สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1

ในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (ฝรั่งเศส: Première République) บางครั้งจะถูกเรียกในวิชาศึกษาประวัติศาสตร์ว่า ฝรั่งเศสภายใต้การปฏิวัติ (Revolutionary France) และชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธาณรัฐฝรั่งเศส (République française) ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1792 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ดำเนินไปจนถึงการประกาศสถาปนาจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 ภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต แม้ว่ารูปแบบของรัฐบาลจะเปลี่ยนไปหลายครั้งก็ตาม

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

République française
1792–1804
ธงชาติฝรั่งเศส
ธงชาติ (1792–1794)
ธงชาติ (1794–1804)
คำขวัญLiberté, égalité, fraternité, ou la mort!
(เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ หรือความตาย!)
เพลงชาติ(1795–1799)
Chant de guerre pour l'Armée du Rhin[1]
(1799–1804)
Chant du départ
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่หนึ่งใน ค.ศ. 1799
  •   เขตปกครองโดยตรง
  •   สาธารณรัฐพี่น้องและพื้นที่ยึดครอง
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
การปกครอง1792–1795 ลัทธิอำนาจนิยมแบบดีแร็กตัวร์สาธารณรัฐปฏิวัติ

1795–1799 คณาธิปไตยแบบดีแร็กตัวร์สาธารณรัฐ

1799–1804 สาธารณรัฐอัตตาธิปไตยภายใต้เผด็จการทหารแบบลัทธิโบนาปาร์ต
ประธานที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ 
• 1792
Jérôme Pétion de Villeneuve (คนแรก)
• 1795
Jean Joseph Victor Génissieu (คนสุดท้าย)
ประธานดีแร็กตัวร์ 
• 1795–1799
By rotation: 3 months duration
กงสุลเอก 
• 1799–1804
นโปเลียน โบนาปาร์ต
สภานิติบัญญัติสภากงว็องซียงแห่งชาติ
คณะดีแร็กตัวร์ฝรั่งเศส
คณะกงสุลฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์ 
14 กรกฎาคม 1789
• การโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ที่ 16
21 กันยายน 1792
5 กันยายน 1793 ถึง
28 กรกฎาคม 1794
• ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์
24 กรกฎาคม 1794
9 พฤศจิกายน 1799
• วุฒิสภาประกาศให้นโปเลียนเป็นจักรพรรดิ
18 พฤษภาคม 1804 1804
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (1791–1792)
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1

ช่วงเวลานี้มีความโดดเด่นคือการล่มสลายระบอบกษัตริย์ การก่อตั้งที่ประชุมใหญ่แห่งชาติและสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ปฏิกิริยาเดือนแตร์มิดอร์และการสถาปนาคณะดีแร็กตัวร์ และจบลงที่นโปเลียนก่อรัฐประหาร สถาปนาคณะกงสุล

จุดจบของราชาธิปไตยในฝรั่งเศส

ภายใต้สมัชชานิติบัญญัติซึ่งอยู่ในอำนาจก่อนการประกาศสถาปนาสาธาณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ฝรั่งเศสต้องพัวพันในสงครามกับปรัสเซียและออสเตรีย ในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1792 จอมพลดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ ผู้บัญชาการกองทัพออสเตรีย-ปรัสเซีย ได้ออกคำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ ซึ่งได้ข่มขู่ว่า จะถล่มกรุงปารีสให้ราบ หากมีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ภัยคุกคามจากต่างชาตินี้ทำให้ความปั่นป่วนทางการเมืองของฝรั่งเศสรุนแรงยิ่งขึ้นท่ามกลางการปฏิวัติฝรั่งเศส และความโกรธที่มากขึ้นและความรู้สึกเร่งด่วนในท่ามกลางฝ่ายต่าง ๆ ในเหตุการณ์จลาจล วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1792 ประชาชนบุกโจมตีพระราชวังตุยเลอรี สังหารทหารองค์รักษ์สวิสของพระมหากษัตริย์จำนวนหกร้อยนาย และยืนยันที่จะทำการถอดถอนพระมหากษัตริย์[2]

ความหวาดกลัวครั้งใหม่ในการต่อต้านการปฏิวัติก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น และในสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน ค.ศ. 1792 ม็อบชาวปารีสบุกเข้าไปในเรือนจำของเมือง พวกเขาสังหารนักโทษมากกว่าครึ่ง รวมทั้งขุนนาง นักบวช และนักโทษทางการเมือง แต่ยังรวมไปถึงอาชญากรทั่วไป เช่น โสเภณี หัวโขมย เหยื่อจำนวนมากถูกสังหารในห้องขัง: ถูกข่มขืน ถูกแทง และ/หรือถูกฟันจนถึงแก่ความตาย สิ่งเหล่านี้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ การสังหารหมู่เดือนกันยายน[3]

ที่ประชุมใหญ่แห่งชาติ (ค.ศ. 1792-1795)

สัญลักษณ์ฝ่ายสาธารณรัฐเป็นผสมผสานกันมาจากความปราถนาของผู้เข้าพิธีรับเป็นคริสต์ศาสนิกชนใน ค.ศ. 1794
สมาชิกผู้นำสาธารณรัฐที่หนึ่ง(และฝ่ายต่าง ๆ)
Jean-Marie Roland de la Platière (ฌีรงแด็ง)
Étienne Clavière (ฌีรงแด็ง)

ด้วยผลลัพธ์ของอุปสรรคที่เกิดขึ้นมาจากความรุนแรงในที่สาธารณะและความไม่มั่นคงทางการเมืองของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พรรคทั้งหกที่เป็นสมาชิกของสมัชชานิติบัญญัติของฝรั่งเศสได้ถูกกำหนดให้ควบคุมดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งก่อให้เกิดสภากงว็องซียง(Convention) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สองประการในการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์และร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่

กฏหมายฉบับแรกของสภากงว็องซียงคือการก่อตั้งสาธารณรัฐที่หนึ่งและถอดถอนกษัตริย์จากอำนาจทางการเมืองทั้งหมดอย่างเป็นทางการ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยพระองค์ทรงอยู่ในสถานะสามัญชนคนธรรมดาที่มีนามสกุลว่า กาแป ต่อมาได้ถูกนำตัวขึ้นศาลอาญาในข้อหากบฏต่อแผ่นดินซึ่งเริ่มต้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1792 เมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1793 พระองค์ทรงถูกตัดสินว่ามีความผิด และในวันที่ 21 มกราคม พระองค์ทรงถูกประหารชีวิต[4]

ตลอดช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1792 และฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1793 กรุงปารีสประสบปัญหาการก่อจลาจลทางอาหารและความอดอยากขนาดใหญ่ การประชุมใหญ่ครั้งใหม่ไม่ได้แก้ปัญหาเพียงแม้แต่เล็กน้อยจนถึงปลายฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1793 ครอบงำแทนที่ด้วยเรื่องของสงคราม ในท้ายที่สุด 6 เมษายน ค.ศ. 1793 สภากงว็องซียงได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมและได้รับมอบหมายภารกิจที่ยิ่งใหญ่: "เพื่อจัดการกับกลุ่มเคลื่อนไหวที่หัวรุนแรงของฝ่าย Enragés การขาดแคลนอาหารและการก่อจลาจล และการลุกฮือในวองเดและในบริตทานี ความปราชัยล่าสุดของกองทัพ และการหนีทัพของนายพลผู้บัญชาการทหาร"[5]

สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือ คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมได้กำหนดนโยบายที่น่าสะพรึงกลัว และเครื่องกิโยตินได้เริ่มทำการประหัดประหารศัตรูของสาธารณรัฐซึ่งเป็นที่รับรู้ในอัตราที่สูงมากขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่เป็นที่รู้จักกันจนถึงปัจจุบันคือ สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว[6]

แม้ว่าความไม่พอใจที่เกิดขึ้นกับสภากงว็องซียงในฐานะคณะการปกครอง แต่ในเดือนมิถุนายน สภากงว็องซียงได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ปี ค.ศ. 1793 ซึ่งได้รับสัตยาบันจากการลงคะแนนเสียงของประชาชนในช่วงต้นเดือนสิงหาคม อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมได้ถูกมองว่าเป็นรัฐบาล"ภาวะฉุกเฉิน" และสิทธิ์การรับรองโดยคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 และรัฐธรรนูญฉบับใหม่ถูกระงับภายใต้การควบคุม

รัฐธรรนูญของสาธารณรัฐไม่ได้จัดให้มีประมุขแห่งรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาลอย่างเป็นทางการ อาจมีการอภิปรายว่า ประมุขแห่งรัฐน่าจะเป็นประธานแห่งสมัชชาแห่งชาติภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ได้เปลี่ยนไปทุกสัปดาห์ และดังนั้นจึงไม่มีการจัดรูปแบบใด ๆ

คณะดีแร็กตัวร์ (ค.ศ. 1795-1799)

ภายหลังจากรอแบ็สปีแยร์ถูกจับกุมและประหารชีวิต เมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม ค.ศ. 1794 สโมสรฌากอแบ็งถูกสั่งปิดและกลุ่มฌีรงแด็งที่รอดชีวิตได้ถูกเรียกกลับคืนสถานะ อีกหนึ่งปีต่อมา สภากงว็องซียงแห่งชาติได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีที่สาม(Constitution of the Year III) พวกเขาสร้างเสรีภาพในสักการะบูชาขึ้นมาใหม่ เริ่มปล่อยนักโทษจำนวนมาก และที่สำคัญที่สุดคือ การริเริ่มการเลือกตั้งสำหรับสภานิติบัญญัติขึ้นมาใหม่

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1795 คณะดีแร็กตัวร์ได้ถูกก่อตั้งขึ้น ภายใต้ระบบนี้ ฝรั่งเศลถูกนำโดยรัฐสภาแบบสองสภา ประกอบไปด้วยสภาสูงที่ถูกเรียกว่า สภาอาวุโส (มีสมาชิก 250 คน) และสภาล่างที่ถูกเรียกว่า สภาห้าร้อย (มีสมาชิก 500 คน) และคณะผู้บริหารร่วมกันของสมาชิกทั้งห้าคนจึงถูกเรียกว่า คณะดีแร็กตัวร์ (ซึ่งช่วงเวลาในประวัติศาตร์ได้ชื่อนี้มา) เนื่องจากความไม่มั่นคงภายใน สาเหตุเกิดขึ้นมาจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงของเอกสารทางการเงินที่เรียกว่า อัสซิญาต์[7] และความหายนะทางทหารของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1798 และ ค.ศ. 1799 คณะดีแร็กตัวร์ได้ดำเนินมาเป็นเวลาเพียงแค่สี่ปีเท่านั้น จนกระทั่งถูกโค่นล้มอำนาจใน ค.ศ. 1799[ต้องการอ้างอิง]

คณะกงสุล (ค.ศ. 1799-1804)

ยุคสมัยคณะกงสุลได้เริ่มต้นขึ้นด้วยรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 สมาชิกของคณะดีแร็กตัวร์เองเป็นผู้วางแผนก่อรัฐประหาร เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอำนาจที่ล้มเหลวของคณะดีแร็กตัวร์ นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการก่อรัฐประหาร และกลายเป็นหัวหน้ารัฐบาลในฐานะกงสุลเอก

18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 นโปเลียนถูกประกาศให้เป็นจักรพรรดิโดยวุฒิสมาชิกสายอนุรักษนิยม (Sénat conservateur) ต่อมาเขาก็ปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสาธารณรัฐที่ 1 และนำไปสู่ยุคสมัยของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง[8]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง