วัคซีนอหิวาตกโรค

วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันอหิวาตกโรค[8] ในช่วงหกเดือนแรกวัคซีนจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 85% และในช่วงปีแรกจะให้ผลในการป้องกันโรคประมาณ 50 หรือ 62%[8][9][10] หลังจากเวลาสองปีความมีประสิทธิภาพจะลดลงเหลือไม่ถึง 50%[8] แต่ทั้งนี้หากกลุ่มประชากรใดก็ตามมีสัดส่วนของผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนสูง ประชากรในกลุ่มดังกล่าวที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคก็จะได้รับประโยชน์จากภูมิคุ้มกันหมู่[8]

วัคซีนอหิวาตกโรค
รายละเอียดวัคซีน
โรคที่เป็นข้อบ่งชี้Vibrio cholerae
ชนิดเชื้อตาย
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าDukoral, Vaxchora, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comMicromedex Detailed Consumer Information
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
[1]
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา) [1]
  • CA: Schedule D [2]
  • UK: POM (Prescription only) [5]
  • US: ℞-only [6][7]
  • EU: Rx-only [3][4]
ตัวบ่งชี้
DrugBank
ChemSpider
  • none
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้มาตรการขององค์การฯ ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ  สำหรับกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงในการติดโรคสูง [8] โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้วัคซีนชนิดรับประทานตามขนาดที่กำหนดจำนวนสองหรือสามครั้ง[8] ระยะเวลาป้องกันในวัยผู้ใหญ่คือสองปี และในเด็กวัย 2–5 ขวบที่หกเดือน[8] วัคซีนแบบฉีดหนึ่งโดสมีให้บริการในพื้นที่ที่พบอหิวาตกโรคบ่อย[11][12][13] ใน ค.ศ. 2010 วัคซีนแบบฉีดซึ่งมีจำนวนน้อยกว่านั้นมีอยู่ในพื้นที่บางแห่งของโลกเท่านั้น[8][9]

โดยทั่วไปวัคซีนชนิดรับประทานทั้งสองประเภทนั้นมีความปลอดภัย[8] แต่อาจมีอาการปวดท้องหรือการการท้องร่วงเกิดขึ้นได้[8] วัคซีนนี้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง[8] วัคซีนเหล่านี้ได้รับได้รับอนุมัติให้ใช้ป้องกันโรคในกว่า 60 ประเทศ[8] และมีการใช้ในประเทศที่มักเกิดโรคเป็นประจำ ซึ่งมีความคุ้มค่าของค่ารักษา[8]

วัคซีนตัวแรกที่ใช้ในการป้องกันอหิวาตกโรคนั้นถูกผลิตขึ้นเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18[14] และเป็นวัคซีนที่มีการใช้อย่างแพร่หลายตัวแรกที่ถูกผลิตขึ้นในห้องทดลอง[14] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการเปิดตัววัคซีนชนิดรับประทานเป็นครั้งแรก[8]  วัคซีนนี้อยู่ในทะเบียนยาที่จำเป็นขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) โดยเป็นยารักษาโรคที่มีความสำคัญมากที่สุดในระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน[15]


อ้างอิง

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: หน้าหลักสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024บางกอกคณิกาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เนติพร เสน่ห์สังคมวิทยาศาสตร์พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันวิสาขบูชาวอลเลย์บอลลมเล่นไฟตารางธาตุอันดับโลกเอฟไอวีบีอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยไลเกอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยไอแซก นิวตันศาสนาพุทธราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอีประวัติศาสตร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนารายชื่อเครื่องดนตรีจังหวัดชัยนาทสังคายนาในศาสนาพุทธประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดนิวแคลิโดเนียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยศาสนาพุทธในประเทศพม่าพระสุนทรโวหาร (ภู่)นริลญา กุลมงคลเพชร