ลัทธิกีดกันทางเพศ

เพศนิยม (อังกฤษ: sexism) หรือ การกีดกันทางเพศ หมายถึงการแบ่งแยกทางเพศและเลือกที่รักมักที่ชังต่อเพศใดเพศหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กหญิง[1] และถูกเชื่อมโยงกับการเหมารวมและบทบาททางเพศ[2][3] และอาจรวมถึงความเชื่อที่ว่าเพศหนึ่งมีความเหนือกว่าอีกเพศ[4] การกีดกันทางเพศที่รุนแรงอาจส่งเสริมการคุกคามทางเพศ การข่มขืนและความรุนแรงทางเพศรูปแบบอื่น ๆ[5]

กราฟฟิตีการต่อสู้เพศนิยมในตูรินพฤศจิกายน 2016

แหล่งกำเนิดคำและคำจำกัดความ

“Sexism” เป็นคำที่เริ่มใช้กันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[6] คือคติความเชื่อหรือทัศนคติต่อเพศใดเพศหนึ่งว่ามีความด้อยกว่าอีกเพศหนึ่ง และอาจจะหมายถึงความเกลียดชัง หรือ ความเดียดฉันท์ที่มีต่อเพศใดเพศหนึ่งทั้งหมด นอกจากนั้นก็ยังหมายถึงการใช้สามัญทัศน์ของความเป็นชาย (masculinity) ต่อชาย หรือ ความเป็นหญิง (femininity) ต่อหญิง[7] ที่เรียกว่ามีคุณลักษณะที่มี “อัตวิสัยเชิงเพศนิยม” (chauvinism) -- “อัตวิสัยเชิงบุรุษนิยม” (Male chauvinism) หรือ “อัตวิสัยเชิงสตรีนิยม” (Female chauvinism)

Fred R. Shapiro เชื่อว่าคำว่า "sexism" ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 โดย Pauline M. Leet ในช่วงฟอรั่มนักเรียนและอาจารย์ "ที่ วิทยาลัย Franklin and Marshall[8][9]และครั้งแรกที่คำว่า "sexism" ปรากฏในการพิมพ์ อยู่ในสุนทรพจน์ของ Caroline Bird ในเรื่อง "On Being Born Female" ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 ใน Vital Speeches of the Day (หน้า 6)[10] ในสุนทรพจน์นี้  เธอกล่าวว่า "มีการยอมรับที่แพร่หลายว่า เราอยู่ในประเทศที่เป็นเพศนิยม เพศนิยมตัดสินผู้คนจากเพศของพวกเขาในประเด็นที่เพศไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพศนิยม (sexism) มีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับการเหยียดผิว (racism)"[11]

การกีดกันทางเพศ คือ การแบ่งแยก มีอคติหรือค่านิยมบนพื้นฐานของเพศ มักส่งผลกับผู้หญิงและเด็กหญิง[1] ได้รับการระบุว่าเป็น "ความเกลียดชังของผู้หญิง" และ "ความอยุติธรรมต่อผู้หญิง"[12]

ประวัติศาสตร์

หญิงสาวสองคนที่ถูกกว่าหาว่าเป็นแม่มด ในซาเรม รัฐแมสซาชูเซตส์

การล่าแม่มด

การกีดกันทางเพศอาจเป็นแรงผลักดันที่กระตุ้นการล่าแม่มดระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 18[13] ในสมัยก่อน ยุโรปและในอาณานิคมยุโรปในทวีปอเมริกาเหนืออ้างว่า แม่มดเป็นภัยคุกคามต่อคริสตจักร ความเกลียดชังผู้หญิงในยุคนั้นมีบทบาทในการประหารผู้หญิงเหล่านี้[14][15]

การใช้เวทมนตร์คาถาผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีโทษถึงตาย ในปี ค.ศ. 2011 มีผู้หญิงถูกตัดหัวในข้อหาใช้ "คาถาและเวทมนตร์"[16] การฆาตกรรมหญิงหลังจากถูกกล่าวหาว่าใช้มนตร์ดำยังคงเป็นที่พบเห็นได้ทั่วไปในบางประเทศ ตัวอย่างเช่นในประเทศแทนซาเนียหญิงสูงอายุประมาณ 500 คนถูกฆาตกรรมในแต่ละปีตามข้อกล่าวหาดังกล่าว[17] ผู้หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าใช้มนตร์ดำและความรุนแรง มักเป็นกรณีที่มีการเลือกปฏิบัติหลายรูปแบบ เช่นการเลือกปฏิบัติโดยพิจารณาจากเพศ ที่มีการแบ่งแยกตามวรรณะอย่างในประเทศอินเดียและเนปาลที่มีการก่ออาชญากรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย[18][19]

การซ่อนเร้นและกฎการแต่งงานอื่น ๆ

ข้อจำกัดสิทธิสตรีที่แต่งงานแล้วเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศตะวันตกจนกระทั่งไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น สตรีชาวฝรั่งเศสได้รับสิทธิในการทำงานโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสามีในปี ในปี ค.ศ. 1965[20][21][22] และในเยอรมนีตะวันตกได้สิทธินี้ในปี ค.ศ. 1977[23][24] ในช่วงยุคฟรังโกของสเปนหญิงที่แต่งงานแล้วต้องได้รับความยินยอมจากสามี (เรียกว่า permiso marital) เพื่อการจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และการเดินทางออกจากบ้าน กฎนี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1975[25] ในประเทศออสเตรเลียจนถึงปี ค.ศ. 1983 การทำหนังสือเดินทางของหญิงที่แต่งงานแล้วต้องได้รับอนุญาตจากสามีของเธอก่อน[26]

ผู้หญิงในส่วนต่าง ๆ ของโลกยังคงสูญเสียสิทธิตามกฎหมายหลักการแต่งงาน ตัวอย่างเช่น กฎการแต่งงานของเยเมนระบุว่าภรรยาต้องเชื่อฟังสามีและต้องไม่ออกจากบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต[27] ในอิรักกฎหมายอนุญาตให้สามี "ลงโทษ" ภรรยาของพวกเขาอย่างถูกกฎหมาย[28] ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกประมวลกฎหมายครอบครัวระบุว่าสามีเป็นหัวหน้าครัวเรือน ภรรยาเป็นต้องเชื่อฟังสามีของเธอ ภรรยาต้องอยู่กับสามีของเธอที่ใดก็ตามที่เขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ และภรรยาจะต้องได้รับอนุญาตจากสามีของตนเพื่อนำคดีไปสู่ศาลหรือดำเนินการฟ้องร้องอื่น ๆ[29]

การล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการแต่งงานมักมีรากฐานมาจากการจ่ายเงิน เช่น สินสอดทองหมั้น ราคาเจ้าสาว และสินสมรส[30] การทำธุรกรรมเหล่านี้มักใช้เพื่อควบคุมการบังคับข่มขู่ของภรรยาโดยสามีของเธอและทำให้เขามีอำนาจเหนือเธอ ตัวอย่างเช่นมาตรา 13 ของประมวลกฎหมายสถานะส่วนบุคคล (ตูนิเซีย) ระบุว่า "สามีจะไม่ผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่หญิงสาวที่บังคับให้แต่งงาน"[31][32]หมายความว่าถ้ามีการจ่ายเงินให้หญิงสาวแล้วการข่มขืนในการแต่งงานอาจทำได้ นักวิจารณ์ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิสตรีในตูนิเซียและภาพลักษณ์ในฐานะประเทศที่ก้าวหน้าในภูมิภาค ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงยังคงมีอยู่มาก[33][34][35]

การลงคะแนนเสียงและการเมือง

เพศได้รับการใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในด้านการเมือง การลงคะแนนเสียงของสตรีไม่เคยมีจนกระทั่งปี ค.ศ. 1893 เมื่อนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ให้สิทธิสตรีในการออกเสียงลงคะแนน ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศล่าสุดนับถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ที่ขยายสิทธิในการลงคะแนนให้ผู้หญิงใน ค.ศ. 2011[36] บางประเทศในแถบตะวันตกอนุญาตให้ผู้หญิงลงคะแนนเสียงได้เพียงไม่นาน ยกตัวอย่างเช่น สตรีชาวสวิสได้รับสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้งรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1971[37] สตรีชาวฝรั่งเศสได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในปี ค.ศ. 1944[38][39] ในกรีซผู้หญิงได้รับสิทธิออกเสียงในปี ค.ศ. 1952[40] ในลิกเตนสไตน์ผู้หญิงได้รับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในปี ค.ศ. 1984 ผ่านการลงประชามติในปี ค.ศ. 1984[41][42]

ทุกวันนี้ ในขณะที่ผู้หญิงเกือบทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียง การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเมืองยังต้องการการแก้ไข การศึกษาวิจัยต่างแสดงให้เห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตยหลายแห่งรวมทั้งออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงยังถูกมองด้วยทัศนคติทั่วไปของสังคมในสื่อ[43] ปัญหาบางอย่าง (เช่น การศึกษา) มีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกับผู้สมัครเพศหญิง ในขณะที่ประเด็นอื่น ๆ (เช่นภาษี) อาจเชื่อมโยงกับผู้สมัครชาย[44] นอกจากนี้ คุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้สมัครหญิง เช่น การรูปร่างหน้าตา และบุคลิกภาพผู้สมัครเพศหญิงมักถูกพูดถึง รวมทั้งได้รับการวิจารณ์ว่า ชอบใช้อารมณ์ตัดสินและต้องพึ่งพาผู้อื่น[44] เพศนิยมทางการเมืองยังแสดงให้เห็นในความไม่สมดุลของอำนาจในการร่างกฎหมายระหว่างชายและหญิง[45]

การกีดกันทางเพศในอาชีพ

การกีดกันทางเพศในอาชีพหมายถึงการเลือกปฏิบัติด้วยคำพูดหรือการกระทำตามเพศของบุคคลนั้นในที่ทำงาน รูปแบบหนึ่งของการกีดกันทางเพศในอาชีพคือการเลือกปฏิบัติด้านค่าจ้าง ใน ค.ศ. 2008 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่าในขณะที่อัตราการจ้างงานของผู้หญิงมีการขยายตัวและการจ้างงานโดยระบุเพศและความเหลือมล้ำในค่าจ้างลดลงเกือบทุกที่ แต่โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกจ้างงานอยู่ 20% และได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชายอยู่ 17%[46]  นอกจากนี้ยังพบว่า แม้ประเทศในกลุ่ม OECD เกือบทุกประเทศรวมทั้งสหรัฐ[47] ได้จัดตั้งกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ กฎหมายเหล่านี้ก็ยากที่จะบังคับใช้[48]

ความเหลือมล้ำในการจ้างงาน

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า มารดาในสหรัฐมีโอกาสน้อยกว่าที่จะได้รับการว่าจ้างเมื่อเทียบกับเป็นบิดาที่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกันและถ้าได้รับการว่าจ้างจะได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้สมัครชายที่มีบุตร[49][50][51][52][53][54] การศึกษาโดยใช้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณวุฒิระดับปานกลางพบว่า นักศึกษาชายมีแนวโน้มที่จะได้รับการว่าจ้างมากกว่า มีเงินเดือนที่ดีกว่า และยังได้รับคำปรึกษามากกว่า[55][56]

ความเหลือมล้ำในค่าจ้าง

การศึกษาทั่วโลกสรุปได้ว่าผู้หญิงโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าผู้ชาย บางคนแย้งว่านี่เป็นผลมาจากการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างกว้างขวางในที่ทำงาน คนอื่น ๆ แย้งว่าช่องว่างค่าจ้างเป็นผลมาจากทางเลือกที่แตกต่างกันทั้งชายและหญิง เช่น ผู้หญิงให้คุณค่ามากกว่าผู้ชายในการมีบุตรและผู้ชายมักจะเลือกอาชีพได้เงินดี เช่น ธุรกิจ วิศวกรรม และเทคโนโลยี Eurostat พบว่ามีช่องว่างการจ่ายค่าจ้างโดยเฉลี่ย 27.5% ใน 27 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2008[57] ในทำนองเดียวกันโออีซีดีพบว่าผู้หญิงที่เป็นพนักงานเต็มเวลาได้รับน้อยค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย 27% ในประเทศโออีซีดี ในปี ค.ศ. 2009[58][59] ในสหรัฐอเมริกาอัตราส่วนรายได้ของผู้หญิงต่อชายอยู่ที่ 0.77 ในปี ค.ศ. 2009 หญิงที่เป็นพนักงานเต็มเวลาตลอดทั้งปี มีรายได้เพียง 77% ของคนงานชาย[60][61] เมื่อ Equal Pay Act ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1963 แรงงานที่ทำงานเต็มเวลาหญิงได้รับค่าจ้างเท่ากับ 48.9% ของพนักงานชายเต็มเวลา[62]

การกีดกันคนข้ามเพศ

คนข้ามเพศต่างโดนกีดกันและถูกคุกคามในที่ทำงาน[63] ต่างจากการกีดกันทางเพศ การปฏิเสธการว่าจ้างหรือไล่พนักงานออกเพราะอัตลักษณ์ทางเพศไม่ผิดกฎหมายในหลายรัฐของสหรัฐ[64]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Sexism


🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง