ระบอบทักษิณ

ระบอบทักษิณ (อังกฤษ: Thaksinocracy) เป็นคำที่นักวิชาการบางส่วนนิยามการปกครองประเทศไทยในสมัยที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีพื้นฐานเป็นประชานิยม และการควบคุมเสียงข้างมากได้อย่างเบ็ดเสร็จในรัฐสภา บ้างก็เรียกแบบการปกครองนี้ว่า "ทักษิณาธิปไตย" "ระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก" และ "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์จากการเลือกตั้ง" ซึ่งบางส่วนมาจากคำจำกัดความของระบอบทักษิณ[1] อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความต่าง ๆ ยังมีความไม่ชัดเจน และนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้เพิ่มความชอบธรรมให้กับการขับไล่ทักษิณ ชินวัตรให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2548–2549 ตลอดจนการต่อต้านพันธมิตรทางการเมืองของทักษิณในเวลาต่อมา

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553

การเมืองไทยประวัติศาสตร์ไทย

คำจำกัดความ

เกษียร เตชะพีระเป็นผู้ให้นิยามคำว่าระบอบทักษิณ โดยนิยามว่าเป็นระบอบอาญาสิทธิทุนนิยมจากการเลือกตั้ง (elected capitalist absolutism) โดยคำนิยามดังกล่าวสามารถแยกอธิบายองค์ประกอบออกเป็นสองส่วนคือ

  1. มีลักษณะสมบูรณาญาสิทธิทุนในแง่การใช้อำนาจการเมือง
  2. มีหัวหน้าฝ่ายบริหารทางการเมืองของชนชั้นนายทุน[2]

หลังจากนั้นได้มีการพยายามให้นิยามกับคำว่าระบอบทักษิณอีกหลายแบบ เช่น ในความคิดของแก้วสรร อติโพธิได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ ดังนี้

  1. ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง
  2. หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นรากเหง้าความเป็นไทย
  3. ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง
  4. ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวการในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติ[3]

นักวิชาการบางคนเรียกระบอบทักษิณว่าเป็นระบบเผด็จการโดยเสียงข้างมาก เนื่องจากเป็นลักษณะการบริหารประเทศที่มีแนวโน้มรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ[1]

การระบุองค์ประกอบ

มีข้อกล่าวหาว่าต่อไปนี้เป็นองค์ประกอบของระบอบทักษิณ เช่น

  • การโอนกิจการของรัฐเป็นของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแปรรูปของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ ขณะนั้นโดยปัจจุบันเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และความพยายามจะแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
  • กรณีการควบรวมพรรคชาติพัฒนา พรรคเสรีธรรม เข้ากับพรรคไทยรักไทย ส่งผลให้เกิดเผด็จการรัฐสภาเนื่องจากสมาชิกสภาราษฎรไม่กล้าโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องทำตามมติพรรคไทยรักไทย[4]จึงส่งผลให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายรัฐบาลมักได้เสียงไว้วางใจเนื่องจากผู้ไม่ทำตามมติพรรคโดยโหวตไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจะถูกลงโทษ
  • การกระจายเงินงบประมาณ ให้ประชาชนในต่างจังหวัด ผ่านโครงการหรือนโยบาย ต่าง ๆ เพื่อรักษาความนิยมในพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการซื้อเสียงระยะยาว ตัวอย่างเช่น กองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท[5]
  • สุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวหาว่า ความพยายามต้องการพาทักษิณกลับประเทศ โดยให้นักการเมืองที่เป็นพันธมิตรชนะการเลือกตั้งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบทักษิณ[6]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง