วัลเทอร์ โคน

วัลเทอร์ โคน (เยอรมัน: Walter Kohn; เสียงอ่านภาษาเยอรมัน: [ˈvaltɐ ˈkoːn]; 9 มีนาคม ค.ศ. 1923 – 19 เมษายน ค.ศ. 2016)[3] เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักเคมีทฤษฎีชาวออสเตรีย-อเมริกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีร่วมกับจอห์น โพเพิลใน ค.ศ. 1998[4] จากผลงานด้านการสร้างพื้นฐานความเข้าใจคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ของวัสดุ โคนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัล ซึ่งทำให้สามารถคำนวณโครงสร้างอิเล็กตรอนในทางกลศาสตร์ควอนตัมโดยใช้ความหนาแน่นอิเล็กตรอน (แทนที่จะใช้ฟังก์ชันคลื่นสำหรับระบบที่มีหลายอะตอม) การพัฒนาทฤษฎีดังกล่าวทำให้สามารถคำนวณโครงสร้างในระบบที่ซับซ้อนได้แม่นยำมากขึ้น และกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในด้านวัสดุศาสตร์ ฟิสิกส์เกี่ยวกับสภาวะควบแน่น และฟิสิกส์เชิงเคมีของอะตอมและโมเลกุล[5]

วัลเทอร์ โคน
โคนใน ค.ศ. 2012
เกิด9 มีนาคม ค.ศ. 1923(1923-03-09)
เวียนนา ออสเตรีย
เสียชีวิต19 เมษายน ค.ศ. 2016(2016-04-19) (93 ปี)
แซนตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
สัญชาติสหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโทรอนโต
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
มีชื่อเสียงจากทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัล
แบบจำลองลัตทิงเกอร์–โคน
ทฤษฎีบทออแอ็งแบร์ก–โคน
สมการโคน–ชัม
คู่สมรสโลอิส (แอดัมส์)[1]
มารา (วิชเนียก) ชิฟ[2]
รางวัลOliver E. Buckley Condensed Matter Prize (1961)
National Medal of Science (1988)
Nobel Prize in Chemistry (1998)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์, เคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกจูเลียน ชวิงเงอร์
ลายมือชื่อ
ธงประดับเสาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา ฉลองการที่วัลเทอร์ โคนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1998

ชีวิตวัยเด็ก

โคนเดินทางเข้าสู่สหราชอาณาจักรผ่านทางปฏิบัติการคินเดอร์ทรันสปอร์ท ซึ่งเป็นปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กในพื้นที่ประเทศออสเตรียหลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ผนวกรวมประเทศออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนี[6] เขามาจากครอบครัวเชื้อสายยิว และบันทึกว่า "ความรู้สึกของผมเกี่ยวกับประเทศออสเตรียบ้านเกิดของผมนั้นเต็มไปด้วยความปวดร้าว และจะยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดไป ความทรงจำช่วงนั้นหลัก ๆ ประกอบด้วยชีวิตหนึ่งปีครึ่งในฐานะเด็กชายชาวยิวภายใต้การปกครองระบอบนาซี และพ่อแม่ของผม ซาโลม็อนและกิเทอร์ โคน ญาติพี่น้องและครูของผมถูกฆ่าตายในช่วงฮอโลคอสต์ ... ผมอยากจะบอกว่าผมมีอัตลักษณ์ความเป็นยิวอยู่เข้มข้น และในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผมเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวยิว เช่นการก่อตั้งหลักสูตรยิวศึกษาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก"[7][5] โคนระบุว่าตัวเขาเองเป็นนักเทวัสนิยม[8]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติขึ้น โคนซึ่งเป็นชาวออสเตรียถูกส่งตัวไปยังประเทศแคนาดาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 โคนซึ่งอายุได้ 17 ปีในขณะนั้นเดินทางไปกับกองทหารของอังกฤษไปยังนครเกแบ็ก ประเทศแคนาดา ก่อนจะเดินทางขึ้นรถไฟไปยังค่ายผู้อพยพที่ทรัวรีวีแยร์โดยถูกกักตัวที่ค่ายในเมืองเชอร์บรุกก่อน โคนเข้าเรียนในสถานศึกษาภายในผู้อพยพก่อนจะสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยโทรอนโต อย่างไรก็ตาม โคนซึ่งมีสัญชาติเยอรมนี (หลังจากที่ออสเตรียถูกผนวกรวม) เขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าภายในอาคารที่สอนวิชาเคมี เขาจำต้องเข้าเรียนฟิสิกส์และคณิตศาสตร์แทน[7]

ผลงานด้านวิทยาศาสตร์

โคนสำเร็จปริญญาตรีด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยโทรอนโตใน ค.ศ. 1945 หลังจากที่เข้าเรียนได้ 2 ปีครึ่งจากเวลาปกติ 4 ปี และเข้ารับราชการทหารเป็นเวลา 1 ปีเนื่องจากอยู่ในช่วงสงคราม ต่อมาใน ค.ศ. 1946 เขาสำเร็จปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ที่โทรอนโตเช่นเดียวกัน ก่อนจะเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเกี่ยวกับปัญหาการกระเจิงของระบบวัตถุสามชิ้น โดยมีที่ปรึกษาได้แก่จูเลียน ชวิงเงอร์ ในระหว่างที่โคนศึกษาที่ฮาร์วาร์ด เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานด้านฟิสิกส์ของแข็งของจอห์น แฮสบรุก แวน วเล็ก โคนสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1948

โคนเข้าทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่โคเปนเฮเกนจากทุนสนับสนุนของสภาวิจัยแห่งประเทศแคนาดา ก่อนจะเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนตั้งแต่ ค.ศ. 1950 ถึง 1960 ในช่วงนั้นเขายังทำงานร่วมกับห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งทำให้เขาได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยด้านฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ และมีผลงานสำคัญร่วมกับโจอาคิน แมซแดก ลัตทิงเกอร์เช่นการพัฒนาแบบจำลองลัตทิงเกอร์-โคน เป็นต้น ซึ่งในระหว่างนั้นโคนได้สละสัญชาติแคนาดาและเป็นพลเรือนสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1957

ใน ค.ศ. 1960 โคนย้ายไปยังมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโกซึ่งเพิ่งก่อตั้งใหม่ในขณะนั้น โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์[9] จนถึง ค.ศ. 1979 ซึ่งในระหว่างนั้นโคนและนักศึกษาของเขาได้แก่จัญจัล กุมาร มชุมทารได้พัฒนา ทฤษฎีบทโคน–มชุมทาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับแก๊สแฟร์มี[10][11] ก่อนที่โคนจะย้ายไปดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีที่แซนตาบาร์บารา เขาดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ที่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนตาบาร์บารา ใน ค.ศ. 1984 ที่ซึ่งเขาทำงานจนวาระสุดท้าย

ผลงานเกี่ยวกับทฤษฎีความหนาแน่นฟังก์ชันนัลของเขานั้นเริ่มต้นขณะที่เขาเดินทางไปเยือนเอกอลนอร์มาลซูว์เปรีเยอร์ที่กรุงปารีสร่วมกับปีแยร์ ออแอ็งแบร์ก ทฤษฎีบทออแอ็งแบร์ก–โคนได้รับการพัฒนาหลังจากนั้นร่วมกับลู เจว ชัม และสร้างสมการโคน–ชัมขึ้นมา ซึ่งสมการโคน–ชัมนั้นได้กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในวัสดุศาสตร์แผนใหม่[12] และยังใช้ในทฤษฎีควอนตัมของพลาสมาด้วย[12]

วัลเทอร์ โคนเข้ารับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

การเสียชีวิต

โคนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 2016 ที่บ้านพักในเมืองแซนตาบาร์บาราเนื่องจากมะเร็งขากรรไกร โดยขณะนั้นเขามีอายุได้ 93 ปี[13][14][5]

รางวัลและเกียรติประวัติ

งานวิจัยตีพิมพ์ที่สำคัญ

  • W. Kohn, "An essay on condensed matter physics in the twentieth century," Reviews of Modern Physics, Vol. 71, No. 2, pp. S59–S77, Centenary 1999. APS
  • W. Kohn, "Nobel Lecture: Electronic structure of matter — wave functions and density functionals," Reviews of Modern Physics, Vol. 71, No. 5, pp. 1253–1266 (1999). APS
  • D. Jérome, T.M. Rice, and W. Kohn, "Excitonic Insulator," Physical Review, Vol. 158, No. 2, pp. 462–475 (1967). APS
  • P. Hohenberg, and W. Kohn, "Inhomogeneous Electron Gas," Physical Review, Vol. 136, No. 3B, pp. B864–B871 (1964). APS เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • W. Kohn, and L. J. Sham, "Self-Consistent Equations Including Exchange and Correlation Effects," Physical Review, Vol. 140, No. 4A, pp. A1133–A1138 (1965). APS เก็บถาวร 2011-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • W. Kohn, and J. M. Luttinger, "New Mechanism for Superconductivity," Physical Review Letters, Vol. 15, No. 12, pp. 524–526 (1965). APS
  • W. Kohn, "Theory of the Insulating State," Physical Review, Vol. 133, No. 1A, pp. A171–A181 (1964). APS
  • W. Kohn, "Cyclotron Resonance and de Haas-van Alphen Oscillations of an Interacting Electron Gas," Physical Review, Vol. 123, pp. 1242–1244 (1961). APS

อ้างอิง

รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Andrew Zangwill (2014). "The education of Walter Kohn and the creation of density functional theory". arXiv:1403.5164 [physics.hist-ph].
🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง