ราชอาณาจักรอิรัก

ราชอาณาจักรอิสระในภูมิภาคตะวันออกกลาง (ค.ศ. 1932–1958)

ราชอาณาจักรอิรัก (อาหรับ: المملكة العراقية; อังกฤษ: Kingdom of Iraq) เป็นรัฐที่ดำรงอยู่ในตะวันออกกลางระหว่างค.ศ. 1932–1958 ราชอาณาจักรอิรักสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1922 หลังจักรวรรดิออตโตมันพ่ายแพ้ในการทัพเมโสโปเตเมียในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้นสันนิบาตชาติมอบหมายให้ดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร แต่การลุกฮือในอิรักในปีค.ศ. 1920 ทำให้สหราชอาณาจักรต้องยอมลงนามในสนธิสัญญาเพื่อมอบอำนาจการปกครองตนเองให้แก่อิรัก ในช่วงแรกราชอาณาจักรอิรักภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮัชไมต์ประสบปัญหาด้านศาสนาและเชื้อชาติ นำไปสู่รัฐประหารในปี ค.ศ. 1936 ที่ทำให้การปกครองยิ่งไม่มีเสถียรภาพ

ราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก (1932–1941; 1947-1958)
المملكة العراقية الهاشمية
ราชอาณาจักรอิรัก (1941–1947)
المملكة العراقية

1932–1958
เพลงชาติอัสซาลาม อัลมาลากี السلام الملكي
Es Salaam al-Malaky
สันติภาพแด่กษัตริย์
ที่ตั้งของอิรัก
เมืองหลวงแบกแดด
ภาษาทั่วไปอาหรับ
เคิร์ด
แอราเมอิก
เปอร์เซีย
ศาสนา
ซุนนีย์
ศาสนาคริสต์
ศาสนายูดาห์
Yazdânism
Mandaeism
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1]
พระมหากษัตริย์ 
• 1932-1933
ฟัยศ็อลที่ 1
• 1933-1939
ฆอซี
• 1939-1958
ฟัยศ็อลที่ 2
นายกรัฐมนตรี 
• 1920-1922
Abd Al-Rahman Al-Gillani (คนแรก)
• 1958
Ahmad Mukhtar Baban (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม, สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามเย็น[2]
• การครองราชย์ของพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1
1932
• เป็นเอกราช
3 ตุลาคม 1932[3]
• รัฐประหาร
1 เมษายน 1941
• สนธิสัญญาแบกแดด
24 กุมภาพันธ์ 1955
• การรวมตัวของสหพันธรัฐอาหรับ[4]
14 กุมภาพันธ์ 1958
• ระบอบกษัตริย์ถูกล้มเลิก
14 กรกฎาคม 1958
พื้นที่
1958[5]438,317 ตารางกิโลเมตร (169,235 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1958[5]
6488000
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐอารักขาเมโสโปเตเมีย
สหพันธรัฐอาหรับ

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลอิรักนำโดยมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์แห่งอิรักถูกล้มล้างโดยกลุ่มนายทหารนิยมฟาสซิสต์ แต่ไม่นานก็พ่ายแพ้ให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามอังกฤษ-อิรัก จากนั้นอิรักกลายเป็นฐานของฝ่ายสัมพันธมิตรในการโจมตีซีเรียใต้อาณัติของฝรั่งเศสวิชีและรุกรานอิหร่าน ช่วงปลายสงคราม อิรักเป็นสมาชิกสหประชาชาติและสมาชิกก่อตั้งสันนิบาตอาหรับ ในปี ค.ศ. 1948 อิรักเป็นชาติหนึ่งที่ทำสงครามกับอิสราเอล ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของอิสราเอล

เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดนกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ตกลงที่จะจัดตั้งสหภาพชื่อสหพันธรัฐอาหรับ เพื่อตอบโต้ฝ่ายอียิปต์กับซีเรียที่รวมตัวเป็นสหสาธารณรัฐอาหรับที่มีแนวคิดแบบนาสเซอร์ แต่สหพันธรัฐนี้คงอยู่ได้ไม่นานเนื่องจากระบอบกษัตริย์ถูกโค่นล้มโดยอิบด์ อัล-คะริม กอซิมในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน

ประวัติศาสตร์

รัฐอารักขาของสหราชอาณาจักร

การประกาศอิสรภาพ

ความขัดแย้งทางการการเมือง ค.ศ. 1933-1941

สงครามอังกฤษ-อิรัก และ การควบคุมอิรักครั้งที่ 2

ค.ศ.1941-1958

การล้มล้างราชบัลลังก์

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิรัก

 พระปรมาภิไธยพระบรมราชสมภพสวรรคตสมเด็จพระบรมราชินี
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก23 สิงหาคม พ.ศ. 246423 สิงหาคม พ.ศ. 24648 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 2476สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก
พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก8 กันยายน พ.ศ. 24768 กันยายน พ.ศ. 24764 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 2482สมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก4 เมษายน พ.ศ. 24824 เมษายน พ.ศ. 248214 กรกฎาคม พ.ศ. 250114 กรกฎาคม พ.ศ. 2501เจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่านแห่งอิรัก

ดูเพิ่ม

  • ข้อตกลงซานเรโม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง