สมเด็จพระราชินีนาถ

สมเด็จพระราชินีนาถ[1] (อังกฤษ: Queen Regnant) คือ พระมหากษัตริย์หญิงผู้ครองราชสมบัติด้วยสิทธิ์ของพระองค์เอง ต่างจาก "สมเด็จพระราชินี" (Queen Consort) ซึ่งเป็นพระมเหสีในพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติ และไม่ทรงมีอำนาจในการบริหารราชกิจของบ้านเมืองอย่างเป็นทางการใด ๆ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร อดีตพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยแบบรัฐสภา อดีตพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

โดยหลักการแล้ว พระมหากษัตริย์มีทั้ง "สมเด็จพระราชาธิบดี" (King Rex) และ "พระมหากษัตริย์พระราชสวามี" (King Consort) แต่เกิดขึ้นได้ยาก และมีการใช้พระอิสริยยศเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ราชวงศ์อังกฤษ ระบอบราชาธิปไตยในปัจจุบันที่ให้สมเด็จพระราชินีนาถทรงครองราชบัลลังก์ พระสวามีของพระองค์จะไม่ได้มีพระอิสริยยศเป็นพระราชา แต่เป็นเพียงแค่ชั้นเจ้าชายเท่านั้น พระราชสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระสวามีคนที่สองของสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสก็อตแลนด์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชสวามีในอาณาจักรของพระองค์เอง แต่ไม่เป็นที่ชื่นชอบของพสกนิกรและการอภิเษกสมรสกินเวลาเพียงไม่นาน พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษและไอร์แลนด์ และพระราชินีนาถแห่งชาวสก็อต ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ที่ปกครองร่วมกันเป็น พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ที่ 2 แห่งสก็อตแลนด์ และที่ 1 แห่งไอร์แลนด์แต่ถือเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองร่วมกันครั้งเดียว และเป็นทางการที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ แต่หลังจากนั้นมา พระสวามีของสมเด็จพระราชินีนาถในประเทศอังกฤษได้รับการสถาปนาเป็น "เจ้าชายพระราชสวามี" (Prince Consort) (มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งพระอิสริยยศนี้อย่างเป็นทางการคือ เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร)

การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระราชินีนาถจะเกิดขึ้นเมื่อลำดับการสืบราชบัลลังก์เอื้ออำนวย วิธีการสืบราชสมบัติ (เป็นพระมหากษัตริย์ หัวหน้าเผ่า ฯลฯ) และรวมถึงการแต่งตั้ง (พระมหากษัตริย์ในรัฐสภา หรือ คณะมนตรีแต่งตั้งรัชทายาท) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติก่อนที่สุด (primogeniture) การให้สิทธิพระโอรสธิดาตามลำดับการประสูติหลังที่สุด (ultimogeniture) ขอบเขตในการสืบราชสมบัติอาจยึดจากสายทางพระชนก สายทางพระชนนีหรือทั้งสองฝ่าย หรือที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น (เมื่อถึงคราวจำเป็น) มาจากการออกเสียงเลือกตั้ง สิทธิในการสืบราชสมบัติโดยตามเพศ อาจจะให้ทั้งชายและหญิง จำกัดแต่เพศชายเท่านั้น หรือจำกัดแต่เพศหญิงเท่านั้น

การสืบราชบัลลังก์ที่เป็นแบบแผนมากที่สุดตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายตลอดจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นแบบการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดา (male-preference primogeniture) กล่าวคือ ลำดับการสืบราชบัลลังก์อยู่ในบรรดาพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ตามลำดับการประสูติก่อนแล้วจึงตามมาด้วยของพระราชธิดา ในบางอาณาจักรทางประวัติศาสตร์ห้ามมิให้มีการสืบราชสมบัติโดยผู้หญิงหรือผ่านทางเชื้อสายของผู้หญิง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางแห่งที่ยังคงยึดถือหลักเกณฑ์นี้ตามกฎหมายแซลิก

ดังตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แต่เมื่อกษัตริย์ดัตช์พระองค์สุดท้ายเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2433 และสืบราชบัลลังก์ต่อมาโดยพระราชธิดา กฎหมายแซลิกจึงไม่ยอมให้ลักเซมเบิร์กยอมรับพระองค์ในฐานะเป็นแกรนด์ดัชเชสผู้ปกครองตามพระราชสิทธิของพระองค์เอง เช่นเดียวกับตอนที่ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ พระองค์ไม่ได้เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งแฮโนเวอร์ด้วย ถึงแม้ว่าสมเด็จพระปิตุลาธิราชของพระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ของทั้งสองประเทศมาก่อน

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ประเทศสวีเดน นอร์เวย์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้แก้ไขพระราชบัญญัติการสืบราชบัลลังก์จากการให้สิทธิพระราชโอรสก่อนพระราชธิดามาเป็นมีสิทธิสืบราชสมบัติเท่ากันตามลำดับการประสูติโดยไม่จำกัดเรื่องเพศ ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงอาจยังไม่ส่งผลอะไรมากมายจนกว่ารุ่นต่อจากรุ่นปัจจุบันเกิดขึ้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการยึดตำแหน่งของบุคคลที่อยู่ในลำดับการสืบราชบัลลังก์มาก่อน โดยเฉพาะในพระอิสริยยศพิเศษ

รายพระนาม

ต่อไปนี้คือรายพระนามสมเด็จพระราชินีนาถบางประเทศ และบางพระองค์ที่สำคัญ

สหราชอาณาจักร / อังกฤษ / บริเตนใหญ่ / ประเทศในเครือจักรภพ

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ทรงฉลองพระองค์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
  • สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ (19 กรกฎาคม พ.ศ. 2096 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101)
    ทรงปลดเลดี้เจน เกรย์ออกจากราชบัลลังก์ และให้นับว่าทรงครองราชสมบัติภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชอนุชา โดยไม่ถือว่าเลดี้เจนเคยเป็นพระราชินีนาถแห่งอังกฤษเลย พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกของอังกฤษ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ[4]
  • สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2146)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐภคินีซึ่งไม่มีพระราชโอรสและธิดา และสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทด้วย การเสด็จสวรรคตนี้ส่งผลให้เกิดการรวมราชบัลลังก์อังกฤษและสก็อตแลนด์เข้าด้วยกัน (Union of the Crown) โดยกษัตริย์พระองค์ใหม่ พระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของอังกฤษ
  • สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 2 แห่งอังกฤษ (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2232 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2237)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระราชชนกและทรงครองราชสมบัติร่วมกับพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามี
  • สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ (8 มีนาคม พ.ศ. 2245 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2257)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 พระราชสวามีในสมเด็จพระเชษฐภคินี และทรงเป็นผู้ออกพระราชบัญญัติการรวมประเทศ (Act of Union) ซึ่งเป็นการรวมราชอาณาจักรอังกฤษและสก็อตแลนด์ให้เป็นประเทศหนึ่งเดียวคือ บริเตนใหญ่ (Great Britain)
  • สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (20 มิถุนายน พ.ศ. 2380 – 22 มกราคม พ.ศ. 2444)
    ทรงสืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระราชปิตุลา และเป็นพระราชินีนาถที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษ นอกจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 โดยทรงครองราชสมบัตินานถึง 63 ปี ซึ่งยาวนานกว่ารัชกาลใดในบรรดาพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ และทรงปกครองจักรวรรดิอังกฤษอันกว้างใหญ่ไพศาล ที่ในบางครั้งเรียกว่า "จักรวรรดิวิกตอเรีย" (Victorian Empire) อีกทั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ฉายพระรูปด้วย[5]
  • สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 – 8 กันยายน พ.ศ. 2565) ทรงสืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระราชบิดา ด้วยทรงเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ โดยทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถที่ครองราชยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นเวลาถึง 70 ปี และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

ไทย

พระนางจามเทวีเป็นพระราชินีนาถพระองค์แรกของหริภุญชัย

มอญ

กัมพูชา

สมเด็จพระมหาราชินีองค์มี

ลาว

เนเธอร์แลนด์

สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา

สวีเดน

สมเด็จพระราชินีนาถอูลริกา

เดนมาร์ก

สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2

โปแลนด์

สมเด็จพระราชินีนาถเจดวิกา

สเปน

สมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2

โปรตุเกส

สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2

ออสเตรีย

สมเด็จพระราชินีนาถมาเรีย เทเรซา

ฮังการี

โบฮีเมีย

โครเอเชีย

ไซปรัส

สมเด็จพระราชินีนาถแคทเทอรีน

เอธิโอเปีย

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถเซาดีตูที่ 1

อียิปต์โบราณ

สมเด็จพระราชินีนาถคลีโอพัตราที่ 7

รัสเซีย

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแคทเธอรีนที่ 2 มหาราชินี จักรพรรดินีนาถแห่งรัสเซีย

เกาหลี

จีน

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถบูเช็กเทียน
  • จักรพรรดินีบูเช็กเทียน
    พระสนมในจักรพรรดิถังไท่จง และต่อมาเป็นพระสนมเอกในจักรพรรดิถังเกาจง หลังจากชิงพระราชอำนาจจากฮองเฮาหวังได้สำเร็จ พระนางก็ได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮา หลังจากถังเกาจงสวรรคต พระราชโอรสของพระนางสืบราชสมบัติเป็นฮ่องเต้แห่งจีนสองพระองค์ แต่ถูกบูเชกเทียนถอดลงเสีย และพระองค์ได้เสด็จขึ้นทรงราชย์เสียเองเป็น ฮ่องเต้หญิง เพียงพระองค์เดียวของจีน อย่างไรก็ตามในบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระนางมีพระราชโองการให้ลบพระปรมาภิไธยออกจากการเป็นฮ่องเต้ โดยให้เหลือประวัติศาสตร์เพียงว่าทรงเป็นฮองเฮาในฮ่องเต้ถังเกาจงเท่านั้น[ต้องการอ้างอิง]

ญี่ปุ่น

สมเด็จพระจักรพรรดินีนาถซุอิโกะ
  • จักรพรรดินีจิงงุ
    พระองค์นี้มิได้เป็นจักรพรรดินีที่ครองราชย์ (Empress Regnant) แต่เป็นจักรพรรดินีผู้สำเร็จราชการ และทรงสำเร็จราชการยาวนานถึง 60 ปี พระนางทรงเป็นผู้หญิงคนแรกที่เป็นผู้นำประเทศญี่ปุ่น ทรงพระปรีชาสามารถถึงขนาดขณะมีพระครรภ์ 7 เดือนก็ยังเสด็จออกทรงรบร่วมกับพระราชสวามีได้ และทรงตัดหัวแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามได้ด้วย ชาวญี่ปุ่นถือเป็นต้นแบบของผู้หญิงเก่ง
  • จักรพรรดินีซุอิโกะ
  • จักรพรรดินีโคเคียวคุ (ทรงราชย์สองครั้ง)
  • จักรพรรดินีจิโต
  • จักรพรรดินีเกงเม
  • จักรพรรดินีเกงโช
  • จักรพรรดินีโคเก็ง (ทรงราชย์สองครั้ง)
  • จักรพรรดินีเมโช
  • จักรพรรดินีโกะ-ซะกุระมะชิ
    ทุกพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์คล้ายกัน คือเพราะพระราชบิดาไม่มีพระราชโอรสจึงทรงเลือกเป็นรัชทายาท หรืออาจให้เสกสมรสกับพระปิตุลา (น้องชายพ่อ) เพื่อให้ทรงราชย์ร่วมกัน หลังจากพระราชสวามี (ซึ่งเป็นอาของพระองค์) สวรรคต สมเด็จพระจักรพรรดินีเหล่านี้จึงทรงปกครองญี่ปุ่นอยู่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มกุฎราชกุมารมีพระชนมายุพอที่จะครองราชย์เองได้ (ยกเว้นสมเด็จสมเด็จพระจักรพรรดินีเกงโช ซึ่งเป็นพระปิตุจฉา (ป้า) ของจักรพรรดิองค์ต่อมา สมเด็จพระจักรพรรดิเก็มมุ) แต่ทั้งนี้ก็เพื่อเหตุผลเดียวกันคือรอจนกว่าพระราชวงศ์ฝ่ายหน้าที่เหมาะสมจะมีพระชนม์มากพอเสด็จขึ้นทรงราชย์ได้

ลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต

มาดากัสการ์

สมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3

ตองงา

สมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3

ฮาวาย

สมเด็จพระราชินีนาถลีลีโอกาลานี

เชิงอรรถ

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง