สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์

สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ (อังกฤษ: Sunderland Association Football Club) ตั้งอยู่ในเมืองซันเดอร์แลนด์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ปัจจุบันแข่งขันในแชมเปียนชิป

ซันเดอร์แลนด์
Sunderland AFC
ชื่อเต็มSunderland Association Football Club
ฉายาThe Black Cats
แมวดำ
ก่อตั้งค.ศ. 1879 ในชื่อ Sunderland & District Teachers
สนามสเตเดียมออฟไลต์, ซันเดอร์แลนด์
ความจุ49,000 คน
เจ้าของคีริล หลุยส์-เดรย์ฟัส (64%)
ฆวน ซาร์โตรี (36%)[1]
ประธานคีริล หลุยส์-เดรย์ฟัส
ผู้จัดการโทนี โมว์เบรย์
ลีกอีเอฟแอลแชมเปียนชิป
2022–23อันดับที่ 6 ในแชมเปียนชิป
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

ประวัติ

สโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1879 ภายใต้ชื่อเดิม Sunderland & District Teachers Association ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น Sunderland Association Football Club และเข้าร่วมฟุตบอลลีกอาชีพในปี 1890 โดยในช่วงแรกระหว่างปี 1886-1898 ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับ สโมสรนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ซึ่งถือเป็นคู่แข่งสำคัญ ต่อมาในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนามโรเกอร์พาร์ก เป็นสนามเหย้าแห่งใหม่แทน ผลงานในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ 6 ครั้ง ในปี 1892, 1893, 1895, 1902, 1913 และ 1936 และเป็นแชมป์เอฟเอคัพ 2 ครั้ง ในปี 1937 และ 1973 ตามลำดับ

  • ปี 1987-1988

ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ย่ำแย่ทำให้ตกชั้นลงไปแข่งขันในระดับดิวิชัน 3 ของอังกฤษเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาภายใต้การทำทีมของ Dennis Smith ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสามารถคว้าแชมป์ดิวิชัน 3 ได้สำเร็จในฤดูกาลดังกล่าว

  • ปี 1995-1997

ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การนำของผู้จัดการทีมคนใหม่ "ปีเตอร์ รีด" เพียงแค่ฤดูกาลแรกก็สร้างความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมขึ้นสู่ระดับพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษ หลังจากต้องใช้ความพยายามมาอย่างยาวนาน แต่ในฤดูกาล 1996-1997 ซันเดอร์แลนด์กลับทำผลงานได้ไม่ดีนักทำให้จบฤดูกาลที่อันดับ 18 ต้องตกชั้นกลับไปเล่นในระดับดิวิชัน 1 ตามเดิม และในปีเดียวกันนั้น ซันเดอร์แลนด์ได้ย้ายสนามเหย้าจากสนาม Roker Park ที่เคยใช้งานมากว่า 99 ปี มายังสนามแห่งใหม่คือ สนาม Stadium of Light ที่มีความจุมากที่สุดแห่งหนึ่งในรอบ 70 ปีของสนามกีฬาในอังกฤษ ด้วยจำนวนที่นั่งผู้เข้าชม 42,000 คน (โดยต่อมาได้ขยายความจุเป็น 49,000 คน)

  • ปี 1997-2003

หลังจากใช้ความพยายามร่วม 2 ปี ซันเดอร์แลนด์ก็กลับมาแข่งขันในพรีเมียร์ลีกอีกครั้ง โดยในฤดูกาล 1998-1999 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำคะแนนได้สูงถึง 105 คะแนน ซึ่งกลายเป็นสถิติคะแนนสูงสุดในขณะนั้นอีกด้วย สำหรับผลงานในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1999-2000 และ 2000-2001 ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้ดีจบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 ทั้งสองฤดูกาล แต่ทว่ายังพลาดโอกาสที่จะไปเล่นฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยในฤดูกาล 2001-2002 ซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ไม่ดีนักแต่ก็สามารถหนีรอดการตกชั้นมาได้อย่างเฉียดฉิวด้วยอันดับ 17 แต่ในฤดูกาล 2002-2003 ซันเดอร์แลนด์ก็ยังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ต่อเนื่อง เมื่อชนะเพียง 4 เกม ยิงได้ 21 ประตู เก็บได้เพียง 19 คะแนน จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางจึงต้องตกชั้นไปในที่สุด โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ซันเดอร์แลนด์ตกอยู่ในภาวะหนี้สินท่วมสโมสรมากกว่า 20 ล้านปอนด์ ทำให้จำเป็นต้องขายนักเตะที่ดีที่สุดไปเพื่อชำระหนี้และพยุงสถานการณ์ของสโมสรให้ดีขึ้น

  • ปี 2003-2006

ซันเดอร์แลนด์โดยการทำทีมของ "มิค แมคคาร์ธธี" ใช้ความพยายาม 2 ปีจนได้แชมป์ลีก Coca-Cola Championship และได้กับมาเล่นในระดับพรีเมียร์ชิพอีกครั้ง (ครั้งที่ 3 ในรอบ 10 ปี) อย่างไรก็ตาม หลังจากจบฤดูกาล 2005-2006 ซันเดอร์แลนด์สามารถชนะได้เพียง 3 เกม และเก็บได้เพียง 15 คะแนนเท่านั้น จบด้วยอันดับสุดท้ายของตารางตกชั้นไปตามคาด โดยในครั้งนั้นซันเดอร์แลนด์ได้คะแนนน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์ของสโมสร ส่งผลให้ มิค แมคคาร์ธธี ต้องออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงกลางฤดูกาลในที่สุด

  • ปี 2006-2007

ความหวังของซันเดอร์แลนด์กลับมาเจิดจ้าอีกครั้ง เมื่อ "ไนออล ควินน์" อดีตนักเตะของซันเดอร์แลนด์ ร่วมกับกลุ่ม Irish Drumaville Consortium ได้เข้าซื้อกิจการของซันเดอร์แลนด์โดยทำการซื้อหุ้นจากประธานสโมสรคนก่อน Bob Murray พร้อมกับแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนใหม่คือ "รอย คีน" อดีตกัปตันทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เป็นผู้จัดการทีม ซึ่งเป็นอดีตนักเตะทีมชาติไอร์แลนด์ เช่นเดียวกันกับ ไนออล ควินน์ ซึ่งรับตำแหน่งประธานสโมสรในเวลาต่อมา ซึ่งหลังจากการเข้ามาของประธานสโมสรและผู้จัดการทีมคนใหม่ ซันเดอร์แลนด์สร้างสถิติไม่แพ้ใคร 17 นัดติดต่อกัน ในช่วงต้นปี 2007 เก็บคะแนนได้เป็นกอบเป็นกำ ขยับจากตำแหน่งบ๊วยของตารางขึ้นมาเป็นจ่าฝูง และทำให้ซันเดอร์แลนด์เลื่อนชั้นมาเล่นในพรีเมียร์ลีกอย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาเพียงปีเดียวในฐานะทีมชนะเลิศ พร้อมกับ เบอร์มิงแฮม ซิตี้ (อันดับ 2) และดาร์บี เคาน์ตี้ (เพลย์ออฟ)

  • ปี 2007-2010

ฤดูกาล 2007-2008 และ 2009-2010 ซันเดอร์แลนด์ ทำผลงานได้ไม่ดีนักภายใต้การคุมทีมของ รอย คีน และ ริคกี้ สบราเกีย จนต้องหนีการตกชั้นเกือบทั้งฤดูกาล และจบฤดูกาลด้วยอันดับ 15 และ 16 ตามลำดับ ทั้งที่มีนักเตะอย่าง ฌิบริล ซิสเซ่ อดีตหัวหอกลิเวอร์พูล, เคนวิน โจนส์ หัวหอกดาวซัลโวสโมสรฤดูกาล 2007-2008 รวมถึง คีแรน ริชาร์ดสัน อดีตนักเตะของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วย หลังจาก ริคกี้ สบราเกีย ลาออกจากตำแหน่ง "สตีฟ บรูซ" อดีตผู้จัดการทีมวีแกนก็เข้ามารับตำแหน่งแทน และได้ดึงนักเตะอย่าง ดาร์เรน เบนท์ กองหน้าจากสเปอร์ส, เฟรเซอร์ แคมป์เบลล์ หัวหอกดาวรุ่งจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด รวมถึง เปาโล ดาซิลวา ปราการหลังทีมชาติปารากวัย เข้ามาร่วมทีม การเสริมทัพครั้งนั้นนับว่าน่าสนใจและทำให้ซันเดอร์แลนด์ดูมีอนาคตที่ดีขึ้น โดยในช่วงต้นฤดูกาล 2009-2010 นี้เองในเกมส์ที่พบกับลิเวอร์พูลเกิดเหตุการ์ณที่สร้างความฮือฮาไปทั่ววงการเมื่อดาร์เรน เบนท์ กองหน้าซันเดอร์แลนด์ยิงไปโดนลูกบอลชายหาดที่แฟนบอลลิเวอร์พูลขว้างลงมาในสนาม ทำให้บอลเปลี่ยนทางเข้าประตูไปส่งผลให้ซันเดอร์แลนด์ชนะไป 1-0 และยังสามารถเอาชนะอาร์เซนอลด้วยสกอร์ 1-0 ก่อนที่ช่วงท้ายฤดูกาลซันเดอร์แลนด์จะฟอร์มตกจนหมดโอกาสที่จะลุ้นไปเล่นฟุตบอลยุโรปทั้งที่กองหน้าอย่างดาร์เรน เบนท์ โชว์ฟอร์มได้ยอดเยี่ยมด้วยการยิงไปถึง 24 ประตู

  • ฤดูกาล 2010-2011

ซันเดอร์แลนด์มีการเปลี่ยนแปลงทีมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อสโมสรได้ตัดสินใจขายลอริค ซานา และเคนวิน โจนส์ และได้ซื้อ อซาโมอาห์ ฌิยาน กองหน้าชาวกาน่าที่โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมจากศึกฟุตบอลโลก 2010 เข้ามาร่วมทีมด้วยค่าตัวที่เป็นสถิติใหม่ของสโมสรในราคาราว 13 ล้านปอนด์ ครึ่งแรกของฤดูกาลซันเดอร์แลนด์ทำผลงานได้ดี โดยอยู่ตำแหน่งที่สามารถลุ้นไปแข่งขันรายการสโมสรยุโรปได้ อย่างไรก็ดี ในช่วงเปิดตลาดซื้อขายนักเตะช่วงเดือนมกราคม ดาร์เรน เบนท์ ได้ยื่นขอขึ้นบัญชีย้ายทีม และได้ย้ายไปร่วมทีมแอสตันวิลลา ด้วยค่าตัว 18 ล้านปอนด์ โดยทางซันเดอร์แลนด์ได้ซื้อ สเตฟาน เซสเซยง เพลย์เมคเกอร์ ทีมชาติเบนินมาจาก ปารีส แซงแชร์กแมง มาทดแทน และ ยืมตัวซุลลี มุนตารี่ มาจากอินเตอร์มิลาน มาเสริมทีม โดยในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล แม้จะมีปัญหาการขาดหายไปของผู้เล่นชุดใหญ่หลายคนจากอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะกองหน้า แต่สโมสรก็ยังสามารถจบฤดูกาลในครึ่งบนของตารางพรีเมียร์ลีกได้โดยอยู่ในอันดับที่ 10 ตามเป้าที่วางไว้

  • ฤดูกาล 2011-2012

ฤดูกาล 2011-2012 ซันเดอร์แลนด์มีการปรับทัพนักเตะครั้งใหญ่ โดย สตีฟ บรูซ ได้เสริมทัพนักเตะเพิ่มอีก 10 คน โดยมี GK คีแรน เวสท์วูด, DF เวส บราวน์, จอห์น โอ’เชีย, MF เซบาสเตียน ลาร์สสัน, เจมส์ แมคคลีน, เดวิด วอห์น, เคร็ก การ์ดเนอร์, FW คอนเนอร์ วิคแฮม, จี ดง วอน, นิคลาส เบนท์เนอร์ (ยืมตัวมาจากอาร์เซนอล) แต่ก็ทำผลงานไม่ดีนัก ลงเตะ 13 นัด มีเพียง 11 คะแนน (จากการชนะ 2 นัด และเสมอ 5 นัด) พร้อมกับมีเสียงเรียกร้องให้ลาออกจากแฟนบอล โดยหลังจากที่สตีฟ บรูซ ทำทีมแพ้ วีแกน (ทีมอันดับ 20 ขณะนั้น) ในบ้านตัวเองด้วยสกอร์ 1-2 ความอดทนก็สิ้นสุดลง สตีฟ บรูซจึงถูกปลดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2011 โดย เอลลิส ชอร์ท ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสโมสรต่อจาก ไนออล ควินน์ และเจ้าของสโมสร

หลังจากนั้นไม่นานในวันที่ 3 ตุลาคม 2011 ซันเดอร์แลนด์ประกาศแต่งตั้ง "มาร์ติน โอนีล" เป็นผู้จัดการทีม และได้เข้าคุมทีมอย่างเป็นทางการนัดแรกในวันที่ 11 ธันวาคม 2554 โดยซันเดอร์แลนด์สามารถคว้าชัยชนะเหนือ แบล็คเบินร์โรเวอร์ ได้ด้วยสกอร์ 2-1 หลังจากนั้นภายใต้การคุมทีมของ มาร์ติน โอนีล ก็ทำให้ซันเดอร์แลนด์มีผลงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับและสามารถเก็บแต้มได้อย่างต่อเนื่อง จนได้รับรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำเดือนธันวาคม 2012 และเป็นที่ชื่นชอบของแฟนบอลได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ หลังจากทำแต้มในลีกห่างจากโซนตกชั้นได้แล้ว ยังทำผลงานได้ดี ในรายการฟุตบอลถ้วยเอฟเอคัพ ซึ่งสามารถผ่านเข้ารอบได้ถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนที่จะพ่ายให้กับสโมสรเอฟเวอร์ตัน และผลงานในลีกช่วงปลายฤดูกาลเริ่มแผ่วลง ก่อนที่จะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 13

  • ฤดูกาล 2015-2016

ฤดูกาล 2015-2016 ซันเดอร์แลนด์จบฤดูกาลด้วยการได้อันดับที่ 17 อันเป็นอันดับสุดท้ายที่จะอยู่ในระดับพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลหน้า

  • ฤดูกาล 2016-2017

ฤดูกาล 2016-2017 ซันเดอร์แลนด์ภายใต้การควบคุมสโมสรโดย เดวิด มอยส์ กลายเป็นสโมสรแรกที่ตกชั้นในเล่นในระดับเดอะแชมเปียนชิป ด้วยการอยู่อันดับที่ 20 อันดับสุดท้ายในตารางคะแนน ทั้งที่ยังไม่สิ้นสุดฤดูกาล โดยในนัดที่ 34 แพ้ต่อเบิร์นลีย์ ที่สนามสเตเดียมออฟไลฟ์ของตนเองไป 0-1 มีเพียง 21 คะแนน เท่ากับว่าในนัดที่เหลือไม่สามารถทำคะแนนไล่ตามสโมสรอื่นได้ทันแล้ว [2]

สนามเหย้า

ในช่วงแรกของการก่อตั้งสโมสร (ระหว่างปี 1886-1898) ซันเดอร์แลนด์ได้ใช้สนาม Newcastle Road ร่วมกับ Newcastle Unted ทีมคู่ปรับร่วมเมืองทำให้ทั้งสองสโมสรกลายเป็นทีมคู่แข่งกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นในปี 1898 ซันเดอร์แลนด์จึงได้ย้ายมาใช้สนาม Roker Park เป็นสนามเหย้าแทน และได้ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้ามาเป็นเวลาถึง 99 ปี ก่อนที่จะสร้างสนามแห่งใหม่คือสนาม Stadium of Light เพื่อใช้แข่งขันแทนสนามเดิมในปี 1997 และหลังจากนั้นซันเดอร์แลนด์ก็ใช้สนามดังกล่าวเป็นสนามเหย้ามาจนถึงปัจจุบัน

  • แผนการสร้างสนามใหม่

ปี 1996 สโมสรได้ว่าจ้างให้ บริษัท Ballast Wiltsher จำกัด (มหาชน) (บริษัทผู้สร้างสนาม Amsterdam Arena) เป็นผู้สร้างสนามแห่งใหม่ของสโมสรด้วยงบประมาณ 15 ล้านปอนด์ โดยสามารถรองรับผู้เข้าชมได้ถึง 42,000 คน และยังออกแบบให้สามารถเพิ่มขนาดของอัฒจันทร์ให้มีความจุได้สูงถึง 66,000 คนในอนาคต ในระหว่างการก่อสร้างสนามแห่งใหม่นี้สโมสรยังไม่ได้มีการกำหนดชื่อไว้ก่อน แต่ได้มีการเรียกกันในหมู่แฟนบอลว่า Wearmouth หรือ Monkwearmounth Stadium จนในที่สุดประธานสโมสรก็ได้ตัดสินใจเลือกใช้ชื่อ Stadium of Light อันเป็นชื่อที่เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสนามของ Benfica ในเมือง Lisbon ที่ชื่อ Estadio da Lus (แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Stadium of Light) โดยชื่อนี้มีที่มาจากตะเกียงส่องไฟของคนทำเหมือง ซึ่งสอดคล้องกับที่ตั้งของสนามแห่งนี้ที่ตั้งอยู่บนเหมืองถ่านหินเก่า และแฟนบอลของซันเดอร์แลนด์หลายพันคนก็มีอาชีพทำเหมืองด้วยเช่นกัน จึงเป็นชื่อที่มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

สนาม Stadium of Light ด้านนอก
สนาม Stadium of Light ด้านใน
  • สนาม Stadium of Light

สนาม Stadium of Light ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1997 โดยมีเจ้าชาย Andrew, Duke of York เป็นประธานในพิธี ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการแข่งขันนัดพิเศษระหว่างซันเดอร์แลนด์กับ Ajax Amsterdam (ทีมจากลีกเนอเธอร์แลนด์) เป็นนัดเปิดสนามอีกด้วย หลังจากนั้นสโมสรก็ใช้สนามแห่งนี้เป็นสนามเหย้าตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในฤดูกาลแรกที่เปิดใช้สนาม ขณะนั้นซันเดอร์แลนด์แข่งขันอยู่ในลีกระดับดิวิชัน 1 (ใหม่) มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันในสนามเฉลี่ยนัดละประมาณ 30,000 คน และในเกมสำคัญบางเกมสูงสุดถึง 40,000 คน แต่ในฤดูกาลถัดมา (1998-1999) ซันเดอร์แลนด์สามารถทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยมจนสามารถเลื่อนชั้นมาเล่นในระดับพรีเมียร์ลีกได้ จึงทำให้มีผู้เข้าชมเกมการแข่งขันเฉลี่ยสูงถึง 40,000 คน โดยในฤดูกาล 1999-2000 สนามเหย้าของซันเดอร์แลนด์จัดเป็นสนามแข่งขันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของสโมสรอังกฤษรองจาก Manchester United และ Newcastle Unted เท่านั้น ต่อมาในปี 2000 สโมสรได้ทุ่มงบประมาณอีก 7 ล้านปอนด์เพื่อขยายอัฒจันทร์ด้านทิศเหนือ ทำให้ปัจจุบันสนาม Stadium of Light สามารถจุผู้เข้าชมได้สูงถึง 49,000 คนเลยทีเดียว

ปัจจุบันสนาม Stadium of Light ยังเป็นสนามฟุตบอลอย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยซันเดอร์แลนด์ (University of Sunderland) ตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา นอกจากนี้ สนามแห่งนี้ยังเคยถูกใช้เป็นสนามแข่งขันฟุตบอลระดับชาติครั้งแรกเมื่อปี 1999 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตรระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติเบลเยียม และในการแข่งขันฟุตบอล Euro 2004 รอบคัดเลือกระหว่างทีมชาติอังกฤษกับทีมชาติตุรกี

สีประจำสโมสร

ในอดีตซันเดอร์แลนด์ใช้ชุดแข่งขันทีมเหย้าเป็นสีน้ำเงินล้วนโดยมีสีแดงเพียงเล็กน้อยบนบ่าเท่านั้น ต่อมาซันเดอร์แลนด์จึงได้เปลี่ยนชุดแข่งขันทีมเหย้ามาเป็นสีแดงสลับขาวตั้งแต่ปี 1887 เป็นต้นมา ทำให้สีแดงสลับขาวกลายเป็นสีประจำสโมสรตั้งแต่นั้นมาจนถึงฤดูกาลปัจจุบัน (ฤดูกาล 2011-2012)

ชื่อเล่น

ในอดีตที่ผ่านมาซันเดอร์แลนด์เคยมีชื่อเล่นที่เรียกกันหลายชื่อ เช่น Rokerites และ Rokermen เป็นต้น แต่หลังจากที่ซันเดอร์แลนด์ย้ายสนามเหย้าจาก Roker Park มาเป็น Stadium of Light ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ชื่อเล่นดังกล่าวจึงไม่มีความสัมพันธ์กับสโมสรอีกต่อไป ดังนั้น ซันเดอร์แลนด์จึงเปิดโอกาสให้แฟนบอลของสโมสรมีส่วนร่วมในการตั้งชื่อเล่นใหม่ให้กับสโมสร โดยในครั้งนั้นมีแฟนบอลเข้ามาร่วมตั้งชื่อเล่นให้กับสโมสรอย่างมากมาย ซึ่งสโมสรได้คัดเลือกชื่อที่มีความเหมาะสมและเป็นที่นิยมออกมาจำนวน 5 ชื่อ อันได้แก่ the Black Cats, the Light Brigade, the Miners, the Sols and the Mackems เพื่อให้แฟนบอลได้โหวตลงคะแนนเพื่อเลือกชื่อเล่นให้กับซันเดอร์แลนด์ในรอบสุดท้ายผ่านทางเว็บไซด์ของสโมสร ผลปรากฏว่าชื่อ the Black Cats หรือ แมวดำ ได้รับคะแนนโหวตอย่างท่วมท้นจากแฟนบอล (ราว 11,000 คะแนน) หรือคิดเป็นคะแนนโหวตถึงครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเลยทีเดียว ดังนั้น The Black Cats หรือ แมวดำ จึงกลายเป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของซันเดอร์แลนด์ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2023 [3]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
1GK แอนโธนี แพทเทอร์สัน
2DF ไนออล ฮักกินส์
3DF เดนนิส เซอร์คิน
4MF คอร์รี เอฟวันส์ (กัปตัน)
5DF แดเนียล บัลลาร์ด
6DF ทิโมธี เพ็มเบเล
7MF โจบ เบลลิงแฮม
9FW ลูอิส เซเมโด
10MF แพทริก รอเบิตส์
11FW เมสัน เบอร์สโตว์ (ยืมตัวจาก เชลซี)
12FW เอไลเซอร์ มาเยนดา
13MF ลุค โอนายเอ็น
15FW นาซารี รูซิน
17MF อับดูลลาห์ บา
18MF เอ็ลลิส เทย์เลอร์
เลขตำแหน่ง สัญชาติผู้เล่น
19FW เจวิสัน เบนเน็ตต์
20MF แจ็ค คลาร์ก
21MF อเล็กซ์ พริทชาร์ด
22MF อดิล อาอูชิช
23DF เจ็นสัน ซีลท์
24MF แดน นีล
25DF เน็คทาริออส ไทรแอนทิส
27MF เจย์ มาเท็ตเต
30GK นาธาน บิชอป
31MF คริส ริกก์
32DF เทร ฮิวม์
39MF ปิแอร์ เอควาห์
42DF อาจิ อลีเซ
46MF แบร็ดลีย์ แด็ค
MF แจ็ค ไดมอนด์

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
8MF เอ็ลเลียต เอ็มเบิลตัน (ยืมตัวไป ดาร์บีเคาน์ตี ถึง 31 พฤษภาคม 2024)
12GK อเล็กซ์ แบสส์ (ยืมตัวไป เอเอฟซี วิมเบิลดัน ถึง 31 พฤษภาคม 2024)
45DF โจ แอนเดอร์สัน (ยืมตัวไป ชรูส์บรีทาวน์ ถึง 31 พฤษภาคม 2024)

ผู้เล่นชุดต่ำกว่า 21 ปี

ณ วันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2023 [4]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
44GK แอดัม ริชาร์ดสัน
37DF เบ็น ครอมพ์ตัน
41DF แซ็ค จอห์นสัน
43DF คอนเนอร์ พาย
48DF แคลลัม วิลสัน
52DF โจเซฟ ไรเดอร์
DF เฮนรี ฟีลด์สัน
DF โอลิเวอร์ เบนบริดจ์
34MF เคเดน เคลลี
เลขตำแหน่ง สัญชาติผู้เล่น
36MF ทอม ชิอาบี
37MF เบ็น มิดเดิลมาส
MF มาร์แชลล์ เบิร์ค
33FW ไมเคิล สเปลล์แมน
38FW แฮร์รี การ์ดิเนอร์
47FW แม็กซ์ ธอมป์สัน
FW อีธาน มัวร์
FW ทิมูร์ ทูเทรอฟ

ผู้เล่นชุดต่ำกว่า 18 ปี

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลขตำแหน่งสัญชาติผู้เล่น
GK แดเนียล แคเมอรอน
GK แม็ทธิว ยัง
GK เบ็น เม็ทคาล์ฟ
GK โจ คอแวน
DF แจ็ค อาร์มสตรองก์
DF โจชัว แบ็กส์
DF ไคเล็ม บีทตี
DF ลุค เบลล์
DF เจนสัน โจนส์
DF ธอมัส เลฟเวอรี
DF เจย์เด็น เซเคเต
DF ฟินเลย์ ฮอลครอฟท์
MF โจช รอเบิร์ตสัน
MF คิวบา มิทเชลล์
MF แดเนียล ออโบโล
MF เบ็น ครีมเมอร์
เลขตำแหน่ง สัญชาติผู้เล่น
MF ไรอัน ไรท์
MF เจย์ดอน โจนส์
MF เทรย์ แซมูเอล-โอกุนซุยี
MF แจ็ค วิทเทเคอร์
MF อารอน ชุง
MF เบ็น คินดอน
MF แดเนียล พาร์คเกอร์
MF โจ นีลด์
MF ชาร์ลี ทินเดล
MF ฟิน กาแรกุซาน
MF เลียม ฮันท์
FW เมสัน คอทเชอร์
49FW ทอม วัตสัน
FW เจค วอเตอรส์
FW แฮริสัน โจนส์

ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำสโมสร

ชุดผู้ฝึกสอน

ณ วันที่ 2 กันยายน 2022 [5]
ตำแหน่งชื่อ
ผู้อำนวยการกีฬา คริสท์จาน สปีคแมน
หัวหน้าผู้ฝึกสอน โทนี โมว์เบรย์
ผู้ช่วยหัวหน้าผู้ฝึกสอน มาร์ค วีนัส
ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ ไมค์ ดอดส์
ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ ไมเคิล พร็อคเตอร์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู อเลสซานโดร บาร์คเครินี
ผู้จัดการสถานฝึกสอนเยาวชน รอบิน นิโคลส์
หัวหน้าผู้ฝึกสอนสถานฝึกสอนเยาวชน สจ๊วรต์ อิงลิช
ผู้นำฝึกสอนทีมชุดอายุต่ำกว่า 21 ปี แกรม เมอร์ที
ผู้นำฝึกสอนทีมชุดอายุต่ำกว่า 18 ปี จอห์น เฮวิทสัน

คณะกรรมการสโมสร

ณ วันที่ 2 กันยายน 2021 [6]
ตำแหน่งชื่อ
เจ้าของ/ประธานสโมสร คีริล หลุยส์-เดรฟุส
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ สตีฟ เดวิสัน
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ฆวน ซาร์โตรี
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร มัวรีซ หลุยส์-เดรฟุส
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ซิโมน วุมบาคา
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ปาทริค โทรแยร์
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร อิกอร์ เลวิน
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เดวิด โจนส์

ผลงานที่ผ่านมา

  • ตารางคะแนน (ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งพรีเมียร์ลีก)

      เลื่อนชั้น      คงที่      ตกชั้น

ฤดูกาล/ค.ศ.การแข่งขันอันดับแข่งชนะเสมอแพ้ประตูได้ประตูเสียผลต่างประตูคะแนน
1992-1993ดิวิชัน 1 (เดิม)21461311225064-1450
1993-1994ดิวิชัน 1 (เดิม)1246198195457-365
1994-1995ดิวิชัน 1 (เดิม)20461218164145-454
1995-1996ดิวิชัน 1 (เดิม)146221775933+2083
1996-1997พรีเมียร์ลีก18381010183553-1840
1997-1998ดิวิชัน 1 (เดิม)346261288650+3690
1998-1999ดิวิชัน 1 (เดิม)146311239128+63105
1999-2000พรีเมียร์ลีก7381610125756+158
2000-2001พรีเมียร์ลีก7381512114641+557
2001-2002พรีเมียร์ลีก17381010182951-2240
2002-2003พรีเมียร์ลีก203847272165-4419
2003-2004ดิวิชัน 1 (เดิม)3462213116245-1779
2004-2005แชมเปี้ยนชิพลีก146297107641+3594
2005-2006พรีเมียร์ลีก203836292669-4315
2006-2007แชมเปี้ยนชิพลีก146277127647+2988
2007-2008พรีเมียร์ลีก1538116213659-2339
2008-2009พรีเมียร์ลีก163899203454-2036
2009-2010พรีเมียร์ลีก13381111164856-844
2010-2011พรีเมียร์ลีก10381211154556-1147
2011-2012พรีเมียร์ลีก13381112154546-145
2012-2013พรีเมียร์ลีก1738912174154-1339
2013-2014พรีเมียร์ลีก1438108204160-1938
2014-2015พรีเมียร์ลีก1638717143153-2238
2015-2016พรีเมียร์ลีก1738912174862-1439
2016-2017พรีเมียร์ลีก203866262969-4024
2017-2018แชมเปี้ยนชิพลีก2446716235280-2837
2018-2019ลีกวัน546221958047+3385
2019-2020ลีกวัน836161194832+1659
2020-2021ลีกวัน446201797042+2877
2021-2022ลีกวัน5462412107953+2684

สถิติที่สำคัญ

สถิติการแข่งขัน

ระยะเวลา 117 ปี (76 ปีในลีกสูงสุด) ซันเดอร์แลนด์เล่นไปแล้วกว่า 4,700 นัด โดยเฉลี่ยชนะ 41% เสมอ 24% และแพ้ 35% ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วประตูได้เสีย รวมแล้วได้มากกว่าเสียประมาณ 600 ประตู

  • สถิติผู้ชม
    • ผู้ชมสูงสุด (รวมทุกรายการ): 75,118 (ดาร์บี้ เค้าท์ตี้ - เอฟเอคัพ รอบที่ 6 นัดแข่งใหม่ - 8 มีนาคม 1933 - สนามโรเกอร์พาร์ก)
    • ผู้ชมสูงสุด (เกมลีก): 68,004 (นิวคาสเซิลยูไนเต็ด - 4 มีนาคม 1950) โดยมีการคาดการว่าอาจมีผู้ชมเข้าชมมากถึง 90,000 ในเกมที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปี 1964 ที่สนามโรเกอร์พาร์ก
    • ผู้ชมสูงสุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 48,355 (ลิเวอร์พูล - พรีเมียร์ลีก - 13 เมษายน 2002) นอกจากนี้สถิติที่เคยทำได้สูงสุดหลังจากไม่ได้เล่นในระดับลีกสูงสุดคือ 47,350 (สโตคซิตี้ - ลีกแชมเปียนชิพ - 8 พฤษภาคม 2005)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (รวมทุกรายการ): 1,000? (ประมาณการตัวเลข) (Firefield - เอฟเอคัพรอบแรก - 2 กุมภาพันธ์ 1895 - สนามนิวคาสเซิลโร้ด)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (เกมลีก): 2,000? (ประมาณการตัวเลข และทั้งสองเกมแข่งที่โรเกอร์พาร์ก) (เอฟเวอร์ตัน - 10 เมษายน 1910 หรือ เบิร์นลี่ย์ - 12 ธันวาคม 1914)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 11,450 (เชสเตอร์ซิตี้ - ลีกคัพรอบแรก - 24 สิงหาคม 2004)
    • ผู้ชมน้อยที่สุด (สนามสเตเดียมออฟไลต์, เกมลีก): 22,167 (วีแกนแอทเลติค - 2 ธันวาคม 2003)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (รวมทุกรายการ): 47,976 (1949-1950 - โรเกอร์พาร์ก)
    • ผู้ชมสูงสุดโดยเฉลี่ย (สนามสเตเดียมออฟไลต์): 46,790 (2000-2001)
    • ผู้ชมสูงสุดเปรียบเทียบกับพื้นที่อัฒจันทร์: 97% (1999-2000)
  • ผลการแข่งขัน
    • ชนะมากที่สูงสุด (เกมลีก): 1-9 (นิวคาสเซิลยูไนเต็ด - 5 ธันวาคม 1908)
    • ชนะมากที่สูงสุด (ฟุตบอลถ้วย): 11-1 (Fairfield - 2 กุมภาพันธ์ 1895)
    • แพ้มากที่สุด: 8-0 (เชฟฟิลด์เวนสเดย์ - 26 ธันวาคม 1911, เวสต์แฮมยูไนเต็ด - 19 ตุลาคม 1968 และวัตฟอร์ด - 25 กันยายน 1982)
  • ผู้เล่น
    • ลงเล่นมากที่สุดตลอดกาล: 623 นัด - Jimmy Montgomery (เกมลีก 537, ฟุตบอลถ้วย 78 และอื่นๆ 8 นัด)
    • ทำประตูมากที่สุดตลอดกาล: 228 ประตู - Bobby Gurney
    • ทำประตูมากที่สุดเมื่อเร็วๆ นี้: 113 ประตู - Kevin Phillips
    • ทำประตูมากที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 43 ประตู - Dave Halliday ฤดูกาล 1928-29
  • ผลการแข่งขันต่อเนื่อง
    • ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 13 เกม (14 พฤศจิกายน 1891 - 2 เมษายน 1982)
    • เสมอติดต่อกันนานที่สุด: 6 เกม (26 มีนาคม 1949 - 19 เมษายน 1949)
    • แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 17 เกม (18 มกราคม 2003 - 23 สิงหาคม 2003)
    • ไม่แพ้ติดต่อกันนานที่สุด: 19 เกม (3 พฤษภาคม 1998 - 11 พฤศจิกายน 1998)
    • ไม่ชนะติดต่อกันนานที่สุด: 22 เกม (21 ธันวาคม 2002 - 23 สิงหาคม 2003)
  • คะแนน
    • คะแนนสูงสุดในหนึ่งฤดูกาล: 105 คะแนน (ดิวิชัน 1 ฤดูกาล 1998-99) (เป็นบันทึกในฟุตบอลลีกของอังกฤษ)
    • คะแนนน้อยที่สุดในหนึ่งฤดูกาล: 15 คะแนน (พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2005-06)

สถิติการนักเตะ

  • นักเตะที่ทำประตูสูงสุด (ลีก)
ฤดูกาล/ค.ศ.ชื่อสัญชาติตำแหน่งประตู
1992-1993Don Goodman FW16
1993-1994Phil Gray FW14
1994-1995Phil Gray FW12
1995-1996Craig Russell FW13
1996-1997Craig Russell FW4
Paul Stewart FW4
1997-1998Kevin Phillips FW29
1998-1999Kevin Phillips FW23
1999-2000Kevin Phillips FW30
2000-2001Kevin Phillips FW14
2001-2002Kevin Phillips FW11
2002-2003Kevin Phillips FW6
2003-2004Marcus Stewart FW14
2004-2005Marcus Stewart FW16
2005-2006Liam Lawrence MF3
Anthony Le Tallec FW3
Tommy Miller MF3
Dean Whitehead DF3
2006-2007David Connolly FW13
2007-2008Kenwyne Jones FW7
2008-2009Djibril Cissé FW10
Kenwyne Jones FW10
2009-2010Darren Bent FW24
2010-2011Asamoah Gyan FW10
2011-2012Stephane Sessegnon FW7
Sebastian Larsson MF7
2012-2013Steven Fletcher FW11
2013-2014Adam Johnson MF8

อันดับมูลค่าการซื้อผู้เล่น

วันที่ตำแหน่งชื่อจากค่าตัวอ้างอิง
31 สิงหาคม 2016MF ดิดิเยร์ เอ็นดอง ลอริยองต์13.8 ล้านปอนด์[7]
31 สิงหาคม 2010FW อะซาโมอาห์ จยาน แรนส์13 ล้านปอนด์[8]
24 สิงหาคม 2012FW สตีเวน เฟล็ตเชอร์ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์12 ล้านปอนด์[9]
29 มิถุนายน 2011FW คอนเนอร์ วิกคัม อิปสวิชทาวน์12 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 8 ล้านปอนด์)[10]
5 สิงหาคม 2014MF แจ็ก ร็อดเวลล์ แมนเชสเตอร์ซิตี10 ล้านปอนด์[11]
23 สิงหาคม 2012MF แอดัม จอห์นสัน แมนเชสเตอร์ซิตี£10 ล้านปอนด์[12]
5 สิงหาคม 2009FW แดร์เรน เบนต์ ทอตนัมฮอตสเปอร์10 ล้านปอนด์[13]
31 สิงหาคม 2015FW ฟาบีโอ โบรีนี ลิเวอร์พูล10 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 8 ล้านปอนด์)[14]
1 สิงหาคม 2015MF ริการ์โด กาบริเอล อัลบาเรซ อินเตอร์มิลาน9 ล้านปอนด์[15]
30 มกราคม 2016MF วาห์บี คาซรี บอร์โด9 ล้านปอนด์[16]
8 สิงหาคม 2007GK เคร็ก กอร์ดอน ฮาร์ตออฟมิดโลเธียน9 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 7 ล้านปอนด์)[17]
15 กรกฎาคม 2015MF เจเรเมน เลนส์ ดือนามอกือยิว8 ล้านปอนด์[18]
27 สิงหาคม 2013DF แอนทอน เฟอร์ดินานด์ เวสต์แฮมยูไนเต็ด8 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 6.75 ล้านปอนด์)[19]
5 สิงหาคม 2016DF ปาปี ฌีโลโบฌี เชลซี8 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 6.75 ล้านปอนด์)[20]
30 สิงหาคม 2002FW ทูเรอ อันเดร ฟลู กลาสโกว์เรนเจอส์6.75 ล้านปอนด์[21]
16 กรกฎาคม 2013MF เอมานูเอเล จักเกรีนี ยูเวนตุส6.5 ล้านปอนด์[22]
30 มิถุนายน 2013FW โจซี อัลทิดอร์ อาเซ็ด อัลก์มาร์6 ล้านปอนด์[23]
30 มิถุนายน 2011MF เคร็ก การ์ดเนอร์ เบอร์มิงแฮมซิตี6 ล้านปอนด์[24]
29 สิงหาคม 2007FW เคนวินน์ โจนส์ เซาแทมป์ตัน6 ล้านปอนด์[25]
12 สิงหาคม 2009MF ลี แคตเทอร์โมล วีแกนแอทเลติก6 ล้านปอนด์[26]
29 มกราคม 2011FW สเตฟาน เซสเซยง ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง6 ล้านปอนด์[27]
1 กันยายน 2008DF จอร์จ แม็คคาร์ทนีย์ เวสต์แฮมยูไนเต็ด5.5 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 4.5 ล้านปอนด์)[28]
16 กรกฎาคม 2007MF เคียแร็น ริชาร์ดสัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด5.5 ล้านปอนด์[29]
31 มกราคม 2013FW แดนนี เกรแฮม สวอนซีซิตี5 ล้านปอนด์[30]
30 กรกฎาคม 2008MF สตีด มอลบรองค์ ทอตนัมฮอตสเปอร์5 ล้านปอนด์[31]
26 กรกฎาคม 2009MF ลอริค ซานา ออแล็งปิกเดอมาร์แซย์5 ล้านปอนด์[32]
13 กรกฎาคม 2007FW ไมเคิล โชปรา คาร์ดิฟฟ์ซิตี5 ล้านปอนด์[33]
7 กรกฎาคม 2011DF จอห์น โอเช แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด5 ล้านปอนด์[34]

อันดับมูลค่าการขายผู้เล่น

วันที่ตำแหน่งชื่อไปยังค่าตัวอ้างอิง
15 มิถุนายน 2017GK จอร์แดน พิกฟอร์ด เอฟเวอร์ตัน30 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 25 ล้านปอนด์)[35]
18 มกราคม 2011FW แดร์เรน เบนต์ แอสตันวิลลา24 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 18 ล้านปอนด์)[36]
9 มิถุนายน 2011MF จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ลิเวอร์พูล20 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 16.25 ล้านปอนด์)[37]
30 มกราคม 2017DF ปาตริก ฟัน อานโฮลต์ คริสตัลพาเลซ14 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 9 ล้านปอนด์)[38]
25 มิถุนายน 2013GK ซีมง มีญอแล ลิเวอร์พูล11.25 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 9 ล้านปอนด์)[39]
3 สิงหาคม 2015FW คอนเนอร์ วิกคัม คริสตัลพาเลซ9 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 7 ล้านปอนด์)[40]
17 กรกฎาคม 2018MF วาห์บี คาซรี แซ็งเตเตียน9 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 6 ล้านปอนด์)[41]
12 สิงหาคม 2010FW เคนวินน์ โจนส์ สโตกซิตี8 ล้านปอนด์[42]
31 สิงหาคม 2013FW สเตฟาน เซสเซยง เวสต์บรอมมิชอัลเบียน6.5 ล้านปอนด์[43]
9 กรกฎาคม 2012FW อะซาโมอาห์ จยาน อัล-อาอิน6 ล้านปอนด์ (เพิ่มเติมจากค่ายืมตัวที่ได้รับก่อนหน้า 6 ล้านปอนด์)[44]
1 มิถุนายน 2018MF เจเรเมน เลนส์ เบชิกทัช6 ล้านปอนด์ (รวมกับค่ายืมตัว 1.5 ล้านปอนด์)[45]
30 มิถุนายน 2017FW ฟาบีโอ โบรีนี เอซี มิลาน5.3 ล้านปอนด์ (ล่วงหน้า 1 ล้านปอนด์)[46]
30 สิงหาคม 2001MF ดอน ฮัทชิสัน เวสต์แฮมยูไนเต็ด£5.25 ล้านปอนด์[47]
8 กรกฎาคม 2010MF ลอริค ซานา กาลาทาซาไร5.1 ล้านปอนด์[48]
24 กรกฎาคม 2009MF ดีน ไวท์เฮด สโตกซิตี5 ล้านปอนด์[49]
23 กรกฎาคม 1999FW ไมเคิล บริดเจส ลีดส์ยูไนเต็ด5 ล้านปอนด์[50]
26 มิถุนายน 2018MF แพดดี มักแนร์ มิดเดิลส์เบรอ5 ล้านปอนด์[51]

เกียรติประวัติ

  • ฟุตบอลลีกอังกฤษ
การแข่งขันประเภทรางวัลจำนวนครั้งฤดูกาล/ค.ศ.
ลีกสูงสุด
แชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)
6
1891-1892, 1892-1893, 1894-1895, 1901-1902, 1912-1913, 1935-1936
รองแชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)
5
1893-1894, 1897-1898, 1900-1901, 1922-1923, 1934-1935
ลีกอันดับ 2
แชมป์ดิวิชัน 2 (เดิม)
1
1975-1976
รองแชมป์ดิวิชัน 2 (เดิม)
1
1963-1964
แชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม)
2
1995-1996, 1998-1999
แชมป์แชมเปี้ยนชิพ
2
2004-2005, 2006-2007
ลีกอันดับ 3
แชมป์ดิวิชัน 3 (เดิม)
1
1987-1988
ลีกวันเพลย์ออฟ
1
2021-2022
  • ฟุตบอลถ้วยอังกฤษ
การแข่งขันประเภทรางวัลจำนวนครั้งฤดูกาล/ค.ศ.
เอฟเอคีพแชมป์เอฟเอคัพ
2
1937, 1973
รองแชมป์เอฟเอคัพ
2
1913, 1992
ลีกคัพรองแชมป์ลีกคัพ
2
1985, 2014
Charity Shieldแชมป์ Charity Shield
1
1936
รองแชมป์ Charity Shield
1
1937
EFL Trophyแชมป์ EFL Trophy
1
2021
รองแชมป์ EFL Trophy
1
2019
  • อื่น ๆ
การแข่งขันจำนวนครั้งฤดูกาล/ค.ศ.
รางวัล BBC Sports Personality Team of the Year
1
1973
Football World Championship
1
1895
รองแชมป์พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี
1
2013

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง