าภาวะโลหิตจางไม่ตอบสนองต่อการเสริมเหล็กทางปาก อาจจำเป็นต้องให้ทางเส้นเลือดหรือผ่านการฟอกเลือดแต่ก็เสี่ยงไข้ หนาว ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ เวียนหัว เป็นลม ผื่น และในบางกรณีถึงกับช็อกเพราะแพ้ (anaphylactic shock)แต่ความชุกของผลที่ไม่ต้องการก็ยังต่ำกว่าการเสริมเหล็กทางปาก (ซึ่งต้องลดขนาดรักษาหรือหยุดในคนไข้ 40%) หรือการถ่ายเลือดการตรวจเลือดหลังจากรักษาเป็นเรื่องสำคัญเพื่อยืนยันว่า การรักษาได้ผลหรือไม่ซึ่งสามารถทำได้ภายใน 2-4 อาทิตย์แต่สำหรับเหล็กที่ทานทางปาก ปกติต้องรอ 3 เดือนก่อนที่ยาที่ทานจะมีผลสำคัญ

เหล็กเสริมและโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ

เพราะว่า การมีระดับที่สูงขึ้นของ ferritin เมื่อติดเชื้อแบบฉับพลัน เชื่อว่า ก็เพื่อกันเหล็กจากแบคทีเรีย และดังนั้น ทั่วไปจึงพิจารณาว่าการให้เหล็กผ่านเส้นเลือด (ซึ่งหลีกเลี่ยงกลไกนี้) ควรจะหลีกเลี่ยงในคนไข้ที่กำลังติดเชื้อในกระแสเลือด (bacteraemia)แต่ว่า การทดแทนเหล็กที่ขาดไปน้อยครั้งเป็นเรื่องฉุกเฉินที่รอรักษาการติดเชื้อแล้วไม่ได้ แต่ในบางกรณีก็อาจจะรอไม่ได้ เช่น ในโรคกระดูกอักเสบแบบเรื้อรัง (chronic osteomyelitis)

เพราะว่า การพร่องเหล็กป้องกันการติดเชื้อโดยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เกื้อกูลต่อแบคทีเรียมีงานศึกษาที่พบว่า การเสริมเหล็กทำให้เกิดโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ในเขตที่การติดเชื้อและมาลาเรียเป็นเรื่องสามัญยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ได้อาหารเสริมเหล็กมีหลักฐานว่าท้องเสียในอัตราที่สูงขึ้นอย่างไรก็ดี แม้การขาดธาตุเหล็กจะช่วยลดการติดเชื้อบางชนิด แต่ก็ปรากฏว่าลดภูมิป้องกันเชื้อบางประเภท เช่นแบคทีเรีย Salmonella typhimurium และอะมีบา Entamoeba histolyticaดังนั้นโดยทั่วไปแล้ว บางครั้งเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจว่า การเสริมเหล็กจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษต่อบุคคลภายในสิ่งแวดล้อมที่มีโรคติดเชื้อมากแต่ว่า นี่ก็ยังเป็นปัญหาต่างกันจากการให้เหล็กกับบุคคลที่ติดเชื้ออยู่แล้ว[ต้องการอ้างอิง]

การทดแทนเหล็ก

เมื่อปรับการเสริมเหล็กในแต่ละวัน การใช้ปริมาณที่น้อยลงต่อวันก็จะทำให้การรักษาต้องดำเนินนานขึ้นการประมาณปริมาณเหล็กที่ต้องการสามารถใช้แนะแนวทางการรักษา และการรักษาสามารถทำเป็นเป็นรอบ ๆถ้าใช้วิธีนี้ คนไข้ควรจะมีส่วนร่วมในการรักษาโดยกำหนดแบบธาตุเหล็กที่ใช้ และตารางการรักษาที่ตนสามารถอดทนรับได้เหล็กที่ดูดซึมในทางเดินอาหารไม่ได้เป็นปริมาณสม่ำเสมอ และสามารถเปลี่ยนไปอย่างสำคัญขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมทั้งระดับเฮโมโกลบินและเหล็กที่สะสมอยู่ในร่างกายปริมาณที่ดูดซึมจะลดลงเมื่อภาวะขาดเหล็กเริ่มหายดังนั้น จึงบอกอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าร่างกายจะดูดซึมเหล็กเท่าไร แต่ก็ประเมินว่า ประมาณ 10%-20% ของเหล็กที่ทานจะดูดซึมเข้าร่างกายในช่วงต้น ๆ ของการรักษา

จำนวนคนเสียชีวิตเนื่องจากภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อประชากรล้านคนในปี 2555
  1-1
  2-3
  4-5
  6-8
  9-12
  13-19
  20-30
  31-74
  75-381

ถ้าใช้ ferrous sulfate การรักษารอบหนึ่งจะใช้ยา 75 เม็ด โดยทาน 3 เม็ดต่อวันเป็นเวลา 25 วันสำหรับผู้ที่มีเลือดจางในระดับปานกลาง (moderate) การรักษารอบหนึ่งควรพอชดเชยเหล็กที่ขาดไปโดยส่วนหนึ่งถ้าภาวะโลหิตจางไม่รุนแรงและไม่มีอาการซับซ้อนอื่น ๆ เช่นการเสียเลือดหรือโรคในทางเดินอาหาร ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาอีกรอบหนึ่งเพื่อแก้ภาวะเลือดจางแต่การประเมินสถานะของโรคใหม่หลังจากรักษาเสร็จควรทำ เพื่อตรวจว่าจำเป็นต้องรักษาเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ถ้าคนไข้เสี่ยงต่อการเสียเหล็กต่อ ๆ ไป (เช่น การมีประจำเดือนมาก) อาจจะต้องรักษาโดยการให้เหล็กเพื่อคงสภาพ (maintenance) เรื่อย ๆข้อสำคัญของการรักษาเป็นรอบ ๆ เช่นนี้ก็คือว่า แผนการรักษาของแต่ละคนจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งเหตุของภาวะโลหิตจาง ปริมาณเหล็กที่พร่อง รูปแบบยาที่ใช้ และระยะเวลาที่ใช้รักษา[24]

ภาระโรค (DALY) เนื่องจากภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กต่อประชากรแสนคนในปี 2547[25]
  less than 50
  50-100
  100-150
  150-200
  200-250
  250-300
  300-350
  350-400
  400-450
  450-500
  500-1000
  more than 1000

วิทยาการระบาด

คนประมาณ 610 ล้านคนหรือประชากร 8.8% ทั่วโลกมีภาวะเลือดจางเหตุขาดธาตุเหล็กในระดับปานกลาง (moderate)[26]โดยหญิง (9.9%) เป็นมากกว่าชาย (7.8%)[26]และคนอีก 375 ล้านคนมีโรคในระดับอ่อน[26]ภายในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กมีผลต่อชาย 2% หญิงผิวขาว 10.5% หญิงแอฟริกันอเมริกันและหญิงเม็กซิกันอเมริกัน 20%[27]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง