ประเทศตรินิแดดและโตเบโก

ประเทศในแคริบเบียน
(เปลี่ยนทางจาก ตรินิแดดและโตเบโก)

ตรินิแดดและโตเบโก (อังกฤษ: Trinidad and Tobago, /ˈtrɪnɪdæd ...tbˈɡ/ ( ฟังเสียง)) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (Republic of Trinidad and Tobago) เป็นชาติที่ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียนมีบางส่วนติดทวีปอเมริกาใต้ ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งเวเนซุเอลา 11 กิโลเมตร เป็นรัฐที่เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วยเกาะหลัก 2 เกาะคือ เกาะตรินิแดด เกาะโตเบโก และเกาะเล็กอื่น ๆ อีก 21 เกาะ โดยตรินิแดดเป็นเกาะที่ใหญ่กว่าและมีประชากรมากกว่า ในขณะที่โตเบโกมีขนาดเล็กกว่า (303 ตารางกิโลเมตร ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด) และมีประชากรน้อยกว่า (50,000 คน ร้อยละ 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด) ในภาษาอังกฤษ พลเมืองมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า Trinidadians (ชาวตรินิแดด) หรือ Tobagonians (ชาวโตเบโก) หรือ Citizens of Trinidad and Tobago (ชาวตรินิแดดและโตเบโก) แต่ก็มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Trinis หรือ Trinbagonians

สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก

Republic of Trinidad and Tobago (อังกฤษ)
คำขวัญ"ร่วมกันเราปรารถนา ร่วมกันเราบรรลุผล" (อังกฤษ: Together We Aspire, Together We Achieve)
ที่ตั้งของ ประเทศตรินิแดดและโตเบโก  (เขียว) ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)
ที่ตั้งของ ประเทศตรินิแดดและโตเบโก  (เขียว)

ในทวีปอเมริกาใต้  (เทา)

ที่ตั้งของตรินิแดดและโตเบโก
เมืองหลวงพอร์ตออฟสเปน
10°40′0″N 61°30′27″W / 10.66667°N 61.50750°W / 10.66667; -61.50750
เมืองใหญ่สุดซานเฟอร์นันโด
10°17′N 61°28′W / 10.283°N 61.467°W / 10.283; -61.467
ภาษาราชการอังกฤษ[1]
ภาษาอื่น ๆดูภาษาในตรินิแดดและโตเบโก[2]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2011)[3]
  • 37.6% อินเดีย
  • 36.3% แอฟริกา
  • 24.4% ผสม
  •    — 7.66% Dougla
  • 0.65% ยุโรป
  •    — 0.06% โปรตุเกส
  • 0.30% จีน
  • 0.11% อเมรินเดียนพื้นเมือง
    (รวม Santa Rosa First Peoples Community)
  • 0.08% อาหรับ
  • 0.17% อื่น ๆ
  • 6.22% ไม่ระบุ
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
• ประธานาธิบดี
คริสติน แคนกาลู (อิสระ)
• นายกรัฐมนตรี
เคธ โรว์ลีย์ (พีเอ็นเอ็ม)
• ประธานสภา
บริดจิด แอนนิเซตต์-จอร์จ (พีเอ็นเอ็ม)
• ประธานวุฒิสภา
Nigel de Freitas
• ประธานศาลสูงสุด
ไอวอร์ อาร์ชี
• ผู้นำฝ่ายค้าน
กมลา ประสาท-พิเสสร (ยูเอ็นซี)
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
• เอกราชจากสหราชอาณาจักร
31 สิงหาคม ค.ศ. 1962
• สนธิสัญญาชากวารามัส[a]
1 สิงหาคม ค.ศ. 1973
• สาธารณรัฐ
1 สิงหาคม ค.ศ. 1976
(ฉลองวันที่ 24 กันยายน)[4][5][6]
พื้นที่
• รวม
5,131 ตารางกิโลเมตร (1,981 ตารางไมล์) (อันดับที่ 164)
น้อยมาก
ประชากร
• ค.ศ. 2020 ประมาณ
1,366,725[7] (อันดับที่ 151)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
1,328,019[8]
264 ต่อตารางกิโลเมตร (683.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 34)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
45.148 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
32,684 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2019 (ประมาณ)
• รวม
22.438 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
16,243 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีนี (ค.ศ. 2012)39.0[10]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.796[11]
สูง · อันดับที่ 67
สกุลเงินดอลลาร์ตรินิแดดและโตเบโก (TTD)
เขตเวลาUTC-4 (เวลามาตรฐานแอตแลนติก)
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์+1 (868)
โดเมนบนสุด.tt

ตรินิแดดและโตเบโกมีลักษณะต่างจากประเทศในภูมิภาคแคริบเบียนที่ใช้ภาษาอังกฤษประเทศอื่น ๆ คือมีการประกอบอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพื้นฐานเศรษฐกิจอยู่บนปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวอินเดียและชาวแอฟริกามีจำนวนรวมกันถึงเกือบร้อยละ 80 ของจำนวนประชากร ส่วนที่เหลือเป็นเชื้อชาติผสม, ชาวยุโรป, ชาวจีน และชาวซีเรีย-เลบานอน ตรินิแดดและโตเบโกมีชื่อเสียงในเรื่องงานคาร์นิวัลที่จัดก่อนฤดูถือบวชของคริสต์ (Lenten) และเป็นถิ่นกำเนิดของดนตรีสตีลแพน (Steelpan) และการเต้นลิมโบ เมืองหลวง (พอร์ตออฟสเปน) เป็นผู้เสนอตัวเป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวรเขตการค้าเสรีอเมริกา (Free Trade Area of the Americas: FTAA-ALCA)

การเมืองการปกครอง

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดี เป็นประมุขของรัฐ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในแบบคณะผู้เลือกตั้ง (Electroral College) ประกอบด้วยสมาชิกจากวุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 ได้ ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (โดยทั่วไปจะเป็นผู้นำพรรคการเมืองเสียงข้างมาก หรือ ผู้นำรัฐบาลผสม) และเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีจากสมาชิกรัฐสภา

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ระบบ 2 สภา (bicameral parliament) ประกอบด้วย (1) วุฒิสภา (Senate) สมาชิก 31 ที่นั่ง 16 ที่นั่งมาจากการแต่งตั้งโดยพรรคการเมืองเสียงข้างมากในสภา 9 ที่นั่งจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี (2) สภาผู้แทนราษฎร (house of Representatives) จำนวน 41 เสียง สมาชิกมาจากการแต่งตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ

ระบอบกฎหมาย : ระบบกฎหมายจารีตประเพณีของอังกฤษ (English Common Law) มีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายในศาลฎีกาสูงสุดรูปแบบ : ศาลสูงสุด (Supreme Court of Judicature) ประกอบด้วยศาลสูง (High Court of Justice และศาลอุทธรณ์ (Court of Appeals) ศาลสูงสุดของศาลอุทธรณ์ได้แก่ สภาองคมนตรี (Privy Council) ในกรุงลอนดอน นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกของ Caribbean Court of Justice (CCJ)

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตการปกครองของตรินิแดดและโตเบโก

ประเทศตรินิแดดและโตเบโกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 ภูมิภาค 3 เขตการปกครอง (boroughs) 2 นคร และ 1 เขต (Ward - เขตการเลือกตั้ง)

9 ภูมิภาค ได้แก่ Couva (Tabaquite หรือ Talparo) Diego Martin Mayaro (Rio Claro) Penal (Debe) Princes Town Sangre Grande ซานฮวน (Laventille) Siparia และTunapuna (Piarco)

3 เขตการปกครอง (boroughs) ได้แก่ Arima Chaguanas และPoint Fortin

2 นคร ได้แก่ พอร์ตออฟสเปนและSan Fernando

1 เขต (Ward - เขตการเลือกตั้ง) ได้แก่ โตเบโก

เศรษฐกิจ

ตรินิแดดและโตเบโกมีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งการลงทุนที่ดีสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2538 ธุรกิจการท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็วแม้ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนอื่นๆ นอกจากนี้ เนื่องจากราคาน้ำมัน ปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติเหลวซึ่งเป็นสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศนี้ขยับตัวสูงขึ้น ทำให้เม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาและทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ประชากรศาสตร์

เชื้อชาติ

กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศตรินิแดดและโตเบโก
ชาติพันธุ์ร้อยละ
อินเดีย
  
40%
แอฟริกา
  
37.5%
ลูกผสม
  
18.5%
จีน
  
0.3%
อื่น ๆ
  
1.1%

ใน ค.ศ. 2005 มีประชากรร้อยละ 96 หรือประมาณ 1.3 ล้านคนอาศัยอยู่บนเกาะตรินิแดด ส่วนอีกร้อยละ 4 อาศัยอยู่บนเกาะโตเบโก ซึ่งแต่ละเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาและการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชนหลายเชื้อชาติ[12] มีสองกลุ่มชาติพันธุ์หลักในประเทศคือ แอฟริกา-ตรินิแดด และอินเดีย-ตรินิแดด ทั้งยังมีคนจากชาติอื่น เช่น ลูกผสม, ยุโรป, จีน, ซีเรีย-เลบานอน และกลุ่มอเมรินเดียน เป็นต้น

ศาสนา

ศาสนาในประเทศตรินิแดดและโตเบโก
ศาสนาร้อยละ
คริสต์
  
65.7%
พราหมณ์-ฮินดู
  
25.6%
อิสลาม
  
6.6%
อื่น ๆ
  
2.2%

ประเทศตรินิแดดและโตเบโก ถือเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางศาสนา แต่โดยหลักแล้วประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 65.7 อันมีนิกายโรมันคาทอลิก, แองกลิคัน, เซเวนเดย์แอดเวนติสต์, เพรสไบทีเรียน, เมโธดิส, พยานพระยะโฮวาห์ และอีแวนเจริคัล ขณะที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีศาสนิกร้อยละ 25.6 และศาสนาอิสลาม มีศาสนิกร้อยละ 6.6[13]

นอกจากนี้ยังศาสนาของชนแอฟริกา คือ สปิริตชวลแบปติสต์ และโอริซา ซึ่งถือเป็นศาสนาที่โตเร็วที่สุด ทำนองเดียวกัน ลัทธิอิแวนเจริคัล (พระวรสาร) และลัทธิอื่นๆ ที่ถือว่านอกรีตของศาสนาคริสต์นั้นก็เติบโตขึ้นในประเทศ ทั้งที่ลัทธิดังกล่าวถูกกำหนดว่าไม่ถูกต้องก็ตาม

มีชุมชนศาสนิกในศาสนาบาไฮ ซึ่งเผยแผ่ศาสนาในประเทศ[14] และมีกลุ่มศาสนิกยูดาห์กลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 55-100 คน[15] นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธ และลัทธิเต๋าในกลุ่มเชื้อสายจีน

อ้างอิง

บรรณานุกรม

  • Carmichael, Gertrude (1961). The History of the West Indian Islands of Trinidad and Tobago, 1498–1900. London: Alvin Redman.
  • Kiely, Ray (1996). The Politics of Labour and Development in Trinidad. Press University of the West Indies. ISBN 9789766400170.
  • Williams, Eric (1964). History of the People of Trinidad and Tobago. New York: Frederick A. Praeger. LCCN 64-13390.
  • Ramkissoon, Harold; Kahwa, Ishenkumba A. (2015). "Caricom" (PDF). UNESCO Science Report: towards 2030. Paris: UNESCO. pp. 156–173. ISBN 978-92-3-100129-1.
  • Rough Guides (2018). The Rough Guide to Trinidad and Tobago.
  •  บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: towards 2030, 156–173, Harold Ramkissoon & Ishenkumba A. Kahwa, UNESCO Publishing.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

10°36′N 61°6′W / 10.600°N 61.100°W / 10.600; -61.100

🔥 Top keywords: วชิรวิชญ์ ไพศาลกุลวงศ์หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกชนกันต์ อาพรสุทธินันธ์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)กรงกรรมอสมทลิซ่า (แร็ปเปอร์)จีรนันท์ มะโนแจ่มสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดธี่หยดฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024เฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาประเทศไทยเอเชียนคัพ รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2024วิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรักวุ่น วัยรุ่นแสบวันไหลนริลญา กุลมงคลเพชรสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีหลานม่าสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกกรุงเทพมหานครสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคิม ซู-ฮย็อนภาวะโลกร้อนสาธุ (ละครโทรทัศน์)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสโมสรฟุตบอลปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง