วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง
นกเอี้ยงหน้าเหลือง (Mino dumontii) -ซ้าย และนกขุนทอง (Gracula religiosa) -ขวา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Aves
อันดับ:Passeriformes
อันดับย่อย:Passeri
วงศ์:Sturnidae
Rafinesque, 1815
สกุล

สกุลที่พบในออสเตรเลียและภูมิภาคเขตร้อน[1]

  • Rhabdornis
  • Aplonis
  • Mino
  • Basilornis
  • Sarcops
  • Streptocitta
  • Enodes
  • Scissirostrum
  • Ampeliceps
  • Gracula
  • Leucopsar

สกุลที่พบในเขตชีวภาพพาลีอาร์กติก[2]

  • Acridotheres
  • Sturnia
  • Sturnus
  • Creatophora
  • Notopholia
  • Coccycolius
  • Lamprotornis
  • Cinnyricinclus
  • Poeoptera
  • Saroglossa
  • Spreo
  • Cosmopsarus
  • Onychognathus
  • Poeoptera
  • Grafisia
  • Speculipastor
  • Neocichla

วงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครง (อังกฤษ: Starlings, Mynas) เป็นวงศ์ของนกเกาะคอนในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Sturnidae

จัดเป็นนกขนาดเล็กถึงขนาดกลางในอันดับนี้ มีขนาดลำตัวตั้งแต่ 19-30 เซนติเมตร มีลักษณะเด่น คือ จะงอยปากค่อนข้างแบนข้างเล็กน้อย และยาวกว่าหัว รูจมูกไม่มีสิ่งปกคลุมและไม่ทะลุถึงกันเพราะมีผนังกั้น และตั้งอยู่ใกล้มุมปากมากกว่าจะงอยปากบน มุมปากไม่มีขนแข็ง จะงอยปากแข็งแรง ปลายปีกแหลม มีขนปลายปีก 10 เส้น ขนหางมี 12 เส้น ขาแข้งอ้วนสั้นปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดซ้อน แข้งยาวกว่านิ้วที่ 3 รวมเล็บ บริเวณโคนนิ้วเป็นอิสระ หางสั้น บินเก่ง บินเป็นแนวตรง นกที่มีขนาดเล็ก จะมีปีกเรียวยาว ในขณะที่นกขนาดใหญ่กว่าจะมีปีกที่กว้างและมนกว่า มักมีสีขนที่เข้ม[3] [4]

มีนิเวศวิทยาที่กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ทั้งในป่าทึบ ภูเขา หรือแม้กระทั่งพื้นที่เปิดโล่งหรือตามชุมชนเมืองที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีพฤติกรรมที่เป็นที่รู้จักดีคือ อยู่รวมกันเป็นฝูง ชอบส่งเสียงร้องดัง ร้องเก่ง และสามารถเลียนเสียงต่าง ๆ ได้ แม้แต่ภาษาพูดของมนุษย์ จึงนิยมนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง กินอาหารจำพวกแมลง เมล็ดพืช และผลไม้ สร้างรังอยู่ตามกิ่งไม้หรือบนยอดมะพร้าว ต้นปาล์ม บางชนิดทำรังอยู่ในโพรง โดยจะไม่เจาะโพรงเอง แต่จะอาศัยโพรงเก่าหรือแย่งมาจากสัตว์หรือนกชนิดอื่น มีอาณาเขตของตนเองและจะปกป้องอาณาเขต[4] ทั่วโลกทั้งหมดราว 112 ชนิด ใน 28 สกุล (ดูในตาราง-บางข้อมูลจำแนกมี 27 สกุล[5]) พบได้ทั้งเอเชีย ยุโรป แอฟริกา อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียทางตอนเหนือ และนิวซีแลนด์ และยังแบ่งออกได้เป็น 2 เผ่า คือ Sturnini และMimini[4]

ในประเทศไทยพบ 16 ชนิด ชนิดที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกเอี้ยง (Acridotheres tristis), นกเอี้ยงหงอน (A. garndis) นกขุนทอง (Gracula religiosa) เป็นต้น[3] [6]

นกในวงศ์นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงที่พบในประเทศไทย

มีทั้งนกอพยพ, นกพลัดหลง และนกประจำถิ่น ซึ่งทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[7]

  • นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้(Aplonis panayensis)
  • นกกิ้งโครงปีกลายจุด(Saroglossa spiloptera)
  • นกเอี้ยงหัวสีทอง(Ampeliceps coronatus)
  • นกขุนทอง หรือ นกเอี้ยงคำ(Gracula religiosa)
  • นกเอี้ยงหงอน(Acridotheres grandis)
  • นกเอี้ยงก้นลาย(Acridotheres cristatellus)
  • นกเอี้ยงควาย(Acridotheres fuscus)
  • นกเอี้ยง หรือ นกเอี้ยงสาริกา(Acridotheres tristis)
  • นกกิ้งโครงหัวสีนวล(Acridotheres burmannicus)
  • นกกิ้งโครงคอดำ(Gracupica nigricollis)
  • นกเอี้ยงด่าง(Gracupica contra)
  • นกกิ้งโครงแกลบหลังม่วงดำ(Sturnia sturnina)
  • นกกิ้งโครงแกลบแก้มสีน้ำตาลแดง(Sturnia philippensis)
  • นกกิ้งโครงแกลบปีกขาว(Sturnia sinensis)
  • นกกิ้งโครงแกลบหัวเทา(Sturnia malabarica)
  • นกเอี้ยงพราหมณ์(Temenuchus pagodarum)
  • นกกิ้งโครงสีกุหลาบ(Pastor roseus)
  • นกกิ้งโครงแก้มขาว(Sturnus cineraceus)
  • นกกิ้งโครงพันธุ์ยุโรป(Sturnus vulgaris)[3]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง