สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ หรือ สหภาพสวีเดน–นอร์เวย์ หรือ สวีเดน–นอร์เวย์ (สวีเดน: Svensk-norska unionen; นอร์เวย์: Den svensk-norske union) คือรัฐร่วมประมุขระหว่างสวีเดนและนอร์เวย์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์เบอร์นาดอตต์ ระหว่างปี ค.ศ. 1814 ถึง ค.ศ. 1905[3] ก่อนที่สวีเดนจะยอมรับการออกจากสหภาพของนอร์เวย์[4] รัฐทั้งสองมีรัฐธรรมนูญและอธิปไตยทั้งสามเป็นของตนเองซึ่งรวมถึงกองทัพ ศาสนจักร และการคลัง ส่วนพระมหากษัตริย์ประทับในกรุงสต็อกโฮล์ม ทรงมีอำนาจในการแต่งตั้งเอกอัคราชทูตประจำประเทศในต่างแดน ในส่วนของนอร์เวย์มีผู้สำเร็จราชการแทนทำหน้าที่บริหาราชการ ในสวีเดนจนถึง ค.ศ. 1829 และในนอร์เวย์จนถึง ค.ศ. 1856 โดยยกเลิกตำแหน่งรักษาการเมื่อปี ค.ศ. 1873 นโยบายต่างประเทศเป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศจนถึง ค.ศ. 1905 ภายหลังการล่มสลายของสหราชอาณาจักร[5][6]

สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์

Förenade Konungarikena Sverige och Norge
De forenede Kongeriger Norge og Sverige[A]
Sambandet millom Norig og Sverike[B]
ค.ศ. 1814–ค.ศ. 1905
ตราอาร์มหลวง (ค.ศ. 1844–1905)ของสวีเดนและนอร์เวย์
ตราอาร์มหลวง (ค.ศ. 1844–1905)
'เพลงชาติ: 'นอร์เวย์:
Norges Skaal (1814-1820)
Sønner av Norge (1820-1864)
ยา วีเอ็ลสเกอร์เด็ตเตอลันเนอ (โดยพฤตินัย)
สวีเดน:
ดูกามลา ดูเฟรีย (โดยพฤตินัย)

'เพลงสรรเสริญพระบารมี: 'นอร์เวย์:
ไม่มี
สวีเดน:
Bevare Gud vår kung (1805-1893)
คองซานเก็น (1844-1905)
สวีเดน–นอร์เวย์ในค.ศ. 1904
สวีเดน–นอร์เวย์ในค.ศ. 1904
สถานะรัฐร่วมประมุข
เมืองหลวงสต็อกโฮล์มและคริสตีเนีย[a]
ภาษาทั่วไปสวีเดน, นอร์เวย์,[b] เดนมาร์ก, ซามี, ฟินแลนด์
ศาสนา
นอร์เวย์:
คริสตจักรแห่งนอร์เวย์ (ศาสนาประจำชาติ)
สวีเดน:
คริสตจักรแห่งสวีเดน (ศาสนาประจำชาติ)
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1814–1818
พระเจ้าคาร์ลที่ 13/2
• ค.ศ. 1818–1844
พระเจ้าคาร์ลที่ 14 /โยฮันที่ 3
• ค.ศ. 1844–1859
พระเจ้าออสการ์ที่ 1
• ค.ศ. 1859–1872
พระเจ้าคาร์ลที่ 15/4
• ค.ศ. 1872–1905
สมเด็จพระเจ้าออสการ์ที่ 2
สภานิติบัญญัติฝ่ายนิติบัญญัติ:[d]
• รัฐสภาสวีเดน
ริกสดาก
• รัฐสภานอร์เวย์
สตอร์ทติง
ยุคประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามนโปเลียนถึงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
• สนธิสัญญาคีล
14 มกราคม ค.ศ. 1814
• รัฐสภานอร์เวย์เลือกพระเจ้าคาร์ลที่ 13 ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์
4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1814
• ประกาศใช้สกุลเงินเดียวกัน
16 ตุลาคม ค.ศ. 1875
• ยุบสหภาพ
26 ตุลาคม ค.ศ. 1905
ประชากร
• ค.ศ. 1820
3,550,000 คน[c]
• ค.ศ. 1905
7,560,000 คน[c]
สกุลเงินสวีเดน:
  • ริกสดาเลอร์ (ค.ศ. 1814–1873)
  • ครูนา (ค.ศ. 1873–1905)

นอร์เวย์:

  • สเปซีดาเลอร์ (ค.ศ. 1814–1875)
  • ครูเนอ (ค.ศ. 1875–1905)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สวีเดน
เดนมาร์ก–นอร์เวย์
นอร์เวย์
สวีเดน
นอร์เวย์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดน
นอร์เวย์
a. ^ พระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ กรุงสต็อกโฮล์ม (เป็นส่วนมาก) และกรุงคริสตีเนีย (ปีละหนึ่งเดือนโดยปกติ) ทรงมี่ราชกิจกับทั้งคณะรัฐมนตรีร่วมของสองประเทศในสหภาพ และคณะรัฐมนตรีเฉพาะของสวีเดนหรือนอร์เวย์ ซึ่งในเวลาที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับอยู่ในนอร์เวย์ รัฐมนตรีนอร์เวย์ส่วนมากในคณะรัฐมนตรีจะประชุมกันที่กรุงคริสตีเนีย

b. ^ มีการยกเลิกภาษาเขียนของนอร์เวย์ (บูกมอล) ตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเปลี่ยนไปใช้ภาษาเดนมาร์กแทน ซึ่งภาษาเขียนของเดนมาร์กนี้ยังคงถูกใช้ต่อไป แม้กระทั่งในช่วงการรวมเป็นสหภาพกับสวีเดน แต่ถูกดัดแปลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ต่อมาในปี ค.ศ. 1885 สภาสตอร์ทติงยอมรับภาษานือนอสก์ (ภาษานอร์เวย์ใหม่) เป็นภาษาราชการเทียบเท่ากับภาษาเดนมาร์ก
c. ^ ค.ศ. 1820: มีประชากรในสวีเดน 2,585,000 คน และนอร์เวย์ 970,000 คน[1]
ค.ศ. 1905: มีประชากรในสวีเดน 5,260,000 คน และนอร์เวย์ 2,300,000 คน[2]

d. ^ แต่เดิมสภาริกสดากของสวีเดนคือรัฐสภาที่ประกอบไปด้วยสี่ฐานันดร จนกระทั่ง ค.ศ. 1866 มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบสองสภา ส่วนสภาสตอร์ทติงของนอร์เวย์ใช้ระบบสภาเดี่ยวมาแต่เดิม ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำหน้าที่เลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี

นอร์เวย์มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับเดนมาร์ก, แต่เดนมาร์ก-นอร์เวย์เป็นพันธมิตรร่วมกับจักรวรรดินโปเลียน โดยมีสาเหตุจากการที่สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์และจักรวรรดิรัสเซียเข้าร่วมสงครามหลังจากที่สวีเดนเข้าครอบครองฟินแลนด์ ค.ศ. 1809 ในปี ค.ศ. 1814 นอร์เวย์ขอแยกตัวออกจากเดนมาร์กภายใต้สนธิสัญญาคีล ส่งผลให้นอร์เวย์เป็นอิสรภาพ โดยมีการเรียกประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญที่อิดโวลส์

ภายหลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งนอรเวย์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1814, พระเจ้าคริสเตียนที่ 8 (เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริค) ทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งนอร์เวย์ ระหว่างสงครามสวีเดน-นอร์เวย์ (ค.ศ. 1814) และ การประชุมใหญ่แห่งมอสส์ เจ้าชายคริสเตียน เฟรเดอริคทรงสละราชสมบัติภายหลังการเรียกประชุมรัฐสภา, Storting, โดยให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ และ การเข้าเป็นสหภาพร่วมกับสวีเดน. พระเจ้าคาร์ลที่ 13 ทรงลงพระปรมาภิทัยร่างรัฐธรรมนูญของสหภาพเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน. วันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1905 รัฐสภาประกาศว่ากษัตริย์แห่งสวีเดนไม่ได้เป็นกษัตริย์ของนอร์เวย์อีกต่อไป ทำให้การล่มสลายของสหราชอาณาจักรมีผลนับแต่นั้น ปฏิกิริยาตอบกลับในสวีเดนรุนแรงและสงครามระหว่างนอร์เวย์และสวีเดนใกล้จะเริ่มขึ้น เนื่องมากจากการลงประชามติทั้งสองครั้งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน จึงเป็นตัวกำหนดให้สหภาพกับสวีเดนล่มสลายและชาติใหม่ของนอร์เวย์เป็นการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข มีผลในวันที่ 26 ตุลาคม ภายหลังจากการรับรองผลการออกเสียงประชามติให้ฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง เจ้าชายคาร์ลแห่งเดนมาร์กทรงได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ใหม่ และ ทำพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 18 พฤศจิกายน ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7

สัญลักษณ์ประจำชาติ

ธง

ตราอาร์ม

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

เชิงอรรถ

วรรณกรรม

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง